"กำไร" คือเครื่องเชื้อเชิญคู่แข่งเข้ามาในธุรกิจ...


 

หลังจากที่มีโอกาสได้ฟังนักธุรกิจท่านหนึ่งซึ่งปกติท่านเป็นเจ้าของร้านวัสดุก่อสร้างเข้ามาปรึกษาการทำธุรกิจด้าน “พลังงานทางเลือก...”

นักธุรกิจท่านนี้ได้ถูกการเชื้อเชิญให้ร่วมลงทุนในส่วนของ “ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์” ซึ่งผู้เชื้อเชิญนั้นอวดอ้างเพื่อจูงในผู้เข้าร่วมลงทุนว่าสินค้าชิ้นนี้ทำกำไรได้มากถึง 50% เลยทีเดียว

ในธุรกิจไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์นั้นจะแบ่งอุปกรณ์ออกเป็นสองส่วนหลัก ๆ (ไม่นับงานบริการติดตั้งและบริการหลังการขาย) คือ ส่วนของแผงรับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ (Solar cells) และส่วนที่สองคือ อุปกรณ์เสริม เครื่องควบคุม เครื่องแปลงพลังงานรวมทั้งแบตเตอรี่

การทำธุรกิจนั้นไม่ว่าจะเป็นเล็กหรือใหญ่ “กำไร” เป็นสิ่งที่จูงใจนักลงทุนรายใหม่ที่มีอิทธิพลมากที่สุด
ธุรกิจใดมีกำไรมากย่อมมีผู้ที่อยากจะเข้ามาแข่ง มาแย่ง มาชิง ส่วนแบ่งทางการตลาดแห่งกำไรที่มากนั้น

เร่กันเข้ามา "หยิบชิ้นปลามัน..."

ดังนั้นจึงเป็นเครื่องบอก เครื่องพิสูจน์ว่า ผู้ผลิต ผู้คิดค้น รายก่อน รายแรก ตั้งราคาขายไว้สูงมาก โดยกำไรที่มากนั้นทำให้เป็น “เครื่องเชื้อเชิญ” นักธุรกิจหน้าใหม่ ผู้มีเงิน ผู้มีทุน ผู้ที่อยากได้เงินง่าย ๆ ในการขายสินค้าที่กำไรสูง ๆ เข้ามาแข่งขันในธุรกิจ ซึ่งกำไรที่มากนี้เอง จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างคู่แข่งขึ้นให้กับตัวเองไปโดยปริยาย

หากนึกย้อนกลับไปถึงธุรกิจที่เขาทำอยู่เดิมคือ “ร้านขายวัสดุก่อสร้าง” ถ้าเขานึกย้อนกลับไปให้ถี่ถ้วนแล้ว การที่เขาเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้ ก็เพราะว่าเป็นธุรกิจที่ดี “กำไรงาม”
โดยเฉพาะการไปลงทุนในพื้นที่หรือชุมชนที่ยังไม่มีร้านวัสดุก่อสร้างอยู่ หรือมีอยู่แล้ว “ขายแพง”

หรือถ้าจะคิดให้ดีที่เขาถูกชวนเขามาในธุรกิจนี้ก็เพราะว่าธุรกิจนี้ "กำไรงาม"

การตั้งราคาที่เหมาะสม หรือพออยู่ได้จึงเป็นการแก้ไขปัญหาและป้องกันแข่งทางธุรกิจได้ดีที่สุด
เพราะถ้าหากตั้งราคาสูง กำไรดี เมื่อมีคู่แข่งเข้ามามาก เขาเห็นช่องว่างทางกำไร “เราขายเราเอากำไรน้อยกว่านี้ได้นี่ เราก็อยู่ได้แบบสบาย ๆ ไปขายแข่งกับเขาดีกว่า”
ด้วยเหตุนี้จะเกิดสงครามราคากันขึ้น
และเมื่อมีผู้กระโดดเข้าร่วมวงแล้ว ลงทุน ลงเงินไปแล้ว จะให้ถอนออกง่าย ๆ นั้นเป็นเรื่องยาก
ต่างคน ต่างฝ่ายก็จะต้องลด ต้องตัดราคากัน แล้วการตัดราคากันนั้นก็เหมือนการกอดคอกันตาย...

การเป็นองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) นั้น จักต้องตระหนักถึงความพอดีในเรื่องกำไรให้มาก


การมีกำไรน้อยหรือแค่พออยู่ได้นั้น จะเป็นการสะกัดกั้นหรือปิดโอกาสที่คู่แข่งรายใหม่จะเข้ามา หรือแค่เขาคิด เขาก็ไม่อยากจะเข้ามาแข่งในธุรกิจของเรานี้แล้ว เพราะพี่ใหญ่หรือคู่แข่งรายก่อนกำไรน้อยเหลือเกิน
ผู้เข้ามาใหม่ จะขายตั้งราคาเท่าพี่ใหญ่ก็ลำบาก เพราะฐานลูกค้าเก่าก็ไม่มี
ต้องมีการจูงใจ มีการทำโปรโมชั่น ลดราคาบ้าง ส่งเสริมการขายอีก


กำไรก็น้อย ค่าการตลาดก็มาก ไม่เอา ไม่เอา ไปทำธุรกิจอื่น ไปทำ “ที่อื่น” ดีกว่า


ด้วยเหตุนี้เอง การมีจิตที่ตระหนักในการรับผิดชอบต่อสังคมของนักธุรกิจโดยการทำสินค้าดี มีคุณภาพ ราคาพอดี พอเหมาะ พอสมกับเศรษฐกิจ สังคม และชีวิตนั้น นอกจากจะเป็นการรับผิดชอบต่อโลกและสังคมแล้ว ยังเป็นรับผิดชอบต่อชีวิต เป็นการรักษาจิตใจของเราเองไม่ให้ทุกข์ไปกับคู่แข่งที่จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Chairs) ของเราไปอีกด้วย...


 

หมายเลขบันทึก: 234234เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2009 07:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท