หัวใจครูอาสา
Miss ฐิติวรกาญจน์ ต้นอ้อ วงษ์อัยรา

สไตล์สุขภาพ


สุขภาพดี ๆ

การขาดสารเกลือแร่โปแตสเซียม  แม้จะรับประทานอาหารตามปกติ

โดย พญ.เจรียง  จันทรกมล (หนังสือพิมพ์ แนวหน้า 20 พ.ย. 51)

     ในภาวะปกติคนเราจะได้รับเกลือโปแตสเซียมจากอาหารพอเพียงต่อความต้องการของร่างกาย  เนื่องจากร่างกายคนเราต้องการโปแตสเซียมในปริมาณที่ค่อนข้างน้อยเพียง 2 - 6 กรัมต่อวัน  แหล่งอาหารที่มีโปแตสเซียมสูงกระจายในอาหารทั่วไปตามธรรมชาติ เช่น ผักใบเขียว  เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ผลไม้  เช่น  ส้ม  กล้วย  ลูกพรุน  เป็นต้น  ในภาวะที่ร่างกายรับประทานโปแตสเซียมในอาหารน้อยลง  ไตจะทำหน้าที่ช่วยลดการขับโปแตสเซียมออกทางปัสสาวะ  เพื่อให้ร่างกายมีระดับโปแตสเซียมที่เป็นปกติ

     ดังนั้น  การที่ร่างกายจะมีสารโปแตสเซียมในเลือดต่ำได้มักเกิดจากการสูญเสียโปแตสเซียมจากร่างกายไปในทางใดทางหนึ่ง  จากจำนวน  หรือจากการเสียโปแตสเซียม  ทางปัสสาวะ  เช่น  การได้รับยาขับปัสสาวะ  ยาสเตอรอยด์ (Steroid) และยังพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี  ผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกของหมวกไตก็จะมีโปแตสเซียมในเลือดต่ำและมักพบความดันโลหิตสูงร่วมด้วย

     ในบางกรณีเราพบว่าผู้ป่วยไม่มีการสูญเสียโปแตสเซียมออกนอกร่างกาย  แต่มีโปแตสเซียมในเลือดต่ำ  เกิดจากการที่โปแตสเซียมเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดงหรือกล้ามเนื้อมากขึ้น  ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษ  หรือโรคอัมพาตจากโปแตสเซียมต่ำ  (Periodc  Paralysis) 

     อีกภาวะหนึ่งที่พบภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำได้  คือ  การใช้ยาชุดเพื่อลดความอ้วน  ในบางแห่งจะมีการผสมยาขับปัสสาวะร่วมกับยาระบายและออร์โมนไทรอยด์  เพิ่มเติมจากยาเพื่อลดอาการหิว  เพื่อให้เห็นผลการลดความอ้วนได้เร็วแต่โดยวิธีนี้จะเกิดผลข้างเคียงได้ง่ายผู้ที่จะลดความอ้วนจึงควรเลือกสถานที่ลดความอ้วนที่ได้มาตรฐานโดยเน้นการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายร่วมกับการใช้ยาตามความจำเป็นและมีการติดตามดูแลใกล้ชิด

     อาการของผู้ที่มีโปแตสเซียมในเลือดต่ำ  คือ  มีอาการอ่อนเพลีย  กล้ามเนื้ออ่อนแรง  หรืออัมพาต  การบีบตัวของลำใส้ลดลง  ทำให้ท้องอืด  หัวใจเต้นผิดปกติ  เป็นต้น

     ผู้ป่วยที่มีประวัติของการสูญเสียเกลือแร่ที่ชัดเจน  เช่น  อาเจียน  ท้องเสีย  หรือเสียเหงื่อมากสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ด้วยการรับประทานเกลือแร่  ถ้าไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์  ส่วนผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงและมีอาการที่ผิดปกติ  ควรรีบพลแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยภาวะการขาดเกลือแร่ให้แน่นอนด้วยการตรวจเลือด  เพื่อที่จะรักษาได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที

คำสำคัญ (Tags): #สุขภาพดี ๆ
หมายเลขบันทึก: 224313เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2008 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ คุณหัวใจครูอาสา แวะเข้ามาอ่านค่ะ ชอบเรื่องสุขภาพเหมือนกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท