การสอนแบบโครงงาน1


ทฤษฎีเกี่ยวกับการสอนแบบโครงงาน

ทฤษฏีการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

                รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ( Process Skills )

1.       รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสวบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม(Group Investigation Instructional Model)

ทฤษฏี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ

จอยส์ และวีล (1996,หน้า 80-88) แนวคิดเกี่ยวกับการสืบเสาะแสวงหาความรู้ และความคิดเกี่ยวกับความรู้ เธเลน อธิบายว่า สิ่งสำคัญที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกหรือความต้องการที่จะสืบค้นหรือเสาะแสวงหาความรู้ก็คือตัวปัญหา  ปัญหามีลักษณะทำให้เกิดความงุนงงสงสัยหรือก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด จะยิ่งทำให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะเสาะแสวงหาความรู้หรือคำตอบมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของรูปแบบ

รูปแบบนี้มุงพัฒนาทักษะในการสืบสวบเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจ โดยอาศัยกลุ่มซึ่งเป็นเครื่องมือทางสังคมช่วยกระตุ้นความสนใจหรือความอยากรู้ และช่วยดำเนินงานการแสวงหาความรู้หรือคำตอบที่ต้องการ

กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ

ขั้นที่ 1 ให้ผู้เรียนเผชิญปัญหาหรือสถานการณ์ที่ชวนให้งุนงงสงสัย

ปัญหาหรือสถานการณ์ที่ใช้ในการกระตุ้นความสนใจและความต้องการในการสืบสอบและแสวงหาความรู้ต่อไปนี้ควรเป็นปัญหาหรือสถานการณ์ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถความสนใจของผู้เรียนและจะต้องมีลักษณะที่ชวนให้งุนงงสงสัยเพื่อท้าทายความคิดและความใฝ่รู้ของผู้เรียน

ขั้นที่ 2 ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาหรือสถานการณ์นั้น

ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และพยายามกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้ง หรือเกิดความแตกต่างทางความคิด เพื่อท้าทายให้ผู้เรียนพยายามหาทางเสาะแสวงหาข้อมูลหรือวิธีการพิสูจน์ทดสอบความคิดของตน เมื่อมีความแตกต่างทางความคิดเกิดขึ้น

ขั้นที่ 3 ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนในการแสวงหาความรู้

เมื่อกลุ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกันแล้ว สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันวางแผนว่า จะแสวงข้อมูลอะไร กลุ่มจะพิสูจน์อะไร จะตั้งสมมติฐานอะไร กลุ่มจำเป็นต้องมีข้อมูลอะไรและจะไปแสวงหาที่ไหน หรือจะได้ข้อมูลนั้นมาได้อย่างไร จะต้องใช้เครื่องมืออะไร เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว จะวิเคราะห์อย่างไร และจะสรุปผลอย่างไร ใครจะช่วยทำอะไร จะใช้เวลาเท่าใด ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะการสืบสอบ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการกลุ่ม

ขั้นที่ 4 ให้ผู้เรียนดำเนินการแสวงหาความรู้

ผู้เรียนดำเนินการเสาะแสวงหาความรู้ตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ ผู้สอนช่วยอำนวยความสะดวก ให้คำแนะนำ และติดตามการทำงานของผู้เรียน

ขั้นที่ 5 ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลข้อมูล นำเสนอและอภิปรายผล

เมื่อกลุ่มรวบรวมได้มาแล้ว กลุ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ผู้สอนให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ต่อจากนั้นนำเสนอผล อภิปรายผลร่วมกันและประเมินผล

ขั้นที่ 6 ให้ผู้เรียนกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการสืบเสาะหาคำตอบต่อไป

การสืบเสาะแสวงหาความรู้ของกลุ่มตามขั้นตอนข้างต้นช่วยให้กลุ่มได้รับความรู้ ความเข้าใจ และคำตอบในเรื่องที่ศึกษา อาจพบประเด็นที่เป็นปัญหาที่ชวนให้งุนงงสงสัยหรืออยากรู้ต่อ

ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ

ผู้เรียนสามารถสืบสวบและเสาะแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เกิดความใฝ่รู้และมีความมั่นใจในตนเองเพิ่มขึ้น และพัฒนาทักษะการสืบสอบ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะการทำงานกลุ่ม

                การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าตามความสนใจและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับปรัชญา ทฤษฎี แนวคิดของนักการศึกษาที่สำคัญในซีกโลกตะวันตกและเผยแพร่ไปยังประเทศอื่นๆรวมทั้งประเทศไทยด้วยมีความสำคัญดังนี้

ปรัชญาสารัตถะนิยมเชื่อว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้และความจริงทางธรรมชาติเกี่ยวกับการดำรงชีวิตมนุษย์ ดังนั้นหลักสูตรการศึกษาจึงควรประกอบด้วยความรู้ ความจริง และการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับกฏเกณฑ์และปรากฏการณ์ทางธรณีต่างๆ การจัดกการเรียนการสอนตามความเชื่อนี้จึงเน้นการให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล ข้อเท็จจริง และการสรุปกฏเกณฑ์จากข้อมูลข้อเท็จจริงเหล่านั้น (วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์, 2542 หน้า 57 )

ปรัชญาปฏิบัตินิยมให้ความสนใจอย่างมากต่อการปฏิบัติหรือลงมือกระทำ ซึ่งนักปราชญากลุ่มนี้เห็นว่าการนำความคิดให้ไปสู่การกระทำ โดยเชื่อว่าลำพังแต่พียงความคิดไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานการคิดที่ดีและการกระทำที่เหมาะสม หลักสูตรการศึกษาตามปรัชญานี้เน้นการปลูกฝังการฝึกฝนอบรมให้ผุ้เรียนได้รับประสบการณ์(Experience)และเรียนรู้จากการคิด การลงมือทำ และการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง (Stumpf 1994,หน้า 383-400 and Devey 1963,หน้า 25-50 ,อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี 2545, หน้า 27 )

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development) เพียเจต์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ได้อธิบายว่าการเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญาซึ่งจะพัฒนาการไปตามวัยต่างๆเป็นไปตามลำดับ พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2540, หน้า 126)

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์ นักจิตวิทยาที่สนใจในเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกสิ่งที่รับรู้ สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตนเอง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2540, หน้า 126)

แนวคิดของวิก๊อทสกี้ (Vygotsky) นักจิตวิทยาที่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม ได้อธิบายว่ามนุษย์ๆได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งนอกจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติแล้วก็ยังมีสิ่งแวดล้อมทางสังคม ซึ่งก็คือวัฒนธรรมแต่ละสังคมสร้างขึ้น ดังนั้นสถาบันสังคมต่างๆเริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัวจะมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคล นอกจากภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญของการคิดและพัฒนาเชาว์ชั้นสูง พัฒนาการทางภาษาและความคิดของเด็กเริ่มด้วยการพัฒนาที่แยกออกจากกัน แต่เมื่ออายุมากขึ้นพัฒนาการทั้ง 2 ด้านจะเป็นไปด้วยกัน (สุรางค์ โค้วตระกูล 2541, หน้า 205 )

สรุปได้ว่าปรัชญาแนวคิดที่มีแนวทางคล้ายคลึงกัน คือ การเรียนรู้จากการคิด การลงมือปฏิบัติ นักเรียนได้แสวงหาความรู้หาคำตอบด้วยตนเอง  เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงซึ่งสอดคล้องกับลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีโครงงาน

เว็บไซต์ที่ 1   ทษฏีที่เกี่ยวข้อง  http://www.kroobannok.com/show_all_article.php?cat_id=23

 

 

ทฤษฎี Constructivism ได้กล่าวถึงแนวคิดเรื่องความรู้จากกระบวนการเรียนรู้ ไว้ดังนี้

 

  • ความรู้ประกอบด้วยข้อมูลที่เรามีอยู่เดิม และเมื่อเราเรียนรู้ต่อไปความรู้เดิมก็จะถูกปรับเปลี่ยนไป การปรับเปลี่ยนความรู้ต่างๆ ถือว่าเป็นการรับความรู้เข้ามาและเกิดการปรับเปลี่ยนความรู้ขึ้น เด็กจะมีการคิดที่ลึกซึ้งกว่าการท่องจำธรรมดา เพียงแต่เขาจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ใหม่ๆ ที่ได้มา และสามารถที่จะสร้างความหมายใหม่ของความรู้ที่ได้รับมานั่นเอง
              บางครั้งเราคิดว่าถ้าเรามีหลักสูตรที่ดีพอและเต็มไปด้วยข้อมูลที่สามารถให้กับผู้เรียนได้มากที่สุดเท่าที่เราจะให้ได้แล้ว ผู้เรียนก็จะสามารถเรียนรู้ได้เองและเติบโตไปเป็นผู้ที่มีการศึกษา แต่ทฤษฎี constructivism กล่าวว่าหลักสูตรอย่างนั้นไม่ได้ผล นอกจากว่าผู้เรียนได้เรียนแล้ว สามารถคิดเองและสร้างมโนภาพความคิดด้วยตนเอง ทั้งนี้ เพราะการให้แต่ข้อมูลกับผู้เรียน ไม่ได้ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ เพราะการเรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสมองของคนเรามีกระบวนการสร้างความสัมพันธ์กับสิ่งกระตุ้นแล้วนำมาทำความเข้าใจว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งจะต้องนำมาสร้างความรู้ ความรู้สึก และมโนภาพของเราเองด้วย
              ดังนั้นถ้าพูดถึงระบบการศึกษาแบบที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ไม่ได้หมายความว่ามีอุปกรณ์การสอนแล้วเราละทิ้งให้ผู้เรียนเรียนไปคนเดียว แต่การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด หมายความว่าผู้เรียนจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กันกับสิ่งกระตุ้น สิ่งกระตุ้นในที่นี้ หมายถึง ครู ผู้สอน หรือสิ่งแวดล้อมที่จะไปกระตุ้นผู้เรียน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยชี้แนะแนวทางการคิดให้กับผู้เรียน นอกจากนี้การสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งกระตุ้นต่างๆ จะทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างเป็นความรู้ขึ้นในสมอง
  • ตัวกระตุ้นที่มีความสำคัญมากต่อการเกิดการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructivism คือ ความรู้เกิดจากความฉงนสนเทห์ทางเชาวน์ปัญญา วิธีการที่เราสามารถทำให้ผู้เรียนอยากจะเรียนรู้คือมีตัวกระตุ้นที่ทำให้ผู้เรียนเกิดข้อสงสัยอยากรู้ และผู้เรียนต้องมีเป้าหมายและจุดประสงค์ที่อยากจะเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ทั้งนี้เพราะว่าเวลาคนเราเกิดความสงสัยเกี่ยวกับอะไร ก็มักจะเกิดข้อคำถามที่ไม่สามารถตอบได้ขึ้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้น เป็นเป้าหมายที่จะทำให้ต้องเรียนรู้ เพื่อที่จะตอบคำถามนั้นให้ ได้
  • ดังนั้นครูจึงต้องพยายามดึงจุดประสงค์ ความต้องการ และเป้าหมายของผู้เรียนออกมาให้ได้ อาจจะโดยกำหนดหัวข้อหรือพูดคร่าวๆ ว่าเราจะศึกษาหรือเรียนรู้อะไรบ้าง เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับการเดินทางเข้าเมือง ให้ผู้เรียนตั้งเป้าหมายว่าเขาต้องการที่จะเรียนรู้อะไร มีคำถามอะไรบ้าง ซึ่งเป้าหมายจะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนและทำให้ผู้เรียนพยายามที่จะไปสู่เป้าหมายนั้น และมีความเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
  • อีกกลุ่มหนึ่ง คือกลุ่มนักจิตวิทยา ได้ให้ความคิดเห็นว่าความรู้มาจากการมีปฏิสัมพันธ์กันทางสังคม จากการที่เราได้ทบทวนและสะท้อนกลับไปของความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เราเข้าใจ
          กระบวนการเรียนรู้โดยธรรมชาติ เป็นการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นสังคม กล่าวคือ ความรู้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสังคม ความรู้มาจากการที่คนอื่นได้แสดงออกของความคิดที่แตกต่างกันออกไป และกระตุ้นให้เราเกิดความสงสัย เกิดคำถามที่ทำให้เราอยากรู้เรื่องใหม่ๆ

 

          ดังนั้นการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ต้องมีสังคม ต้องดึงเอาความรู้เก่าออกมาและต้องให้ผู้เรียนคิดและแสดงออก ซึ่งจะทำได้เฉพาะกับสังคมที่มีการสนทนากัน แม้ว่าบางครั้งการสนทนาหรือการแสดงความคิดเห็นอาจจะไม่ตรงกันหรือมีความขัดแย้งกัน แต่ความขัดแย้งจะทำให้เราเกิดการพัฒนาและได้ทางเลือกใหม่จากที่คนอื่นเสนอ ฉะนั้นต้องทำให้ผู้เรียนได้แสดงออกมาว่ารู้อะไร และให้พูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนรู้โดยที่ครูหรือผู้สอนเป็นผู้ช่วยเหลือเขา

 

          สิ่งสำคัญมากประการหนึ่ง คือ ครูจะต้องมีเวลากลับไปทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการออกแบบชั้นเรียน และถ้าผู้เรียนสามารถสร้างวิธีการประเมินตนเองในการเรียนรู้ที่ผ่านมา ก็จะประเมินตนเองได้ว่าได้ทำอะไรเพิ่มเติมจากที่ครูประเมิน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ ของเขาและสะท้อนว่าเขาได้ เรียนอะไรและทำได้ดีเพียงไร

 วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย (Internet research cycle)


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต .....

 

วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย
(Internet research cycle)

แบบจําลองการวิจัยทางอินเทอร์เนต (An Internet Research Model) พัฒนามาจากโครงการใช้สื่อการเรียนทางอินเทอร์เน็ตที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีทักษะการวิจัยโดยใช้การสื่อสาร แม้อินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่ง ข้อมูลขนาดใหญ่ก็ตาม ท่ามกลางกระแสของข่าวสารข้อมูลที่มีอยู่อย่างท่วมท้นนี้ยังไม่สามารถค้นพบถึงแหล่ง ที่บรรจุข้อมูลซึ่งทันสมัย และตรงกับความต้องการเพื่อการศึกษาอย่างแท้จริง (Barron and Ivers.1996:53) อินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสืออยู่จํานวนมาก ทําอย่างไรให้นักเรียนสามารถเข้าถึง ข้อมูลที่ถูกต้องและตรงกับความต้องการอย่างรวดเร็ว


ภาพ วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย (Internet research cycle)

 

วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย (Internet research cycle) นี้ปรับปรุงมาจากวัฏจักรการแก้
ปัญหาด้านข้อมูลของ ไอเซนเบิร์ก และ เบอร์โกวิทส์ (Eisenberg and Berkowitz.1990) โดยการปรับให้เหมาะสมกับการใช้อินเทอร์เน็ต (Barron and Ivers.2000 อ?างถึง McKenzie.1995) แบ่งเป็น 6 ขั้นตอนคือ

ขั้นที่ 1 การกําหนดปัญหา ก่อนที่นักเรียนจะใช้อินเทอร์เน็ต ต้องกําหนดปัญหาที่ต้องการศึกษา วิจัยและร่วมกันอภิปรายถึงประเด็นที่สนใจร่วมกัน
ขั้นที่ 2 การวางแผน จากการกําหนดปัญหาในขั้นที่ 1 นํามาพัฒนาเป็นแนวทางเพื่อให้ปฏิบัติงาน ได้อย่างคุ้มค่า ประหยัดเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต
ขั้นที่ 3 การรวบรวม ขณะที่นักเรียนสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ตตามความต้องการ จําเป็นต้องฝึก ทักษะในการเลือกเนื้อหาและรับข้อมูลซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
นักเรียนจะฝึกให้ประเมินประเด็นเนื้อหาอย่างรวดเร็วและหลีกเลี่ยงข้อมูลที่ไม่ต้องการ
ขั้นที่ 4 การเลือกสรร หลังจากที่นักเรียนออกจากอินเทอร์เน็ต จะเริ่มวิเคราะห์ถึงข้อมูลที่ได้รับมา ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลที่ได้เลือกสรรมาแล้ว จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
ใช้เวลาเพื่อจัดข้อมูลเข้าเป็น หมวดหมู่ หรือคัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป
ขั้นที่ 5 การสังเคราะห์ นักเรียนจะรวบรวมข้อมูลที่ตรงกับประเด็นในการศึกษาวิจัยตามปัญหาที่ กําหนดไว้และเขียนสรุป
ขั้นที่ 6 การประเมิน ในที่สุด นักเรียนพยายามตัดสินใจว่าข้อมูลต่างๆ ที่หามาได้มีความสอดคล้อง กับปัญหาที่ตั้งไว้ในขั้นที่ 1 หรือไม่ ซึ่งอาจจะต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ หากผลที่ได้ยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน วัฎจักรของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัยนี้เป็นรูปแบบหนึ่งที่สามารถนํามาใช้ประกอบการเรียนได้ ซึ่งแตก ต่างจากการเรียนจากสื่อผ่านเครื อข่ายอินเทอร์เน็ตเฉพาะรายวิชา รูปแบบดังกล่าวสามารถใช้ ได้ ใน ต่างประเทศหรือในประเทศที่สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษซึ่งมีแหล่งข้อมูลให้เลือกสรรมากมาย จะสามารถนํามา ใช้ในประเทศไทยได้ถ้ามีสื่อและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษามากพอและครอบคลุมประเด็นที่ต้องการ 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎี
หมายเลขบันทึก: 230820เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2008 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท