จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ การมีแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน


เพื่อเป็นแพทย์คนเดียว ที่จะดูแลสุขภาพทุกๆ คนในครอบครัว ในพื้นที่รับผิดชอบ ทุกสาขา เบื้องต้น มาหาสะดวก ใกล้บ้าน และ เมื่อเกินความสามารถที่จะดูแลได้ ก็จะแนะนำส่งต่อให้ถูกสาขา ทำให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพ
จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว                                                     ในปัจจุบันมีแพทย์เฉพาะทาง หลายสาขา เมื่อเกิดการเจ็บป่วย ถ้า ต้องเลือกไปหาแพทย์เฉพาะทาง แต่ละสาขานั้นๆ ด้วยตัวคนไข้เอง จะไม่สะดวกในการเลือก ถ้าป่วยด้วยโรคหลายสาขา ไม่ทราบว่าจะไปสาขาใดก่อน/หลัง ไปที่ใด ไปอย่างไร ต้องดูแลเบื้องตันอย่างไร เป็นต้น แต่ถ้ามีแพทย์สาขาที่สามารถดูแลคนไข้ทุกสาขาได้ในแพทย์คนเดียว มีสถานที่ทำงาน(ศูนย์สุขภาพชุมชน)อยู่ใกล้บ้านคนป่วย  มีความสนิทสนมดูแลอยู่เป็นประจำ ที่จะให้คำปรึกษา และ ให้การรักษาเบื้องต้นได้ เมื่อเกินความสามารถก็เขียนใบส่งตัวไปพบ แพทย์เฉพาะทางที่เหมาะสมให้ และ ในกรณี ฉุกเฉิน ถ้าไม่มีรถเอง ทางศูนย์สุขภาพชุมชน ก็มีรถส่งต่อให้ มีพยาบาลดูแลในรถให้ด้วย จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมาก แพทย์สาขานั้น คือ แพทย์สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ที่จะดูแลประชาชนในความรับผิดชอบ ตามพื้นที่ ตามเกณฑ์ ซึ่ง ปัจจุบันราชการกำหนดให้ แพทย์ 1 คนดูแลประชากร 10000คน ร่วมกับ ทีมสุขภาพ จากโรงพยาบาลอำเภอในพื้นที่นั้นๆ ทีมสุขภาพ ด้งกล่าว ประกอบด้วยแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ และ อื่นๆ ตามเกณฑ์ ของกระทรวงฯที่กำหนดขึ้น ให้มาปฏิบัติงานในสถานีอนามัย และ ช่วยพัฒนาสถานีอนามัยให้จนได้ตามเกณฑ์ของ ศูนย์สุขภาพชุมชน ก็จะได้รับการรับรองเป็นศูนย์สุขภาพชุมชนต่อไป ศูนย์สุขภาพชุมชนนี้มีจะมีประโยชน์ต่อระบบสาธารณสุขมากดังต่อไป คือ                                                                                                                       1.เป็นสถานบริการด่านแรก  ทำให้ประชาชนสะดวกในการเข้าถึงบริการ เพราะ อยู่ใกล้บ้าน มีทีมสุขภาพของโรงพยาบาลอำเภอในพื้นที่นั้นมาตรวจรักษาให้ตามที่จะมาได้ เช่น ในปัจจุบันที่ร.พ.พนมฯมาสัปดาห์ละ 1/2 วันเช้า มี 2 สถานีอนามัย ที่มี 2 ทีมสุขภาพออกมา แต่ละทีมออกพื้นที่รับผิดชอบของ ทีมเอง ตรวจรักษาให้ และ ระหว่างที่ไม่ได้มาก็เป็นที่ปรึกษา กับทางศูนย์ฯ สามารถปรึกษาได้ตลอดทางโทรศัพท์ โดย ในเวลาราชการ สามารถ ปรึกษาแพทย์เจ้าของพื้นที่ได้ทางโทรศัพท์ ร.พ./มือถือ  และ ช่วงนอกเวลาฯ สามารถปรึกษาแพทย์เวร ร.พ.ทางโทรศัพท์                                                                                                             2. ช่วยทำให้โรงพยาบาลลดความแออัดจากการมีคนไข้มากได้ จากคนไข้ป่วยเล็กน้อย ก็ได้รับการรักษาใกล้บ้านที่ศูนย์สุขภาพชุมชน เมื่อเกินความสามารถซึ่งมีจำนวนน้อยจึงส่งร.พ.                                                                                                                *ยกเว้นในกรณีอุบัติเหตุ หรือ ฉุกเฉิน คนไข้สามารถมาได้ทัันทีไม่ต้องใช้ใบส่งตัว                                                                                                                      3.ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลง จากการที่เจ้าหน้าที่จากศูนย์สุขภาพชุมชนดูแลเยี่ยมบ้านเพื่อ ทำงานส่งเสริม ป้องกัน ค้นหาปัจจัยเสี่ยงในการเจ็บป่วย ค้นหาผู้ป่วย และ ฟื้นฟู ฯลฯทำให้คนป่วยน้อยลง                                                        
หมายเหตุ:เมื่อประชาชนเข้ามารับบริการตามขั้นตอนข้างต้น จะไม่เสียค่าบริการจะใช้ตามสิทธิ30บาทรักษาได้
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
จุดประสงค์ ของการมีแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน
เพื่อเปลี่ยนทัศนคติของประชาชน ให้มีแนวคิด ที่จะดูแลตนเองไม่ให้ป่วย โดยการใฝ่หาความรู้เกี่ยวกับโรค และ นำความรู้ที่ได้มาเปลี่ยนทัศนคติ จากการรอให้ป่วยแล้วมารักษา เป็นทำอย่างไรจะได้ไม่ป่วย และ ปฏิบัติจนเป็นนิสัย แทน การมาหา เพื่อขอรับการรักษา หรือ มาเพื่อขอรับยา เท่านั้น ผลจะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศลดลง แทนที่จะเพิ่มขึ้น 20% ทุกปีเหมือนเดิม ที่ การสาธารณสุข มุ่งรักษาอย่างเดียว ไม่มุ่งเน้นเรื่องการให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การรีบรักษาเมื่อเริ่มป่วย และ การฟื้นฟูสุขภาพหลังหายป่วยให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว ผลจากการมีการมีแนวคิดใหม่นี้ จะมีผลทำให้ ประชาชนมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนในราคาถูก ได้ในที่สุด                                                
"การป้องกันดีกว่าการแก้"  เพราะ การแก้ จะเสีย มากกว่า การป้องกัน ได้แก่ เสีย.......
1.เสียค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข จากอดีต งบประมาณสาธารณสุขจะเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 20% ถ้าไม่ปฏิรูประบบสาธารณสุขใหม่ ปล่อยให้เป็นแบบเดิม จะเกิดการขาดงบประมาณสาธารณสุขในอนาคตแน่นอน
2.เสียความปกติ หรือ พิการ หรือ เสียชีวิต จาก ป่วยจนไม่สามารถให้การรักษาได้
3.เสียประสิทธิภาพ ของกำลังคนของชาติ จากการเจ็บป่วยบ่อย มีผลทำให้ เสียเวลาในการพัฒนาชาติ และ เสียโอกาศในการแข่งขัน กับ ต่างชาติ ....ฯลฯ                      
                เพราะฉะนั้น การป้องกัน ไม่ให้ป่วย คือ แนวทางแก้ การเสียข้างต้นได้ ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ของแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน คือ ทำอย่างไรให้ไม่เกิดโรค หรือ เกิดโรคแล้ว ทำอย่างไร ไม่ให้เป็นมาก หรือ ทำอย่างไร ไม่ให้มีความพิการ หรือ เสียชีวิต
      การเกิดโรคนั้น เกิดจากการเสียสมดุลย์ ของ 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่
1.คน (Host)อ่อนแอ
2.สิ่งที่ก่อให้เกิดโรค(Agent)                                                
3.สิ่งแวดล้อม(Environment)ไม่ถูกสุขลักษณะ
            นำมาทำให้เป็นรูปธรรม เรียกว่า โครงการ "เมืองไทยแข็งแรง" มี 6 ตัวชี้วัด ที่จะต้องปรับปรุงให้ถูกต้อง คือ
อ.1อาหาร มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ   อ.2ออกกำลังกายที่เหมาะสม และ สม่ำเสมอ
อ.3อารมณ์ และ สุขภาพจิตดี              อ.4อนามัยสิ่งแวดล้อม ที่ถูกสุขลักษณะ
อ.5อโรคยา เช่น ตรวจสุขภาพประจำปีฯลฯ   อ.6อบายมุขควรละเลิก
                  โครงการนี้ จะสำเร็จ  ได้ ต้องอาศัย แนวทางสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของ ศ.น.พ.ประเวศ วะสี ที่เสนอว่าการแก้ปัญหายากๆ นั้น ต้องแก้ 3 ด้านพร้อมกัน เมื่อสมดุลย์ได้เหมาะสมก็จะแก้ปัญหาได้มี 3 ด้านดังนี้
ด้านที่ 1.ประชาชน ต้องเข้าถึงความรู้  จนเกิดการเปลี่ยนทัศนคติของตนเองให้ถูกต้อง เรื่อง "การป้องกันไม่ให้ป่วยดีกว่าปล่อยให้ป่วยแล้วมารัษา"และ นำไปปฏิบัติเป็นนิสัย  แทน การมาหาเพื่อขอรับการรักษา หรือ มาเพื่อขอรับยา เท่านั้น
ด้านที่2.มีองค์กรที่รับผิดชอบ ได้แก่ องค์กรบริหารส่วนตำบล,ศูนย์สุขภาพชุมชน,โรงพยาบาลและ โรงเรียน ส่งเสริมสุขภาพ ฯลฯ  ที่คอยกำกับดูแล ให้ประชาชนยังคงทำตามแนวทางการสร้างสุขภาพ แทน ซ่อมสุขภาพ ตามแนวทาง โครงการเมืองไทยแข็งแรง ข้างต้น โดยออกระเบียบ หรือ การสร้างวัฒนธรรม ของสังคมขึ้นบังคับ ให้ประชาชน ต้องปฏิบัติ เมื่อต้องการจะเป็นสมาชิกของชุมชน
ด้านที่3.การมีกฏหมายมาบังคับใช้ให้โครงการดังกล่าวดำเนินไปได้ ได้แก่ พ.ร.บ.ปฏิรูประบบสาธารณสุข ให้มุ่งเน้น  "การสร้างนำซ่อมสุขภาพ" พ.ร.บ.ประกันสุขภาพ และ ฯลฯ  นำมาใช้บังคับให้ประชาชนต้องทำตามกฏหมาย เช่น กฏหมายใส่หมวกกันน๊อค กฏหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ฯลฯ ถ้าไม่ทำตามมีบทลงโทษ บังคับ ให้ไม่กล้าฝืนกฏหมาย               
โดย แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ที่ีดูแลประชาชนใกล้บ้าน จะต้องรอบรู้แบบองค์รวม เป็นแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน ด้วย ในแพทย์คนเดียวกัน จะช่วยให้แนวคิดของการเป็นแพทย์เวชศาสตร์ป้องกันประสบความสำเร็จได้ในที่สุด ทำให้เกิด ภาพ เมืองไทยแข็งแรง ได้อย่างยั่งยืน
คำสำคัญ (Tags): #สุขภาพชุมชน
หมายเลขบันทึก: 2275เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2005 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนคุณหมอสำเริง

เมื่อวานดิฉันมา comment ไว้ วันนี้ตามมาดูไม่ทราบหายไปไหนแล้ว ต้องการแจ้งให้คุณหมอทราบค่ะว่า นพ.นิพัธ กิตติมานนท์ กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว ร.พ.พุทธชินราช อยากจะสร้างเครือข่ายกับแพทย์ทางเวชศาสตร์ครอบครัวหรือแพทย์ GP หากคุณหมอสนใจติดต่อผ่านเครือข่ายจัดการความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานก็ได้นะคะ เราอยู่ที่ http://dmcop.gotoknow.org

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท