ก้าวที่สะดุด...ศึกษานิเทศก์ สอศ.


ศึกษานิเทศก์ สอศ.

 

จากการพบปะพูดคุยของผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพรักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ กับตัวแทนบางส่วนของศึกษานิเทศก์ที่กระจายอยู่ตามสำนักต่าง ๆ ในส่วนกลางและตัวแทนบางส่วนของศึกษานิเทศก์ที่ประจำอยู่ตามศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาค ทั้ง 4 ภาค  ได้ให้ข้อมูลโดยการเล่าสู่กันฟังถึงบทบาทหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ สอศ. ในวันข้างหน้าจะอยู่ ณ ที่ใดหรือมีทางเลือกอย่างไรบ้าง  ลองติดตามอ่านกันดูว่า จะเป็นไปในทิศทางใด 

bottom ตำแหน่งศึกษานิเทศก์จะไม่มีอัตราหรือจำนวนเพิ่ม  จำนวนศึกษานิเทศก์ที่กระจายอยู่ตามสำนักฯ ต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาค เท่าที่มีอยู่ก็ให้คงตำแหน่งไว้ แต่จะไม่มีอัตราเพิ่มขึ้น 

bottom ทางเลือกของศึกษานิเทศก์   ในส่วนของศึกษานิเทศก์ที่ประจำอยู่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาค ให้สามารถทำงานอยู่ในสถาบันการอาชีวศึกษาที่จะจัดตั้งได้ สำหรับส่วนกลางก็มีแนวปฏิบัติเช่นเดียวกันหากต้องการอยู่ในสถาบันฯ  ซึ่งจุดนี้ก็ให้โอกาสสำหรับศึกษานิเทศก์ที่จะเลือกไปประจำ ณ ส่วนงานใด อีกทั้งยังสามารถขอย้ายเพื่อกลับไปสอนยังสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาได้



supervisor 

นักเรียนวิทยาลัยการอาชีพป่าซาง จังหวัดลำพูน
สาขาโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ



 

bottom การปรับเปลี่ยนตำแหน่งงาน  หากไปดำรงตำแหน่งในสถาบันการอาชีวศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้น ก็สามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งเป็นนักวิชาการศึกษาได้ 

bottom ตำแหน่งศึกษานิเทศก์   เป็นตำแหน่งที่ถูกกำหนดกับตัวบุคคลที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จะไม่มีการยุบตำแหน่งนี้ จนกว่าผู้ถือครองตำแหน่งจะเกษียณอายุราชการหรือเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด 

bottom การเลื่อนตำแหน่ง  ศึกษานิเทศก์ที่ดำรงตำแหน่งในสถาบันการอาชีวศึกษาสามารถทำผลงานวิชาการเพื่อเลื่อนระดับได้เช่นเดียวกันกับบุคลากรการศึกษาตำแหน่งอื่น 

 

จากการพูดคุยในการประชุมครั้งนี้ คงจะไม่ใช่บทสรุปทั้งหมดหรือเป็นบทสรุปสุดท้าย ที่จะเป็นเส้นทางให้กับศึกษานิเทศก์ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ณ ขณะนี้ เรายังอยู่ในช่วงที่แต่ละกลุ่มจังหวัดมีการระดมความคิดเห็นและหาแนวทางในการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องที่เร่งด่วนประการสำคัญที่ สอศ. กำลังจะหาแนวทางและวิธีการเพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.อาชีวศึกษา กันอยู่  วันข้างหน้าหรือวันพรุ่งนี้ อาจจะมีอะไรที่ปรับเปลี่ยนก็คงจะต้องเป็นหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ สอศ. แต่ละคนที่จะต้องติดตามอย่างที่เรียกกันว่า  อย่ากระพริบตา 

หากจะมองย้อนกลับไปถึงภาระหน้าที่ที่ศึกษานิเทศก์ ได้รับผิดชอบ มีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า งานหลักต่อไปนี้ จะขาดไม่ได้ในสถาบันการอาชีวศึกษาหรือจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป งานดังกล่าวก็ได้แก่  

bottom การจัดการเรียนรู้  การทำแผนการจัดการเรียนรู้  การจัดทำสื่อการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล  การนิเทศการเรียนการสอน  การส่งเสริมและให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาระบบการนิเทศภายในสถานศึกษา สิ่งที่เราจะต้องคิดต่อก็คือ  ครูยังใช้การจัดการเรียนการสอนแบบเดิมๆ ไม่มีการพัฒนาการเรียนการสอน  สื่อการเรียนการสอนยังไม่หลากหลายและปรับเข้ากับยุคสมัย  ขาดการวัดและประเมินตามสภาพจริง  การนิเทศการเรียนการสอนและการนิเทศภายใน ยังไม่ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นที่ยอมรับว่า เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องปฏิบัติเป็นหน้าที่หนึ่ง 

bottom การพัฒนาหลักสูตร  ความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร  การพัฒนาหลักสูตร โดยเฉพาะหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่เป็นอีกตัวบ่งชี้หนึ่งของเกณฑ์การประเมินตนเองตามตัวบ่งชี้มาตรฐานการอาชีวศึกษา  นอกจากนี้ หลักสูตรท้องถิ่น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สถานศึกษาต้องสร้างหลักสูตรเองได้   สิ่งที่พบ  เรื่องหลักสูตรจะชัดเจนเฉพาะผู้ที่ได้รับมอบหมายในการจัดทำแผนการเรียน ขาดการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับท้องถิ่น  สถานศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดบุคลากรที่สร้างความรู้และความเข้าใจที่เป็นแนวทางเดียวกันและตรงกัน  


 
 

 supervisor

นักเรียนวิทยาลัยการอาชีพป่าซาง จังหวัดลำพูน
สาขาโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ

 

bottom การประกันคุณภาพ  จะต้องมีผู้ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะและการวางระบบการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถนำไปใช้ในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาซึ่งนำไปสู่การรับรองและการประเมินคุณภาพจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)  สิ่งที่พบ สถานศึกษา  ยังไม่ชัดเจนในเรื่องการประกันคุณภาพ  การประกันคุณภาพเป็นของเพียงคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งไม่ใช้เป็นเรื่องของทุกคน  การปรับเปลี่ยนบุคคลที่รับผิดชอบเป็นผู้ประสานงานและสร้างความเข้าใจและให้คำปรึกษา แนะนำ 

bottom การบริการทางด้านวิชาการแก่หน่วยงานอื่น   จะต้องมีผู้ที่คอยให้คำปรึกษา แนะนำ หน่วยงานอื่นๆ ที่จัดการศึกษาทางด้านอาชีวศึกษา รวมถึงการช่วยเหลือร่วมมือประสานงานในกิจกรรมและโครงการต่างๆ ตามภูมิภาค ได้แก่ สถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักปลัดกระทรวง หน่วยงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาอุดมศึกษา

bottom นักเรียน
 จะต้องได้รับการสนับสนุน ส่งเสริม ได้รับคำปรึกษา แนะนำ ประสานและดำเนินโครงการต่างๆ ที่จะส่งผลให้นักเรียนได้มีความรู้และทักษะวิชาชีพ ตลอดรวมถึงทักษะชีวิตควบคู่ไปด้วยกัน เพื่อให้เป็นกำลังหลักในการพัฒนาด้านอาชีพให้เป็นเลิศและใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข 

หากวันข้างหน้า อาจจะไม่มีชื่อตำแหน่งศึกษานิเทศก์ในสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแล้วก็ตาม แต่ผู้เขียนก็ยังแอบหวังตลอดเวลาว่า หน้าที่เหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งหมด จะเป็นหน้าที่ที่ทุกคนใน สอศ. ที่จะต้องร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาต่อไป โดยไม่ติดว่า  ใครจะเป็นผู้ที่จะดำเนินการต่อ เพื่อให้การอาชีวศึกษาก้าวต่อไป อย่าให้เป็นก้าวที่สะดุดเหมือนที่ได้จั่วหัวไว้ใน.....ครั้งนี้

 

 *นางสาวพิมพร  ศะริจันทร์, ศึกษานิเทศก์ เขียนบทความวันที่ 20 พฤศจิกายน  2551
 จากการประชุมปฏิบัติการขับเคลื่อนการนิเทศวิชาการเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมนำวิชาชีพ วันที่ 29-31 ต.ค. 2551
 การบรรยายพิเศษโดย ดร.สิริรักษ์  รัชชุศานติ ผอ.สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ
 รักษาการฯ ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จ.เชียงใหม่
 บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ
 
ผู้ที่จะนำบทความ รูปภาพไปตีพิมพ์ต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้เขียนเท่านั้น
 
ผลงานและสิ่งพิมพ์ของผู้เขียน ปรับปรุงข้อมูล วันอังคาร, 30 ธันวาคม 2551
 ติดต่อ
ผู้เขียนที่  [email protected] 

หมายเลขบันทึก: 232647เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2008 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 12:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท