หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล


หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ความหมายของประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

                ประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นคำที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย  ซึ่งจะขอนำเสนอความหมายของคำทั้งสองดังนี้

 

ความหมายของประสิทธิภาพ

                สามารถให้ความหมายใน 2  ลักษณะ ได้แก่ความหมายเชิงเศรษฐศาสตร์  และความหมาย

เชิงสังคมศาสตร์

 

1. ความหมายเชิงเศรษฐศาสตร์

                สมศักดิ์  คงเที่ยง  (ม.ป.ป.,  61) ได้ให้ความหมายของคำว่า ประสิทธิภาพ  หมายถึง  ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณทรัพยากรที่ใช้กับปริมาณผลผลิตที่เกิดจากกิจกรรมหรือโครงการ  กล่าวคือ  ประสิทธิภาพจะแสดงถึงความสามารถในการผลิต  และความคุ้มค่าของการลงทุน

ประสิทธิภาพ หมายถึง การใช้ทรัพยากรในการดำเนินการใด ๆ ก็ตามโดยมีสิ่งมุ่งหวังถึงผลสำเร็จ และผลสำเร็จนั้นได้มาโดยการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด และการดำเนินการเป็นไปอย่างประหยัด ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา ทรัพยากร แรงงาน รวมทั้งสิ่งต่างๆ ที่ต้องใช้ในการดำเนินการนั้นๆ ให้เป็นผลสำเร็จ และถูกต้อง (http://th.wikipedia.org )

ประสิทธิภาพ   หมายถึง  คำตอบที่ทำให้ทราบว่าการดำเนินงานนั้นได้ผลคุ้มค่ากับต้นทุนหรือไม่ และมีแนวทางที่ดีกว่า ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด   อีกนัยหนึ่งประสิทธิภาพหมายถึง การพิจารณาผลผลิต  ที่เป็นไปตามเป้าหมายแล้ว  ว่าวิธีการผลิตใดเสียต้นทุนต่ำกว่าหรือประหยัดกว่า (จงกล ทองโฉม, http://gotoknow.org/blog/jongkolt/86944)

คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย  ให้ความหมายประสิทธิภาพ หมายถึง  อัตราส่วนระหว่างผลผลิตหรือผลงานกับการใช้ทรัพยากร

ฐิตินันท์  สุวรรณศิริ  ได้กล่าวถึงนักวิชาการที่ให้ความหมายของคำว่าประสิทธิภาพไว้ดังนี้

ยุวนุช กุลาตี (2548) ให้ความหมายประสิทธิภาพ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่นำเข้า(Input) และผลลัพธ์ที่ออกมา(Output) เพื่อสร้างให้เกิดต้นทุนสำหรับทรัพยากรต่ำสุดซึ่งเป็น การกระทำ อย่างหนึ่งที่ถูกต้อง (Doing things right) โดยคำ นึงถึงวิธีการ (Means)ใช้ทรัพยากร (Resources)ให้เกิดการประหยัดหรือสิ้นเปลืองน้อยที่สุด

เอลมอร์  ปีเตอร์สันและอี  กลอสวีนอร์ พลอแมน (Elmore Peterson and E. Grosvenor  Plawmam 1953) กล่าวว่า ประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารงานทางธุรกิจ หมายถึง ความ สามารถในการผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณและคุณภาพที่เหมาะสมและต้นทุนน้อยที่สุดโดยคำนึงถึงองค์ประกอบ 5 ประการ คือ ต้นทุน (Cost) คุณภาพ (Quality) ปริมาณ (Quantity) เวลา (Time)  วิธีการ (Method) ในการผลิต

เฮอร์เบิร์ต เอ. ไซมอน (Herbert A. Simon 1960, 180-181) กล่าวว่า ถ้างานใดมีประสิทธิภาพสูงสุด ให้ดูจากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้า (Input) กับผลิตผล (Output) ที่ได้รับออกมา ซึ่งสรุปได้ว่าประสิทธิภาพเท่ากับผลผลิต

ถ้าเป็นหน่วยงานราชการของรัฐ จะบวกความพึงพอใจของผู้รับบริการเข้าไปด้วยเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้

E =  (0-I) + S

E =  ประสิทธิภาพของงาน (Efficient)

O =  ผลผลิตหรือผลงานที่ได้รับออกมา (Output)

I  =  ปัจจัยนำเข้าหรือทรัพยากรทางการบริหารที่ใช้ไป (Input)

S =  ความพึงพอใจในผลงานที่ออกมา (Satisfaction)

กูด (Good 1973 , อ้างถึงใน บุญหนา   จิมานังและฤดี   แสงเดือนฉาย,  5 )  หมายถึงความสามารถที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จตามความปรารถนาโดยใช้เวลาและความพยายามเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้ผลงานที่ได้สำเร็จได้อย่างสมบูรณ์

 

2.  ความหมายเชิงสังคมศาสตร์

แนวความคิดในเรื่องประสิทธิภาพในการปฏิบัติในเชิงสังคมศาสตร์จากเว็บไซต์  

http://isc.ru.ac.th/data/PS0001274.doc  หมายถึง   ปัจจัยนำเข้าซึ่งพิจารณาถึง   ความพยายาม  

ความพร้อม   ความสามารถ  ความคล่องแคล่งในการปฏิบัติงาน    โดยพิจารณาเปรียบเทียบกับผลที่ได้  คือ   ความพึงพอใจของผู้รับบริการหรือ การบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้   ซึ่งมีนักวิชาการได้ให้ความหมาย   ดังนี้

                ที.เอ.  ไรอัน  และ  พี.ซี. สมิทธ์    ได้กล่าวถึง   ประสิทธิภาพของบุคคลว่า   เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ในแง่บวก   กับสิ่งที่ทุ่มเทให้กับงาน   เช่น  ความพยายามที่ได้รับจากงานนั้น

                ชุบ   กาญจนประกร   (2502,  40)  กล่าวว่า   ประสิทธิภาพเป็นแนวความคิดหรือความมุ่งมาดปรารถนาในการบริหารงานในระบอบประชาธิปไตย  ในอันที่จะทำให้การบริหารราชการได้ผลสูงสุด   คุ้มกับที่ได้ใช้จ่ายเงินภาษีอากรในการบริหารงานประเทศและผลสุดท้ายประชาชนได้รับความพึงพอใจ

                 อุทัย   หิรัญโต   (2525, 123)  กล่าวว่า   ประสิทธิภาพในทางราชการหมายรวมถึงผลการปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ   และประโยชน์แก่มวลมนุษย์   (human  satisfaction   and   benefit   produced)   และยังต้องพิจารณาถึงคุณค่าทางสังคมด้วย   โดยการนำเวลาเข้ามาพิจารณาด้วย

                ธงชัย    สันติวงษ์   (2526,  198)   นิยามว่าประสิทธิภาพ  หมายถึง  กิจกรรมทางด้านการบริหารบุคคลที่ได้เกี่ยวข้องกับวิธีการ   ซึ่งหน่วยงานพยายามที่จะกำหนดให้ทราบแน่ชัดว่า   พนักงานของตนสามารถปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

                วิรัช   สงวนวงศ์วาน   (2531, 86)    กล่าวว่า   ประสิทธิภาพการบริหารงาน   จะเป็นเครื่องชี้วัดความเจริญก้าวหน้า    หรือความล้มเหลวขององค์กร   ผู้บริหารที่เชี่ยวชาญจะเลือกการบริการที่เหมาะสมกับองค์กรของตน   และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

                ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า  ประสิทธิภาพ  หมายถึง  ผลการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการใด ๆ  รวมถึงความพึงพอใจที่เกิดแก่ผู้รับบริการ  โดยใช้ทรัพยากรทางการบริหารอย่างคุ้มค่าและปริมาณการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด

ความหมายของประสิทธิผล

                มีผู้ให้ความหมายของประสิทธิผลไว้ดังนี้

                ประสิทธิผล (Effectiv)  หมายถึง  แนวทางหรือวิธีการ  กระบวนการหรือตัววัดนั้นสามารถตอบสนองจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ดีเพียงใด การประเมินประสิทธิผล  ต้องประเมินว่าสามารถบรรลุความต้องการได้ดีเพียงใด  ด้วยการใช้แนวทางที่เลือก   การนำไปปฏิบัติหรือตัววัดที่ใช้  (ศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ,2545)

               สมศักดิ์  คงเที่ยง  (หน้า 63) ได้ให้ความหมายของคำว่า ประสิทธิผล หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ของการทำงานกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

                นอกนากนี้ พรชัย  เชื้อชูชาติ  (2546, 31-32)  ได้กล่าวถึงความหมายของประสิทธิผลของนักวิชาการหลายท่าน  ดังนี้

                 ธงชัย  สันติวงศ์ (2535, 3)  กล่าวว่า  ประสิทธิผลเป็นการทำงานที่ได้ผลโดยสามารถบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

                ติน  ปรัชญพฤทธิ์ (2536, 130) ระบุว่า  ประสิทธิผล หมายถึง  ระดับที่คนงานสามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด

               กมลวรรณ ชัยวานิชศิริ (2536, 32-33) ไดใหแนวคิดและความหมายของประสิทธิผลวา ประสิทธิผลของโรงเรียนไมน่าจะหมายถึง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหรือความพึงพอใจในการทํางานเพียงอยางใดอยางหนึ่ง  แตประสิทธิผลของโรงเรียน หมายถึง การที่โรงเรียนสามารถผลิตนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และสามารถพัฒนานักเรียนใหมีทัศนคติทางบวก ตลอดจนใหสามารถปรับตัวใหเขากับสภาพแวดลอมทั้งภายใน ภายนอกรวมทั้งสามารถแกปัญหาภายในโรงเรียน ซึ่งจะทําใหเกิดความพึงพอใจในการทํางาน โดยเปนการมองประสิทธิผลของทั้งระบบ

               เปรมสุรีย  เชื่อมทอง (2536, หนา 9) กลาววา ประสิทธิผล คือ ผลงานของกลุมซึ่งเปนไปตาม

เปาหมายที่วางไว ดังนั้นประสิทธิผลของโรงเรียนคือ ความสําเร็จของโรงเรียนที่สามารถทํา

หนาที่ใหบรรลุเปาหมายที่ตั้งเอาไว ทั้งนี้เกิดจากประสิทธิภาพของผูบริหารโรงเรียนที่สามารถใช

ความรูความสามารถและประสบการณในการบริหารงานเพื่อโนมนาวใหผูใตบังคับบัญชาปฏิบัติ

งานใหเกิดผลตามเปาหมายที่ตั้งเอาไว

เสริมศักดิ์  วิศาลาภรณ (2536,  97)  กลาววา ประสิทธิผลขององคการ หมายถึงการที่

องคการสามารถดําเนินการจนบรรลุเปาหมาย หรือบรรลุวัตถุประสงคที่วางไว

ฟดเลอร (Fiedler, 1967,  9) กลาววาประสิทธิผล คือ การที่กลุมสามารถทํางานที่

ไดรับมอบหมายใหบรรลุวัตถุประสงคได      ซึ่งถือวาเปนประสิทธิผลของกลุม

สเตียรส (Steers,1977,  55) กลาววา  ประสิทธิผล คือการที่ผูนําไดใชความสามารถ

ในการแยกแยะการบริหารงาน และการใชทรัพยากรใหบรรลุวัตถุประสงคที่ตั้งไว

ไพรส (Price, 1963, p. 318 cited in Lawiess, 1979, p. 33)  ไดใหความหมายของคําว

ประสิทธิผล คือ ความสามารถในการดําเนินการใหเกิดผลตามเปาหมายที่ตั้งไว้ โดยมีตัวบงชี้

ความมีประสิทธิผลขององคการ 5 อยาง คือ   ความสามารถในการผลิต ขวัญ การปฏิบัติตาม

แบบอยาง การปรับตัว        และความเปนปกแผนขององคการ

ฮอย และมิสเกล (Hoy & Miskel, 1991, p. 373 citing Mott, 1972) ไดใหความหมาย

ของประสิทธิผลของโรงเรียน หมายถึง การที่โรงเรียนสามารถผลิตนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียนสูง สามารถพัฒนานักเรียนใหมีทัศนคติทางบวก สามารถปรับตัวกับสิ่งแวดลอมที่ถูกบีบ

บังคับได และรวมทั้งสามารถแกปญหาภายในโรงเรียนไดเปนอยางดี

จากความหมายข้างต้น  สรุปได้ว่า  ประสิทธิผล  คือกระบวนการทำงานที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายหรือนโยบายที่กำหนดไว้

 การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาที่เน้นหลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล

                จากการศึกษาความหมายของประสิทธิภาพและประสิทธิผล  สามารถสรุปได้ว่าการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาที่เน้นหลักประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น  เป็นการเน้นการจัดสรรทรัพยากรโดยยึดถือประโยชน์สูงสุดที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากร  และบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือนโยบายที่กำหนดไว้

  

บรรณานุกรม

คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.  (2550).  ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ

             การศึกษาคณะวิทยาการจัดการ.   [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :  

             http://www.management.cmru.ac.th/data/guarantee_2_50/part2.pdf 

             สืบค้น 15 พฤศจิกายน  2551.

จงกล  โฉมทอง.  (2550).  ศัพท์เกี่ยวกับการประเมินผล.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : 

             http://gotoknow.org/blog/jongkolt/86944  สืบค้น  15  พฤศจิกายน  2551.

ฐิตินันท์  สุวรรณศิริ.  (2550).  การจัดการความรู้ของผู้ตรวจประเมินระบบคุณภาพ สำนักงาน

             รับรองระบบคุณภาพ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (สร.-ว.ส.ท.).

              [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:  http://learners.in.th/file/lemonpoo  สืบค้น  15  พฤศจิกายน  2551.

บุญหนา  จิมานังและฤดี  แสงเดือนฉาย. (2551).  รายงานการวิจัยเรื่องการประเมินประสิทธิภาพ

             การสอนของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 9.  [ออนไลน์].

             เข้าถึงได้จาก:  http://202.28.110.162/~e-research/files/51001chap2.pdf   สืบค้น 

             15  พฤศจิกายน  2551.

พรชัย  เชื้อชูชาติ.  (2546).  ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การโรงเรียนกับประสิทธิผลของ  

             โรงเรียนเทศบาลในเขตพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก.  วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร

              มหาบัณฑิต   บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยบูรพา.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (ม.ป.ป.).  ความหมายประสิทธิภาพ.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:   

             http://isc.ru.ac.th/data/PS0001274.doc   15  พฤศจิกายน  2551.

สมศักดิ์  คงเที่ยง.  (ม.ป.ป.).  หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา  เทคนิคการบริหารจัดการศึกษา  

              ยุคใหม่.  ภาควิชาบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง: กรุงเทพฯ.

หมายเลขบันทึก: 226830เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2008 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

กำลังเรียนอยู่เลย ขออ่านหน่อยค่ะ

กำลังหาแหล่งอ้างอิงพอคีเป็นปัจจุบันดีมากค่ะ

กำลังหาแนวทางเขียนงานวิจัยค่ะ  ขออ่านและอ้างอิงนะค๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท