maleela
นางสาว กัญญาภัค สิทธิบุศย์

การทำงานเป็นทีม


การทำงานเป็นทีม

การทำงานในยุคนี้ จำเป็นยิ่งที่ต้องทำงานแบบเชิงรุก (Proactive) มิใช่ทำงานแบบเชิงรับ (Reactive) เหมือนยุคก่อนอีกต่อไป นอกจากต้องมีวิสัยทัศน์ คือ รู้จักคิดกว้าง ไกล กลม กลับ ก่อ แล้ว ยังจำเป็นที่สุดที่ต้องร่วมด้วยช่วยกันทำ ที่ว่า ทำงานอย่างเป็นทีม หรือ Team Work นั่นคือ ยังต้องนำสมองซีก 3 ขึ้นมาใช้ให้มากอยู่ดี

ความหมายง่ายๆ ของการทำงานอย่างเป็นทีม ก็คือ คนจำนวนหนึ่ง (โดยปกติ คือ 6 -10 คน หรืออย่างมากสุด ต้องไม่เกิน 25 คน) ซึ่งมีทักษะความสามารถที่ต่างกันไป แล้วตกลงใจมาทำงานร่วมกัน โดยจัดสรรตำแหน่งหน้าที่ให้ลงตัวตามความถนัดของแต่ละบุคคล เพื่อจะบรรลุสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้ร่วมกันตั้งไว้
ฝรั่งเขาเล่นคำของเขาได้น่ารัก โดยแยกคำว่า TEAM ย่อออกมาอย่างนี้

T ย่อมาจากคำว่า Together
E ย่อมาจากคำว่า Everyone
A ย่อมาจากคำว่า Achievement
M ย่อมาจากคำว่า More

รวมแล้ว ได้ความหมายว่า Together Everyone Achievement More

ฝรั่งเขาว่าไว้อย่างนี้

One Person can do much
People in unison can do more
Together we can make a big differenc

พี่ไทย แปลได้อย่างนี้

คนๆหนึ่ง สามารถทำงานได้มากมาย
ร่วมด้วยช่วยกันทำ สามารถได้งานมากขึ้น
ทำเป็นทีมงาน สามารถสร้างนวัตกรรม ใหม่ๆ ได้ประจำๆ

ในการทำงานอย่างเป็นทีมนั้น แน่นอน ย่อมต้องมีผู้นำกลุ่ม หรือที่เรียกว่า Team Leader คือ ผู้ที่จะพาทีมงานมาร่วมด้วยช่วยกันทำโครงการหนึ่ง หรือนวัตกรรมชิ้นใหม่ขึ้นมา หรืออาจจะมาช่วยกันแก้ไขปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือประชุมหารือหาแนวทางการป้องกันปัญหาที่เคยเกิดขึ้น เพื่อมิให้มันเกิดขึ้นอีกก็ได้ จึงต้องมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ความสามารถในการทำให้ทีมงานช่วยกันคิด ช่วยกันตัดสินใจได้ทุกคน (Influences Team decisions with Team members)

โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ถึงปัญหาที่แท้จริงกันก่อนแล้วจึงก่อนหาแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้นๆ มีผู้ช่วยแล้ว ถ้าเพิ่มสมาชิกอีกสัก 6 ประเภทนี้ได้ยิ่งดี คือ

 ผู้บันทึกการประชุม (Team Recorder) คือ

ผู้ที่สามารถสรุปประเด็นจากการประชุมแล้วบันทึกไว้เป็นขั้นตอนและลำดับขั้นความสำคัญ

 ผู้กำหนดเวลา (Time Timer)

ทั้งช่วงวันเวลาการประชุม และคาดการณ์ได้ว่าโครงการที่จะทำหรือจะแก้นั้น

ต้องใช้เวลานานเท่าใดในขณะที่มีงบประมาณเท่านั้นเท่านี้

 ผู้กำกับการประชุม (Team Gatekeeper) คือ

ผู้ที่สามารถทำให้ทีมงานเข้ามาดำเนินการประชุมพร้อมกันได้

รวมทั้งการแสดงออกถึงความคิดเห็นร่วมกันได้

 ผู้ชอบมีความคิดเห็นต่างกัน (Time Devil’s

Advocate) คือ

ผู้ที่สามารถมองเห็นจุดอ่อนหรือผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มโดยมองเห็นถึงวิธีการอื่นที่ทำแล้วน่าจะได้ผลดีกว่า

 ผู้ให้กำลังใจ (Team Encourager) คือ

คนที่มองโลกแง่ดี

ชอบพูดให้กำลังใจแก่สมาชิกกลุ่มเวลาแสดงความคิดเห็นที่ฟังแล้วเข้าท่า เข้าที่

เข้าทาง เสมอๆ ทำให้สมาชิกกลุ่มยิ่งอยากแย่งกันคิดดี พูดดี แสดงออกในทางด้านบวก

 ผู้อำนวยความสะดวก (Team Resource Holder) คือ

ผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี เอาใจใส่คนอื่นดีจะเรียกว่า เป็นเบ้ก็ได้ คือ

คอยสร้างบรรยากาศและคอยบริการสมาชิกกลุ่มให้การประชุมดำเนินไปได้อย่างราบรื่น สบายๆ

ไม่ว่าจะช่วยจัดหากระดาษ ดินสอ หรือ ฟลิบชาร์ต เครื่องคิดเลข

หมายเลขโทรศัพท์ที่ต้องติดต่อ จนไปถึงการจัดเครื่องดื่ม

ขนมขบเคี้ยวที่แต่ละคนชอบอย่างพร้อมเพรียงไว้ให้เสมอ

อย่างนี้แหละ เขาจึงว่า Dream Team หรือ ทีมงานในฝัน ซึ่งต่างก็ต้องมีมันสมองซีก 3 กันนะค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก at office.com  เรื่องโดย ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

หมายเลขบันทึก: 225185เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2008 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หวัดดีค่ะ....พี่กุ๊ก (Maleela)

          เพราะ คิดถึง...จึงได้แวะหา

                                           

การทำงานเป็นทีมที่ดี สมาชิกทุกคนจะต้องมีความไว้วางใจ เชื่อมั่นในสมาชิกและที่สำคัญคือความสามัคคีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท