เศรษฐศาสตร์แห่งความ “เมตตา...” (Kindness Economics)


 

ในสังคมทุกวันนี้มีผู้ที่ให้น้อยกว่าผู้ที่จะรับ
เกือบทุกคนล้วนแล้วแต่มุ่งที่จะเอา (Take) มากกว่าที่จะให้ (Give)
แต่ทุก ๆ คน ทุกผู้ ทุกสิ่ง ล้วนแล้วแต่ต้องการ “ความเมตตา” ซึ่งถูกนิยามออกมาเป็นความรักและความเข้าใจ

เมื่อคนในสังคมถูกหล่อหลอมด้วย “กิเลส” และ “ตัณหา” ทำให้ สังคมนี้ขาดซึ่ง “ความเมตตา” ต่อกันและกัน
สังคมนี้จึงเป็นสังคมอุปสงค์ล้น (Over Demand) และขาดแคลนซึ่งอุปทาน (Out of Supply)

ทุก ๆ คน ทุก ๆ ชีวิตทั้งที่มีลมหายใจและไม่มีลมหายใจ ล้วนแล้วแต่มุ่งหมายในการได้ซึ่งการดูแล การเอาใจใส่ การทะนุถนอม คำพูดดี ๆ การกระทำดี ๆ จากสังคม จากคนรอบข้าง

แต่ทว่า...
สังคมในยุคทุนนิยมที่ดำเนินตามสายแห่งเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (Core Economics) หล่อหลอมคนจนมีอุปทานคือการให้ความรัก ความเมตตาต่อกันและกันน้อย สังคมนี้จึงเกิดภาวะ “วิกฤตแห่งความเมตตา (Crisis of Kindness)”

หากกล่าวถึงทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ความสมดุลของเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้ถ้าหากอุปสงค์นั้นเท่ากับหรือใกล้เคียงกับอุปทาน
ความเมตตาก็เช่นเดียวกัน หากชีวิตนี้มีการรับและการให้ที่สมดุล สังคมนี้จักสุข และ “สงบ...”

และสิ่งที่ตรงกันข้ามกับทฤษฎีของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่กล่าวว่า หากมีอุปทาน ไม่ว่าจะเป็นสินค้า หรือบริการเป็นจำนวนมากจนเกินความต้องการ สินค้าหรือบริการนั้นจะล้นตลาด ราคาสินค้านั้นก็จะตกต่ำ สินค้าจะขายไม่ออก บริษัทต่าง ๆ ก็จะล่มสลายหรือล้มละลายได้
แต่ความเมตตานั้น ยิ่งมีมาก ก็ยิ่งสร้างความแข็งแกร่งให้กับสังคม ยิ่งมีมากยิ่งมั่นคง ยิ่งให้ ยิ่งได้รับ
หากความเมตตามีมาก ล้น และเหลือไม่ว่าจะเป็นในตลาด ในสังคม จิตใจคนในสังคมนี้จะเบิกบาน

หรือย้อนกลับเข้ามากล่าวถึงเรื่องเศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro Economics) ซึ่งกล่าวว่าด้วยเรื่องของตัวบุคคล เรื่องของตัว ของตน เรื่องจิต เรื่องใจกันแล้ว
คนที่มีอุปทานแห่งความเมตตามากกว่าอุปสงค์ในตนเองแล้ว ยิ่งให้ยิ่งไม่ต้องการได้รับอะไรตอบแทนกลับมาเลย


การให้ที่ประเสริฐนั้นจักนำความอิ่มกาย อิ่มใจ
ยิ่งถ้ามีอุปทานคือการให้ความเมตตากับคนรอบข้าง กับครอบครัว กับสังคมมากขึ้นเท่าใด อุปสงค์หรือการต้องการความรักจากคนรอบข้างก็จักลดน้อยลงมากขึ้นเท่านั้น

ซึ่งสวนทางกับความจริงในปัจจุบัน ที่คนในสังคมนี้มีอุปทานคือมีความเมตตาให้กันและกันน้อย เมื่อมีให้น้อย ก็ต้องดิ้นรนแสวงหาความรัก ความเอาใจใส่ เป็น “สภาวะขาดแคลนความเมตตา (Out of Kindness Syndrome)”  จึงทำให้ต้องขวนขวายหาความรัก หาคู่ครอง แต่ความรักประเภทนี้กล่าวได้ว่าเป็น “เมตตาเทียม (Imitation Kindness) ซึ่งได้มากเท่าไหร่ก็ไม่มีวันอิ่ม ไม่มีวันพอ ต้องดิ้นรน ขวนขวายกระวนกระวาย อันทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมามากต่อมาก

ดังนั้นบุคคลทั้งหลายโปรดมีความเมตตาต่อกันและกันให้มากเถิด
มอบความเมตตาให้กับคนรอบข้าง ครอบครัว สังคม และโลกใบนี้
สังคมและลกใบนี้จักสงบและร่มเย็นได้ก็เพราะคนทั้งหลายมีอุปทานแห่งความเมตตาอย่างล้นหลาม

สร้างอุปทานแห่งความเมตตา (Kindness Supply) ให้มีสูงกว่าอุปสงค์หรือความต้องการความเมตตาของตนเอง


ถ้าคนหนึ่งคนมีอุปทานแห่งความเมตตามากกว่าอุปสงค์
สังคมอันว่าด้วยเศรษฐศาสตร์ระดับมหภาค (Macro Economics) นี้จักพบกับความ “สงบ”


ละอองความรู้สู่การต่อยอด...

  1. องค์กรแห่งความเมตตา (Kindness Organization)
  2. การจัดการความเมตตา (Kindness Managment)
  3. ระบบบริหารความเมตตา (Kindness Managment System)
  4. เมตตาศาสตร์ (Kindness Science)
  5. คณะเมตตาศาสตร์ (Faculty of Kindness Managment Science)
  6. เมตตาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Kindness)

 

 

หมายเลขบันทึก: 227926เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2008 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ เข้ามาอ่านศึกษาครับผมและก็ทักทายด้วยครับ

เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก

สภาวะขาดแคลนความเมตตา (Out of Kindness Syndrome)

” วิกฤตแห่งความเมตตา (Crisis of Kindness)”

ชอบสองคำนี้มากๆเลยค่ะและเห็นด้วยว่าปัจจุบันนี้เป็นแบบนี้จริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท