มาตรฐานการโค๊ดออฟคอนดัก (Code of Conduct: CoC) ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคมและสวัสดิภาพสัตว์จากการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล


มาตรฐานการโค๊ดออฟคอนดัก,CoC,การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล,สังคมและสวัสดิภาพสัตว์,ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าการเลี้ยงกุ้งในประเทศไทยนั้น มีความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจต่อประเทศเป็นอย่างมาก จึงทำให้กิจการการเลี้ยงกุ้งได้ขยายตัวออกไปทั่วประเทศและยากที่จะควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ขบวนการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งในประเทศไทยได้ผ่านวัฎจักรสูงสุดและต่ำสุด (Boom and Bust cycle) และด้วยความสามารถของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง องค์กรต่างๆ และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องของไทย ทำให้ผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านวัฎจักรสูงสุดและต่ำสุดของการเลี้ยงกุ้งของไทยลดความรุนแรงลง และยังคงมีแรงขับดันให้การเลี้ยงกุ้งสามารถพัฒนาและดำเนินต่อไปในภาพรวม ส่งผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง (Nissapa et al., 2002)
ในขณะเดียวกัน การเลี้ยงกุ้งก็ยังคงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทางลบอย่างต่อเนื่องในหลายประเด็น เช่น การปลดปล่อยของเสียจากการเลี้ยงกุ้ง การบุกรุกป่าชายเลน การทำลายทัศนียภาพ และการปนเปื้อนของเกลือในน้ำและที่ดินเกษตรกรรม เป็นต้น ซึ่งผลกระทบของการเลี้ยงกุ้งในทางลบเหล่านี้ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินทั้งส่วนตัวและส่วนรวม และในท้ายที่สุดแล้วก็สามารถส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนโดยทั่วไป

เอกสารประกอบ : มาตรฐานการโค๊ดออฟคอนดัก (Code of Conduct: CoC) ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคมและสวัสดิภาพสัตว์จากการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล

ไฟล์นำเสนอ : มาตรฐานการโค๊ดออฟคอนดัก (Code of Conduct: CoC) ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคมและสวัสดิภาพสัตว์จากการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล

หมายเลขบันทึก: 226594เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2008 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท