ความสุขของการฝึกภาคปฏิบัติอยู่ที่ทัศนคติที่ดี


 

   อ.  วิไลพร  ขำวงษ์   อาจารย์ประจำภาควิชา สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี  มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการเรียนการสอนในคลีนิค  ดังนี้ ถ้ามีบุคคลคนหนึ่งได้รับการวินิจฉัย   หรือ   ตรา   ว่าเป็นผู้ป่วยโรคจิตหรือบ้า     หรือแม้กระทั่งมีลักษณะหรือพฤติกรรมคล้าย ๆ   ปัจจุบันยังพบว่าประชาชนในสังคมยังมีท่าทีหวาดกลัวหรือไม่อยากเข้าใกล้และยังไม่ให้การยอมรับ   รวมทั้งนักศึกษาพยาบาล     ทุกครั้งที่นิเทศนักศึกษาในแต่ละกลุ่มจะพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความหวาดกลัวผู้ป่วย   ไปไหนจะไปเป็นกลุ่ม   ไม่กล้าเข้าไปพูดคุยหรือให้การพยาบาลตามลำพัง   เพราะทัศนคติทางลบของนักศึกษาที่มีต่อคนไข้   ดิฉันในฐานะที่เป็นอาจารย์นิเทศก็ได้พยายามคิดหาแนวทาง

ในการแก้ไขเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติในแง่ลบของนักศึกษา   โดยเริ่มจาก 

(1)   การเล่าหรืออธิบายธรรมชาติของการเจ็บป่วยทางจิตใจให้นักศึกษาให้เข้าใจก่อน หมายถึง อาการ

ของผู้ป่วยโดยทั่วไป  เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมใจว่าเขาจะได้เจอกับอะไรเมื่อเขาไปฝึกภาคปฏิบัติจริง ๆ   

(2)   การเริ่มให้นักศึกษา  expose  ต่อผู้ป่วยทีละน้อย  โดยเราคอยดูอยู่ไม่ห่างมากนักและนักศึกษาสามารถขอคำปรึกษาได้ตลอดเวลาเมื่อเขาต้องการ  

(3)  ให้มีเพื่อนอยู่ด้วย  หมายถึง  งานส่วนใหญ่ที่ให้ทำในตึกผู้ป่วยจะไม่ให้นักศึกษาทำเป็นรายบุคคล

ในช่วงแรก  พอนักศึกษาเริ่มคุ้นเคยกับผู้ป่วยแล้วค่อยเริ่มปล่อยเดี่ยว   

(4)  การให้ขวัญและกำลังใจในการฝึกปฏิบัติ   โดยการชมเชยเมื่อนักศึกษาทำได้ดีขึ้น

 จากที่ทำงานมาพบว่าสุดท้ายนักศึกษาจะบอกว่ามีความสุขกับการฝึกภาคปฏิบัติกับผู้ป่วยจิตเวช  ไม่อยากไปฝึกที่อื่น  ตอนแรกรู้สึกกลัวผู้ป่วยกลัวให้การพยาบาลผู้ป่วยไม่ได้   แต่ตอนนี้ไม่กลัวแล้วอยากให้การดูแลช่วยเหลือ  เพราะรู้สึกสงสารผู้ป่วยมากกว่า

จะเห็นได้ว่าการที่จะทำให้ใครซักคนเปลี่ยนทัศนคติไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ก็ไม่ยากที่จะทำ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 232675เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2008 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท