เรือคำหยาด


เรือคำหยาด

         เรือคำหยาด 

          เรือคำหยาดเป็นเรือประจำตำแหน่งของพระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย) เจ้าเมืองหนองคายคนที่ 1 โดยนำไม้ตะเคียนหินทั้งต้นมาสร้างใช้ช้างลากมาจากดงสะคุ เขตอำเภอท่าบ่อปัจจุบัน ระหว่างพิธีล้มไม้นั้นมีน้ำหยาดลงมาตลอด จึงตั้งชื่อว่า "คำหยาด" และนำมาขุดที่ซอยไปรษณีย์(ซอยเทียมปู) เทศบาลเมืองหนองคาย ซึ่งเป็นโรงเรือของเจ้าเมืองในยุคนั้น "ญาคูใหญ่" บ้านนา ร่องทำพิธีจนเป็นเรือขนาดใหญ่ 40 ฝีพาย และมีความเร็วสูงสุดในลำน้ำโขง เป็นเวลานาน ไม่ทราบวันเดือนปีที่สร้างแน่ชัด แต่ประมาณว่าหลัง พ.ศ. 2370 เป็นต้นมา คาดว่าเจ้าเมืองหนองคายคงใช้เรือลำนี้ตรวจท้องที่ป้องกันความสงบในลำน้ำโขงเรื่อมา จนเมื่อ พ.ศ. 2418 เกิดศึกฮ่อ (กบฏไต้ผิงของจีน) บุกปล้นเมืองล้านช้างและหัวเมืองภาคอีสาน ถึง 3 ครั้ง รัชกาลที่ 5  จึงโปรดเกล้าฯให้พันเอกพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม  เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายไทย ณ เมืองหนองคาย เพื่อปราบฮ่อให้เด็ดขาด โดยใช้ทหารหัดใหม่แบบยุโรป(ซีปอย) เสด็จในกรมฯบุกค่ายฮ่อ ที่ทุ่งเชียงคำ แขวงเชียงขวางประเทศลาว

          เรือคำหยาดได้ทำหน้าที่บรรทุกข้าวสาร 10 กระสอบต่อเที่ยว ส่งกองทัพฝ่ายไทย จากเมืองหนองคายเลาะแม่น้ำโขงเข้าถึงปากน้ำงึม และทวนน้ำงึมถึงกองทัพฝ่ายไทย อีกทั้งทำหน้าที่นำสาลสน์รายงานข่าวศึก และรนำผู้บาดเจ็บมารักษาหลายเที่ยว จนค่ายฮ่อแตกจึงได้นำเชลยฮ่อและอัฐิทหารไทยกลับมายังเมืองหนองคาย เที่ยวสุดท้ายคาดว่าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 ตรงกับวันที่ 5 มีนาคม 2528 (ซึ่งสมเสด็จในกรมได้บันทึกไว้) ทหารไทยได้นำเชลยฮ่อมาขังไว้ข้างวัดลำดวลจึงเรียกว่า "ซอยฮ่อ" และสร้างสถูปบรรจุอัฐิทหารไทยไว้ข้างสถานีตำรวจภูธรหนองคาย(อนุสาวรีย์ปราบฮ่อองค์เดิม)

หมายเลขบันทึก: 233305เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2009 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท