การวิเคราะห์หลักสูตร


วิเคราะห์หลักสูตร

วิเคราะห์หลักสูตร

หลักสูตรการศึกษาขันพื้นฐาน พ.ศ. 2544 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551ได้ทำการวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างในประเด็นต่อไปนี้

1.วิสัยทัศน์

2.หลักการ

3.จุดหมาย

4.สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

5.โครงสร้าง/มาตรฐานการเรียนรู้

6.ตัวชี้วัด

7.สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

8.การจัดเวลาเรียน

9.โครงสร้างเวลาเรียน

10.การจัดการเรียนรู้

11.สื่อการเรียนรู้

12.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

13.เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน / เกณฑ์การผ่านช่วงชั้นและการจบหลักสูตร

1. วิสัยทัศน์

หลักสูตรการศึกษาขันพื้นฐาน พ.ศ. 2544

ความเหมือน

1.เชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาในการสร้างคน สร้างงาน เพื่อช่วยกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

2.เชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาในการสร้างชาติ ปรับโครงสร้างและระบบการศึกษา

3.ยึดหลักการบริหารจัดการที่เน้นคุณภาพ ประสิทธิภาพและความเสมอภาค

4.ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และ เชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาในการสร้างคนบูรณาการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในการปฏิรูปการเรียนรู้

5.เชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาในการสร้างงาน สร้างเยาวชนให้มีความรู้คู่กับการทำงาน

ความแตกต่าง

นโยบายการศึกษาในการสร้างคน สร้างงาน เพื่อช่วยกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

ความเหมือน

มุ่งพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนักในความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ

ความแตกต่าง

มุ่งพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนักในความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก

2.หลักการ

หลักสูตรการศึกษาขันพื้นฐาน พ.ศ. 2544

ความเหมือน

1.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ

2.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน

3.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้ง สาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้

4.เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์

ความแตกต่าง

1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

ความเหมือน

1.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ

2.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน

3.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้ง สาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้

4.เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์

ความแตกต่าง

1.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการจองท้องถิ่น

2.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3. จุดหมาย

หลักสูตรการศึกษาขันพื้นฐาน พ.ศ. 2544

ความเหมือน

มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ

1.เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง ปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์

2.มีความรู้อันเป็นสากล รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้า มีทักษะและศักยภาพในการจัดการ สื่อสารและการใช้เทคโนโลยี

3.มีทักษะขบวนการโดยเฉพาะทรงคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทักษะการคิด การสร้างปัญญา และทักษะในการดำเนินชีวิต

4.รักการออกกำลังกาย ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี

5.เข้าใจในประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย เป็นพลเมืองดี ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

6.มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ความเหมือน

มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ

ความแตกต่าง

1.มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเขียน การค้นคว้า

2.มีประสิทธิภาพในการผลิต และการบริโภค มีค่านิยมที่เป็นผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

ความเหมือน

1.มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย และ ปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

2.มีความรู้ ความสามารถในการจัดการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต

3.มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัยและรักการออกกำลังกาย

4.มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลไทย เป็นพลเมืองโลก ยึดมั่นวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

5.มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งที่จะทำประโยชน์ และสร้างสิ่งดีงามให้สังคม อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

ความแตกต่าง

1. ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

2. มีจิตสาธารณะที่มุ่งที่จะทำประโยชน์ และสร้างสิ่งดีงามให้สังคม อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

4.สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

หลักสูตรการศึกษาขันพื้นฐาน พ.ศ. 2544

-ไม่มีกำหนดไว้

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

-มีกำหนดไว้ให้ประเมินผลนักเรียนแต่ไม่จำกัดคุณลักษณะและจำนวนข้อ ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของแต่ละโรงเรียน

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ

1.ความสามารถในการสื่อสาร

2. ความสามารถในการคิด

3. ความสามารถในการแก้ปัญหา

4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

 

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1.รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

2.ซื่อสัตย์สุจริต

3.มีวินัย

4.ใฝ่เรียนรู้

5.อยู่อย่างพอเพียง

6.มุ่งมั่นในการทำงาน

7.รักความเป็นไทย

8.มีจิตสาธารณะ

5.โครงสร้าง/มาตรฐานการเรียนรู้

หลักสูตรการศึกษาขันพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ความเหมือน

กำหนดให้ผู้เรียน เรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ

1. ภาษาไทย

2. คณิตศาสตร์

3. วิทยาศาสตร์

4. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

5. สุขศึกษาและพลศึกษา

6. ศิลปะ

7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี

8. ภาษาต่างประเทศ

ความแตกต่าง

ระดับการศึกษา

กำหนดเป็น 4 ช่วงชั้น ตามระดับพัฒนาการของผู้เรียน

- ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

- ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

- ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

- ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ

1.กิจกรรมแนะแนว

2.กิจกรรมนักเรียน

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

ความเหมือน

กำหนดให้ผู้เรียน เรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ

1.ภาษาไทย

2.คณิตศาสตร์

3.วิทยาศาสตร์

4.สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

5.สุขศึกษาและพลศึกษา

6.ศิลปะ

7.การงานอาชีพและเทคโนโลยี

8.ภาษาต่างประเทศ

ความแตกต่าง

ระดับการศึกษา

จัดนักเรียนเป็น 3 ระดับ คือ

1. ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1– 6)เป็นช่วงแรกของการศึกษาภาคบังคับ

2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) เป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังตับ

3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4- 6) เป็นการศึกษาเน้นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น 3 ลักษณะ

1.กิจกรรมแนะแนว

2.กิจกรรมนักเรียน

3.กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

6.ตัวชี้วัด

หลักสูตรการศึกษาขันพื้นฐาน พ.ศ. 2544 - ไม่มีระบุไว้

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

ตัวชีวัดระบุสิ่งที่ผู้เรียนควรรู้และพึงปฏิบัติได้ แบ่งออกเป็น

1.ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3

2.ตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6

7. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

หลักสูตรการศึกษาขันพื้นฐาน พ.ศ. 2544

กำหนดให้ผู้เรียน เรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

จำนวน 76 มาตรฐาน

แยกได้ดังนี้

1.ภาษาไทย จำนวน 5 สาระ 6 มาตรฐาน

2.คณิตศาสตร์ จำนวน 6 สาระ 19 มาตรฐาน

3.วิทยาศาสตร์ จำนวน 8 สาระ 13 มาตรฐาน

4.สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

จำนวน 5 สาระ 12 มาตรฐาน

5.สุขศึกษาและพลศึกษา จำนวน 5 สาระ 6 มาตรฐาน

6.ศิลปะ จำนวน 3 สาระ 6 มาตรฐาน

7.การงานอาชีพและเทคโนโลยีจำนวน 5 สาระ 6 มาตรฐาน

8.ภาษาต่างประเทศ จำนวน 4 สาระ 8 มาตรฐาน

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

กำหนดให้ผู้เรียน เรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 67 มาตรฐาน

แยกได้ดังนี้

1.ภาษาไทย จำนวน 5 สาระ 5 มาตรฐาน

2.คณิตศาสตร์ จำนวน 6 สาระ 14 มาตรฐาน

3.วิทยาศาสตร์ จำนวน 8 สาระ 13 มาตรฐาน

4.สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมจำนวน 5 สาระ 11 มาตรฐาน

5.สุขศึกษาและพลศึกษา จำนวน 5 สาระ 6 มาตรฐาน

6.ศิลปะ จำนวน 3 สาระ 6 มาตรฐาน

7.การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 4 สาระ 4 มาตรฐาน

8.ภาษาต่างประเทศ จำนวน 4 สาระ 8 มาตรฐาน

8. การจัดเวลาเรียน

หลักสูตรการศึกษาขันพื้นฐาน พ.ศ. 2544 1.ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี

2.ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี

3.ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี

4.ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค

1. ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1– 6) ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี

2.ระดับมัธยมศึกษา (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค

3.ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4- 6) ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค

9. โครงสร้างเวลาเรียน

หลักสูตรการศึกษาขันพื้นฐาน พ.ศ. 2544

1.ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ปีละประมาณ 800 - 1,000 ชั่วโมง

2.ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6ปีละประมาณ 800 - 1,000 ชั่วโมง

3.ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ปีละประมาณ 1,000 - 1,200 ชั่วโมง

4.ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ไม่น้อยกว่าปีละ 1,200 ชั่วโมง 1.

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

1.ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1– 6) ไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง/ปี

2. ระดับมัธยมศึกษา (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3)

ไม่เกิน 1,200 ชั่วโมง/ปี

3.ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4- 6)รวม 3 ปีไม่น้อยกว่า 3,600 ชั่วโมง

10. การจัดการเรียนรู้

หลักสูตรการศึกษาขันพื้นฐาน พ.ศ. 2544

การจัดการศึกษายึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ครูผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ชี้นำ ผู้ถ่ายทอดความรู้ เป็นผู้ช่วยเหลือส่งเสริม และสนับสนุนผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนจัดได้หลายลักษณะ ดังนี้

1.การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว

2.การบูรณาการแบบคู่ขนาน

3.การบูรณาการแบบสหวิทยาการ

4.การบูรณาการแบบโครงการ

แนวการจัดการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น

- ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 3 จัดการเรียนรู้เพื่อสนองความสนใจของผู้เรียน

- ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- 6 จัดการเรียนรู้เพื่อสนองความสนใจของผู้เรียน แต่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้เลือกเรียนในสิ่งที่ตนสนใจ

- ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3 จัดการเรียนรู้มีหลักการที่ยาก ซับซ้อน เน้นการเรียนรู้แบบโครงงานมากขึ้น

- ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4- 6 จัดการเรียนรู้เริ่มเน้นเข้าสู่เฉพาะทาง มุ่งเน้นความสามารถ ความคิดระดับสูง ความถนัด และความต้องการของผู้เรียน

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ ดังนี้

1.หลักการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยยึดหลัก ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด

2.กระบวนการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเป็นเครื่องมือนำไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร

3.การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ต้องศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน จึงออกแบบการเรียนรู้

4.บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน

-บทบาทของผู้สอน ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล กำหนดเป้าหมาย ออกแบบและจัดการเรียนรู้ จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียน จัดเตรียมและเลือกใช้สื่อ ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียน และวิเคราะห์ผลการประเมินนำมาใช้ซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน

-บทบาทของผู้เรียน กำหนดเป้าหมาย เสาะแสวงหาความรู้ ลงมือปฏิบัติจริง มีปฏิสัมพันธ์ ทำงานร่วมกับกลุ่มและครู

11.สื่อการเรียนรู้

หลักสูตรการศึกษาขันพื้นฐาน พ.ศ. 2544

ความเหมือน

ลักษณะของสื่อที่นำมาใช้ ควรมีความหลากหลาย ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อธรรมชาติ สื่อเทคโนโลยี และสื่ออื่นๆ สถานศึกษา และผู้มีหน้าที่จัดการศึกษา ควรดำเนินการ คือ

1.จัดทำ จัดทำสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้

2.ศึกษา ค้นคว้า วิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ

3.จัดทำ และจัดหาสื่อการเรียนรู้

4.ศึกษาวิธีเลือกใช้สื่ออย่างมีประสิทธิภาพ

5.ศึกษาวิเคราะห์ประเมินคุณภาพสื่อ

6.จัดหาแหล่งเรียนรู้ ศูนย์สื่อที่มีประสิทธิภาพ

7.จัดให้มีเครือข่ายการเรียนรู้

8.จัดให้มีการกำกับ ประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพสื่อ และการใช้สื่อ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

ความเหมือน

1.จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ ศูนย์สื่อการเรียนรู้ ระบบสาระสนเทศการเรียนรู้ และเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพทั้งในและนอกสถานศึกษา

2.จัดทำและจัดหาสื่อการเรียนรู้สำหรับการศึกษาค้นคว้าของผู้เรียน

3.เลือกและใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

4.ประเมินคุณภาพของสื่ออย่างเป็นระบบ

5.ศึกษาค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้

6.จัดให้มีการกำกับ ประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพสื่อ และการใช้สื่อ

12.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

หลักสูตรการศึกษาขันพื้นฐาน พ.ศ. 2544

ความเหมือน

สถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบจัดการศึกษา จัดทำหลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผล เพื่อใช้เป็นข้อมูลสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับคุณภาพผู้เรียนแก่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.การวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน เพื่อมุ่งหาคำตอบว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรม ค่านิยมอันพึงประสงค์เพียงใด

2.การประเมินผลระดับสถานศึกษา เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าด้านการเรียนรู้เป็นรายชั้นปี

3.การประเมินคุณภาพระดับชาติ จัดให้ผู้เรียนทุกคนในปีสุดท้ายของช่วงชั้น คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

 

ความเหมือน

การวัดและประเมินผลอยู่บนหลักการพื้นฐาน 2 ประการ คือ ประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน และ เพื่อตัดสินผลการเรียน แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้

1.การประเมินระดับชั้นเรียน ผู้สอนเป็นผู้ประเมินเอง ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน และผู้ปกครองร่วมประเมิน เพื่อตรวจสอบพัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้

2.การประเมินผลระดับสถานศึกษา เพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายปี/รายภาค ผลการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

3.การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นการประเมินเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา

4.การประเมินคุณภาพระดับชาติ จัดให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้ารับการประเมิน

ความแตกต่าง

การประเมินระดับชั้นเรียน ผู้สอนเป็นผู้ประเมินเอง ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน และผู้ปกครองร่วมประเมินการประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นการประเมินเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา

13.เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน / เกณฑ์การผ่านช่วงชั้นและการจบหลักสูตร

หลักสูตรการศึกษาขันพื้นฐาน พ.ศ. 2544

เกณฑ์การผ่านช่วงชั้นและการจบหลักสูตร

การจัดการศึกษาใช้เวลาประมาณ 12 ปี ผู้เรียนสามารถจบการศึกษาได้ 2 ช่วง คือ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ถือว่า จบการศึกษาภาคบังคับ และจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ถือว่า จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จบการศึกษาภาคบังคับ

1.ผู้เรียนต้องผ่านการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระตามเกณฑ์ของสถานศึกษา

2.ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียนตามเกณฑ์ของสถานศึกษา

3.ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์ของสถานศึกษา

4.ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามเกณฑ์ของสถานศึกษา

จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.ผู้เรียนต้องผ่านการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระและได้หน่วยกิตครบตามหลักสูตรสถานศึกษา และตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

2.ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน ตามเกณฑ์ของสถานศึกษา

3.ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามเกณฑ์ของสถานศึกษา

4.ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามเกณฑ์ของสถานศึกษา

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน

1.การตัดสินและให้ระดับผลการเรียน

1.1.การตัดสินผลการเรียน

ระดับประถมศึกษา

-ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด

-ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินทุกตัวชี้วัด ตามเกณฑ์ของสถานศึกษา

-ผู้เรียนต้องได้รับกรตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา

-ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามที่สถานศึกษากำหนด

ระดับมัธยมศึกษา

เหมือนกับระดับประถมศึกษา แต่ตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชา ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ในแต่ละรายวิชา

1.2.การให้ระดับผลการเรียน

ระดับประถมศึกษา

- ให้ตัดสินให้ระดับผลการเรียนรายวิชา เป็นระบบตัวเลข ระบบตัวอักษร และระบบร้อยละ

- การประเมินอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เป็นระดับ ดีเยี่ยม ดี และผ่าน

- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พิจารณาจาก เวลา การปฏิบัติ และผลงานของผู้เรียน ให้เป็นผ่าน และไม่ผ่าน

หลักสูตรการศึกษาขันพื้นฐาน พ.ศ. 2544 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

ระดับมัธยมศึกษา

- ให้ตัดสินให้ระดับผลการเรียนรายวิชา เป็นตัวเลข แสดงระดับผลการเรียนเป็น 8 ระดับ

- การประเมินอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เป็นระดับ ดีเยี่ยม ดี และผ่าน

- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พิจารณาจาก เวลา การปฏิบัติ และผลงานของผู้เรียน ให้เป็นผ่าน และไม่ผ่าน

2.เกณฑ์การจบการศึกษา

2.1 เกณฑ์การจบระดับประถมศึกษา

-ผู้เรียนต้องเรียนรายวิชาพื้นฐาน/เพิ่มเติมตามโครงสร้างเวลาเรียน

-ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน ผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

-ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

-ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

2.2 เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

- ผู้เรียนต้องเรียนรายวิชาพื้นฐาน/เพิ่มเติมไม่เกิน 81 หน่วยกิต เป็นรายวิชาพื้นฐาน 63 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด

- ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วยกิต เป็นรายวิชาพื้นฐาน 63 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติม ไม่น้อยกว่า 14 หน่วยกิต

- ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์เขียน ผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

- ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

- ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

2.3 เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

- ผู้เรียนต้องเรียนรายวิชาพื้นฐาน/เพิ่มเติมไม่เกิน 81 หน่วยกิต เป็นรายวิชาพื้นฐาน 39 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด

- ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วยกิต เป็นรายวิชาพื้นฐาน 39 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติม ไม่น้อยกว่า 38หน่วยกิต

- ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน ผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

- ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

- ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

คำสำคัญ (Tags): #หลักสูตร
หมายเลขบันทึก: 229393เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2008 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วิเคราะห์ได้ดีมากครับ โดยเฉพาะหัวข้อที่ ๑๐ การจัดการเรียนรู้ ของหลักสูตรปี ๔๔ และ ๕๑ ได้แจ่มครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท