แนวคิดการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา


แนวคิดการประกันคุณภาพ

 

                                                                                                                บทความโดย ดร.  เฉลิม  ฟักอ่อน

 

แนวคิดการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

 

         จากการที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 หมวด 6 มาตรา 48 กำหนดให้สถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยให้ถือว่าการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา ที่ต้องการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมาตรา 49 กำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (...)  พัฒนาผลการจัดการศึกษา เพื่อเป็นการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา โดยทำการประเมินทุก 5 ปี ดังนั้น      ...  จึงกำหนดมาตรฐานการศึกษา 27 มาตรฐาน 91 ตัวบ่งชี้ แบ่งเป็นมาตรฐานด้านผู้เรียน มาตรฐานด้านกระบวนการ และมาตรฐานด้านปัจจัย เพื่อเป็นตัวบ่งชี้      คุณภาพการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินภายนอกด้วย

         ในรอบแรกของการประเมินของ       ...  คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ 25 มกราคม 2543 ให้  ... ประเมินคุณภาพภายนอก 14  มาตรฐาน 53 ตัวบ่งชี้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543) 

         สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงต้องดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างกระตือรือร้น และเข้มแข็ง ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับดังกล่าวทุกสังกัดจึงพัฒนาแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป

         บทความนี้จะขอเสนอแนวทางหนึ่งในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตลอดจนเตรียมการรับการประเมินจากองค์กรภายนอก คือสำนักงานรับรอง   มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา   (...) โดยยึดหลักการดำเนินงานตามวงจรของเดมมิ่ง ได้แก่ การวางแผน (Plan) การปฏิบัติตามแผน (Do) การตรวจสอบหรือประเมินผลการปฏิบัติงาน (Check) และการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา (Action) ซึ่งสถานศึกษา อาจจะดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ตามขั้นตอน   ต่อไปนี้

 

           จะเห็นได้ว่า การปฏิบัติงานต่างๆของสถานศึกษา เช่น การจัดทำมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตาม    มาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของ ส... การจัดทำแผนพัฒนา 3 – 5 ปี การจัดทำแผนปฏิบัติการ การจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา การพัฒนา      หลักสูตร การจัดการเรียนการสอนที่เน้น  ผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนการวิจัยใน    ชั้นเรียน และอื่นๆ ที่สถานศึกษาดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เขียน ถือว่าทั้งหมดเป็นการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งสิ้น

         สำหรับผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาระดับต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการประเมินภายในของสถานศึกษา คณะกรรมการประเมินภายในจาก ผู้แทนสหวิทยาเขต หรือเขตพื้นที่การศึกษา ทั้ง 2 กลุ่มนี้ถือว่าเป็นการประเมินภายในของสถานศึกษา และผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจาก ส... ล้วนแต่เป็นเสมือนกระจกเงาที่มีคุณภาพมาสะท้อนให้สถานศึกษาได้มองเห็นคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา จึงไม่ใช่เรื่องที่สถานศึกษาจะต้องตื่นเต้นตกใจ ที่จะรับการประเมินจากกลุ่มผู้ประเมินระดับต่างๆ เนื่องจากการประเมินระดับต่างๆ จะไม่มีการบอกผลการประเมินว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ได้หรือตก จึงอยากจะทำความเข้าใจไว้    ณ ที่นี้ด้วย และเป็นการดีต่อสถานศึกษา ที่มีผู้มาเป็นกระจกเงาให้

         สิ่งที่จะขาดไม่ได้ในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา คือ ต้องให้บุคลากร และผู้เกี่ยวข้องทุกคน มีส่วนในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือคุณภาพของผู้เรียนส่วนใหญ่ อาจจะมากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมด จะต้องมีคุณภาพที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ ส... กำหนดด้วย จึงจะถือว่าสถานศึกษานั้นจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ

 

เอกสารอ้างอิง

ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 . พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก : ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2543.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ         การศึกษา (องค์กรมหาชน). เกณฑ์การประเมินคุณภาพสถานศึกษา สำหรับการประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้น     ฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กร              มหาชน). 2544.

หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. เอกสารชุดแนวทางปฏิรูป

 

หมายเลขบันทึก: 228437เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2008 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่เข้าใจตรงนี้ครับ

"เนื่องจากการประเมินระดับต่างๆ จะไม่มีการบอกผลการประเมินว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ได้หรือตก "

อยากให้ช่วยอธิบายเพิ่มเติมว่ารูปแบบของผลการประเมินจะเป็นอย่างไร และผลการประเมินของแต่ละโรงเรียนจะไปขอดูได้ที่ไหนครับ

อีกคำถามนึงคือ การประเมินจะมีทุกปีเลย หรือทุกๆ กี่ปีครับ

ในการประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอกนั้น จะไม่มีการบอกผลว่าผ่าน

หรือไม่ผ่าน ได้หรือตก ผลที่ได้จากการประเมินจะอยู่ในรูปของผลรวมของคะแนนที่ได้ และเพื่อเป็นการให้เกรียติแก่สถานศึกษาที่รับประเมินจึงไม่มีการบอกผลว่าผ่านหรือไม่ผ่านหากมีข้อที่ควรปรับปรุงจะมีการแนะนำเพิ่มเติมเพื่อนำไปพัฒนาต่อไป ซึ่งผลการประเมินของแต่ละโรงเรียนผู้บริหารจะรับผลการประเมินตนเองจากผู้ตรวจประเมินและในการประเมินคุณภาพการศึกษาจะทำการประเมินทุก ๕ ปีจาก สมศ.ถ้าเป็นการประเมินภายในของสถานศึกษานั้น มีการประเมินคุณภาพการศึกษาทุกปี ค่ะ

ขอบคุณค่ะที่ให้ความคิดเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท