กทช. เผยไวแมกซ์ใกล้คลอด คาดปี 52 ออกใบอนุญาตจากการประมูล


กทช. เผยไวแมกซ์ใกล้คลอด คาดปี 52 ออกใบอนุญาตจากการประมูล

นายกิตติน อุดมเกียรติ  ผู้เชี่ยวชาญประจำสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  หรือ  กทช.  กล่าวว่า จากการทดสอบให้บริการ และรวบรวมข้อมูลด้านไวแม็กซ์  เพื่อนำมาจัดเป็นร่างออกใบอนุญาต โดยคาดว่าปี 2552 จะสามารถออกใบอนุญาตไวแม็กซ์ให้กับผู้ประกอบการไปดำเนินการ ทั้งนี้ ในข้อสรุปยังรวมไปถึงข้อกำหนด กฎระเบียบ และกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับผู้ประกอบการที่จะสามารถเข้าร่วมขอใบอนุญาตไวแมกซ์  โดยแนวโน้มการขอใบอนุญาตไวแม็กซ์นั้น อาจจะใช้การประมูล

ผู้เชี่ยวชาญประจำ กทช. กล่าวต่อว่า ประมาณกลางเดือน ธ.ค.51นี้ จะได้ข้อสรุปที่ได้จากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม โดยจะทำการเสนอให้กับบอร์ดกทช. เพื่อมีมติเห็นชอบ โดยข้อสรุปที่ได้จะเป็นข้อสรุปในเรื่องของเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินการไวแมกซ์  และด้านเศรษฐศาสตร์ ที่จะเป็นการประเมินผลว่าสามารถดำเนินการไปในทิศทางใดเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด 

นายดนันท์  สุภัทรพันธุ์  ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์  บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ กสท  กล่าวว่า  จากการให้บริการไวแมกซ์ คาดว่าจะมีจำนวนผู้ใช้บริการจะเพิ่มขึ้น  ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการจะเริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการให้บริการมากขึ้น ทั้งด้านการให้บริการฟิกไลน์ หรือบริการมือถือที่เข้าอินเทอร์เน็ตไร้สาย สำหรับเม็ดเงินที่นำมาจัดสร้าง เพื่อลงทุนที่จะนำมาให้บริการไวแม็กซ์ จะต้องลงทุนไปในส่วนของอุปกรณ์และคลื่นความถี่ การสร้างคลื่นลูกข่าย การสร้างเครือข่าย การขอใบอนุญาติ

“คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมมีแนวโน้มที่จะใช้การประมูลเพื่อขอใบอนูญาต จะเป็นการใช้ต้นทุนที่แพง โดยเกรงว่าอาจจะเป็นปัญหาอุปสรรคให้หลายบริษัทอาจพลาดการลงทุนไวแมกซ์ได้” ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ กสท กล่าว

นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการงานธุรกิจบริการสื่อสารไร้สาย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวอีกว่า หลังจากเอไอเอสเปิดทดสอบให้บริการไวแมกซ์ที่จังหวัดเชียงใหม่ ผู้บริโภคให้การตอบรับอย่างดี โดยคาดว่าอนาคตการให้บริการไวแมกซ์จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และราคาอุปกรณ์ไวแมกซ์จะถูกลง เพราะมีให้เลือกซื้อมากขึ้น

ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการงานธุรกิจบริการสื่อสารไร้สาย เอไอเอส  กล่าวด้วยว่า การขอใบอนุญาตด้วยการประมูล อาจไม่มีบริษัทเอกชนในประเทศไทยเข้ามาประมูลได้ เพราะสู้เม็ดเงินต่างชาติไม่ได้ จึงต้องการให้ดูเรื่องของประสิทธิภาพของเทคโนโลยี หรือการบริการ รวมถึงการรบกวนคลื่นสัญญาณ อย่างไรก็ตาม การให้บริการ ทั้งบรอดแบร์น เอดีเอสแอล และไวแมกซ์ ที่อยู่บนคลื่นความถี่เดียวกันในเรื่องการรับส่งข้อมูล อาจจะรบกวนและส่งผลปัญหาเกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังมองว่าการให้บริการไวแมกซ์อาจจะขยายการให้บริการไปต่างจังหวัดมากขึ้นกว่าในตัวเมือง  เนื่องจากไม่มีสิ่งกีดขวางสัญญาณ ที่อาจส่งผลให้มีการแข่งขันในต่างจังหวัดก็จะเพิ่มมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 225929เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2008 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

จะมีสักที ต่อไปจะได้ใช้เน็ตได้สะดวกขึ้น รวดเร็วขึ้นผ่านมือถือ หรือ โน๊ตบุ๊ค ก็ดี

ทีโอทีลั่นพร้อมลงทุนไวแมกซ์มากกว่าผู้ประกอบรายใด เผยมีลูกค้าในมือรอรับบริการแล้วกว่า 2 แสนราย คาดให้บริการเชิงพาณิชย์ในปี 52 เล็งนำมาทดแทนบริการ TDMA โทรศัพท์ 470 MHz ที่อุปกรณ์จวนหมดอายุ และเสริมลูกค้าที่ต้องการบรอดแบนด์นอกข่ายสาย ชี้ผลทดสอบที่ชลบุรีได้ผลน่าพอใจ

นายวิเชียร นาคศรีนวล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหสชน) เปิดเผยว่า ทีโอทีมีความต้องการให้บริการไวแมกซ์ ทันทีที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.) ให้ใบอนุญาต และยังมีความพร้อมในการลงทุนมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่นที่ยื่นขอทดสอบไวแมกซ์จำนวน 14 ราย ซึ่งคาดว่าจะสามารถให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2552

ปัจจุบันทีโอทีมีคลื่นความถี่ 2.3 GHz ที่พร้อมใช้ให้บริการไวแมกซ์ ในย่านความถี่ 2.5 GHz ได้ทันที อีกทั้งทีโอทีมีฐานลูกค้าในมือที่พร้อมใช้บริการแล้วกว่า 2 แสนราย โดยลูกค้าเหล่านี้เป็นลูกค้าเดิมที่ใช้งานเทคโนโลยี Time division multiple access (TDMA) และลูกค้าที่ใช้บริการโทรศัพท์ระบบ 470 MHz ซึ่งอุปกรณ์ของทั้งสองบริการใกล้จะหมดอายุแล้ว

“ทีโอทีมีความพร้อมให้บริการไวแมกซ์มากกว่าผู้ประกอบการทุกรายที่ได้สิทธิ์ในการทดสอบจาก กทช. เพราะเรามีฐานลูกค้าพร้อมใช้อยู่ในมือ อีกทั้งยังมีคลื่นความถี่ 2.5 GHz ที่สามารถให้บริการไวแมกซ์ได้ เพราะเป็นย่านความถี่ใกล้เคียงกัน ส่วนเรื่องการลงทุนขณะนี้ยังไม่ได้มีการวิเคราะห์ไว้ว่าจะเป็นเท่าไหร่ แต่โดยเฉลี่ย 1 สถานีฐานใช้เงินลงทุนประมาณ 2-3 ล้านบาท ประกอบกับขณะนี้ทีโอทีต้องลงทุนมากมายหลายรายการ เช่น บรอดแบนด์ไอพี บรอดแบนด์ 1 แสนพอร์ต และโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี”

ผู้บริหารทีโอทีกล่าวว่า ไวแมกซ์เป็นเทคโนโลยีที่สร้างประโยชน์ให้กับทีโอทีเป็นอย่างมาก โดยทีโอทีมีเป้าหมายที่นำไวแมกซ์เข้าไปใช้ทดแทนบริการที่อุปกรณ์ใกล้หมดอายุ อย่าง TDMA ซึ่งทีโอทียังมีลูกค้าใช้บริการอยู่มากกว่า 1 แสนราย และโทรศัพท์ 470 MHz ซึ่งทีโอทีให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ และโทรศัพท์พื้นฐาน ซึ่งมีลูกค้าใช้บริการ 30,000 เลขหมาย

นอกจากนี้ บริการดังกล่าวยังสามารถช่วยให้ทีโอทีให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แก่ลูกค้าที่มีความต้องการใช้งานบริเวณนอกข่ายสายโทรศัพท์ประจำที่ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ทีโอทีจะไม่ลงทุนในทั้งหมดทั่วประเทศ แต่จะเลือกเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากอย่างแท้จริงเนื่องจากเสี่ยงต่อปัญหาอุปกรณ์ตกรุ่น และไม่มีความต้องการใช้งาน

“ทีโอทีมีเป้าหมายนำบริการนี้ไปใช้งานชดเชยบริการเดิมที่อุปกรณ์ใกล้หมดอายุ และจะนำไปเสริมให้บริการแก่ลูกค้าที่ต้องการใช้งานบรอดแบนด์ความเร็วสูง แต่อยู่นอกพื้นที่ข่ายสายโทรศัพท์พื้นฐานเข้าถึงได้”

พร้อมกันนี้ ทีโอทีได้ทดสอบไวแมกซ์ ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 3 สถานีฐาน เป็นระยะเวลา 6 เดือนร่วมกับบริษัท แพลนเน็ต คอมมูนิเคชั่น เอเชีย ซึ่งเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์โมโตโรล่า ซึ่งผลการทดสอบออกมาเป็นไปตามมาตรฐาน สามารถให้บริการในอาคารระยะหวังผล 2-3 กิโลเมตร นอกอาคารประมาณ 9.1 กิโลเมตร ซึ่งปกติระยะทางการทดสอบในพื้นที่โล่งไม่มีตึกหรือภูเขาบดบังสื่อสัญญาณได้ไกลถึง 15 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่หวังผลจะต้องอยู่ในมุม 90 องศาของอุปกรณ์สื่อสัญญาณ

สำหรับสถานที่ติดตั้ง 3 จุดอยู่ที่ศูนย์โทรคมนาคมชลบุรี ชุมสายเขาบางทราย และอาคารพักอาศัยบริเวณอำเภอเมือง พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ลูกข่าย จำนวน 22 ชุด ประกอบด้วยอุปกรณ์ลูกข่ายทั้ง 4 ประเภท คือ แบบที่ใช้ภายในอาคาร หรือ Indoor CPE จำนวน 10 ชุด และแบบภายนอกอาคาร หรือ Outdoor CPE จำนวน 5 ชุด เพื่อติดตั้งให้ทดสอบใช้งานที่โรงพยาบาล สถานีตำรวจ สถานศึกษา ร้านค้า บ้านพักอาศัย แบบพีซีไอ การ์ด หรือ PCI Card จำนวน 5 ชุด เพื่อติดตั้งให้ใช้งานกับโน้ตบุ๊กที่สถานศึกษา สำนักงานที่ดิน บริษัทเอกชน และแบบชนิดติดรถยนต์ หรือ Mobile CPE จำนวน 2 ชุด เพื่อให้ใช้กับรถตำรวจ

อย่างไรก็ดี กลุ่มลูกค้า ทีโอที ที่เข้าร่วมการทดสอบจะได้ใช้งานระบบจริงโดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่าย โดยมีช่วงระยะเวลาการทดสอบประมาณ 30–90 วัน ในวันที่ 19 ก.ย. 51 ทีโอทีจะต้องเก็บอุปกรณ์คืน และส่งออกนอกประเทศทั้งหมดตามเงื่อนไขกทช.

เหตุผลที่เลือกพื้นที่ทดสอบที่จังหวัดชลบุรีเพราะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ อีกทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตค่อนข้างสูง และมีกลุ่มลูกค้าผู้ใช้งานที่หลากหลาย สามารถทดสอบระบบได้หลายรูปแบบและมีความพร้อมด้านโครงข่ายพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่อง ของการเชื่อมโยงระบบสื่อสัญญาณ

ว้าว เราจะได้ใช้ WiMAX กันแล้วเหรอ

เวลาไปไหนก็สามารถเล่นอินเตอร์เนตได้ สะดวกจริงๆ

ดีจัง จะมี WiMaxใช้แล้ว

คงจะสะดวกและรวดเร็วมากกว่าเดิมเยอะ

แต่ก็ไม่รู้ว่าพอได้ใช้แล้วจะมีปัญหาตามมาทีหลังเยอะหรือป่าว

โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี และโครงการนี้ได้เริ่มนำไปใช้ที่จังหวัดเชียงรายเพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาซึ่งส่งมอบโครงการไปเมื่อวันที่ 21 พย. และมีการคัดเลือกโรงเรียนที่อยู๋รอบ ม.แม่ฟ้าหลวง กว่า 21 โรงเรียนมาเพื่อทดสอบการใช้ไวแมกซ์ ในอนาคตอีกไม่นานพวกเราคงได้ใช้แน่นอนครับ

ตั้งหน้าตาตั้งรอๆๆ

จะได้ใช้ WiMAX แต่เอ๊ะจะขยายบริการไปที่ต่างจังหวัดมากกว่าตัวเมือง

แล้วในตัวเมืองจะมีเยอะไหมนะ ต้องรอ..

อยากใช้ wimax เร็วๆๆ

คงเร็วน่าดูเลย

เพราะเกาหลีเขาก็ใช้กันตั้งนานแล้ว

รอ...

ดีค่ะเปิดใช้ในต่างจังหวัดเยอะ ๆ เวลาเล่นเน็ตจะได้สะดวกในตัวเมืองเทคโนโลยีเยอะอยู่แล้ว

กลุ่ม1-3

WiMAX คือ Metropolitan Broadband Wireless Access หรือ “เครือข่ายบริการ อินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ที่มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณกว้างมาก” โดยให้ความเร็วได้ถึง 70 Mbps แถมมีการ Multiplex ความถี่แบบ OFDMA (Orthogonal Frequency Division Multiple Access) และเป็น Non-Line of Sight (NLOS) ที่เรียกได้ว่าแม้มีสิ่งกีดขวางกั้นอยู่ข้อมูลก็จะสามารถสะท้อนไปมาจนในที่สุดสามารถรับสัญญาณข้อมูลได้ครบ ใช้ความถี่ในย่าน 2-11 GHz ส่วนการใช้งานในแบบเคลื่อนที่หรือ Mobile BWA ก็คือมาตรฐาน IEEE 802.16e

อย่างแรกเรามารู้จัก WiMAX

ไวแม็กซ์ (WiMAX)

บนเทคโนโลยีแบบไร้สายมาตรฐานใหม่ IEEE 802.16 มีความสามารถในการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูง โดยใช้หลักการของเทคโนโลยี OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ของวิทยุขนาดเล็ก (Sub-Carrier) มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โดยการนำคลื่นความถี่วิทยุขนาดเล็กในระดับ KHz มาจัดสรรให้แก่ผู้ใช้ตามข้อกำหนดของคลื่นความถี่วิทยุจนเกิดเป็นเครือข่ายแบบไร้สายที่มีขนาดใหญ่ และรองรับการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงในทุกสถานที่ อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าความเร็วสำหรับ ไวแม็กซ์ (WiMAX) นั้นมีอัตราความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลมากถึง 75 เมกกะบิตต่อวินาที (Mbps) โดยใช้กลไกการเปลี่ยนคลื่นสัญญาณที่ให้ประสิทธิภาพสูง สามารถส่งสัญญาณออกไปได้ระยพไกลมากถึง 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร นอกจากนี้สถานีฐาน (Base Station) ยังสามารถพิจารณาความเหมาะสมในการรับส่งระหว่างความเร็วและระยะทางได้อีกด้วย

ในส่วนของพื้นที่บริการ ก็สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างกว้างขวางโดยใช้เทคนิคของการแปลงสัญญาณที่มีความคล่องตัวสูงสำหรับการใช้งานบนมาตรฐาน IEEE 802.16a บนระบบเครือข่ายที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน (Mesh Topology) และเทคนิคการใช้งานกับเสาอากาศ แบบอัจฉริยะ (Smart Antenna) ที่ช่วยประหยัดต้นทุน และมีความน่าเชื่อถือสูงด้วยมีระบบจัดการลำดับความสำคัญของงานบริการ (Qos – Quality of Service) ที่รองรับ การทำงานของบริการสัญาณภาพและเสียง ซึ่งระบบเสียงบนเทคโนโลยี WiMAX นั้นจะอยู่ในรูปของบริการ Time Division Muliplexed (TDM) หรือบริการในรูปแบบ Voice over IP (VoIP) ก็ได้ โดยโอเปอร์เรเตอร์สามารถกำหนดระดับความสำคัญของการใช้งานให้เหมาะสมกับรูปแบบของลัษณะงาน

ไวแม็กซ์ (WiMAX)

บนเทคโนโลยีแบบไร้สายมาตรฐานใหม่ IEEE 802.16

เป็นเทคโนโลยีที่มีมานานพอสมควรในต่างประเทศ

จนไม่ป็นเรื่องใหม่ แต่กลับเป็นสิ่งใหม่กับประเทศของเรา

จึงเป็นตัววัดว่าเรายังล้าหลังอยู่มาก

และยังมีการแข่งขันกันเป็นเจ้าของสัมปทาน

2หน่วยงานรัฐมาแข่งขันกันเอง ต้นทุนสูง

ประชาชนเลยเสียเปรียบมาก

การสื่อสารจะได้สะดวกสะบายมากขึ้น

ไม่ได้ดีอย่างคิดแน่ๆ

จากการประชุม International WiMax Conference ที่กรุงเทพที่ผ่านมานี้ ซีอีโอของบริษัทที่ให้บริการ WiMax ในออสเตรเลียได้กล่าวว่า WiMax นั้นในทางปฏิบัติไม่ได้ดีอย่างที่คิด

โดยบริษัทของเขา Buzz Broadband นั้นได้เริ่มให้บริการ WiMax เมื่อปีที่แล้ว เขาได้เรียนรู้หลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับ WiMax โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อจำกัดของ WiMax ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จริง

เขาได้กล่าวว่าถ้าอยู่ห่างจาก Base Station ประมาณ​ 2 กิโลเมตรกลางแจ้ง ก็ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว และถ้าหากอยู่ภายในอาคาร ระยะสัญญาณจะลดเหลือเพียง 400 เมตรเท่านั้น นอกจากนี้แล้วยังมีค่า Latency สูงถึง 1000ms ทำให้การใช้งาน VoIP แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

ไวแมกซ์ (WiMAX เป็นชื่อย่อของ Worldwide Interoperability for Microwave Access) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16 ซึ่งก็ได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16e ขึ้นโดยได้การอนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE: Institute of Electrical and Electronics Engineers) ซึ่งมีรัศมีทำการที่ 30 ไมล์ (ประมาณ 50 กิโลเมตร) หมายความว่า ไวแมกซ์ สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบไครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G มากถึง 10 เท่า ยิ่งกว่านั้นยังมีอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเร็วกว่า 3G ถึง 30 เท่า

มาตรฐาน IEEE 802.16e หรือ ไวแมกซ์ มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-multipoint) ได้พร้อมๆ กัน โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ Non-Line-of-Sight ได้ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง (ต้นไม้ อาคาร) ได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ ไวแมกซ์ สามารถช่วยให้ผู้ที่ใช้งานสามารถขยายเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ กว้างขวางด้วยรัศมีทำการถึง 31 ไมล์ (ประมาณ 48 กิโลเมตร) และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 Mbps มาตรฐาน IEEE 802.16e นี้ใช้งานอยู่บนคลื่นไมโครเวฟที่ความถี่ระหว่าง 2-11 กิกะเฮรตซ์ (GHz) และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐานชนิดอื่นๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี

จากจุดเด่นข้างต้น ทำให้เทคโนโลยีตัวนี้สามารถสนองความต้องการของการเชื่อมต่อเครือข่ายอิน เทอร์เน็ตให้กับพื้นที่ที่ห่างไกลที่สายเคเบิลไม่สามารถลากไปไม่ถึงได้เป็น อย่างดี ตลอดจนเพิ่มความสะดวกสบายและประหยัดสำหรับการขยายเครือข่ายในเมืองที่มีอยู่ แล้ว เนื่องจากไม่ต้องลงทุนขุดถนนเพื่อวางสายเคเบิลใยแก้วใหม่ นอกจากนั้น ไวแมกซ์ ยังได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพของคุณภาพในการให้บริการ (QoS) ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานภาพ (video) งานเสียง (voice) ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรของเครือข่ายมากอย่างเก่า (low-latency network) อีกทั้งในเรื่องของความปลอดภัยยังได้รับอนุญาต (authentication) ก่อนที่จะเข้าออกเครือข่ายและข้อมูลต่างๆ ที่รับส่งก็จะได้รับการเข้ารหัส (encryption) อีกด้วย ทำให้การรับส่งข้อมูลบนมาตรฐานตัวนี้มีความปลอดภัยมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท