จาก e-network ถึง e-news นวัตกรรม Symposium สู่...พัฒนาการศึกษา


โดย กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สพท.เชียงราย เขต 1

   กลยุทธ์การขับเคลื่อนพลังคุณภาพการศึกษา สู่มาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และมาตรฐานสากล โดยนำปฏิบัติการประชาสัมพันธ์เชิงรุกมาเป็นแนวทางวิ่งสู่เป้าหมายมาตรฐานและคุณภาพ โดยฉายภาพผ่านทางโปรแกรม e-network หรือเครือข่ายประชาสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์ และ e-news หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา (INNOVATION) ร่วมสมัยกับปรากฏการณ์ปฏิรูปการศึกษา ถือเป็นกระบวนทัศน์แห่งการสร้างฐานความรู้จากสถานศึกษายุคเปลี่ยนแปลงสู่การกระจายอำนาจได้อย่างเข้มข้น และสอดคล้องกับสังคมดิจิตอล ซึ่งเป็นการบูรณาการเทคโนโลยีทางการสื่อสารเพื่อการศึกษา

   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เชียงราย เขต 1 เป็นหน่วยงานการศึกษาหนึ่งที่ชูการประชาสัมพันธ์สู่สังคมการเรียนรู้ยุคดิจิตอล ผ่านบทบาทของศูนย์วิทยฐานะบริการและหน่วยงาน e-office ทางการศึกษา มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน บริการและอำนวยความสะดวกแก่สถานศึกษาในสังกัด จำนวน 123 โรงเรียน 2 โรงเรียนสาขา และ 1 ห้องเรียนสาขา ที่ตั้งกระจายอยู่บนยอดดอย พื้นที่สูง และที่ราบในเขตพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.เมืองเชียงราย อ.เวียงชัย และกิ่ง อ.เวียงเชียงรุ้ง

   ยิ่งเมื่อศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักนโยบายและแผน สพฐ. ได้วางระบบ Dial line และ ADSL ให้แก่ทุกโรงเรียนขั้นพื้นฐานตามศักยภาพพื้นที่ ปัญหาการสื่อสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ตก็หมดไป ส่งผลต่อแนวคิดการพัฒนางานประชาสัมพันธ์ด้วยโปรแกรม e-network และการสร้างสรรค์โปรแกรม e-news ที่จุดพลุและต่อท่อกระจายขึ้นเป็นหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมบทความ-บทคัดย่องานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ (e-articles) รายงานนวัตกรรมโรงเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-OSOI) การประกวดกลอนออนไลน์ เว็บไซต์วารสารครูเชียงราย (www.kruchiangrai.com) การรวมกลุ่มผู้ใฝ่รู้ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (knowledge Management Group : KIG) เว็บไซต์สถานศึกษา กลุ่มโรงเรียน ศูนย์วิชาการ ฯลฯ กลายเป็นผลพวงและเครือข่ายต่อยอดและเติมเต็มศักยภาพแห่งระบบ e-network หรือเครือข่ายประชาสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์ของ สพท.เชียงราย เขต 1 ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมการพัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสู่ความเข้มแข็ง รองรับกับการกระจายอำนาจของกระทรวงศึกษาธิการได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง

   นายสุทัศน์ พัทธยากร ผู้อำนวยการ สพท.เชียงราย เขต 1 กล่าวถึงระบบ e-network นี้ว่า เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่โดดเด่นของหน่วยงาน ซึ่งทันสมัย รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ ทั้งโรงเรียน ครู บุคลากรที่อยู่ห่างไกล แต่มีระบบสัญญาณโทรศัพท์ไปถึง ก็จะสามารถส่งภาพข่าว-ข่าวสารได้ทุกวัน ทุกเวลา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องหมึก กระดาษ ค่าซ่อมบำรุง ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเสียเวลาการเรียนการสอน สามารถรายงานทุกสถานการณ์เข้ามาได้ทาง e-network หรือ e-news ซึ่งทาง สพท.จะมีกลุ่มงานประชาสัมพันธ์และเครือข่ายคอยรับผิดชอบ

   นอกจากนี้ การสื่อสารระบบ e-office ของ สพท.เชียงราย เขต 1 ยังมีการนำระบบ SMS หรือข้อความข่าวสั้น เพื่อแจ้งเวียนไปยังผู้บริหารโรงเรียนและหัวหน้ากลุ่มในสำนักงานได้รับรู้อย่างรวดเร็วอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันเครือข่าย e-network มี สพท.เชียงราย เขต 1 เป็นต้นแบบชูธงนวัตกรรม และได้ขยายเครือข่ายไปยัง สพท.อื่นๆ ในหลายจังหวัด เช่น พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สระบุรี นครปฐม ฯลฯ

   นายกริช มากกุญชร นักประชาสัมพันธ์ 7ว. หัวหน้ากลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สพท.เชียงราย เขต 1 ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โปรแกรม e-network, e-news และ e-articles ได้สร้างสรรค์และพัฒนาขึ้นโดยนายอภิวัฒน์ กันศรีเวียง เจ้าหน้าที่กลุ่มนโยบายและแผน เว็บมาสเตอร์ สพท. หลังจากเริ่มต้นใช้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 โดยจัดเวิร์กช็อปครูผู้ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์โรงเรียน และเจ้าหน้าที่ไอซีทีของกลุ่มโรงเรียน และได้ทดลองใช้และปรับปรุง พร้อมทำวิจัยการพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านระบบประชาสัมพันธ์ e-network ปรากฏว่า คณะครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่ฯต่างอัพเดตข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวและกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง เข้ามายัง สพท.เชียงราย เขต 1 อย่างคึกคัก มีการคลิกเมาส์เข้าไปอ่านมากกว่า 1.8 แสนครั้ง และสามารถลำเลียงส่งต่อข่าวสาร ภาพข่าวไปยังสื่อมวลชนในพื้นที่ หน่วยงานในจังหวัดเชียงรายและส่วนกลางได้อย่างแพร่หลาย สอดรับกับจุดมุ่งหมายของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ที่ต้องการให้มีการเผยแพร่ข่าวสารและการขยายผลแผนการพัฒนาสู่สาธารณชนอีกด้วย

   ทั้งนี้ ในการจัดงาน Symposium นวัตกรรมทางการศึกษา ปี 2550 ระดับเขตตรวจราชการที่ 1 จุดที่ 2 ของ สพท.เชียงราย เขต1-4, สพท.น่าน เขต 1-2, สพท.แพร่ เขต 1-2 และ สพท.พะเยา เขต 1-2 ที่โรงแรมลิตเติ้ลดั๊ก อ.เมืองเชียงราย ระหว่างวันที่ 10-11 กันยายนนี้ จะมีการโชว์นวัตกรรม การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยโปรแกรมประชาสัมพันธ์เครือข่าย e-network พร้อมด้วยระบบเครือข่ายประชาสัมพันธ์เชิงรุกผ่านหนังสือพิมพ์ e-news อันเป็นศักยภาพการประชาสัมพันธ์เชิงรุกยุคใหม่ ที่ครู บุคลากรทางการศึกษา หรือองค์กรความรู้ทางการศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าไปร่วมแจม และบูรณาการวิสัยทัศน์ได้ที่ http://area.obec.go.th/chiangrai1

ข่าวจากมติชน

 

คำสำคัญ (Tags): #ข่าวการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 225205เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2008 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ถ้ามันเกิดขึ้นจริงๆ คงเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น สามารถส่งข่าวสาร เอกสารต่างๆ ได้อย่างสะดวก

เพื่อน ๆ ลองเข้าไปดูหน้าตา e-network

สามารถส่งข่าวสารใหม่ ๆ ได้ทั้งเนื้อหา และรูปภาพ

http://123.242.164.132/enetwork/admin/

ต้องสมัครสมาชิกค่ะ แต่เราลองสมัคร แล้วลองเข้าไปดูแล้ว

ใช้อันนี้ได้ค่ะ

Username: bubc

Password: bc425

มี Link ไปยัง http://area.obec.go.th/chiangrai1

ก็คือเว็บเดียวกะที่เพื่อนโพสค่ะ

โปรแกรม e-network หรือเครือข่ายประชาสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์ และ e-news

เป็นสิ่งที่ดีเพราะจะทำให้แวดวงการศึกษาพัฒนาไปได้ก้าวไกลมากกว่าในปัจจุบัน

นับว่าเป็นนวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กๆที่ห่างไกลความเจริญได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งมันจะทำให้ช่วยลดโลกร้อนไปอีกแนวทางหนึ่งด้วยคือ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องหมึก กระดาษ ค่าซ่อมบำรุง ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเสียเวลาการเรียนการสอน สามารถรายงานทุกสถานการณ์เข้ามาได้ทาง e-network และยังช่วยเสริมสร้างอนาคตของเด็กๆให้มีความรู้ทัดเทียมกับบุคคลที่อยู่ในเมืองใหญ่ได้อีกด้วย

เป็นสิ่งที่ดีมากครับช่วยลดปัญหาได้หลายอย่าง เช่นการเดินทางเป็นต้น ผมคิดว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เชียงราย เขต 1 เขาน่าจะสอนผ่านอินเตอร์เน็ตแบบโครงการมหาวิยาลัยไซเบอร์ http://www.thaicyberu.go.th/ อีกด้วยถ้ามีจริงผมคิดว่าในอนาคตอาจจะมีการเรียนมวยไทยออนไลน์(ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมี นินจาออนไลน์

http://www.komchadluek.net/2008/03/08/x_for_g001_193012.php?news_id=193012)

ดีค่ะ เด็กที่อยู่ห่างไกลจะได้พบกับนวัฒกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้นี้ การศึกษาก็จะได้ก้าวไกล

ดีมากเลยครับ ลองเข้าไปใช้ดูแล้วครับน่าสนใจมากๆเพื่อนลองเข้าไปดูนะครับ

คราวนี้เด็กที่ห่างไกลและต้องการที่จะเรียนก็จะได้เรียนแล้ว

เพื่อนลองเขาไปดูนะจ๊ะ

น่าจะมีe-network ตั้งนานแล้วเพื่อการเรียนการศึกษาจะได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นและโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลก็จะได้มีโอกาสได้มีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารต่างๆ

ดีใจนะค่ะ ที่สังคมไทย จะมีการพัฒนายิ่งๆขึ้นในด้านการศึกษา

เพื่อให้เด็กได้เปิดโลกกว้าง แต่อย่าลืมว่าเมื่อโลกพัฒนา ความน่ากลัวก็จะตามมาเช่นกันนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท