โครงการ"ทำดี มีอาชีพ"


โครงการ"ทำดี มีอาชีพ" ฝึกสอนอาชีพระยะสั้นเยวชนในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนไทย โดยความร่วมมือของกองทัพบก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและองค์กรภาคีทั้งภาครัฐและเอกชน

 

โครงการ ทำดี มีอาชีพ เจ๋ง!!! ส่งเสริมโอกาส-อาชีพแก่เยาวชน

เจาะ 31 จว.ชายแดน หวังแก้ปัญหายาเสพติด ค้าประเวณี

            กองทัพบกร่วมกับ สอศ.จับมือองค์กรภาคีร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือโครงการ ทำดีมีอาชีพ เปิดโอกาสให้เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส 31 จังหวัดชายแดนฝึกอาชีพ หวังแก้ปัญหาการว่างงาน ยาเสพติด ค้าประเวณี

            เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 กองทัพบก ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และองค์กรภาคีทั้งภาครัฐและเอกชน จัดงานแถลงข่าว โครงการ ทำดี มีอาชีพ อบรมหลักสูตรระยะสั้น เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมอาชีพให้แก่เยาวชนนอกระบบการศึกษาใน 31 จังหวัดชายแดนทั่วประเทศ และร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือในโครงการทำดีมีอาชีพ เส้นทางสู่ โอกาส อาชีพ อนาคต ณ.ห้องประชุมกองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนิน

            พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก/รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กล่าวว่า บทบาทของกองทัพบกและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ดูแลความมั่นคง อีกทางหนึ่งคือ ส่งเสริมในการพัฒนาด้านต่างๆ ของประเทศ โครงการ "ทำดี มีอาชีพ" ไม่เพียงแต่มุ่งส่งเสริมให้เยาวชนมีทักษะในการประกอบอาชีพแต่ยังเป็นการเปิด โอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้ความหลากหลายของวิถีชีวิต และต้องยอมรับว่าจังหวัดที่อยู่ตามแนวชายแดนซึ่งมักจะเป็นประตูในด้านปัญหา ความมั่นคง เช่น ภัยคุกคามจากยาเสพติด การก่อการร้าย การค้าประเวณี และการหลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย เนื่องจากมีเยาวชนและผู้ด้อยโอกาสจำนวนมากที่ไม่ได้รับการศึกษาและไม่มี อาชีพ เราจึงตั้งเป้าหมายไปที่เยาวชนกลุ่มดังกล่าว ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดความมั่นคงอย่างยั่งยืนได้ ให้เยาวชนได้มีโอกาสในการสร้างศักยภาพให้กับตนเอง ได้แก่ การสร้างความรู้และนำไปสู่การมีอาชีพ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับตัวเอง นำไปสู่ครอบครัวเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง เพื่อลดช่องว่างทางสังคม ตลอดจนลดปัญหาขาดแคลนแรงงานและการว่างงาน

            ด้านนายประเสริฐ แก้วเพ็ชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า การอบรมทักษะพื้นฐานในโครงการนี้ เปิดอบรมตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นเวลา 2 เดือน โดยจะเริ่มอบรมในเดือนมกราคมปีหน้า เดือนแรกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ในสถาบันอาชีวศึกษาทั่วประเทศ เดือนที่ 2 จะทดลองฝึกงานตามสายวิชาชีพที่ได้รับ การอบรมในสถานประกอบการ การเรียนการสอนจะเน้นไปที่หลักสูตรภาคปฏิบัติ ทางอาชีวศึกษามีการเตรียมความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเต็มที่ และ สอศ.มีสถาบันในสังกัด กว่า 404 แห่ง ครอบคลุมทุกสถาบัน ทุกสาขาอาชีพ แต่สิ่งแรกที่ต้องเร่งคือการสร้างความเข้าใจกับผู้บริหารสถานศึกษา และประชุมคณะผู้บริหารสถาบัน จัดทำคู่มือ เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้การอบรมทักษะวิชาชีพพื้นฐาน นอกจากนี้ได้จัดทำแผนการเรียนวิชาต่างๆ เป็นพิเศษสำหรับเด็กกลุ่มนี้ และได้เตรียมนักศึกษาเป็นพี่เลี้ยงไว้คอยกำกับดูแลเด็กด้วย หากเป็นเด็กในชายแดนภาคใต้จะเน้นในเรื่องวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชน

            ทางนายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การมีประชากรที่มีคุณภาพคือองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้ชาติเจริญและมีความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนที่อยู่ในชายแดนทั้ง 31 จังหวัด เป็นประชาชนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ดังนั้นเมื่อเยาวชนมีอาชีพ มีรายได้ มีงานทำ ก็จะเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับประเทศซึ่งอยู่ตามชายแดนได้เป็นอย่าง ดี และยังส่งเสริมให้เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีโอกาสเข้าทำงานและฝึกฝนทักษะ วิชาชีพ อันเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในแต่ละพื้นทีของประเทศ

            “โครงการนี้นอกจากจะทำให้เยาวชนมีงานทำ มีรายได้แล้ว ยังจะส่งผลในด้านการช่วยลดปัญญาแรงงานต่างด้าวตามชายแดนอีกด้วยนายสมชายกล่าว                                                            เรื่องโดย / ภาพ : วีรญาน์  จันทร์นวล  Team content www.thaihealth.or.th  

            และจากข่าวดังกล่าวนี้  อาชีวศึกษาจังหวัดลำพูน ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคลำพูน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน วิทยาลัยการอาชีพป่าซาง วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่งได้รับมอบหมายให้เป็นสถานศึกษาที่ให้เยาวชนเข้าฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น  รุ่นแรก เดือนมกราคม 2552 นี้ ซึ่งมีทั้งหมด 10 จังหวัด คือ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครราชสีมา และลำพูน

            ซึ่งนับเป็นข่าวดี ที่ทางวิทยาลัย ได้รับการคัดเลือกให้มีโอกาสเข้าร่วม โครงการ ทำดี มีอาชีพ ในครั้งนี้ เราชาวบ้านโฮ่ง ยินดีต้อนรับน้อง ๆ เยาวชนทุกคน ที่จะได้มาเยี่ยมที่วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่งแห่งนี้ ขณะนี้ทางทางวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังประชุมเชิงปฏิบัติ การจัดทำแผนดำเนินงานจัดสอนอาชีพระยะสั้นแก่เยาวชนอยู่ พอทราบข่าว ยอมรับว่าดีใจและตื่นเต้น ที่ได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน10 จังหวัดที่เริ่มดำเนินงานตามโครงการนี้ มีข่าวคืบหน้าจะมารายงานให้ทราบต่อไปครับ (หนังสือ ที่ ศธ. 0602/1059 สำนักงานความร่วมมือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2551)

 

 

หมายเลขบันทึก: 231733เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2008 20:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
แก้วตา หมูอ้วน วงศ์หน่อแก้ว

โครงการดีมาก ๆ เลยค่ะอาจารย์ อยากเห็นวัยรุ่นตั้งใจเรียนกันมากกว่านี้ค่ะ ขาติจะได้เจริญ จากสาวน้อยอยู่แดนไกล

ขอบคุณมากครับ ที่เข้ามาเยี่ยม ถ้ามีข่าวคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบอีกครับ กำลังไปประชุมเตรียมการอยู่ครับ

เป็นโครงการที่ดีมากค่ะ ส่งไปเรียนที่ไหนบ้างค่ะ อยากทราบจัง

อยากให้มีภาพกิจกรรมโชว์ด้วย

      รุ่นแรกที่จังหวัด สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครราชสีมา และลำพูนครับเริ่ม 26 มกราคม ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2552

      รุ่นที่ 2 เพิ่มเป็น 22 จังหวัด อ่างทอง สระบุรี เพชรบุรี สมุทรปราการ นครสวรรค์ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี สระแก้วนครราชสีมา นครนายก สิงบุรี นครปฐม ลำพูน เชียงใหม่ ชัยภูมิ กรุงเทพฯ(หนองจอก)

     โดยให้มา ฝึกอาชีพระยะสั้นตามความสนใจ ในระยะเวลา 1 เดือน ในสถานศึกษาในแต่ละจังหวัดดังกล่าว โดยแยกกระจายกันไปซึ่งแต่ละสถานศึกษา ต้องจัดที่พักและอาหารบริการ เช่นที่ วก.บ้านโฮ่ง มีเยาชนเข้าร่วมโครงการ 2 กลุ่มจำนวน 33 คน ซึ่งมีความต้องการเรียนนระยะสั้นการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า และการซ่อมจักรยานยนต์ ในหลักสูตรระยะสั้น 150 ชั่งโมง ร่วมทั้งมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมตามบริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่ง สำหรับภาพกิจกรรม รอก่อนนะครับ

ได้รับข้อมูลเบื้องต้นจากนักศึกษาการอาชีพบ้านโฮ่งหลายคนว่า อาจารย์ให้ความสนใจสอนเฉพาะผู้มาอบรมเท่านั้น นักศึกษาประจำแทบจะไม่ได้เรียนภาคปฏิบัติเลยตั้งแต่มีการอบรมเป็นต้นมา เพียงแต่ว่าเช็คชื่อและปล่อยกลับบ้าน เท่านั้น โดยเฉพาะช่างยนต์ขอท่านอาจารย์ช่วยดูหน่อย ถ้าคนกลุ่มหนึ่งได้ความรู้แต่อีกกลุ่มไม่ได้ความรู้ซึ่งจะต้องนำไปใช้ในอนาคตแล้วทำให้เสียโอกาสก็คงไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงการ เพราะถ้าวิทยาลัยเข้าร่วมโครงการ จะต้องพร้อมทั้งบุคลากรที่จะสอน ห้องเรียน และเครื่อมือที่จะอำนวยการสอน ให้สำฤทธิ์ผล ขอตรวจสอบข้อมูลด้วยครับ

ขอบคุณ

ผมรับทราบแล้วครับ จะติดตามดูแลครูผู้สอนให้ครับ สำหรับโครงการนี้เนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้ ทางวิทยาลัยไม่ได้เสนอ และทาง สอศ. คัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ สำหรับความพร้อมถ้ารอให้พร้อมทั้งบุคลากร เครื่องมือ และอื่นๆ ก็คงจะเปิดสอนไม่ได้แล้วครับคงต้องพัฒนาควบคู่กันไปครับไป ผมมองเห็นว่าการเรียนที่เปิดกว้างให้ผู้ที่ขาดโอกาสและนำมาเรียนบูรณาการร่วมกับการเรียนปกติก็คงจะเป็นการได้ประโยชน์ต่อกันทั้ง นักเรียนปกติและผู้ที่เข้ารับการอบรม

ที่ปฏิบัิติมาแผนกช่างยนต์ โครงการทำดี มอบหมายให้ครูสอนประจำหนึ่งคน ตลอดทั้งโครงการในรายวิชาซ่อมอมอเตอร์ไซด์ ส่วนรายวิชาที่ครูท่านนั้นสอนตามปกติได้มอบหมายให้ครูท่านอื่นสอนแทน ซึ่งตรงส่วนนี้ผมจะติดตามกำชับให้ครูผู้รับมอบหมายอีกครั้งหนึ่ง

และขณะนี้กำลังสอนรุ่นที่ 3 อยู่ครับ จะแจ้งข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบแล้วดำเนินการแก้ไขเพื่อให้นักเรียนได้รับผลประโยชน์มากที่สุดทั้งนักเรียนปกติ และผู้เข้ารับการอบรม

นอกจากนี้ วิทยาลัยได้รับมอยหมายให้รับผู้เข้ารับการอยรมโครงการต้นกล้าอีก ขณะนี้ที่กำลังอบรมอยู่ โดยเร่งดำเนินการเพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับการเรียนการสอนของนักเรียนปกติครับ

ผมขอบคุณมากที่แจ้งข้อมูลให้ทางวิทยาลัย หวังว่าคงได้รับความร่วมมือแจ้งข้อมูลให้อีกนะครับ มีประโยชน์มากครับ

วิทยาลัยยินดีรับฟังความคิดเห็นของทุกท่าน เพื่อเป็นแนวทางมาพัฒนา การเรียนการสอนและนักเรียนให้มีคุณภาพต่อไปครับ ยินดีครับที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาลัยต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท