ดนตรีบำบัด


ดนตรีบำบัด

ดนตรีบำบัด(MusicTherapy)คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการนำดนตรีหรือองค์ประกอบอื่น ๆ ทางดนตรีมาประยุกต์ใช้ เพื่อปรับเปลี่ยนพัฒนาและคงรักษาไว้ซึ่งสุขภาวะของร่างกายจิตใจอารมณ์สังคมโดยนักดนตรีบำบัดเป็นผู้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ผ่านทางกิจกรรมทางดนตรีต่าง ๆ อย่างมีรูปแบบโครงสร้างที่ชัดเจนมีหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์

เป้าหมายของดนตรีบำบัดไม่ได้เน้นที่ทักษะทางดนตรีแต่เน้นในด้านพัฒนาการทางร่างกายจิตใจอารมณ์สังคมขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละบุคคลที่มารับการบำบัดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายบริบทเช่น ด้านการศึกษาด้านการแพทย์

 

ลักษณะเด่นของดนตรีบำบัด

ดนตรีบำบัดมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวหลายด้าน ทำให้สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับอายุและหลากหลายปัญหาลักษณะเด่น ได้แก่

1.ประยุกต์เข้ากับระดับความสามารถของบุคคลได้ง่าย

2.กระตุ้นการทำงานของสมองได้หลายส่วน

3.กระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน

4.ช่วยพัฒนาอารมณ์จิตใจ

5.เสริมสร้างทักษะทางสังคม และการสื่อสาร

6.ให้การรับรู้ที่มีความหมายและความสนุกสนาน ไปพร้อมกัน

7.ประสบความสำเร็จในการบำบัดได้ง่ายเนื่องจากประยุกต์ใช้ได้ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับความสามารถ

 

ประโยชน์ของดนตรีบำบัด

ดนตรีบำบัดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบทั้งในเด็กวัยรุ่นวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุตามเป้าหมาย เพื่อตอบสนองความจำเป็นที่แตกต่างกันไปทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเช่น ปัญหาบกพร่องของพัฒนาการสติปัญญา และการเรียนรู้, โรคซึมเศร้า, โรคอัลไซเมอร์, ปัญหาการบาดเจ็บทางสมอง, ความพิการทางร่างกายอาการเจ็บปวด และภาวะอื่น ๆ

สำหรับบุคคลทั่วไปก็สามารถใช้ประโยชน์จากดนตรีบำบัดได้เช่นกันช่วยในการผ่อนคลายความตึงเครียดและในการออกกำลังกายเสริมสร้างสุขภาพ

ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีดังนี้

1.ปรับสภาพจิตใจให้อยู่ในสภาวะสมดุลมีมุมมองในเชิงบวก

2.ผ่อนคลายความตึงเครียดลดความวิตกกังวล(Anxiety / StressManagement)

3.กระตุ้นเสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้และความจำ (CognitiveSkill)

4.กระตุ้นประสาทสัมผัสการรับรู้(Perception)

5.เสริมสร้างสมาธิ (AttentionSpan)

6.พัฒนาทักษะสังคม(SocialSkill)

7.พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา(Communication and Language Skill)

8.พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว(MotorSkill)

9.ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ(Muscle Tension)

10.ลดอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง ๆ(Pain Management)

11.ปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม(Behavior Modification)

12.สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่าง ๆ(Therapeutic Alliance)

13.ช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวชทั้งในด้านการประเมินความรู้สึกสร้างเสริมอารมณ์เชิงบวกการควบคุมตนเองการแก้ปมขัดแย้งต่าง ๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว

โดยสรุปดนตรีบำบัดมีประโยชน์หลากหลายขึ้นอยู่กับการนำไปใช้เสริมสร้างสุขภาวะทาง

ร่างกายจิตใจอารมณ์และสังคมเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีโดยบูรณาการเข้ากับการรักษาอื่นๆ

กระบวนการและรูปแบบดนตรีบำบัด

ในการทำดนตรีบำบัดไม่มีกระบวนการและรูปแบบที่ตายตัวแต่จะต้องออกแบบการบำบัดรักษาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

ดนตรีบำบัดในโรงเรียน

ในโรงเรียนมีการนำดนตรีบำบัดมาใช้ใน 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ

1.เสริมสร้างจุดแข็งในตัวเด็กในทักษะด้านต่าง ๆ นอกเหนือจากทักษะทางดนตรี เช่น ทักษะการสื่อสารทักษะการทำงานประสานสัมพันธ์กันของร่างกาย

2.เสริมในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP -Individualized Educational Program)สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

คำสำคัญ (Tags): #ดนตรี
หมายเลขบันทึก: 225200เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2008 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เจริญพร โยมฉวีวรรณ

สวดมนต์ฉบับของธิเบตใช้เสียงดนตรีประกอบ

ทำให้ผู้ฟังเกิดความสงบระงับได้

"อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป"

 

เจริญพร

กำลังสนใจเรื่องนี้พอดี ดนตรีก็ดีอย่างนี้แหละ ช่วยให้คนเรารู้จักตนเอง รู้จักสังคม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีจตใจดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท