story telling and Positive thinking (ความคิดเชิงบวก)


กองทุนศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโยการเกษตรประจำตำบลชิงโค

บันทึกความรู้    สู่องค์ความรู้

Story  telling  and  positive  thinking (ความคิดเชิงบวก)

เริ่มต้นจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาเล่าสู่กันฟัง

 

องค์ความรู้   เรื่อง  กองทุนศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชิงโค

ประเด็นความรู้    การบริหารจัดการกองทุนศูนย์บริการ ฯ

                            กองทุนศูนย์บริการ ฯ เป็นกองทุนเพื่อการเกษตร   มีจุดมุ่งหมายในการดำเนินงาน การพัฒนาองค์กรเกษตร  ภายใต้ศูนย์บริการและถ่ายทอด ฯ ให้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มส่งเสริมอาชีพ    กลุ่มทำนา   กลุ่มไม้ผล   กลุ่มไร่นาสวนผสม   กลุ่มแม่บ้าน   วิสาหกิจชุมชน   เชื่อมโยง  ภายใต้ศูนย์บริการฯ   มุ่งเน้นให้มีความเข้มแข็ง  เพิ่มศักยภาพการออมในการพัฒนาคน  และองค์กรในภาคเกษตร   เพื่อเป็นทุนในการพัฒนาอาชีพ   มีการบริหารจัดการกองทุนโดยศูนย์บริการ ฯ  เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพการเกษตรและสวัสดิการ   โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน

                            การบริหารจัดการกองทุนศูนย์บริการ ฯ  ตำบลชิงโค

กองทุนเพื่อการเกษตรที่ดี    คือ  กองทุนที่ตอบสนองความต้องการ  และช่วยแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุน  ตลอดจนช่วยเหลือสังคมและชุมชนได้   กองทุนศูนย์บริการ ฯ  เริ่มต้นจากต้มไข่กิน    คือ  ไม่มีเงิน   ไม่มีคน   สามารถเติบโตได้โดยอาศัยหลักการบริหารจัดการกองทุน

 

1. การบริหารจัดการคน

                            การบริหารจัดการคน   นับว่าเป็นหัวใจหลักของการบริหารจัดการกลุ่ม   เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเกิดจากคน    ถ้าบริหารจัดการส่วนนี้ได้ปัญหาอื่น  ก็แทบจะหมดไป    คนในกลุ่มกองทุนมี  2  ประเภท

-    กรรมการศูนย์บริการ ฯ

-    สมาชิกศูนย์บริการ ฯ

หลักในการบริหารคน  2  ประเภท

การสร้างแรงจูงใจให้คณะกรรมการและสมาชิก  ยึดมั่น  ผูกพันธ์   ทุ่มเทความสามารถเพื่อพัฒนากองทุนศูนย์ ฯ ให้เจริญก้าวหน้า     แรงจูงใจ   มี  2 ทาง

-  แรงจูงใจทางบวก   ได้แก่     การให้รางวัล  ทั้งทางตรงและทางอ้อม

-  แรงจูงใจทางลบ   ได้แก่   การลงโทษ   เมื่อฝ่าฝืนกฎระเบียบหรือข้อบังคับกลุ่ม

1.  การสร้างแรงจูงใจให้กับคณะกรรมการบริหารศูนย์ ฯ  ตำบลชิงโค

คณะกรรมการบริหารกองทุนศูนย์ ฯ  ตำบลชิงโค   มาจากกรรมการบริหารศูนย์ ฯ  กรรมการบริหารศูนย์ ฯ  คัดเลือกมาจากกลุ่มส่งเสริมอาชีพที่เชื่อมโยงอยู่กับศูนย์ถ่ายทอด ฯ ซึ่งเป็นประธานกลุ่ม   อาสาสมัครเกษตร   ซึ่งกรรมการทุกคนต้องเป็นสมาชิกของศูนย์บริการก่อนอย่างน้อย 1 ปี  จึงจะเป็นกรรมการศูนย์ ฯ ได้   กรรมการกองทุนคัดเลือกมาจากกรรมการศูนย์ ฯ จำนวน  5  คน

กรรมการบริหารศูนย์   เป็นผู้มีบทบาทสำคัญเป็นตัวอย่างที่ดีของสมาชิก   เป็นผู้กำหนดชะตากรรมของกองทุน   ด้วยเหตุที่การสร้างแรงจูงใจทั้งทางบวกและทางลบให้ทั้งคนกลุ่มนี้   เท่ากับการสร้างความมั่นคงให้กับกองทุนนั่นเอง

การสร้างแรงจูงใจทางบวกให้กับกรรมการศูนย์บริการ ฯ ปี  51

1.  กำหนดอัตราค่าตอบแทนให้กรรมการศูนย์ ฯ ในการประชุมทุกวันที่  9  ของเดือน   จำนวน 15  คน  ร้อยละ  15 ของผลกำไรจากกองทุน

2.  ค่าตอบแทนกรรมการศูนย์ฯ  มาปฏิบัติงานในการทำกองทุน  จำนวน  5  คน ร้อยละ 5 ของผลกำไรจากกองทุน

ค่าตอบแทนเริ่มต้นจากน้อย ๆ   เมื่อกองทุนโตขึ้นก็ค่อย ๆ  เพิ่มขึ้น  โดยกำหนดไว้ในระเบียบของกองทุน  เพื่อให้กรรมการเห็นว่าถ้าเขาทุ่มเทความสามารถในการทำงานต่อไปภายภาคหน้า   จะมีชีวิตที่ดีขึ้น

3.  จัดตั้งสวัสดิการกรรมการ ไว้   100,000  บาท

4.  การให้รางวัลบุคคลดีเด่น   ในวันประชุมใหญ่  19  มี.ค. 51

นายจรูญ   แสงจันทร์   กรรมการบริหารศูนย์  รับโล่ห์เกียรติยศ  เกษตรกรดีเด่น  สาขา                    ไร่นาสวนผสม

5.  แรงจูงใจโดยการยกย่อง   มอบประกาศเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล  ให้

นางสุณีย์  มณีบังเกิด    กรรมการบริหารศูนย์ฯ  ดีเด่น  ฝ่ายหญิง

นายจรูญ   แสงจันทร์   กรรมการบริหารศูนย์ฯ  ดีเด่น  ฝ่ายชาย

6. เมื่อสมาชิกครอบครัวกรรมการเสียชีวิต   ในนามศูนย์บริการฯ ส่งพวงหรีดไปเคารพศพ   จากเลขาศูนย์ ฯ  1  พวง

7.   สิ้นปี มีของขวัญกรรมการทุกคน  เป็นสินน้ำใจเล็ก ๆ  น้อย ๆ

 

สิ่งที่ควบคู่ไปกับการสร้างแรงจูงใจทางบวก  คือ  แรงจูงใจทางลบ

                            -  หากตรวจบัญชีพบเงินฝากหรือชำระเงินกู้ขาด   กรรมการผู้รับผิดชอบต้องชดใช้ใน            แต่ละเดือน

                            -  กรรมการขาดออมทรัพย์  3  ครั้งต่อปี   ไม่มีสิทธิ์กู้

                            -  กรรมการยักยอกเงิน ต้องปลดออก

                            -  กรรมการขาดประชุมประจำเดือน  ไม่มีสิทธิ์รับเงินค่าตอบแทนในเดือนนั้น  และถูกปรับสวัสดิการ  2 เท่า

2. การสร้างแรงจูงใจให้กับสมาชิก

                            โดยทั่วไปการให้รางวัลแก่สมาชิกกองทุนศูนย์ฯ จะออกมาในรูปของสวัสดิการ   สมาชิกที่ได้รับสวัสดิการต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของกองทุนศูนย์บริการ  เช่น 

                            1. สมาชิกฝากประจำ 12 ครั้ง/ปี   มีรางวัล

                            2. สมาชิกมีสิทธิ์ลุ้นรางวัล  จากการจับฉลากในการฝากแต่ละเดือนเมื่อสิ้นปี

                            3. สมาชิกกองทุนศูนย์ ฯ  ฝากเงินออมจะได้รับพิจารณาจากกรรมการศูนย์ให้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับงบประมาณจากทางราชการ

                            4. มีเงินสวัสดิการกู้ไปจัดงาน  งานศพ   งานบวช  งานแต่งงาน ได้คนละ  20,000  บาท   โดยไม่มีดอกเบี้ย

                            5. ซื้อปัจจัยการผลิตได้ราคาถูกกว่าท้องตลาด

                            6. สามารถรับเงินสินเชื่อปัจจัยการผลิต  ปุ๋ยเคมีได้

                            7. กู้เงินไปพัฒนาอาชีพการเกษตร   ได้รายละไม่เกิน  20,000 บาท/คน

                            8. เมื่อครอบครัวสมาชิกถึงแก่กรรม  ทางศูนย์ ฯ มีเงินร่วมทำบุญ  และพวงหรีด  เคารพศพ  1  พวง  ในนามศูนย์บริการ ฯ

                            9. สมาชิกที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของศูนย์บริการ ฯ  จะได้รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล  ในวันประชุมใหญ่ประจำปี  51

                            สมาชิกศูนย์บริการ ฯ ดีเด่น ฝ่ายหญิงนางเขียว  สังสังข์

                            สมาชิกศูนย์บริการ ฯ ดีเด่น ฝ่ายชายนายพร   ลักษณะ

                            แรงจูงใจทางลบ

                            1. สมาชิกขาดส่งเงินออม 3 ครั้ง/ปี

                                - กู้หลักทรัพย์ ไม่ได้

                                - ไม่สามารถรับสินเชื่อปุ๋ยเคมีได้

                            2. สมาชิกฝากออมต่ำกว่า 100 บาทในแต่ละเดือนกู้หลักทรัพย์ไม่ได้

                            3. สมาชิกไม่จ่ายสินเชื่อปัจจัยการผลิต  ถูกปรับในแต่ละเดือน  ถ้าจ่ายไม่หมดทุกคน  ปีนั้นจะงดการให้สินเชื่อ

                            4. สมาชิกขาดส่งดอกเบี้ย  จากร้อยละ  1  บาทถูกปรับเงิน  2  เท่า

                            5. ขาดส่งฌาปนกิจ  3 เดือน  ไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินค่าทำบุญและงดส่งพวงหรีด

 

2. การบริหารจัดการทุน

                            หลักในการบริหารจัดการกองทุนศูนย์ ฯ  คือ การสร้างความเติบโตให้กับกองทุน  กองทุนศูนย์ฯ   เริ่มต้นจากไม่มีเงินแม้แต่บาทเดียว  แต่อาศัยหลักการบริหารจัดการโดยการหาทุนแล้ว   ทำให้ทุนเพิ่มขึ้น  ไม่มีวันหมดไป   ทุนในที่นี้  หมายถึง  เงิน

การบริหารจัดการเงินของกองทุนศูนย์บริการ ฯ  

1.  เงินลงทุน  เริ่มแรกต้องไม่หาย  ปัจจุบันมีเงินทุนหมุนเวียนประมาณ  1,300,000  บาท

2.  ใช้เฉพาะดอกผลที่ได้

-          จัดประชุมใหญ่ในแต่ละปี

-          ค่าตอบแทนกรรมการ

-          ค่ากิจกรรมต่าง ๆ ในตำบล  เช่น   ค่าของขวัญวันปีใหม่   ทอดผ้าป่า   ค่ากาแฟ   เครื่องดื่มในที่ประชุม

3.   ดอกผล  จ่ายบางส่วน   จ่ายไม่หมด   ต้องเหลือสมทบเข้ากองทุนเป็นเงินต้น  เพื่อปล่อยกู้ต่อไป   ดอกเบี้ยจะเป็นค่าพวงหรีดทั้งหมด

 

3. การบริหารจัดการธุรกิจ

                1. ธุรกิจรับเงินฝาก   การออม   เป็นธุรกิจส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมการประหยัดไว้ใช้ในคราวจำเป็น   และมีการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

                2. ธุรกิจการซื้อปัจจัยการผลิต  ปุ๋ยเคมี  มาจำหน่ายให้กับสมาชิกโดยการรวมตัวกันซื้อ   อาศัยเงินจากกองทุน  ขายถูกกว่าราคาในท้องตลาด  ขายทั้งเงินสดและสินเชื่อ

                3. ธุรกิจเครดิต   กองทุนศูนย์ ฯที่มาของแหล่งเงินทุนมี  2  ทาง  คือ

                            1. กองทุนที่เกิดขึ้นโดยเกษตรกร

                                 -  ระดมหุ้นจากสมาชิก หุ้นละ  100 บาท

                                 -  ระดมเงินฝาก  ฝากประจำทุกเดือน

                            2. กองทุนที่เกิดจากโครงการ  เกิดจากการบริหารจัดการของคณะกรรมการศูนย์ ฯ  ทุกโครงการที่ผ่านศูนย์บริการ ฯ  ปัจจัยการผลิต  ดำเนินการในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน  หลาย ๆ  กิจกรรมมาร่วมกัน  นำมาเป็นทุนริเริ่มดำเนินการในรูปแบบของกองทุน

หลักเกณฑ์ในการให้กู้ยืม

1. เงินกู้เพื่อซื้อปัจจัยการผลิต   กลุ่มทำนา   กลุ่มไม้ผล   กลุ่มไร่นาสวนผสม   ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนตามฤดูกาลหนึ่ง ๆ  การส่งคืนระยะส่งคืนภายใน 7  เดือน (ก.ย.- มี.ค.) ใช้บุคคลค้ำประกัน                3  คน/กลุ่ม

2. เงินกู้ระยะสั้น   ใช้เป็นเงินทุนหมุนตามฤดูกาลระยะส่งคืนภายใน 1  ปี   ดอกเบี้ยร้อยละ  12 บาท/ปี

3. เงินกู้ระยะปานกลาง   ใช้ในประเภทลงทุน   เช่น  ทำสวน   ไร่นาสวนผสม   ลงทุนค้าขาย   ระยะส่งคืนภายใน  2  ปี   ดอกเบี้ยร้อยละ  12  บาท/ปี

เงินกู้ระยะสั้น   ระยะปานกลาง   สมาชิกต้องนำหลักประกันในการทำสัญญา  เช่น   สมาชิกค้ำประกันอย่างน้อย 2  คน  หรือนำอสังหาริมทรัพย์มาค้ำประกันเงินกู้

                            การประกอบธุรกิจ  ธุรกิจทุกอย่างสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  และประสบความก้าวหน้าขึ้นอยู่กับการจัดการที่ดีและการบริการที่ดี

                            กองทุนศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชิงโค   เป็นกองทุนเพื่อการเกษตรที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นกองทุนดีเด่นของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5   จังหวัดสงขลา   ในปี  2547    การบริหารกองทุนจะประสบความสำเร็จต้องบริหารจัดการทั้งสามอย่างไปพร้อม กัน   ไม่อาจจะลอกเลียนแบบกันได้   เพราะวิถีชีวิตของเกษตรกรไม่เหมือนกัน  ความมั่นคงทางฐานะการเงินของกองทุน    แต่ก็สามารถที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้

 

ที่มา  :  นางประไพ   บุญญโส    เจ้าพนักงานการเกษตร 6  สำนักงานเกษตรอำเภอสิงหนคร  จ.  สงขลา  โทร.   084-0677840

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 231566เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2008 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 11:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ธุค่ะ..

มาอ่านบันทึกแรกของคุณค่ะ  ^^  หลักการบริหารสามารถใช้กับทุกๆ เรื่องได้เลยนะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท