พันธ์ปลาดุก


พันธ์ปลาดุก

ในประเทศไทยมีพันธุ์ปลาจำพวกปลาดุกอยู่หลายพันธุ์  แต่ที่รู้จักและนิยมบริโภคกันมากมีอยู่ 4 พันธุ์ คือ ปลาดุกด้าน ปลาดุกอุย  ปลาดุกบิ๊กอุย และปลาดุกเทศ  ปลาดุกยักษ์หรือปลาดุกรัสเซีย

 
 
 


 

 

                ปลาดุกด้าน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Clarias batrachus มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ดุกเลา ดุกเอ็น ดุกเผือก พบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย เป็นปลาไม่มีเกล็ด ไม่มีครีบไขมัน ฐานของครีบหลังยาวเกือบตลอด ส่วนหลังมีครีบหลังครีบก้นและครีบหางแยกออกจากกัน ที่ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง แต่มีครีบอ่อนจำนวนมาก มีพุ่มดอกไม้อยู่ในโพรงกะโหลก ส่วนหัวเหนือช่องเหงือกทั้งสองเพื่อช่วยในการหายใจ และที่ครีบอกมีก้านครีบ

( เงี่ยง ) แข็งข้างละ 1 อัน ลักษณะกลมใหญ่ปลายแหลมเป็นหยักทั้งสองข้าง ลำต้นมีสีเทาปนดำหรือน้ำตาลปนดำ บริเวณท้องมีสีค่อนข้างขาว ปลาดุกด้านเป็นปลาที่มี นิสัยดุ ว่องไว ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบดำผุดดำว่าย และชอบแซกมุดไปตามพื้นโคลนตม เป็นปลาที่มีความอดทนต่อสิ่งแวดล้อมที่เลวได้ดี สามารถเลี้ยงรวมกันได้เป็นจำนวนมาก เลี้ยงง่าย โตเร็ว อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำไหลและน้ำนิ่ง (ชูศักดิ์   แสงธรรม. 2542 : 5)

 

       
   

3

 
 


                   ปลาดุกอุย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Clarias macrocephalus เป็นปลาที่ไม่มีเกล็ด ลำตัวยาวเรียว พบได้ตามแหล่งน้ำจืดทั่วไปๆ สีของลำตัวค่อนข้างเหลือง มีจุดประตามด้านข้างของลำตัวประมาณ  9-10 แถบ แต่เมื่อโตขึ้นจะเลือนหายไป ผนังท้องมีสีขาวถึงเหลืองเฉพาะบริเวณอกถึงครีบท้อง ส่วนหัวค่อนข้างทู่ ส่วนปลายกระดูกท้ายทอยป้านและโค้งมนมาก กะโหลกจะลื่นมีรอยบุ๋มตรงกลางเล็กน้อย มีหนวด 4 คู่ โคนหนวดเล็ก ปากไม่ป้านค่อนข้างมน ครีบอกมีครีบแข็งข้างละ 1 ก้าน (เงี่ยง) มีลักษณะแหลมคมยื่นยาวเกินหรือเท่ากับครีบอ่อน ครีบหลังมีก้านครีบอ่อน 47-52 ก้าน ครีบหางกลมไม่ใหญ่มากนัก มีสีเทาปนดำ ครีบหางไม่ติดกับฐานครีบหลังและครีบก้าน ระยะจากปลายกระดูกท้ายทอยถึงจุดเริ่มต้นของครีบหลังประมาณ

1 ใน 5 จากความยาวจากปลายสุดถึงปลายกระดูกท้ายทอย จำนวนกระดูกซี่กรองเหงือกประมาณ 32 ซี่ เนื้อมีสีเหลืองนุ่มมันมาก

                ปลาดุกอุยที่อยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ มีนิสัยชอบหาอาหารตามหน้าดิน โดยใช้หนวดที่รับรู้ความรู้สึกได้ดีในการหาอาหารตามพื้นผิวหน้าดิน  ปลาดุกอุยเป็นปลาที่ปราดเปรียวเคลื่อนไหวว่องไวมาก ชอบกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในบ่อก็สามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปที่มีผสมของ รำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว และปลายข้าวได้ ทั้งยังฝึกให้ขึ้นมากินอาหารบริเวณใกล้ผิวน้ำได้ด้วย ( กรมประมง. 2542 : 6-7 )

 

 

       
   

4

 
 

 


                ปลาดุกบิ๊กอุยหรือปลาดุกอุยเทศ เป็นปลาดุกลูกผสม เกิดจากการผสมเทียมข้ามพันธุ์ระหว่างพ่อพันธุ์ปลาดุกยักษ์กับแม่พันธุ์ปลาดุกอุยลักษณะนิสัยจึงอยู่กลางระหว่างปลาดุกสองพันธุ์นี้  ซึ่งมีลักษณะภายนอก และนิสัยการกินอาหารคล้ายปลาดุกอุยมาก มีผิวค่อนข้างเหลือง โดยเฉพาะลำตัวและหางเห็นรอยจุดประสีขาวของปลาดุกอุยชัดเจนมาก  แต่เมื่อโตขึ้นจุดประนี้จะหายไป  ส่วนกะโหลกท้ายทอยจะแหลมเป็นหยัก 3 หยักเช่นเดียวกับปลาดุกยักษ์ หัวมีขนาดใหญ่ และคอดหางมีจุดประสีขาวเรียงตามขวางในระยะที่ปลายังเล็ก เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ทนทานต่อโรคพยาธิและสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกับปลาดุกยักษ์ แต่มีเนื้อคล้าย               ปลาดุกอุย คือ เนื้ออกสีเหลือง นุ่ม รสชาติอร่อย กินอาหารได้แทบทุกชนิด เลี้ยงได้น้ำหนักมากในระยะเวลาสั้น ทำให้เลี้ยงได้หลายรุ่นในรอบปี มีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก ในช่วงระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 60 วัน           จะได้น้ำหนักประมาณ 200-300 กรัมต่อตัว หรือขนาด 4 - 5 ตัว ต่อกิโลกรัม

(วิทย์  ธารชลานุกิจ.  2530 : 11)

 

 

 

 

 

       
   

5

 
 

 


                ปลาดุกเทศ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Clarias haripiinus บางครั้งเรียก ปลาดุกยักษ์หรือปลาดุกรัสเซีย  เป็นปลาไม่มีเกล็ด ลำตัวเรียวยาวหัวใหญ่และแบน กะโหลกเป็นตุ่มๆ ไม่เรียบมีรอยบุ๋มตรงกลางเล็กน้อย กระดูกท้ายทอยมีลักษณะเป็นหยัก 3 หยัก มีหนวด 4 คู่ โคนหนวดใหญ่มีลักษณะป้านและแบนหนา ครีบหูมีเงี่ยงใหญ่ สั้นนิ่ม ไม่แหลมคมและส่วนของครีบอ่อนหุ้มถึงปลายครีบแข็ง ครีบหลังปลายครีบสีแดง และมีแถบสีขาวพาดขวางคอดหาง มีความยาวของลำตัวเป็น 3 เท่าของความยาวส่วนหัว ตัวสีเทาหรือสีเทาอมเหลือง ไม่มีจุดประตามลำตัว แต่เมื่อโตขึ้นจะปรากฏลายคล้ายหินอ่อนอยู่ทั่วตัว ผนังท้องสีขาวตลอดจนถึงโคนหาง มีการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด มีความต้านทานโรคและสภาพแวดล้อมสูง เป็นปลาที่ขนาดใหญ่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ (ยนต์  มุสิก.  2542 : 10-11)

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 225005เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2008 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ขอบคุนค่ะ

ขอบพระคุณ มากคราบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ

ผมหาตั้งนานนนนนนนนนนนนนนนนนนนน  ขอบคุณณณณณณณณณณ

 

โรงเรียนอนุบาลชลบุรีครับ ขอบคุณ ครับ

โรงเรียนดอนกลอยวิทยาคาร สพท.รอ2

แวะอ่านสนใจมาก

ครูอำเภอสุวรรณภูมิ

สนใจมาก อ่านแล้วได้ความรู้

ครูเมืองสีภูมิ สพท.รอ. 2 สพฐ.

นักเรียนค้นคว้า กิ๊บคค่ะ

หนูทำรายงานเรื่องปลาดุกส่งครูค่ะ ขอบคุณมากท่ให้ความรู้

จากเด็กชัยภูมิ

เคยอ่านและนำไปปฏิบัติ โดยสอนเด็กเลี้ยงท่โรงเรียนแล้วได้ผลดี ขอบคุณท่นำเสนอ ชื่นชมครูมาก ๆๆๆ

ครูโรงเรียน สพท.ยโสธร เขต 2

พวกหนูได้อ่านเรื่องการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยและหนูได้ความรู้อย่างดีก็ขอขอบคุณค่ะ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองฮี ตำบลหนองฮี อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด

เด็กหญิง จุฑาทิพย์ วิเศษวงษา

เด็กหญิง จิรสุตา ภูมิเรศสุนทร

ปลาดุกบิ๊กอุย เค้าเพาะพันธุ์กันได้แล้ว  เห็นที่นี่เค้าเพาะอ่ะค่ะ http://www.bestfish4u.com/best-fish-information.php หนูสงสัยว่าปลาดุกอุยนี่เค้าเพาะพันธุ์กันได้ไหมคะ

ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้  สวยและใจดีมากเลยนะครับคุณครู 

นักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านบางเสร่ ขอบคุณเว็บนี้มาก

ขอลคุณค่ะ เนื้อหาละเอียดมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท