learning by doing


การสร้างองค์ความรู้

         สวัสดี ค่ะ เพื่อนนักอ่านที่เคารพ เจอกันอีกครั้งคราวนี้ดิฉันขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คำว่า Learning by Doing กับ Doing by Learning ว่ามีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ดิฉันได้มีโอกาสถามคณะครู เพื่อนร่วมงานที่โรงเรียน และเพื่อนร่วมสถาบัน ป. บัณฑิต หลาย ๆ ท่านในความเหมือนและความต่างของทั้งสองคำ ปรากฏว่า เกือบจะพูดได้ว่าร้อยละ 90 ของผู้ที่แสดงความคิดเห็น ว่า ทั้งสองคำมีความหมายเหมือนกันไม่ได้มีความแตกต่าง รวมทั้งตัวดิฉันเองก็คิดเห็นเป็นเช่นนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องผิดนั่นคือความคิดเห็นส่วนตัวของหลายๆท่าน พอดีดิฉันได้ศึกษาทางอินเทอร์เน็ต จึงได้รับความรู้ใหม่ที่ถือว่าวิเศษพอควรค่ะ เมื่อได้อ่านจึงอยากจะสรุปเป็น Concept  ของทั้งสองคำนี้ พร้อมกับบอกที่ไปที่มาของคำจำกัดความในแง่ของความคิดของดิฉันเอง (เห็นด้วยไหมค่ะอยากรู้จัง )             

 อ่านต่อนะค่ะ

                Learning by doing คือ การเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติ คือในขณะที่ปฏิบัติแล้วเกิดแนวความคิดใหม่ประสบการณ์เกิดการเรียนรู้ในช่วงการปฏิบัติกิจกรรม

             Doing   by  learning  แน่ใจว่าทำแล้วเกิดการเรียนรู้และเป็นประโยชน์เกิดพฤติกรรมในการเรียนรู้ที่ดี

ดิฉันขออ้างอิงแนวคิดของตนเองด้วยบทความข้างล่างนี้นะค่ะ

แนวคิดสำคัญของ constructionism by piaget สรุปให้ได้ว่า เป็นเรื่องที่ผู้เรียนต้องเป็นผู้ที่ใฝ่รู้ที่จะแสวงหาความรู้ ไม่ใช่เป็นผู้รับฝ่ายเดียว และความรู้ที่ดีนั้นต้องเกิดจากความรู้ในตนเองผสมผสานกับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมภายนอก หมายถึงว่า ความรู้นั้นจะสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อผู้เรียนนำเอาไปปฏิบัติประยุกต์ใช้ได้จริง ซึ่งขบวนการนี้ ที่จะก่อให้เกิดความรู้ใหม่ผลัดหมุนเวียนเป็นวงจร หมุนไปๆ เรื่อยๆ

ดังนั้นทฤษฎี Constructionism ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกและทำกิจกรรมต่างๆที่ผู้เรียนสนใจด้วย เพราะความสนใจมันเริ่มจากจินตนาการ ทำให้ใคร่อยากจะสร้างงานใหม่ๆของตนเองให้เกิดขึ้นมา ที่นักวิชาการไทยมักใช้คำพูดเก๋ไก๋ว่า "การสร้างองค์ความรู้"

วิธีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน หลักๆ คือ

1. Explore
คำว่า explore หมายถึงสำรวจ ค้นคว้า ในขั้นตอนนี้เป็นปฐมบทที่ผู้เรียนจะเริ่มสำรวจตรวจตราพยายามเข้าใจกับสิ่งใหม่หรือความรู้ใหม่ที่พวกเขาได้รับ(assimilation) ซึ่งความรู้ใหม่นี้มันจะเข้าไป spark กับความรู้เดิมในสมอง สิ่งเหล่านี้  ยกตัวอย่างง่ายๆ ในการเดินทางแต่ละวัน แน่นอนว่าคุณต้องเคยหลงทางบ้างแหละ พอไปในสถานที่ผิดหูผิดตา ก็ต้องรีบจำว่าที่นี่ที่ไหนกัน ถ้าหากมันเป็นทางลัด คุณก็ยิ่งจำให้ขึ้นใจ แต่ถ้ามันเป็นทางที่ทำให้คุณอ้อมข้ามโลก คุณก็จะไม่สนใจ เป็นต้น

2. Experiment
คือ การทดลอง พอเราเริ่มค้นคว้าแล้ว ทีนี้ก็มาถึงขั้นเดินหน้าอีกก้าวหนึ่ง คือ ทดลองที่จะทำเป็นการปรับความแตกต่าง (acommodation) เมื่อได้พบหรือปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่สัมพันธ์กับความคิดเดิมที่มีอยู่ในสมอง นั่นหมายความว่าเริ่มจะปรับความแตกต่างระหว่างของใหม่กับของเดิมจนเกิดความเข้าใจว่าควรจะทำอย่างไรกับสิ่งใหม่นี้ เช่น ในการต่อเลโก้ & โลโก้ หลังจากที่สำรวจชิ้นส่วนต่างๆและเก็บเป็นความรู้ไว้ในสมองแล้ว ต่อไปอาจจะเป็นการทดลองสร้างโดยอาจจะสร้างตามตัวอย่างในคู่มือ หรืออาจจะทดลองต่อเป็นชิ้นงานที่ตนเองอยากจะทำ หรืออาจจะทดลองต่อตามเพื่อนๆก็ได้ แต่บางคนก็พยายามที่จะปรับตนเองโดยการสอบถามเพื่อนที่สามารถทำได้(ซึ่งจุดนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นของการทำให้ทราบว่าคนเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญอย่างหนึ่งและการแสวงหาความรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว) ในขั้นตอนนี้อาจจะมีลองผิดลองถูกบ้างเพื่อจะเก็บเกี่ยวเป็นประสบการณ์และสร้างเป็นองค์ความรู้เก็บไว้ในสมองของตนเอง อย่างไรก็ตามในขั้นตอนนี้จะเกิดทั้งการดูดซึม (assimilation) และ การปรับความแตกต่าง(acommodation) ผสมผสานกันไป

3. Learning by doing
คือ การเรียนรู้จากการกระทำ ขั้นนี้เป็นการลงมือปฏิบัติกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือการได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่มีความหมายต่อตนเอง แล้วสร้างเป็นองค์ความรู้ของตนเองขึ้นมา ซึ่งจะคาบเกี่ยวกับขั้นตอนที่ผ่านมา ขั้นนี้จะเกิดทั้งการดูดซึม (assimilation) และ การปรับความแตกต่าง (acommodation) ผสมผสานกันไป เช่นเดียวกัน

4. Doing by learning
คือ การทำเพื่อที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ขั้นตอนนี้จะต้องผ่านขั้นตอนทั้ง 3 จนประจักษ์แก่ใจตนเองว่าการลงมือปฏิบัติกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือการได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่มีความหมายนั้น สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้และเมื่อเข้าใจแล้วก็จะเกิดพฤติกรรมในการเรียนรู้ที่ดี รู้จักคิดแก้ปัญหา รู้จักการแสวงหาความรู้ การปรับตนเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ฯลฯ นั่นก็คือเกิดภาวะที่เรียกว่า"Powerfull learning" ซึ่งก็คือเกิดการเรียนรู้ที่จะดูดซึม (assimilation) และ การปรับความแตกต่าง(acommodation) อยู่ตลอดเวลาอันจะนำไปสู่คำกล่าวที่ว่า"คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น" นั่นเอง

อย่างไรก็ตามขั้นตอนที่กล่าวมาทั้ง 4 ขั้นจะเห็นได้ว่ามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน จนบางทีไม่สามารถแยกออกว่าพฤติกรรมที่เห็นนั้นอยู่ในขั้นตอนไหนเพราะมีการผสมผสานกันอยู่ตลอดเวลา และในการเริ่มต้นของแต่ละบุคคลนั้น

โดย: [0 3] ( IP ) www.pantown.com/ board. php

         

      จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่า คำว่า Learning by doing และ  Doing by learning มีความแตกต่างกันตามนัย การสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนจะเกิดสัมฤทธิ์ผลได้ต้องอาศัยขั้นตอนต่างๆ ทั้ง 4 ขั้นตอนและมวลประสบการณ์ที่ผู้เรียนมีเป็นพื้นฐาน ซึ่งแน่นอนแล้วว่า การทำงานอะไรก็ตามต้องอาศัยทฤษฎีเป็นแนวปฏิบัติ เช่นเดียวกับการเดินทางไกลต้องอาศัยแผนที่  เปรียบเสมือนคนที่ปฏิเสธทฤษฎีเปรียบเหมือนคนที่แล่นเรือไปในทะเลโดยไม่มีเข็มทิศส่วนคนที่ปฎิเสธการปฏิบัติ ไม่เคยลงมือกระทำเลยก็เปรียบได้กับคนมีทั้งเรือและเข็มทิศแต่ไม่ได้ออกเรือไปไหนเลย ช่างไร้ค่าเหลือเกิน นะเรือ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต 51.มรม
หมายเลขบันทึก: 231204เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2008 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากรู้ว่าใครเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีlearning by doing ขอคำตอบด่วนเลยนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท