ถอดบทเรียน ลปรร.เครือข่ายสิชล 5 พฤศจิกายน 2551


โครงการพัฒนาคุณภาพระบบประกันคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (PMQA) ครั้งที่ 2/2552

การถอดบทเรียน

                                สถานีอนามัยบ้านจอมพิบูลย์  (คุณลดาวัลย์  หมันหลิน) นำเสนอผู้ป่วยผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนชาย  อายุ 25 ปี ที่อยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งปรัง ข้อมูลทั่วไป ผู้ป่วยรูปร่างอ้วน ลงพุง (รอบเอวประมาณ 41 นิ้ว) เป็นอัมพาตมาประมาณ 3 ปี เท้าทั้งสองข้างอ่อนแรง เดินไม่ได้ใช้มือช่วยในการเคลื่อนไหว BP 134/99 mmHg, P=86 ครั้ง/นาที On Foley’s Catheter  ปัสสาวะสีเหลืองใส ไหลดี มีแผลกดทับบริเวณก้น แผลมี discharge ลึกประมาณ 2 นิ้ว  มีกลิ่นเล็กน้อย ผู้ป่วยชอบรับประทานอาหารเค็ม มันและหวาน จากการไปเยี่ยมบ้านก็ได้ให้คำแนะนำเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกายให้มีการหัดยกตัวขึ้นลง แนะนำการบริหารกล้ามเนื้อแขน ขา การทรงตัวในท่ายืนโดยใช้อุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง เช่น การใช้รอกฝึกกล้ามเนื้อแขน ขา การใช้ราวเกาะยืน แนะนำให้รับประทานผักมากๆรวมทั้งได้สอนมารดาในการทำแผลโดยใช้เทคนิค Sterilization

                สิ่งที่ได้จากการเยี่ยมบ้าน

1.       สัมพันธภาพระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ป่วยแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ป่วยไว้วางใจ

2.       ได้ทราบปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อจะได้วางแผนแก้ปัญหาต่อไป

3.       เพิ่มทักษะและความมั่นใจในการใส่สายสวนปัสสาวะ

4.       รู้สึกมีความสุข ที่ได้ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องลำบากไปโรงพยาบาล

                ประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับ

1.       ผู้ป่วยมีความสะดวกสบายมากขึ้นลดค่าใช้จ่ายไม่ต้องลำบากมาเปลี่ยนสายสวนที่โรงพยาบาล

2.       ได้รับการดูแลจากทีมสุขภาพอย่างใกล้ชิด สม่ำเสมอและต่อเนื่อง เช่นการทำแผล

3.       มีความใกล้ชิดกับทีมสุขภาพสามารถบอกปัญหาและความต้องการได้

4.       ได้รับทักษะการบริหารกล้ามเนื้อแขน ขาและการทรงตัว

5.       ผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า มีคนคอยดูแลเอาใจใส่ ไม่ได้อยู่คนเดียวในโลกหรือไม่ได้อยู่แต่เฉพาะครอบครัว

                ปัญหาและอุปสรรค

1.       บุคลากรมีจำกัด  บางครั้งการออกเยี่ยมบ้านไม่ได้ไปเยี่ยมตามที่ Plan ไว้

2.       ขาดอุปกรณ์ ไม่มี Set สวน

3.       การรับยาครั้งต่อไปต้องมีสมุดเล่มเหลือง ผู้ป่ายยังขาดสมุดเล่มเหลือง

4.       การทำแผล  เจ้าหน้าที่ไม่ได้ออกไปทำให้ทุกวัน

                                สถานีอนามัยบ้านในดอน (คุณณิศรา  บุญคงมาก)นำเสนอผู้ป่วยอัมพาตหญิง  ที่อยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลฉลอง อำเภอสิชล เหตุผลที่เลือกครอบครัวนี้ เพราะ สมาชิกในครอบครัวนี้มีผู้พิการที่ต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพ ข้อมูลทั่วไป ผู้ป่วยมีรูปร่างผอม น้ำหนักตัว 13 กิโลกรัม ผิวหนังเหี่ยวแห้ง มีแผลเล็กน้อยบริเวณต้นคอ  ผู้ป่วยมีอาการชักเกร็งเกือบทุกวัน เคลื่อนไหว ขยับลำตัวด้วยตนเองไม่ได้ แขนทั้ง2 ข้างยกได้เล็กน้อย ขาข้างซ้ายเกร็ง เกิดข้อเข่าติดยืนไม่ได้ ปัจจุบันทานยาสมุนไพร และยาหม้อควบคู่กับยาที่แพทย์สั่ง คำแนะนำที่ลงไปเยี่ยม แนะนำให้มารดา หมั่นฝึกบริหารกล้ามเนื้อ แขน ขาเพื่อป้องกันข้อติดแข็งเพิ่มขึ้น แนะนำมารดาดูแลผู้ป่วยให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พร้อมทั้งให้ผู้ป่วยได้รับประทานยาตามแพทย์สั่ง

                สิ่งที่ได้รับจากการเยี่ยมบ้าน

1.       เห็นสภาพที่แท้จริงของผู้ป่วย ประเมินสภาพความเป็นอยู่ สภาพสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ

ได้ระดับหนึ่ง

2.       ตัวผู้เยี่ยม รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ที่ให้ได้ความช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือหรือผู้ที่ด้อยโอกาส รู้สึกมีพลัง มีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น และมีความเข้าใจ มีความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น

3.       ได้ค้นหาผู้ป่วยที่ซ้อนเร้น ต้องการช่วยเหลือ ผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

4.       เป็นที่รู้จัก และยอมรับของประชาชนในชุมชน ซึ่งง่ายต่อการทำงานด้านต่างๆ

ประโยชน์ที่ผู้ป่วย/ญาติได้รับ

1.       ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง

2.       ได้รับการตรวจร่างกายของผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัว

3.       ได้รับคำแนะนำด้านต่างๆที่ถูกต้องเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค หรือความพิการ

4.       ได้รับกำลังใจ มีพลังใจในการดูแลตนเอง และญาติ

5.       ได้รับคำปรึกษาที่เป็นส่วนตัวและใกล้ชิด

6.       รู้สึกไม่โดดเดี่ยว เป็นกำลังใจว่าไม่ถูกทอดทิ้งจากสังคม มีคนคอยช่วยเหลือ และแนะนำในสิ่งที่ถูกต้อง

ปัญหาและอุปสรรค

                1.ผู้ดูแลผู้ป่วยมักไม่มีเวลาอย่างเต็มที่เนื่องจากมีปัญหาด้านเศรษฐกิจต้องออกทำงานนอกบ้านบางครั้งต้องปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว ซึ่งเป็นการไม่ปลอดภัย

                2. มีรายได้ไม่เพียงพอ

                3. ผู้ดูแลมีโรคเรื้อรังทำให้ไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่

                4. ไปรับยาไม่ตรงเวลา

                                สถานีอนามัยบ้านสี่ขีด (คุณทัศนา  เจนวิทยานันท์) นำเสนอผู้ป่วย 2 ราย ซึ่งเป็นญาติกัน

ผู้ป่วยรายแรก เพศหญิง อายุ 32 ปี ที่อยู่ หมู่ที่ 7 ตำบลสี่ขีด  เจ็บป่วยด้วยโรคลมชัก ตั้งแต่เมื่ออายุ 7 เดือน รับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาราช หลังจากนั้นก็มารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลสิชล น้ำหนักตัว 53 กิโลกรัม  รอบเอว 70 เซนติเมตร สูง 156 เวนติเมตร ดัชนีมวลกาย 22.09 ความดันโลหิตปกติ (123/70 mmHg) ปัจจุบันทานยาที่แพทย์สั่งแต่มีประวัติการกินยาไม่สม่ำเสมอ แนะนำให้ญาติคอยเตือนเพื่อให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ แนะนำเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย รวมทั้งถ้าผู้ป่วยมีอาการชักให้ดูแลให้ผู้ป่วยหายใจสะดวก คลายเสื้อผ้าและตะแคงหน้าผู้ป่วยที่สำคัญอย่าให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะเครียดเพราะจะส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย

ผู้ป่วยรายที่สอง เพศหญิงอายุ 29 ปี อยู่บ้านเลขที่ 35 .7 ตำบลสี่ขีด ป่วยเป็นปัญญาอ่อนมาตั้งแต่แรกเกิด รูปร่างเล็กค่อนข้างเตี้ย  ประวัติการเจ็บป่วย หลังจากคลอดออกจากครรภ์มารดา ผู้ป่วยมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่างกายอ่อนปวกเปียก ไม่สามารถยกแขนและขาได้ พัฒนาการช้ามาตั้งแต่แรกเกิด  แต่สามารถเดินได้เมื่ออายุ 6 ปี   ปัจจุบันน้ำหนักตัว 38 กิโลกรัม สูง 131 เซนติเมตร ดัชนีมวลกาย 22.09 ความดันโลหิตปกติ(114/75 mmHg) สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่มีปัญหาพูดไม่ชัด รวมทั้งเยื่อบุตาซีด ชอบรับประทานอาหารรสจัด ทานยาตามแพทย์สั่ง คำแนะนำที่ให้ขณะลงเยี่ยม เรื่องการออกกำลังกายและรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคุมอาหารมันเค็ม รักษาความสะอาดโดยเฉพาะหนังศีรษะ เพราะผู้ป่วยมีปัญหาคันบริเวณดังกล่าว 

                สิ่งที่ได้จากการเยี่ยมบ้าน

1.       รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องของผู้ป่วย ความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม และปัญหาต่างๆ

2.       ผู้ป่วย/ญาติ มีกำลังใจ เข้าใจเกี่ยวกับโรคมากขึ้น สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข

3.       ญาติและบุคคลในครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การป้องกันอุบัติเหตุและการช่วยเหลือดูแล ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง

4.       พบผู้ป่วยเรื้อรังแต่ไม่ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง

5.       เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับชุมชนเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

                ประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับ

1.       ผู้ป่วย มีกำลังใจ เข้าใจและยอมรับว่าโรคลมชัก สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข

2.       ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุจากการชัก การดูแลผู้ป่วยปัญญาอ่อน

3.       ได้รับการตรวจร่างกาย

                ปัญหาอุปสรรคที่พบ

1.       ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรัง ระหว่าง รพ. และสอ. ยังพบผู้ป่วยเรื้อรังที่ไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่องขาดยา

2.     บุคลากรทางด้านสาธารณสุขมีจำกัด ทำให้การดำเนินงานและความครอบคลุมในการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยในกลุ่มต่างๆ ทำได้ไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร ภารกิจของงานในความรับผิดชอบไม่แน่นอน

หมายเลขบันทึก: 226371เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2008 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท