การบำบัดของเสียที่มีไซยาไนด์ จากห้องปฏิบัติการ


การบำบัดของเสียที่มีไซยาไนด์ จากห้องปฏิบัติการ

จากการแลกเปลี่ยนความรู้ในการประชุมถ่ายทอดเทคโนโลยีชุดน้ำยาในการวิเคราะห์ TMTD และ ZnO

พบมีผู้สนใจอยากทราบวิธีการบำบัดของเสียจากการไทเทรตหาแมกนีเซียมในน้ำยาง ซึ่งจะมีไซยาไนด์ ซึ่งใช้เป็น masking agent ปนเปื้อนออกมาด้วย

วิธีการบำบัดที่น่าสนใจวิธีหนึ่งคือ การออกซิไดซ์ไซยาไนด์ ให้ไปอยู่ในรูปที่ไม่มีความเป็นพิษสูงโดยการใช้ สาร hydrogen peroxide (โดยที่ควรแยก waste จากการไทเทรตออกจาก waste อื่น ๆ เพื่อให้มีปริมาณ waste น้อยที่สุด)

อย่างไรก็ตาม ในการบำบัดด้วยวิธีนี้ต้องใช้ สารละลายของสารประกอบทองแดง ที่ให้ ไอออนของทองแดงที่ 2-10 ppm เพื่อเป็นตัวเร่ง

ดังนั้นน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้วจะต้องกำจัดไอออนของทองแดงอีกครั้ง

โดยทั่วไปอาจใช้การโรยปูนขาวลงไปเพื่อให้โลหะไอออนตกตะกอนในรูปของโลหะไฮดรอกไซด์

มีสิทธิบัตรที่เสนอวิธีกำจัดทั้งไอออนบวกและไอออนลบในกรณีนี้ ดูรายละเอียดได้ที่

http://www.freepatentonline.com/4428840.html

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้นะคะ

หากบล็อกของหน่วยวิจัยฯ มีประโยชน์จะได้มีกำลังใจเล่สู่เรื่องราวกันฟังต่อไปค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 231704เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2008 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจารย์ วิไลรัตน์ ครับผม นายฐกฤตชญ์ สมิทจิต นักศึกษาเอกเคมี-ชีวะ รุ่น9 นะครับ

คือผมอยากทราบว่าเราจะใช้วิธีวิเคาะห์ไซยาไนด์ในน้ำครับ

ค้นด้วย cyanide และ determination ค่ะ

http://ezinearticles.com/?Determination-of-Cyanide&id=634221

In 1935 the procedure for the determination of cyanide in water involved the conversion of cyanide salts by acid solution and distillation into an absorber solution containing sodium or potassium hydroxide. Removal of sulfide was to add an excess of lead salt to the solution prior to distillation.[1] In 1939 a method was developed to isolate and concentrate low levels of cyanide from aqueous solutions by aeration of a heated acidic sample solution and collection of the generated hydrogen cyanide in a basic absorber solution.[2] Today's EPA accepted methods are essentially the methods of 1939.

ข้อความก่อนหน้านี้ ครูตอบเองค่ะ

ลองหาดูวิธีที่มีตัวรบกวนคล้าย ๆ กรณีตัวอย่างของเรานะคะ

โชคดีค่ะ

ขอบคุณครับ อาจารย์ ตอนนี้ผมวิเคราะห์ cyamide ได้แล้วครับ ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

หน่วยวิจัยเคมีวิเคราะห์และสิ่งแวดล้อม มีความยินดีที่จะแจ้งให้ทราบว่า

หน่วยวิจัยฯ มีโครงการจะจัดให้มีการนำเสนอผลงาน

เรื่อง "การไทเทรตแมกนีเซียมในน้ำยางพาราโดยไม่ใช้ไซยาไนด์"

ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่ได้รับทุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.)

โดยมีโครงการจะจัดในวันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2554

ณ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

ผู้สนใจแจ้งชื่อตนเองและหน่วยงาน เข้าร่วมงานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่ [email protected] ภายในวันที่ 5 มีนาคม 2554 นี้

ขอสงวนที่ให้สิทธิ์ หน่วยงาน/โรงงานละ 2 ท่าน

พบกันที่หาดใหญ่ค่ะ ติดตามรายละเอียดอีกครั้งเร็ว ๆ นี้ค่ะ

 

ผมติดตามงานวิจัยของอาจารย์เสมอครับ

ขอบคุณอาจารย์มากครับ ที่ทำให้ผู้บริหารหลายท่าน

เข้าใจว่า ไม่ใช่มีแต่ที่จบมาจากสาขาการยางเท่านั้น

ที่มีความรู้เรื่องยาง

เป็นกำลังให้อาจารย์สำหรับผลงานต่อๆไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท