dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

เด็กปฐมวัย:การเรียนรู้


การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อย่างไร

                                                                      

                                                                   

                                                                                  

 

            สำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย  ขอบอกว่าต้องมีความรู้และเข้าใจว่าการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีวิธีการและมีกระบวนการเป็นอย่างไร  ส่วนใหญ่ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันใช้ความรู้สึก  ความเคยชิน  และประสบการณ์เดิมที่ตนเองเคยได้รับมาใช้ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กไทยของเรา  จะว่าไปแล้วความรู้ต่าง ๆ ก็ได้เปลี่ยนไป  สภาพสังคม  เศรษฐกิจการเมืองการปกครองก็หมุนเวียนเปลี่ยนไป  การที่จะยึดความรู้เดิม  ประสบการณ์เดิม  ก็จำเป็นอยู่แต่ต้องนำมาผสมผสานกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นอะไรล่ะที่เป็นสิ่งที่ดีที่     เหมาะสม และนำมาใช้กับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในปัจจุบันนี้ 

                ผู้เขียนขอเน้นย้ำว่าผู้บริหารและครูปฐมวัย  ตลอดจนผู้ปกครองเด็ก  ต้องเข้าใจว่าเด็ก  6  ขวบแรก  มีกระบวนการเรียนรู้เป็นของตนเอง  เรียนรู้จากการสัมผัส  ซึมซับสิ่งที่ทำ  สิ่งที่เห็นตลอดเวลา  กล่าวได้ว่าวิธีการเรียนรู้ของเด็กแรกเกิดถึงอายุ  3  ปี  มีวิถีการเรียนรู้ซึ่งอาจารย์สุมน  อมรวิวัฒน์  นักการศึกษาที่สำคัญของไทยได้กล่าวถึงวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไว้ดังนี้

-          เรียนรู้จากการปรับตัว

-          เรียนรู้โดยการฝึกทักษะต่าง   และการฝึกหัดอบรม

-          เรียนรู้โดยสัญชาติญาณ

-          เรียนรู้โดยสัมผัสและสัมพันธ์กับคน  ธรรมชาติ  วัตถุ  สิ่งแวดล้อม

-          เรียนรู้จากการเลียนแบบ

-          เรียนรู้จากการกระตุ้น  จูงใจ  เสริมแรง

-          เรียนรู้จากการกล่อมเกลาจิตใจ  อารมณ์  สุนทรียภาพ

เด็ก  4 – 6  ปี  วิถีการเรียนรู้จะเปลี่ยนแปลงไปซึ่งกิจกรรมที่เน้นมีดังนี้

1.      เรียนรู้จากการปฎิสัมพันธ์กับธรรมชาติ  เพื่อน  ผู้ใหญ่

2.      เริ่มเรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมและพัฒนาไปสู่สัญลักษณ์ นามธรรมที่ง่าย ๆ จากตัวอย่าง

เหตุการณ์  และการอบรม  สั่งสอน 

3.      เรียนรู้จากกิจกรรมการเคลื่อนไหว  การมีส่วนร่วมและการแสดงออก

4.      เรียนรู้ด้วยการฝึกคิดและจินตนาการจากสิ่งเร้า  เช่น  ภาพ  นิทาน  เพลง  และ

การได้เห็นปรากฎการณ์ที่เป็นจริง               

 

 

5.      เรียนรู้จากการเผชิญปัญหาที่ไม่ซับซ้อน โดยเด็กมีโอกาสได้ทดลอง  ได้ค้นหาคำตอบ

ด้วยตนเอง

6.      เรียนรู้จากกิจกรรมการเล่น  ทั้งเล่นคนเดียว  เล่นเป็นกลุ่ม  เล่นเป็นห้อง  ในสนาม

ปีนป่ายเครื่องเล่นที่ปลอดภัย

7.      เรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ เพื่อฝึกให้เกิดคุณธรรม  จริยธรรม  เช่น  การอดทน  รอคอย

ความรับผิดชอบ  ความเป็นระเบียบ  ความมีวินัยในตนเอง

8.      เรียนรู้จากการใช้ภาษาทั้งที่เป็นคำพูด ท่าทาง การวาดภาพ การฟัง การทำตามคำสั่ง

การสนทนา  โต้ตอบ  พัฒนาการทางภาษาเป็นสื่อในการนำไปสู่พัฒนาการทางสติปัญญาและทางสังคม

   ที่กล่าวข้างต้นเป็นวิถีการเรียนรู้ของเด็กเล็ก ๆ  ซึ่งแตกต่างกับเด็กโตอย่างสิ้นเชิง        ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย  จึงไม่ใช่จัดเช่นเดียวกับเด็กโต  เด็กปฐมวัยไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เขามีลักษณะของเขาโดยเฉพาะ เราต้องรู้เพื่อจะได้พัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างมี          ประสิทธิภาพและเต็มศักยภาพ อย่างเช่น เด็กวัยนี้เรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมและพัฒนาไปสู่สัญลักษณ์ที่เป็นนามธรรมง่าย   เท่านั้น  แต่มีครูหรือผู้ใหญ่บางคนสอนเด็กปฐมวัยให้รู้และ  เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมในเรื่องของการบวก  ลบ  ตัวเลข  หลักหน่วย  หลักสิบ  เด็กทำไม่ได้       ผู้ใหญ่ก็เกิดอารมณ์เสีย  บางคนถึงกับลงไม้ลงมือกับเด็กก็มี  ถ้าเข้าใจวิถีการเรียนรู้ของเด็กแล้ว  สิ่งที่นำมาสอนต้องเป็นสิ่งที่เด็กได้สัมผัส  จับต้องและลงมือปฏิบัติจริง ๆ

 นอกจากนั้นยังต้องเข้าใจถึงสิ่งที่สนับสนุนการเรียนรู้ คือ การสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้  ทั้งการจัดสภาพแวดล้อมทางการกายภาพ  อันได้แก่  จะต้องมีบรรยากาศอบอุ่น  เป็นธรรมชาติ       เอื้อต่อการค้นคว้า การสร้างกระบวนการเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม ได้แก่        ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม  การใช้ทรัพยากรท้องถิ่น และการจัดสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาที่ต้องเอื้อต่อการเรียนรู้  เป็นต้น

  ถ้าเราต้องการคนที่มีคุณภาพในสังคมไทย  เราจะต้องช่วยกันเริ่มทำในสิ่งที่ถูกต้องตั้งแต่เด็กในวัยนี้  และยังไม่สายเกินไปที่จะร่วมมือกันเริ่มก้าวเดินอย่างมั่นคงต่อไป

หมายเลขบันทึก: 225652เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2008 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
จุฑามาศ กวินธวัชชัย

วิถีการเรียนรู้ของเด็กเล็ก ๆ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก และเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากเรามีการมองข้ามในเรื่องการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่มีการใส่ใจแล้วนั้น การพัฒนาเด็กทางด้านร่างกายสมองและจิตใจ จะไมมีการพัฒนาเลยค่ะ ดังนั้นการเรียนรู้ของเด็กเล็ก จึงเป็นสิ่งที่มีความสำตัญและไม่ควรมองข้ามค่ะ

พัณณชิตา สิทธิประทานพร

เด็กปฐมวัย เขามีลักษณะของเขาโดยเฉพาะ เราต้องรู้เพื่อจะได้พัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างมี ประสิทธิภาพและเต็มศักยภาพ การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning) เกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ 3 ประการ คือ 1.)การทำงานของสมอง 2.)การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก 3.)กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเปิดกว้าง ให้เด็กเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง เนื่องจากสมองเรียนรู้ตลอดเวลา ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือและผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมให้เด็กไทยได้พัฒนาศักยภาพสมองของเขาอย่างเต็มความสามารถ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท