ความหมายผ้งความคิด


ความหมายผ้งความคิด

ผังมโนภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลักษณะโดยทั่วไปของผังมโนภาพดังตัวอย่าง

ผังมโนภาพหรือแผนที่ความคิด (Mind map) คือรูปจำลองที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่องโยงของมโนภาพที่สัมพันธ์กัน โดยปกติจะใช้รูปวงกลมแทนมโนภาพหรือความคิด และเส้นลูกศรแทนลักษณะและทิศทางของความสัมพันธ์นั้น มีคำกำกับไว้ว่าวงกลมแทนมโนภาพของอะไร เส้นลูกศรแทนความสัมพันธ์ในลักษณะและทิศทางใด ในบางครั้งมีการใช้การเน้นและแจกแจงเนื้อความด้วยสีและการวาดรูปประกอบ

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ที่มา

ผังมโนภาพถือว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยบันทึกความคิดเพื่อให้เห็นภาพความคิดที่หลากหลายมุมมองที่กว้างและชัดเจนกว่าการบันทึกที่โดยยังไม่จัดระบบระเบียบความคิดใดๆ อีกทั้งเป็นวิธีการที่สอดคล้องกับโครงสร้างทางการคิดของมนุษย์ที่บางช่วงมนุษย์จะสูญเสียสมาธิและความจดจ่อไปโดยอัตโนมัติขณะที่กำลังคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การทำให้สมองได้คิด ได้ทำงานตามธรรมชาตินั้น มีลักษณะเหมือนต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านออกไปเรื่อยๆ

ผังมโนภาพถูกใช้เป็นแนวคิดไร้รูปแบบตายตัวมาหลายศตวรรษแล้วเพื่อใช้ในการเรียนรู้, การระดมสมอง, การจดจำข้อมูล, การจินตนาการและการแก้ปัญหาโดยนักศึกษา, วิศวกร, นักจิตวิทยา รวมถึงบุคคลทั่วไป ตัวอย่างของผู้คิดผังมโนภาพที่น่าจะเก่าแก่ที่สุดในโลกคือนักคิดในคริสต์ศตวรรษที่ 3 นามว่าพอไพรี ผู้ที่จำแนกนิยามที่ถูกคิดโดยอริสโตเติลไว้โดยการมโนภาพ ในยุคปัจจุบัน ผู้ปฏิวัติรูปแบบของผังมโนภาพโดยการบูรณาการคือ ดร.อัลลัน คอลลินส์ และนักวิจัยในช่วงทศวรรษ 60 (พ.ศ. 2500) เอ็ม.โรส ควิลแลนด์ โดยเผยแพร่วิธีการคิดแบบใหม่นี้โดยการลงบทความ และทำการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์และการมโนภาพ ทำให้ ดร.อัลลัน คอลลินส์ ถือว่าเป็นบิดาแห่งผังมโนภาพสมัยใหม่ก็ว่าได้

ดร.โทนี บูซาน ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำในเรื่องแผนที่ความคิด มาช่วยในการจดจำระยะยาวที่เรียกว่าวิธีเนโมนิก ซึ่งได้แก่การนำความรู้ใหม่ไปผูกโยงกับความรู้เดิมที่มีอยู่ ควบคู่ไปกับการพัฒนาสมองซีกขวาโดยการจินตนาการ ด้วยหลักการใช้คำหลักเป็นตัวกำหนดแล้วขยายกิ่งก้านสาขาออกไป วิธีนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในเรื่องการทำประชาคม การบันทึกคำบรรยาย เป็นต้น

 

[แก้] แนวทางการเขียน mind map

  1. เริ่มที่ตรงกลางหน้ากระดาษด้วยรูปหรือหัวข้อ ใช้สีอย่างน้อย 3 สี
  2. ใช้รูป, สัญลักษณ์, รหัส, ความหนา ตลอดที่ทำ mind map
  3. ให้เขียนคำสำคัญโดยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก
  4. คำแต่ละคำ หรือรูปแต่ละรูป จะต้องอยู่บนเส้นของตัวเอง
  5. เส้นแต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกัน โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ตรงกลางภาพ เส้นที่อยู่ตรงกลางจะมีขนาดหนา และจะยิ่งบางลงเมื่อห่างจากศูนย์กลาง
  6. ขนาดความยาวของเส้นที่ลาก ยาวเท่ากับคำหรือรูป
  7. ใช้สี รหัสส่วนตัว ตลอดที่ทำ mind map
  8. พัฒนารูปแบบ mind map ของตัวเอง
  9. ใช้วิธีเน้นข้อความ และแสดงความเป็นกลุ่มก้อนใน mind map
  10. รักษา mind map ให้เข้าใจง่ายโดยการแบ่งความสำคัญเริ่มจากตรงกลาง ใช้การเรียงลำดับตัวเลข หรือใช้เส้นร่างเพื่อรักษาความเป็นกลุ่มก้อนของแต่ละกิ่ง

 

http://www.geocities.com/nonggulaschool2004/theory.html

หมายเลขบันทึก: 230674เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2008 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท