dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


เด็กปฐมวัยกับการเลี้ยงดู

 

เด็กไทย : การอบรมเลี้ยงดู

                                                                                                                                                                            

                                                                                                                                                                              

 

 

            พูดถึงการอบรมเลี้ยงดูเด็กไทยแล้ว   มีคำถามว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในสังคมไทยมีความเข้าใจตรงกันไหม   หรือเข้าใจมากน้อยอย่างไรบ้าง    การอบรมเลี้ยงดูเด็กมีความสำคัญยิ่งต่อคุณภาพของคนไทย   เพราะการอบรมเลี้ยงดูเด็กนั้นเปรียบเสมือนการวางเสาหลักให้กับประเทศชาติ    หากเราไม่สนใจที่จะวางให้มั่นคงหรือวางเสาหลักตามยถากรรมแล้ว   ประเทศชาติก็จะมีคุณภาพของคนตามยถากรรมเช่นเดียวกัน    เมื่อเป็นดังนี้มีคำถามต่อมาว่าจะสายไปไหมที่เราจะเริ่มให้ความสำคัญกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กไทย   ถ้าตอบอย่างให้กำลังใจซึ่งกันและกันคงจะตอบได้ว่ายังไม่สายถ้าเราจะเริ่มกันนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป   ในความหมายของการอบรมเลี้ยงดู   คือ   เราจะต้องให้ความรู้แก่เด็กตามศักยภาพ   และคอยดูแลเลี้ยงดูให้เด็กได้เจริญเติบโตตามขั้นการพัฒนาการทั้ง  4  ด้าน   ทั้งด้านร่างกาย   อารมณ์   จิตใจ   สังคม   และสติปัญญา   จากที่เราเห็นและได้สัมผัส   ปรากฏว่าการอบรมเลี้ยงดูเด็กไทยของเราค่อนข้างจะมีปัญหา   ผู้เขียนจึงขอนำงานวิจัย ที่เริ่มดำเนินการศึกษาตั้งแต่ปี    พ.ศ.2543   ขณะนี้ทำการวิจัยเก็บข้อมูลมาได้ครึ่งทางแล้ว             ซึ่งพอจะนำภาพที่เห็นมาเล่าให้พวกเราได้รู้และเป็นข้อมูลในอันที่จะช่วยกันอบรมเลี้ยงดูเด็กไทย    วิจัยที่กล่าวนี้เป็นวิจัยที่เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวันในคอลัมน์พบเด็กไทยพัฒนาการช้าเหตุจากเลี้ยงไม่ถูกวิธี   ลงวันที  20  พฤศจิกายน  2549   วิจัยดังกล่าวผู้ดำเนินการ  คือ  สถาบันวิจัยโภชนาการนานาชาติ   โดยดูเม็กซ์   มอบเงินทุน   20   ล้านบาท  ให้แก่สมาคมนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว   เพื่อเป็นทุนสำหรับประเมินผลงานวิจัยในโครงการวิจัยระยะยาวในเด็กไทย     นายกสมาคมนักวิจัยไทย    เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว   คือ  พญ.จันทร์เพ็ญ        ธูประภาวรรณ     กล่าวว่า   โครงการวิจัยนี้เริ่มต้นดำเนินการศึกษาตั้งแต่ปี  พ.ศ.2543   โดยวิจัยทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ   เน้นกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแม่และเด็กจากทุกภาคของประเทศไทย   ทั้งหมด   4,331   คน   คอยติดตามผลเป็นระยะตั้งแต่เด็กอายุ  3  วัน  1,3,6   เดือน   และ  1   ปี  หลังจากนั้นติดตามทุก   6   เดือน  จนถึงปัจจุบันเด็กอายุครบ  3   ปีเต็ม   โดยมีหลักการดำเนินงาน   คือ

                เราเชื่อว่าพัฒนาการของมนุษย์เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง  เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา   พัฒนาการต่าง   จะถูกกระทบจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกตัวเด็ก   ดังนั้นหากต้องการจะศึกษาความเข้าใจธรรมชาติของพัฒนาการมนุษย์จะต้องเฝ้าสังเกตอย่างต่อเนื่องไปยาวนาน   โดยเฉพาะในช่วงอายุที่เป็นพื้นฐานของพัฒนาการสำคัญ   เช่น   พัฒนาการด้านร่างกายจะอยู่ในช่วงอายุ  0 5  ปี   พัฒนาการทางภาษาซึ่งเป็นพื้นฐานของสติปัญญา   เริ่มตั้งแต่  2 5  ปี   พัฒนาการทางสังคมและจริยธรรม   ที่ช่วงอายุ  6   เดือน  ถึง  4  ปี  และการก่อรูปบุคลิกภาพและพัฒนาการทางเพศที่มีผลต่อพฤติกรรมด้านต่าง   ของเด็กอยู่ในช่วงอายุอย่างน้อย  18 24  ปี

                จากการเก็บข้อมูลนานกว่า  7  ปี  พญ.จันทร์เพ็ญ   บอกว่า  ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบในเด็กไทย   คือ  เด็กไทยยิ่งเติบโต   พัฒนาการด้านต่าง   ยิ่งต่ำลง  ต้นเหตุเกิดจากการที่พ่อแม่เลี้ยงดูไม่ถูกวิธี    เพราะไม่มีความรู้เรื่องด้านการกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก

                เด็กไทยมีปัญหาพัฒนาการทางภาษาช้า   พูดช้า  พูดน้อยกว่าเกณฑ์   โดยวัดจากเด็กพูด  คำแรกได้ตอนอายุ   1   ขวบ  ถือว่าพัฒนาการช้า  ซึ่งเมื่อพัฒนาการทางการพูดช้าจะส่งผลให้พัฒนาการด้านอื่นช้าไปด้วย   ก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาว   นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กมีอัตราการเตี้ยสูงขึ้น   สะท้อนให้เห็นว่าเด็กไทยกำลังอยู่ในภาวะขาดสารอาหาร   เพราะพ่อแม่ชอบให้บริโภค   แต่อาหารขยะ   ซึ่งจะส่งผลเสียให้สติปัญญาต่ำด้วย   ปัญหานี้ส่วนมากพบในเด็กแถบภาคอีสานและภาคเหนือ

                นายกสมาคมนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว   แนะวิธีแก้ปัญหาว่า  พ่อแม่ต้องใส่ใจในพัฒนาการของลูก   อาทิ  สอนให้พูดตั้งแต่เด็ก   อย่าให้ลูกบริโภคอาหารขยะ   อย่าเลี้ยงลูกด้วยการให้ดูโทรทัศน์ตั้งแต่เด็ก   เพราะโทรทัศน์ไม่ได้ช่วยให้พัฒนาการของเด็กดีขึ้น   ตรงกันข้ามกลับไปทำลายสมองส่วนหน้า     ทำให้เด็กเป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือและไม่ชอบคิด   ส่งผลให้พัฒนาการต่ำ

                นี่คือส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยที่เพิ่งเดินมาได้ครึ่งทาง   แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของเด็กไทยในหลายด้าน   ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่ควรละเลย

                ผู้เขียนนำข่าวดังกล่าวซึ่งลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนมาให้พวกเราได้อ่าน   เพื่อเราจะได้ตระหนักในปัญหาดังกล่าว  พร้อมทั้งยืนยันในหลักการ   ปรัชญา   ทฤษฎีของการศึกษาปฐมวัยที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมให้ได้อย่างจริงจัง   ประเด็นในข่าวที่สำคัญขอฝากไว้  3  เรื่องดังนี้

                เรื่องแรก   คือ  การพัฒนาการทางภาษาช้า   ซึ่งส่งให้พัฒนาการด้านอื่น   ช้าด้วย  เป็นผลอย่างมากต่อการเรียนภาษาในระดับขั้นพื้นฐาน   โดยที่ภาษาคือการพัฒนาทักษะ   การฟัง   พูด   อ่าน   และเขียน   เมื่อเด็กเริ่มพูดช้าแล้วก็จะส่งผลถึงทักษะอื่น   ตามมา   ข้อนี้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องตระหนักและช่วยกันพัฒนาภาษาของเด็กบ้านเราให้ได้ประสิทธิภาพจริง   ตอนนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน    มีเป้าหมายให้เด็กทุกคนอ่านออกเขียนได้   แล้วครูปฐมวัยต้องเตรียมเด็กให้พร้อมเพื่อที่จะมีความสามารถอ่านออกเขียนได้  เมื่อไปเรียนในระดับขั้นพื้นฐาน

                ประเด็นสุดท้ายที่ขอฝากคือการดูโทรทัศน์รวมถึง   วีซีดี   และวิดิโอ   ตั้งแต่เล็ก   เป็นสิ่งที่ไม่ได้ช่วยให้เด็กพัฒนาเลย  กลับมีผลในทางตรงกันข้าม  คือ  จะทำลายกระบวนการคิด   รายการทีวีปัจจุบันเด็กแทบจะไม่ต้องคิดเลย   ดูไปเพลิน   วันหนึ่งเสียเวลากับการดูทีวีไม่รู้จักเท่าไร   บ้านเราตอนนี้ส่วนหนึ่งจะเลี้ยงลูกด้วยทีวี   ส่วนครูปฐมวัยต้องระวังหน่อยในด้านการให้เด็กดูทีวี   หรือวิดิโอ   การดูแต่ละครั้งไม่ใช่เป็นการเก็บเด็กไม่ให้ซน   เพื่อครูจะได้มีเวลาทำกิจกรรมต่าง   แล้วปล่อยให้เด็กนั่งดูรายการไปเรื่อย   นอกจากส่งผลทำให้เด็กไม่ชอบคิดแล้ว   ยังส่งผลต่อการที่ทำให้เด็กไม่ชอบอ่านหนังสือด้วย    กว่าเด็กจะชอบอ่านหนังสือ   ครูหรือพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องจัดกิจกรรมหลากหลาย   เพื่อให้เด็กชอบการอ่านหนังสือ   ขณะเดียวกันหากเด็กติดโทรทัศน์แล้ว   เด็กก็จะไม่สนใจในกิจกรรมการอ่านหนังสืออีกต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 232541เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2008 01:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากได้ขัอมูลบทความเรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยมากกว่านี้ค่ะ

สำหรับการอบรมเลี้ยงดูเด็กไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมากเพราะ วัฒนาธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ความคิดที่ทันสมัยขึ้นรวมทั้งการเป็นอยู่ที่สะดวกสบายขึ้นจึงส่งผลให้เด็กที่ได้รับการเรียนรู้ที่รวดเร็วขึ้นดังนั้น ในเมื่อการเรียนรู้ทีั่่มีความรวดเร็วขึ้นผู้ปกครองสมควรที่จะมีการดุแลอย่างใหล้ชิดและเอาใจใส่เป็นพิเศษเพราะหากปล่อยปะละเลย จะส่งผลต่อการพัฒนาการทางด้านสมองของเด็ก และความคิดของเด็กต่อไปในอนาคตได้ค่ะ

บุษยาภัทร โพธิ์ไทร

การแพทย์ ยารักษาโรค ในปัจจุบันก็สำคัญมิใช่น้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท