การเรียนแบบโปรแกรม


การสอน2

ประเภทของสื่อการสอนทางธุรกิจศึกษา

     2. การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)

          การสอนแบบโปรแกรม เป็นการสอนแบบหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เกิดการเรียนรู้ได้ดี มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า และอาศัยหลักการจัด เพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนจะเรียนรู้ตามขีดความสามารถ ความถนัด และความสนใจ


             2.1 ประเภทของการสอนแบบโปรแกรม

        การสอนแบบโปรแกรม แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
           • การสอนแบบโปรแกรมในฐานวิธีการ เป็นการสอนที่ใช้วิธีการอย่างเดียว และใช้สื่อร่วมเพียง 1-2 อย่าง เช่น บทเรียนโปรแกรม โปรแกรมภาพ สไลด์เทปโปรแกรม ฯลฯ

           • การสอนแบบโปรแกรมในฐานะกระบวนการ เป็นการสอนแบบโปรแกรมที่ใช้วิธีการหลายอย่างและใช้สื่อประสมตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไป เช่น ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม การสอนทางไกล


              2.2 หลักการสำคัญของการสอนแบบโปรแกรม

        การสอนโปรแกรมนั้น มีองค์ประกอบซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี 4 ประการ ดังนี้
            • ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในการประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง อย่างกระฉับเฉง (Active Participation) ในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีถ้าผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้เรียนจะเกิดความสนใจ ไม่เบื่อหน่วย เป็นการเรียนรู้แบบ Active เช่น ผู้เรียนอ่าน ปฏิบัติการทดลอง ตอบคำถาม อภิปราย กิจกรรมเหล่านี้จะเอื้อให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง คิดค้นหาคำตอบ ซึ่งจะตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี

            • ผู้เรียนสามารถทราบผลย้อนกลับทันที (Immediate feedback) หลังจากผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเองแล้ว ควรจะแจ้งให้ผู้เรียนทราบผลทันทีว่า สิ่งที่ได้ทำแล้วนั้นผิดหรือถูกถ้าผิดควรบอกเหตุผลว่า เพราะเหตุใด การที่ผู้เรียนได้ทราบย้อนกลับในทันทีนี้จะมีผลช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง และจดจำได้ดี แต่ถ้าผู้เรียนตอบได้ถูกต้องก็จะก่อให้เกิดแรงเสริม ทำให้เกิดกำลังใจที่จะเรียนรู้ต่อไป

            • จัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดความสำเร็จ (Successful Experience) ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จเป็นระยะที่ต่อเนื่องกันไปจะทำให้ผู้เรียนพึงพอใจในการเรียนนั้น ๆ เปรียบเสมือนรางวัล หรือการเสริมแรงที่จะทำให้ผู้เรียนมีความต้องการที่จะศึกษาต่อไป แต่ถ้าจัดบทเรียน หรือประสบการณ์ที่ยากเกินไป ก็มีผลทำให้ผู้เรียน ทำไม่ได้ ไม่เข้าใจ ก็จะก่อให้เกิดความเบื่อหน่ายไม่ต้องการศึกษาต่อไป

            • ให้ผู้เรียนเรียนทีละน้อย ๆ (Gradual Approximation) การแบ่งเนื้อหาหรือบทเรียนเป็นหน่วยย่อย ๆ เพื่อได้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทีละน้อย จัดเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก ไม่สับสนจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่าย และเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนเรียนรู้ในขั้นต่อไปโดยไม่เกิดความเบื่อหน่าย




   
คำสำคัญ (Tags): #การสอน2
หมายเลขบันทึก: 229124เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2008 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท