แผนนวัตกรรม


โพลยา

แผนนวัตกรรมอาจารย์ 3  เชิงประจักษ์ (จริงๆ)  ที่ได้รับการอนุมัติ  ตั้งแต่วันที่  1  พฤศจิกายน  2548  อันดับแรก  ขอนำเสนอแผนปฐมนิเทศก่อนนะคะ  (สาระคณิตศาสตร์  .4)

 

แผนการสอนปฐมนิเทศ

กลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์                                          ชั้นประถมศึกษาปีที่  4  ภาคเรียนที่  1                               

เรื่อง  โจทย์ปัญหาและสถานการณ์โจทย์ปัญหา                                                    เวลา  1  ชั่วโมง

สอนวันที่..............เดือน............................ ......พ.ศ. .......................โดย  นางพลอยระวี  อนุสรณ์

 

ความคิดรวบยอด /สาระสำคัญ

                กระบวนการ การแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นทักษะกระบวนการคิดของผู้เรียนให้สามารถคิด วิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้อย่างเหมาะสม  สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาของโจทย์ปัญหาแต่ละข้อ  ซึ่งจำแนกออกเป็น  4  ขั้น  ดังนี้

1)      ขั้นทำความเข้าใจโจทย์

2)      ขั้นวางแผนแก้ปัญหา

3)      ขั้นปฏิบัติตามแผน

4)      ขั้นตรวจสอบ

จุดประสงค์การเรียนรู้

ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ การแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

                หลังจากปฐมนิเทศแล้วนักเรียนสามารถบอกและอธิบายถึงกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาตามขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาได้

สาระการเรียนรู้

การเรียนรู้ตามแนวขั้นตอนกระบวนการ การแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่แบ่งออกเป็น  4  ขั้นตอน  ได้แก่

                ขั้นที่ 1 ขั้นทำความเข้าใจ  คือเข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่ไม่รู้ อะไรคือข้อมูล  โจทย์กำหนดเงื่อนไขอะไรมาให้ และเพียงพอที่จะแก้ปัญหาหรือไม่ ซึ่งไม่อาจใช้การวาดรู้เข้าช่วยถ้ายังเข้าใจไม่ดีพอ ควรแยกสภาพการณ์หรือเงื่อนไขออกเป็นส่วน ๆ โดยการเขียนลงบนกระดาษ                  จะทำให้เข้าใจปัญหามากขึ้น  ในขั้นนี้นักเรียนจะต้องสรุปออกมาเป็นภาษาของตนได้  และบอกประเด็นของปัญหาได้

                ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน  เป็นขั้นตอนของการค้นหาความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกับสิ่งที่ไม่รู้  ถ้าไม่สามารถหาสิ่งเชื่อมโยงได้ ก็ควรอาศัยหลักการวางแผนดังนี้คือ 1)เป็นโจทย์ปัญหา        ที่เคยประสบหรือคล้ายคลึงกับโจทย์ที่เคยประสบมาก่อนมาก่อนหรือไม่ 2)รู้จักโจทย์ปัญหา    ที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับโจทย์ที่เคยแก้หรือไม่  หรือรู้ถึงทฤษฎีที่จะแก้โจทย์ข้อนั้นหรือไม่   3)พิจารณาถึงสิ่งที่ไม่รู้ในโจทย์และดูว่าจะใช้วิธีแก้ปัญหาที่เคยประสบมาใช้แก้ได้หรือไม่        4)ควรอ่านโจทย์ปัญหาอีกครั้งและวิเคราะห์เพื่อดูว่าแตกต่างจากปัญหาที่เคยประสบหรือไม่   ในขั้นนี้จะต้องมองเห็นว่าต้องการในสิ่งหนึ่ง จะต้องใช้เหตุผลหรือข้ออ้างอะไรเพื่อให้ได้มา  ซึ่งสิ่งที่ต้องการ

                ขั้นที่ 3 ขั้นดำเนินการตามแผน เป็นขั้นตอนของการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้และต้องตรวจสอบแต่ละขั้นตอนว่าถูกต้องหรือไม่  เป็นขั้นที่ต้องคิดคำนวณตามแผนที่วางไว้เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา สิ่งที่ต้องใช้ในขั้นนี้คือทักษะในการคิดคำนวณ และการรู้จักเลือกวิธีคำนวณที่เหมาะสมมาใช้

                ขั้นที่ 4 ขั้นการตรวจสอบ  เป็นการตรวจสอบการแก้ปัญหาว่าถูกต้องหรือไม่ โดยต้องตรวจสอบผลลัพธ์ว่าถูกต้องหรือไม่ โดยอาจใช้การประมาณคำตอบคร่าว ๆ

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

1.หลังจากปฐมนิเทศแล้วผู้เรียนสามารถบอกถึงขั้นตอนกระบวนการในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ทั้ง 4 ขั้นตอนของโพลยาได้ (คิดเป็นร้อยละ  80 ของผู้เรียนทั้งหมด)

2.ผู้เรียนสามารถนำสถานการณ์ในชีวิตประจำวันมาสร้างเป็นโจทย์ปัญหาการคูณขั้นตอนเดียวได้ (คิดเป็นร้อยละ  80 ของผู้เรียนทั้งหมด)

กระบวนการการจัดการเรียนการสอน

            1. ขั้นนำ

1.1    ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมให้ผู้เรียนทราบ

1.2    ครูยกสถานการณ์ตัวอย่างมาเล่าให้ผู้เรียนฟังพร้อมกับตั้งคำถาม  ดังนี้

·       เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาระหว่างเดินทางมาโรงเรียนครูพบวัยรุ่นสามคนกำลังยืนคุยกันอยู่ที่ริมรั้วข้างโรงเรียน  ดูท่าทางไม่น่าไว้ใจ

ถาม

-          เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ( ช่วงเช้าของวันนี้ )

-          ครูพบเหตุการณ์อะไรระหว่างเดินทาง ( พบวัยรุ่นสามคนกำลังยืนคุยกัน                 ที่ริมรั้วโรงเรียน )

-          ครูคิดอย่างไรกับเหตุการณ์ที่พบ ( เป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าไว้ใจเลย )

1.3 ครูอธิบายว่าลักษณ์คำถามที่ครูถามนักเรียนในสถานการณ์ที่ยกมานี้เป็นการถามเพื่อให้ผู้เรียนได้คิดและวิเคราะห์สถานการณ์อย่างเป็นขั้นเป็นตอน

2. ขั้นสอน

2.1 แจ้งให้ผู้เรียนทราบถึงเงื่อนไขข้อตกลงในการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหา ว่าต่อไปนี้ในกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาตามหลักสูตรการเรียนการสอนของเราทุกครั้งจะดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนตามขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหา 4 ขั้นตอน ดังนี้ ( ครูนำแผนภูมิขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา มาติดที่กระดานดำ หรือคัดลอกลงบนกระดานดำ )

ขั้นที่ 1 เมื่อพบสถานการณ์โจทย์ปัญหาจะต้องอ่านและทำความเข้าใจโจทย์ก่อน  ซึ่งนักเรียนจะต้องวิเคราะห์ขั้นตอนกระบวนการของโจทย์ปัญหาออกมาเป็นตอน ๆ นอกจากนั้นจะต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ว่าโจทย์ปัญหานั้นได้ให้ข้อมูลอะไรมาให้บ้าง และโจทย์ได้ถามอะไร(ต้องการทราบอะไร) และสุดท้ายจะต้องประมวลข้อมูลและเงื่อนไขต่าง ๆ          ดูว่าคำตอบของโจทย์น่าจะเป็นอย่างไร

ขั้นที่ 2 เมื่อทำความเข้าใจโจทย์ในขั้นตอนที่หนึ่งเสร็จแล้วนักเรียนจะต้องวางแผนหรือร่วมกันวางแผนในการแก้โจทย์ปัญหาข้อนี้โดยการสร้างทางเลือกในวิธีที่นำไปสู่คำตอบของโจทย์ปัญหาที่หลากหลาย เช่นอาจใช้วิธีการวาดภาพประกอบ  วิธีเขียนเป็นแผนภูมิต่าง ๆ หรือบางทีอาจต้องทดลองปฏิบัติจริงเลยก็ได้เพ่อให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือกระบวนการ       ในการแก้โจทย์ปัญหาที่เหมาะสม

ขั้นที่ 3 เมื่อสร้างทางเลือกที่หลากหลายแล้วนักเรียนก็ตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดมาดำเนินการลงมือปฏิบัติเพื่อแก้โจทย์ปัญหานั้น

ขั้นที่ 4  ตรวจสอบ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการแก้โจทย์ปัญหา            โดยนักเรียนอาจจะลองใช้วิธีการที่หลากหลายที่วางแผนเอาไว้ลองทำดูว่าคำตอบที่ออกมาเป็นไปในทิศทางหรือได้คำตอบเหมือนกันหรือไม่  หรืออาจจะใช้วิธีการตรวจคำตอบของกระบวนการแก้โจทย์ปัญหานั้น เช่น ตรวจคำตอบการหารโดยการนำตัวหารไปคูณกับผลหารว่าจะได้เท่ากับตัวตั้งหรือไม่  เป็นต้น

                2.2 ครูแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าก่อนจะทำการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้เรื่องใดจะต้องทำการทดสอบความรู้เดิมของผู้เรียนเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการจัดการเรียนการสอนเรื่องนั้น ๆ ต่อไป

                2.3 ครูแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าถ้านักเรียนทดสอบความรู้พื้นฐานแล้วปรากฏว่ามีนักเรียนไม่ผ่านตำกว่า 80 % ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมดในชั้นเรียน จะต้องทำการสอนและเรียนซ่อมก่อน จึงจะดำเนินการเรียนในสาระการเรียนรู้เรื่องนั้น ๆ ได้

                2.4 เมื่อทำการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้แต่ละเรื่องเสร็จนักเรียนจะต้องทำการทดสอบย่อยในเนื้อหานั้น ๆ อีกครั้ง (สอบย่อยหลังเรียน) และจำต้องผ่านคิดเป็นร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งชั้นจึงจะถือว่าผ่าน  ถ้าไม่ผ่านก็เรียนและสอนซ่อมจนกว่าจะสามารถผ่านคิดเป็นร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งชั้น

2.5    ครูอธิบายต่อไปว่าหลังจากนั้นจึงจะเป็นการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้เรื่องอื่น ๆ ต่อไป

2.6  ครูอธิบายว่าการผ่าน  80 % ของนักเรียนทั้งหมดหมายความว่า  80 % ของคะแนนของนักเรียนทั้งชั้น  ซึ่งมีวิธีคำนวณดังนี้

นำเอาคะแนนผลสอบของนักเรียนทุกคนมารวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยออกมาแล้วจึงมาเทียบกับคะแนน  80 % ของแบบทดสอบแต่ละครั้ง  เช่น

ตารางเกณฑ์การผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้รายสาระ

 

ที่

ชื่อ   -   สกุล

นักเรียนในชั้น

คะแนนรายคน

(เต็ม 10 คะแนน)

ร้อยละ

ของคะแนน

( % )

คะแนนสอบ

เฉลี่ยทั้งชั้น (% )

 

 

80

1

ด.ช. วิทยา  อาจเพิ่ม

8

80

 

2

ด.ช.สวัสดี  สุขโข

7

70

 

3

ด.ญ.โชคดี  มีสุข

9

90

 

 

จากคะแนนสอบของนักเรียนจะเห็นว่านักเรียนทำคะแนนได้คิดเป็น 80 % ของนักเรียนทั้งชั้นพอดี  ซึ่งถือว่าผ่านในการทดสอบของกิจกรรมการเรียนรู้ในรายสาระนั้น ๆ

3. ขั้นสรุป

                ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงรูปแบบกระบวนการเรียนการสอน  แบบเน้นทักษะกระบวนการคิดของโพยานั้นมีทั้งหมด  4  ขั้นตอน  ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะเชื่อมโยงต่อเนื่องกันเป็นกระบวนการ  นอกจากนี้เป้าหมายในการเรียนการสอนของเรานั้นมีเป้าหมายว่าในภาพรวมของนักเรียนทั้งชั้นจะต้องสามารถทำคะแนนทดสอบผ่านเกณฑ์ถึง  80 % ของนักเรียนทั้งชั้น จึงจะถือว่าผ่านในกระบวนการเรียนการสอนในแต่ละสาระการเรียนรู้

สื่อการเรียนการสอน

-          แผนภูมิขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา 

-          ตารางเกณฑ์การผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้รายสาระ

การประเมินผล

                สังเกตการตอบคำถามและการให้ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัญฑิต 51 มรม.
หมายเลขบันทึก: 228761เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2008 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นผลงานที่ดี อยากเห็นผลงานแบบเต็ม ๆ ช่วยแนเคราะห์ครูชำนาญการด้วย ขอยคุณ


ดีมากเลยค่ะอยากให้เผยแพร่ต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท