นิสัย 4 บ่...ก่อสุขทุกสถาน


ชีวิต...ก่อสุข

      

              ชีวิตนอกจากจะมีอันตรายทุกย่างก้าวแล้วแต่ในความอันตรายก็มีความสุขปะปนอยู่ด้วย ส่วนจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับเจ้าของชีวิตจะลิขิตเอง เพราะทุกย่างก้าวของชีวิตที่เคลื่อนไหวย่อมมีอบัติลเกดขึ้นเสมอ สิ่งที่เป็นผลเรียกว่า ผลกรรม ผลจะเกิดขึ้นอย่างไร อยู่ที่เหตุ ซึ่งจะมีความเกี่ยวพันกันอยู่เสมอ ไม่ช้าก็เร็ว

           การกระทำหรือกรรมของเจ้าชีวิต หากกระทำบ่อย ๆ ก็จะก่อเกิดความเคยชิน กลายเป็นนิสัยอันถาวร เกิดการกระทำอยู่เป็นนิจ  ผลสุดท้ายจะก่ดเกิดชะตาชีวิตของตนเอง อันจะเป้นจุดเริ่มต้นของชาตินี้และชาติหน้าต่อไป

           ชีวิตที่จะมีความสุขนั้น การดำรงตนก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะฝึกเราให้เกิดการกระทำขึ้นขึ้นที่จะเป็นเหตุของความสุขได้ มองดูจากการประพฤติปฎบัติของคนอีสานเรา แต่เดิมมามักจะมีคาถาท่องอยู่ประจำในการดำรงชีวิต คือ คาถา 4 บ่  ได้แก่

            1. คาถาว่า "บ่หย่าน" ทำให้คนอีสานมีความทรหดอดทน ไม่กลัวต่อความยากลำบาก หักเอาเบาสู้ จะทำอะไรจะไม่กลัว จึงเห็นคนอีสานเดินทางไปเสี่ยงโชคทุกมุกโลก ผมเองเคยไปดูงานหลายประเทศ มักจะพบจะเจกับคนอีสานเราไปเสี่ยงโชคเป็นจำนวนมาก ไม่กลัวกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจึงเป็นนิสัยท่น่าจะปลูกฝั่งให้เกิดกับคนรุ่นใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู้ชีวิตในทางสร้างสรรค์

            2.คาถาว่า"บ่หยาก" คนอีสานเป็นคนที่มีความคิดในแง่บวก งานใดที่ตนทำจะมองเป็นเป็นเรื่องสนุกสนาน เรืองยากกลายเป็นเรื่องง่าย เรื่องใหญ่กลายเป็นเรืองเล็ก ทำให้มีจิตหึกเหิมทุกครั้งเมื่อใช้คาถาว่า"บ่หยากดอก"

            3.คาถาว่า"บ่เป็นหยั่ง"คนอีสานเป็นคนมีจิตใจดี มีความปล่อยวาง ไม่ถือโกรธ เคียดแค้นกัน มีอะไรจะให้อภัยซึ่งกันและกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัย ตามชุมชนต่าง ๆ จึงมีความรักความสามัคคี ช่วยเหลือเจือจุนกัน แต่ในปัจจุบันนิสัยดังกล่าวเริ่มหดหาย เพราะอิทธิพลของตะวันไหลบ่าเข้ามาจนวิถีชีวิตของชนบทไทยเรียบง่าย จะเริมหดหาย

            4.คาถาว่า "บ่หงึด"คนอีสานมักเป็นตัวของตัวเอง มีความมั้นคงในจารีตประเพณี แม้จะประเพณีบางอย่างไม่ทันสมัย แต่ก็ยังสืบทอดกันตลอดมา ยังคงความเป็นคนอีสานอยู่เสมอ แม้จะไปอยู่ที่ไหนก็ยังคงความเป็นอีสาน ยังพูดภาษาท้องถิ่น ยังกินข้าวเหนียวส้มตำเหมือนเดิม

             นิสัย 4 บ่ ของคนอีสาน เราควรจะสืบสานต่อ หากนำมาใช้ในการดำรงชีวิต ย่อมก่อเกิดให้ความเป็นอยู่มีความสุข มีความเป็นเอกลักษณ์ยั่งยืนตลอดไป แต่ในปัจจุบันยังจะมีอยู่มากน้อยแค่ไหน ก็ยังน่าคิดอยู่

หมายเลขบันทึก: 227894เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2008 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ สุดยอดคาถา ครับผมอิอิ

จะนำไปใช้ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท