ระบบหลักการวางแผนและพัฒนาบุคลากร


KM, LO, HRM, HRD, CM, Outsourcing

ระบบหลักการวางแผนและพัฒนาบุคลากร
KM, LO, HRM, HRD, CM, Outsourcing
1. KM (Knowledge Management)
การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)
1. คน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
2. เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น
3. กระบวนการความรู้  เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม
กระบวนการจัดการความรู้
มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
1. การบ่งชี้ความรู้ เป้าหมายคืออะไร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
5. การเข้าถึงความรู้
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน
2. LO ( Learning Organization)
องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์กรที่ถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่กับการรับความรู้จากภายนอก สำคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างฐานความรู้ที่เข้มแข็ง(Core competence) ขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้
มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้
1. การเรียนรู้ (Learning) หรือพลวัตการเรียนรู้
2.  องค์การ (Organization) หรือการปรับเปลี่ยนองค์การ
3. สมาชิกในองค์การ (People) หรือการเสริมความรู้      แก่บุคคล
4.  ความรู้ (Knowledge) หรือการจัดการความรู้
5.  เทคโนโลยี (Technology) หรือการนำเทคโนโลยีไปใช้
แนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
1.บุคคลรอบรู้ หมายถึง การเรียนรู้ของบุคลากรจะเป็นจุดเริ่มต้น และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต
2.แบบแผนทางความคิด หมายถึง ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ วุฒิภาวะจากประสบการณ์ที่วินิจฉัย ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
3.การมีวิสัยทัศน์ร่วม หมายถึง การสร้างทัศนคติร่วมของคนในองค์กร ที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน
4.การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม หมายถึง การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในลักษณะกลุ่มเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์
5.การคิดอย่างเป็นระบบ หมายถึง คนในองค์กรมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ โดยมองเห็นภาพความสัมพันธ์กันเป็นระบบโดยรวมได้อย่างเข้าใจ
ลักษณะสำคัญ 5 ประการขององค์การแห่งการเรียนรู้
มีลักษณะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้คือ
1.  มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
2.  มีการทดลองปฏิบัติ ในสิ่งใหม่ ๆ
3.  มีการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต
4.  มีการเรียนรู้จากผู้อื่น
5.  มีการถ่ายทอดความรู้โดยการทำ Report
3.  HRM (Human resource management)
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นหน้าที่ขององค์การซึ่งทำให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดจากการใช้พนักงานเพื่อให้ บรรลุเป้าหมายขององค์การ
วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
1.   เพื่อจัดหาคนที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงาน
2.   เพื่อใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.   เพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถของกำลังแรงงาน ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
4.   เพื่อรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้คงอยู่ได้นานที่สุด
5.   เพื่อสื่อสารนโยบายการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้กับพนักงานทุกคนได้ทราบ
การวางแผนเชิงกลยุทธ์และการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ หมายถึง การตัดสินใจขององค์การเกี่ยวกับภาระหน้าที่ที่ควรทำให้สำเร็จ และวิธีการกำหนดที่จะไปสู่ความสำเร็จ
การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับเป้าหมายกลยุทธ์เพื่อการปรับปรุงสมรรถนะขององค์การ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
4. HRD  (Human Resource Development)
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือการทำให้มนุษย์เจริญ มีศักยภาพมากขึ้นจนกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าในสังคมและในประเทศ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ เป็นการพัฒนาองค์รวมของการพัฒนาบุคคล (ID) พัฒนาวิชาชีพ (CD) และพัฒนาองค์การ  (OD) เพื่อมุ่งสู่การผลิตและ คุณภาพ สูงสุด  เพื่อให้สมาชิกองค์การทำงานได้ตามเป้าหมายขององค์การบรรลุผล
ขอบเขตงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ
โดยปกติทุกองค์การจะต้องมีทรัพยากร  3  ประเภทคือ
1. Physical  Resource  ได้แก่เครื่องจักร  อุปกรณ์  ส่วนประกอบผลิตภัณฑ์  แสดงให้เห็นถึงความมั่นคง แข็งแกร่งขององค์การ เช่น  สำนักงานใหญ่
2. Financial  Resource  ได้แก่ เงินสด  สินค้าคงเหลือ   การลงทุน  เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนขององค์การ
3. Human  Resource  คนที่องค์การจ้าง   ทรัพยากรมนุษย์สะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าสุทธิองค์การเหมือนทรัพยากรทางการเงิน
วิวัฒนาการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
1.ยุคกรีก ได้ให้สถาบันที่สำคัญคือโรงเรียนและปรัชญาการศึกษา
2.โรมัน ได้ให้ภาคปฏิบัติคือการฝึกทักษะภายใต้ความสัมพันธ์อันดีระหว่าง  ผู้ฝึกกับผู้รับการฝึก 
3.ยุคกลาง ศาสนาคริสต์มีอิทธิพลในสังคม  ศาสนาคริสต์ได้ให้กฎเกณฑ์ทางสังคมและศีลธรรมแก่สังคม
4. ยุคสมัยแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ยุคใหม่แห่งความคิดวิทยาศาสตร์และความคิดทางปรัชญา กระแสสังคม  การเมือง  และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
5. ยุคแห่งอุตสาหกรรม ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จากเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรมไปสู่อุตสาหกรรม
5. CM (Category Management)
Category Management คือ กระบวนการในการร่วมมือกันระหว่าง ผู้ผลิต (Supplier) และผู้จำหน่าย (Retailer) ในการจัดการบริหาร Category ให้เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจร่วมกัน โดยจะมุ่งเน้นที่การนำคุณค่าไปสู่ผู้บริโภค
แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการจัดการ Category Management
1) การกำหนดคำจำกัดความ              2) การกำหนดบทบาท
3) การประเมิน   4) การกำหนดวิธีการประเมินผล
5) การกำหนดกลยุทธ์            6) การกำหนดกลวิธี
7) การวางแผนการดำเนินงาน          8) การดำเนินการ และประเมินผล
9) การพิจารณาและตรวจสอบ
กระบวนการจัดการด้าน Category Management
กระบวนการจัดการ (Category Manager) เป็นส่วนหนึ่งของงานโดยตรง ผู้จัดจำหน่าย ที่จะใช้ในการบริหารสินค้าในห้างร้านคือ ผู้บริหารสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ หรือ จัดซื้อ หรือในปัจจุบันก็คือ ผู้บริหารกลุ่มผลิตภัณฑ์ (Category Manager) นั่นเอง
6. Outsourcing
การจัดหาจากภายนอก (Outsourcing) เป็นวิธีการจัดหาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ  ดำเนินการภายในองค์กร มาเป็นการจัดหาจากแหล่งภายนอกแทน จะทำให้องค์กรเล็กลง ลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ได้ และสามารถเน้นการดำเนินการกิจกรรมที่เป็นกิจกรรมหลักซึ่งองค์กรมีความถนัด ทำให้สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ความสำคัญของ Outsourcing นั้น สำคัญอย่างไร
การจัดหาจากภายนอก (Outsourcing) เป็นวิธีการที่องค์กรธุรกิจจัดหาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆจากแหล่งภายนอก เพื่อเป็นการปลดภาระหน้าที่ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักขององค์กร ออกไปแทนที่จะดำเนินการเอง การมุ่งเน้น กิจกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม การทุ่มกำลังพลและทรัพยากรไปที่ธุรกิจที่มีความชำนาญเพียงอย่างเดียว จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดและรุ่งเรืองต่อไป โดยเฉพาะในสภาพเศรษฐกิจที่ไม่สู้ดีนัก
แนวคิดและหลักการในการ Outsourcing
แนวคิดในการจัดหาจากภายนอก ต้องพิจารณา 2 ปัจจัย คือ
1. คุณค่าเชิงกลยุทธ์ หมายถึง ระดับความสำคัญของผลิตภัณฑ์ในตลาด
2. ความสำคัญของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสินค้าขั้นสุดท้ายของกิจการ

 

หมายเลขบันทึก: 231142เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2008 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้อ่านเนื้อหาแล้วครับ สามารถสรุปความหมาย และวิธีการ ของหลักการต่างๆได้ดี

แต่อยากให้เพิ่มเติมในส่วน วิเคราะห์และสังเคราะห์ เป็นความคิดของตนเองว่า หลักการ

เหล่านี้ เอามาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาบุคลากรได้อย่างเป็นรูปธรรมอย่างไรได้บ้าง

ช่วยเพิ่มเติมให้ด้วยนะครับ แล้วจะเข้ามาตรวจเช็คใหม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท