การบริหารความเสี่ยง


KMการบริหารความเสี่ยง

มา..KM..กันเถอะ

เมื่อวันที่ 29-31 ต.ค.51 มหาวิทยาลัยนเรศวรได้จัดโครงการเชิงปฏิบัติการเรื่องระบบการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยนเรศวร ขึ้น โดยมีทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากสำนักตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจากการอบรมดังกล่าว จึงเกิดกิจกรรม KM การบริหารความเสี่ยง ณ คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวรขึ้น

โดยการจัดKM การบริหารความเสี่ยงนี้ ท่านคณบดีได้มอบหมายให้บุคลากรที่ได้เข้ารับการอบรมจากมหาวิทยาลัยเป็นผู้ถ่ายทอด ซึ่งดิฉันในฐานะเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในก็ได้รับโอกาสในการเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ให้กับเพื่อนๆ ร่วมงาน

เรื่องการบริหารความเสี่ยง ดิฉันเองคิดว่าในการวิเคราะห์ความเสี่ยงเป็นเรื่องยากและต้องอาศัยการสะสมประสบการณ์ในการกลั่นกรองความเสี่ยงออกมาและแก้ไขให้ตรงจุดให้องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุด แต่จากการที่ได้เข้าร่วมอบรมทำให้เข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้นแต่ต้องอาศัยการพัฒนาต่อไป

แต่จากการได้ลองทำKM WORKSHOP เรื่องการบริหารความเสี่ยงให้เพื่อนร่วมงานฟัง (ดิฉันเพิ่งเคยเป็นแม่งานจัด KM ครั้งแรก...) เพื่อนร่วมงานให้ความร่วมมือกันดีมากและบรรยากาศก็เฮฮา ครึกครื้น สิ่งที่ได้รับประโยชน์ไม่ต้องดูเนื้อหาการแลกเปลี่ยนเลยคือ KM ทำให้เพื่อนร่วมงานได้คุยกัน ปรึกษากัน และได้รู้จักการทำงานเป็นทีม

จากการแบ่งกลุ่มให้ลองเขียนความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง และขั้นตอนอื่นๆ บางหัวข้อ เพื่อนๆ ก็จะออกแนวเคร่งเครียดทางสีหน้าต้องคอยแซวว่าเข้าใจไหมๆ งงหรือเปล่า อย่าเครียดนะพี่ การทำKM นี้ดีตรงที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดมุมมองของแต่ละคน พี่คิดว่าต้องเป็นอย่างนี้...เอ...น้องคิดว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น พูดผิดหรือคิดไม่เหมือนกันก็ตลกกันไปแต่มีสาระนะคะ(แอบคิดเข้าข้างตัวเอง)  นี่แหละ...บรรยากาศการแลกเปลี่ยนที่สนุกสนาน

     ในความคิดของดิฉันคิดว่า สิ่งที่เป็นอุปสรรคขวางกั้นทำให้เราไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่เราต้องการ นั้นคือความเสี่ยง เราจะจัดการอย่างไรเพื่อลดหรือหลีกเลี่ยง ป้องกัน ความเสี่ยงนั้นๆ เชื่อว่าทุกคนคงมีกระบวนการนี้อยู่ในตนเองอยู่แล้วแต่ขาดการเขียนออกมาเป็นขั้นตอน/เอกสาร อย่างเป็นระบบเท่านั้นเอง และเราสามารถนำความเสี่ยงประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การเดินทางและตรงเวลา ความปลอดภัยของชีวิต เป็นต้น

ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงที่เราแลกเปลี่ยนกัน แต่ละขั้นตอนมีคำสำคัญมาก และเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดปลีกย่อยๆ มาก ต้องค่อยๆ ศึกษา อย่างน้อยเราจำแต่ละกระบวนการได้ก็พอจะมองภาพการบริหารความเสี่ยงได้ชัดเจนขึ้น

1. กำหนดวัตถุประสงค์โครงการ/กิจกรรม

2. ระบุความเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยง

3.การประเมินความเสี่ยง

     3.1 กำหนดเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน

3.2 ประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง

3.3 วิเคราะห์ความเสี่ยง

3.4 จัดลำดับความเสี่ยง

4. ประเมินการควบคุม

5. บริหาร/จัดการความเสี่ยง

6.จัดทำรายงาน

7. ติดตามผลและทบทวน

เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ต้องอ่านเอกสารประกอบการอบรม จากสำนักงานตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คลิกนี่เลยค่ะ \\agi-web-svr2\agiqa50\7.8RM\ERM 29-31 ตค51\Doc-ERM\1.บรรยาย ERM.ppt หวังว่าคงได้รับความรู้เพิ่มเติมกันนะคะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 225433เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2008 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท