หลักธรรมที่ผู้ปกครองควรรู้ ทศพิราชธรรม


หลักธรรมที่ผู้ปกครองควรรู้ ทศพิราชธรรม

 

            ทศพิราชธรรมเป็นคำที่ชาวไทยรู้จักดี ว่าหมายถึงธรรมอันเป็นคุณสมบัติของพระมหากษัตริย์ที่ดี 10 ประการ ในพระไตรปิฏกมีข้อความเกี่ยวกับธรรมนี้สั้นๆ ในมหาสังกชาดก ว่า

              “ดูกรพระยาหงส์ เราพิจารณาเห็นชัดซึ่งอายุอันเป็นอนาคตยังยืนยาวอยู่ เราตั้งอยู่แล้วในธรรม 10 ประการ จึงไม่สะดุ้งกลัวปรโลก เราเห็นกุศล ธรรมที่ดำรงอยู่ในตนเหล่านี้ คือทาน ศีล การบริจาค ความซื่อตรงความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทนและความไม่พิโรธ แต่นั้นปีติและโสมนัสไม่ใช่น้อย ย่อมเกิดแก่เรา ก็สุมุขหงส์นี้ไม่ทันคิดถึงคุณสมบัติของเรา ไม่ทราบความประทุษร้ายแห่งจิต จึงเปล่งวาจาอันหยาบคาย ย่อมกล่าวถึงโทษที่ไม่มีอยู่ในเราคำของสุมุขหงส์นี้ ย่อมไม่เป็นเหมือนคำของคนมีปัญญา“ทศพิธราชธรรมเป็นหลักธรรมของผู้ปกครองและเป็นเสมือนศีลวินัยซึ่งจักต้ องสังวรปฏิบัติ เพื่อเป็นเครื่องอบรมและคุ้มครองจิตใจไม่ให้ละเมิดอำนาจหน้าที่ โดยอาศัยหลักธรรมนี้เป็นหลักหรือปทัสถานในการปกครองและประพฤติปฏิบัติตน เป็นหลักธรรมที่จะทำให้เกิดการเคารพรัก เป็นสิ่งคุ้มครอง ป้องกัน รักษา และอำนวยประโยชน์แก่หมู่คณะหรือมวลชน แม้ว่าทศพิธราชธรรมจะมีชื่อเรียกว่า“ธรรมสำหรับพระราชา”

             แต่ประชาชน พสนิกรทั้งหลายก็สามารถนำมาเป็นหลักปฏิบัติได้ เมื่อประพฤติตามนั่นแหละจะเกิดโอกาสมากมาย สะดวกดายในการที่พระองค์ทรงดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรม ขอให้มองกันให้ดีๆ ว่า ทศพิธราชธรรมนั้นจะสามารถคุ้มครองบ้านเมือง พัฒนาบ้านเมืองในฐานะที่เป็นธรรมที่จะช่วยได้จริง……พระเจ้าแผ่นดินนั้นมิได้จำกัดว่าจะทรงประพฤติปฎิบัติเฉพาะทศพิธราชธรรม แต่ทรงประพฤติธรรมข้ออื่นๆ เช่นกับสาธุชนทั่วไปด้วย ที่เรียกว่า”รัฎฐาภิโนบายหรือรัฐประศาสโนบาย”

            รัฎฐาภิโนบายคือ อุบาย วิธีการปกครองพระราชอาณาจักร อันองค์พระมหากษัตราธิราชเจ้าย่อมเป็นมิ่งขวัญแห่งพระราชอาณาจักรปรากฎมาแต่ดึกดำบรรพ์ ก็เพราะเหตุที่พระองค์ดำรงอยู่ในราชธรรมขัตติยประเพณีที่ปรากฏในพระคัมภีร์ แสดงราชธรรม10ประการ ที่เรียกว่า ทศพิธราชธรรม คือ “ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํ อาชชวํ มทฺทวํ ตปํ อกฺโกธํ อวิหึสญฺจ ขนฺติญฺจ อวิโรธนํ” 

               1. ทาน คือ การให้สิ่งที่ควรให้ เป็นการเผื่อแผ่ให้ปันและการสงเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการศึกษา การรักษาพยาบาล การคุ้มครองชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และอาชีพ ตลอดจนช่วยเหลือคนเลี้ยงดูตัวเองไม่ได้

                2.ศีล คือ ความมีศีลธรรม สำรวม ควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา ใจ ให้ถูกต้องเรียบร้อย ดีงาม ตามบทบัญญัติแห่งรัฐและศาสนา

                3.บริจาค คือ การเสียสละเพื่อส่วนรวม ในการมอบตนเข้าไปรับภาระปฏิบัติดำเนินงานของประชาชน หมู่คณะ ประเทศชาติ ด้วยการเสียสละอย่างแท้จริง รวมทั้งมีใจกว้างขวางมีการให้เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ เป็นการเสียสละหวงแหนเพื่อข่มความโลภและตระหนี่แห่งตน

           4.อาชีวะ คือ ความซื่อตรงต่อตนเอง ต่องาน และต่อบุคคลอื่น มีความภักดีต่อประเทศชาติ และตั้งอยู่ในสุจริตธรรม

               5.มัทวะ คือความสุภาพอ่อนโยนทั้งกายและวาจา ไม่แข็งกระด้าง มีคำพูดนุ่มนวล ไพเราะ อ่อนหวาน ต่อคนทั่วไป มีอัธยาศัยอันงาม ละมุนละไม รับฟังคำแนะนำตักเตือน

                   6.ตปะ คือ การมีอำนาจหรือธรรมในตน ที่ทำลายหรือขจัดความชั่วไม่ให้กำเริบเป็นอำนาจที่ปราบปรามจิตใจของผู้ปกครองเองให้อยู่ในระบอบ ไม่ออกนอกระบอบไป ทำให้เกิดความเคารพยำเกรงด้วยการบำเพ็ญเพียร เอาชนะบาปกรรม ขจัดความชั่ว

                  7.อักโกธะ คือไม่กริ้วโกรธโดยวิสัย มีความเมตตา รักและปรารถนาดีต่อผู้อยู่ใต้ปกครองโดยสม่ำเสมอ ด้วยใจบริสุทธิ์ ไม่เห็นแก่ตัว มุ่งให้เขาเจริญรุ่งเรืองในทุกๆด้าน

             8.อวิหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียนให้ประชาชนได้รับความทุกข์ยาก มีความกรุณา ช่วยเหลือให้ผู้อยู่ใต้ปกครองพ้นจากทุกข์ภัย

             9.ขันติ คือ ความอดทน อดกลั้น รู้จักข่มใจและห้ามใจตนเอง ทนทานต่อกิเลสและทุกข์ มิให้แผ้วพานแก่ธรรมปฏิบัติ มีสติควบคุมจิตใจให้คงที่อยู่ตามปกติ ไม่ให้กำเริบอ่อนไหวในเมื่อเผชิญกับความยุ่งยากลำบาก ภัยอันตราย เป็นธรรมที่จะทำให้ฟันฝ่าอุปสรรคไปถึงจุดหมายปลายทางได้ แสดงถึงความเข้มแข็งและกล้าหาญ

              10.อวิโรธนะ คือการประพฤติไม่ผิดจากความเที่ยงตรง ดำรงอยู่ในความยุติธรรม มีความสงบเสงี่ยม มีสติควบคุมรักษามารยาททางกาย วาจา ให้เป็นสุจริตและสุภาพ ไม่ผิดระเบียบประเพณี ตลอดจนกฎหมายและศีลธรรม ให้มีความสุภาพเมื่อจะเสียสติขันติ

 

หมายเลขบันทึก: 227636เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2008 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ดีมากครับ

สวัสดีครับ

ดีใจที่เยาวชนสนใจเรื่องราวดีๆ เช่นนี้

ขอให้ประสบความสำเร็จในการศึกษา

สวัสดีครับice

ทศพิราชธรรมเป็นหลักสำคัญ เป็นหลักคำสอนที่พระพุทธองค์ได้ให้แนวทางสำหรับผู้ปกครองควรนำไปใช้ ในการปกครองประชาชนครับ

อาจอ่านแล้วเข้าใจยากเพราะเป็นหลักธรรม เพราะที่นำมาเสนอนี้เป็นข้อความย่อๆเท่านั้น

ด.ญ. ชวนากร จันทร์หล่น

ยอดเยี่ยมมากค่ะ

สวัสดี ด.ญ. ชวนากร จันทร์หล่น

หวังว่าคงได้ประโยชน์จากข้อมูลนี้บ้างพอสมควร

ผมอยากรู้ว่าหรักสำคัยเกี่ยวกับการบกคลองครับ

สวัสดีครับ น๊อต

หลักกสำคัญเกี่ยวกับการบกครอง หมายถึงอะไรครับ

ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้ มีสาระดี มากค่ะ .. !

คุณครูให้ทำงานเรื่องนี้พอดี ดีจังที่มีกระทู้ดี ๆ มีสาระแบบนี้

แต่มีคำแนะนำนะค่ะ

**แนะนำ** ควรจะเว้นบรรทัดให้สวยงามและไม่ติดกันจนมากเกินไปเพื่อนสะดวกในการอ่าน และ ตัวหนังสือควรจะมีการแต่งเติม

สีสันบางเล็กน้อยตรงหัวข้อหลัก และควรลดขนาดตัวอักษรลงบ้าง เล็กน้อยก็ดี หรือขีดเส้นใต้คำที่สำคัญหรือใช้สีเน้นคำนั้นไว้**

แต่ละทู้นี้ก็ดีค่ะมีสาระมาก ขอขอบคุณอีกครั้ง ..

สวัสดีผู้ไม่ประสงค์บอกนาม

ขอบคุณที่ได้รับประโยชน์จากบล็อคนี้ ได้แก้ไขตามคแนะนำแล้ว

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ ซึ่งเป็นกำลังให้ผู้เขียนเป็นอย่างดีและจะนำเรื่องดีๆมาลงต่อไป

ด.ช.ญานธัช จงรุ่งเรือง

อยากทราบว่า ทศพิษราชธรรมนี้ คือ การปกครองของในหลวงด้วยใช่ไหมครับ ???

สวัสดีครับด.ช.ญานธัช จงรุ่งเรือง

ทศพิราชธรรม สามารถใช้ได้กับผู้ปกครองทุกคนครับ

ทำไมทศพิราชธรรมถึงมีแค่ 10 ข้อหรอคัฟ

สวัสดีครับคิม

ใช่แล้วครับ

เป็นหลักที่ควรให้ความเคารพเพราะสอนผู้คนได้มากมายเลยค่ะ

 

สวัสดีครับสุริยาพร

ทศพิราชธรรม เป็นหลักการปกครองที่ดีสำหรับผู้ปกครอง เป็นที่น่าสียดายว่า ประเทศไทยนั้นผู้นำประเทศไม่ได้นำทศพิราชธรรม มาใช้ในการบริหารประเทศ

ทศพิราชธรรม ใช้ในชีวิตประจำวันได้ยังไงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท