กล้าธรรม


อิทธบาทแนวนอน

212 The 1st NPRU Academic Conference

อิทธิบาท: ศาสตร์แห่งความสำเร็จ

มนตรี วิวาห์สุข คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

บทคัดย่อ

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนออิทธิบาทในแนวนอน ซึ่งยังไม่มีการกล่าวถึงการทำหน้าที่ ของอิทธิบาทในลักษณะเช่นนี้มาก่อน การอธิบายอิทธิบาทในปัจจุบันจะอธิบายในแนวต้ังคือเริ่มต้นด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และ วิมังสา ตามลำดับ ส่วนการอธิบายอิทธิบาทในแนวนอนต้ังอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า อิทธิบาทแต่ละข้อสามารถเกิดขึ้นได้อย่างเป็นเอกเทศหรือเกิดร่วมกันก็ได้ และ เกิดตามลำดับหรือข้อใดเกิด ก่อนก็ได้ ผลการศึกษาพบว่า การอธิบายอิทธิบาทในแนวนอนน้ันช่วยให้พุทธธรรมมีขอบเขตกว้างขวางและ ลึกซึ้งยิ่งขึ้นตามนัยที่มีอยู่แล้วในอิทธิบาท และ สามารถนำไปอธิบายความสำเร็จทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าความสำเร็จ น้ันจะเริ่มต้นด้วยความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ หรือ เฉยต่องานน้ันก็ตาม

คำสำคัญ: อิทธิบาท, มรรค, อธิปไตย, พรหมวิหาร, ศาสตร์แห่งความสำเร็จ

Abstract

     The purpose of this article is to present Iddhipada on the horizontal line, which has never been presented before. So far Iddhipada has been vertically explained from Chanda, Viriya, Citta and Vimangsa respectively. The innovative explanation is based on an assumption that each of Iddhipadas can be cultivated either separately or collectively and respectively or irrespectively. The study finds that the horizontal explanation of Iddhipada help widens and deepen the Buddha’s teaching according to the profound implication of Iddhipada itself. In other words, it can be applied to explain all types of successes regardless their stimuli liked, disliked or indifferent.

Keywords: Iddhipada (Path of accomplishment), Magga (the Path), Adhipateyya (Supremacy), Brahmavihara (Sublime states of mind), Science of success.

1. บทนำ

     มนุษย์มักจะเลือกทำในสิ่งที่ชอบ แต่ในบางสถานการณ์จำเป็ นต้องทำในสิ่งที่ไม่ชอบ (ชัง) หรือ ทำในสิ่งที่ไม่มีความรู้สึกชอบหรือชังต่อสิ่งที่ทำน้ัน (เฉย) ท้ังนี้อาจเป็นเพราะในสถานการณ์เช่นน้ัน ไม่มีสิ่ง ที่ชอบให้ทำ หรืออาจเป็นเพราะสิ่งที่ชังและ/หรือเฉยน้ันมีความจำเป็นมากกว่าสิ่งที่ชอบ โดยนัยนี้จึงอาจแบ่ง การตัดสินใจเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ใน 4 ลักษณะ คือ

     1.ชอบในสิ่งที่ทำ จึงทำ โดยนึกถึงความรู้สึกสุขใจที่ตนได้จากการกระทำน้ันเป็นที่ต้ัง

     2.ชังในสิ่งที่ทำ จึงทำ โดยนึกถึงความท้าทายที่เกิดจากสิ่งที่ทำและโทษจากการไม่กระทำเป็นที่ต้ัง

     3.เฉยในสิ่งที่ทำ จึงทำ โดยนึกถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้อื่นเป็นที่ต้ัง (เฉยคน) และ

     4.เฉยในสิ่งที่ทำ จึงทำ โดยนึกถึงหลักการหรือความถูกต้องเป็นที่ต้ัง (เฉยธรรม)

     คนที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบแม้จะมีความสุขกับสิ่งที่ทำแต่ไม่อาจมั่นใจได้ว่าจะประสบความสำเร็จตามที่ ตนต้ังไว้หรือตามเป้าหมายของงานน้ัน ส่วนผู้ที่แม้ไม่ได้ทำในสิ่งที่ชอบอาจจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ก็ได้เช่นกัน ดังน้ัน ความชอบ ชัง เฉยคน หรือ เฉยธรรม จึงไม่ใช่ตัวชี้วัดความสำเร็จ แต่ขึ้นอยู่กับการ จัดการกับความรู้สึกและสิ่งที่ทำน้ันอย่างถูกต้อง นอกจากนี้หากทุกคนมุ่งทำแต่สิ่งที่ชอบ และไม่ยอมทำ สิ่งที่ชังหรือเฉย งานในความรับผิดชอบของเขาย่อมล้มเหลว ยกตัวอย่างเช่น เด็กนักเรียนเลือกเรียนแต่วิชา ที่ชอบส่วนวิชาที่ไม่ชอบไม่เรียน การเรียนของเด็กคนน้ันยอมไม่ประสบความสำเร็จ ในชีวิตประจำวันก็ เช่นกัน หากทุกคนเลือกทำแต่สิ่งที่ชอบและไม่ทำสิ่งที่ไม่ชอบ หน่วยงานหรือองค์กรน้ันย่อมประสบกับ ความล้มเหลว

     ด้วยเหตุนี้ การอธิบายอิทธิบาท ที่เริ่มต้นด้วยฉันทะว่า เมื่อฉันทะเกิดแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดวิริยะ เมื่อ วิริยะเกิดแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดจิตตะ เมื่อจิตตะเกิดแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดวิมังสา ถือเป็นการอธิบายตาม แนวต้ัง ซึ่งไม่อาจตอบคำถามต่อสถานการณ์ที่บุคคลเผชิญหน้าในชีวิตจริงที่มีท้ังชอบ ชัง และ เฉย ได้ ดังน้ันจึงต้องอธิบายอิทธิบาทในแนวนอนด้วย ซึ่งเป็นลักษณะที่สมบูรณ์ของอิทธิบาท เพราะความชอบ ชัง หรือ เฉย สามารถเป็ นตัวนำไปสู่ความสำเร็จได้เช่นกันโดยมีเงื่อนไข คือ การวางจิตให้ถูกต้องต่อสิ่งที่ เผชิญหน้าอยู่ คือ

     1.เมื่อเผชิญกับสิ่งที่ชอบ ให้นึกถึงความสุขที่จะเกิดจากการลงมือทำสิ่งน้ัน

     2.เมื่อเผชิญกับสิ่งที่ชัง ให้นึกถึงทุกข์ที่จะเกิดจากการไม่กระทำสิ่งน้ันและเห็นเป็นสิ่งท้าทาย

     3.เมื่อเผชิญกับสิ่งที่เฉย ให้นึกถึงประโยชน์และโทษต่อคนหรือสังคมเพราะการกระทำน้ัน (เฉยคน) 

     4.เมื่อเผชิญกับสิ่งที่เฉย ให้นึกถึงหลักการหรือความถูกต้องที่ต้องมีอยู่เพื่อเป็นบรรทัดฐานของคน และสังคมต่อไป (เฉยธรรม) หากสามารถวางจิตได้เช่นนี้ มนุษย์คนน้ันจะสามารถรับเมื่อได้กับทุกสถานการณ์อย่างไม่เดือดเนื้อ ร้อนใจ และจะทำให้ทำงานไปได้อย่างเต็มกำลังความสามารถจนประสบความสำเร็จในที่สุด

2. สมมุติฐาน

     อิทธิบาทสามารถอธิบายได้ต้ังแนวต้ังและแนวนอน ท้ังระดับเผชิญหน้าและเรื่องราว หรือ ท้ังระยะ ส้ันและระยะยาว

 3. วิธีการวิจัย

     วิธีการศึกษาที่ใช้มี 3 ส่วน คือ การเฝ้ าสังเกต การวิเคราะห์ และ สังเคราะห์ ระหว่างประสบการณ์ ของผู้วิจัยกับหลักการทางพระพุทธศาสนา ประสบการณ์ที่นำมาเสนอในที่นี้เพียง 4 สถานการณ์เด่น ซึ่งจัด เข้าในอิทธิบาทข้อน้ัน ๆ ตามลำดับของเหตุการณ์ ส่วนด้านหลักการน้ันผู้วิจัยได้ยึดคำอธิบายการเกิดขึ้นของ สมาธิโดยมีอิทธิบาทเป็ นตัวนำตามพระไตรปิ ฎกแล้วเทียบเคียงกับและยืนยันด้วยหลักธรรมจาก พระไตรปิฎกอีก 3 ชุด คือ มรรค อธิไตย พรหมวิหาร และ ปฏิจจสมุปบาท จากน้ันจึงสังเคราะห์ประสบการณ์ด้วยหลักการดังกล่าว เมื่อได้ข้อสรุปแล้วผู้วิจัยได้เผยแผ่การ อธิบายอิทธิบาทแนวนอนนี้ด้วยวาจาต้ังแต่ประมาณปี 2545 จนถึงปัจจุบันกับท้ังบรรพชิตและคฤหัสถ์ ซึ่งทุก ท่านมีความเห็นสอดคล้องกับแนวการอธิบายดังกล่าว ในปัจจุบันผู้วิจัยยังคงทำการค้นคว้าเพิ่มเติมจาก หลักฐานทางวิชาการและจากประสบการณ์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จด้านต่าง ๆ ด้วยแรงจูงใจหรืออิทธิบาท ที่เหมือนและต่างกันเพื่อยืนยันความสมเหตุสมผลของสมมุติฐานที่ต้ังไว้ รวมท้ังอภิปรายแลกเปลี่ยน ความเห็นกับผู้รู้หลากหลายสาขาเพื่อรับฟังคำวิจารณ์

     บทความชิ้นนี้จึงเป็นเพียงการนำเสนอผลการดำเนินการข้ันต้นเท่าน้ัน

4. ผลการวิจัย

 ก. ภาคประสบการณ์

1. การใช้ “วิมังสา” ตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเอก ก่อนเปิดการศึกษาภาคเรียนที่ 1/2539 ผู้วิจัยได้ตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเอก คือ วิชาปรัชญา โดยไม่มี ท้ังความรู้สึกชอบและชังวิชาปรัชญาแต่อย่างใด เหตุผลหลักในการเลือกสาขาวิชานี้ คือ เป็นวิชาที่เหมาะสม กับสถานภาพความเป็นสามเณรของผู้วิจัยมากที่สุด นอกจากนี้เนื้อหาวิชาปรัชญาจะช่วยให้ผู้วิจัยต้ังคำถาม อย่างเป็นระบบกับความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนาได้ ส่วนวิชาที่ชอบคือคณิตศาสตร์ซึ่งอาจเรียนได้ใน สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งเดียวกัน แต่ในเวลาน้ันผู้วิจัยเห็นว่าไม่เหมาะกับสถานภาพความ เป็นสามเณรจึงไม่เลือกเรียนสาขาวิชานี้ แม้จะทำโดยปราศจากความชอบและชัง(เฉย) แต่ผู้วิจัยยังสามารถ เรียนจนจบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง การอยู่เหนือความรู้สึกแล้วตัดสินใจด้วยหลักการเช่นนี้ ถือเป็นลักษณะของวิมังสา

2. การใช้ “จิตตะ” ตัดสินใจเป็นวิทยากรค่ายและหัวหน้าโครงการ การเข้าค่ายพุทธบุตร และ การอบรมเยาวชนและบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เป็ นกิจกรรมที่มี ประโยชน์อย่างยิ่งแก่เยาวชน ผู้วิจัยจึงตัดสินใจเข้าไปฝึกฝนตนเองเพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการจัด กิจกรรมและการถ่ายทอดธรรมะที่สามารถเข้าถึงเยาวชนได้ต้ังแต่ปลายปี 2539 จนสามารถเป็นวิทยากรค่าย พุทธบุตรและหัวหน้าโครงการอบรมเยาวชนและบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน และร่วมเป็นวิทยากรอบรม เยาวชนอื่น ๆ แม้ผู้วิจัยเฉยต่อการแสดงธรรมแบบบันเทิงหัวเราะ แต่ชอบการแสดงธรรมตามแนวกรรมฐาน และวิชาการ แต่ก็ได้ตัดสินใจทำการฝึ กฝนตนเองในแนวทางที่เฉยแต่เป็ นประโยชน์แก่เยาวชนน้ัน การตัดสินใจเหนือความชอบและชังต่องาน(เฉย) โดยยึดประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ต้ังเช่นนี้ถือว่าเป็นลักษณะ ของจิตตะ

3. การใช้ “วิริยะ” ตัดสินใจสมัครเป็นประธานคณะกรรมการนิสิต ปีการศึกษา 2541 ผู้วิจัยได้ตัดสินใจกระทำในสิ่งที่ผู้วิจัยไม่ชอบ คือ การเล่นการเมืองในมหาวิทยาลัย โดยการเป็นตัวแทนของกลุ่มเพื่อสมัครชิงตำแหน่งประธานคณะกรรมการนิสิต ทำให้ต้องวางสิ่งที่อยากทำ มากที่สุดไว้ คือ การเรียนเปรียญธรรม 8 ประโยค เพราะรักษาการหัวหน้ากลุ่มถอนตัวจากการแข่งขัน อย่างไรก็ตามผู้วิจัยและคณะได้ทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ จนชนะการเลือกต้ังและเป็ นประธาน คณะกรรมการนิสิตที่เป็ นสามเณรรูปแรกและรูปเดียวจนบัดนี้ การตัดสินใจคร้ังนี้เพื่อต้องการเอาชนะ ความชัง โดยคิดว่าเป็ นสิ่งที่ท้าทายความสามารถอย่างยิ่ง ซึ่งหากสามารถทำสิ่งที่ชังได้แล้วสิ่งที่ชอบ ย่อมทำได้โดยง่าย ลักษณะการตัดสินใจเช่นนี้ถือว่าเป็นลักษณะของวิริยะ

4. การใช้ “ฉันทะ” ตัดสินใจรับทุนการศึกษา เมื่อปี 2548 ผู้วิจัยได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญา เอกเป็ นระยะเวลา 3 ปี และต้องกลับมาใช้ทุนเป็ น 3 เท่า ของเวลาที่ใช้ไปอันเป็ นการปิ ดโอกาสในการ ไปทำงานที่อื่นทันที ในขณะน้ันหากไม่รับทุนก็สามารถเรียนจบได้เพราะผู้วิจัยได้รับทุนให้เปล่าจากสภาวัฒนธรรมของรัฐบาลอินเดียอยู่แล้ว แต่ผู้วิจัยได้ตัดสินใจรับทุนนี้เพราะชอบงานสอนและไม่รู้สึกว่าเป็นการ ขาดอิสรภาพแต่ประการใด ในทางตรงกันข้ามผู้วิจัยกลับมีความรู้สึกขอบคุณที่มหาวิทยาลัยได้ให้โอกาส ในการทำสิ่งที่ชอบ การตัดสินใจที่มีความชอบเป็นตัวนำเช่นนี้ถือเป็นลักษณะของฉันทะ

ข. ภาคหลักการ

1. อิทธิบาทแนวต้ังและแนวนอน ตามนัยแห่งภาษาและสภาวะ โดยหลักภาษา “อิทธิบาท” ใช้ในรูปพหูพจน์ แปลว่า อิทธิบาท 4 ประการ มาจากคำว่า อิทธิ แปลว่า ความสำเร็จ และ บาท แปลว่า ทางหรือเท้า รวมกันแปลว่า ทาง 4 สาย หรือ เท้า 4 เท้า ที่นำไปสู่ความสำเร็จ เปรียบเหมือนหัวจักรรถไฟที่มี 4 หัว แต่ละหัวสามารถลากตู้รถไฟไปสู่สถานีที่หมายได้เหมือนกัน ดังน้ัน อิทธิบาท 4 ประการ จึงอาจเกิดขึ้นโดยลำดับ หรือ ตัวใดเกิดก่อนก็ได้ แต่หากอิทธิบาทเกิดรวมกันมากตัวย่อม มีพลังมากไปตามด้วย เปรียบเหมือนเครื่องยนต์ที่มีหลายลูกสูบย่อมมีพลังมากกว่าเครื่องยนต์ที่มีเพียงลูกสูบ เดียว นัยดังกล่าวนี้ตรงกันข้ามกับ “อัฏฐังคิกมรรค” เพราะมรรคใช้ในรูปเอกพจน์เท่าน้ัน จึงไม่เรียกว่า มรรค 8 ประการ แต่แปลว่า มรรคมีองค์ 8 หมายความว่า หากขาดองค์ประกอบข้อใดข้อหนึ่งแล้วไม่เรียกว่ามรรค หรือ ไม่เป็นมรรค นอกจากนี้การแสดงข้อธรรมในอิทธิบาทยังแตกต่างจากการแสดงข้อธรรมในปฏิจจสมุปบาท โดย ข้อธรรมในปฏิจจสมุปบาท น้ัน ท่านแสดงในลักษณะกระบวนธรรมคือ ข้อธรรมหนึ่งเป็ นปัจจัยให้เกิด ข้อธรรมหนึ่ง เช่น อวิชชา เป็ นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็ นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัย ให้เกิดนามรูป ฯลฯ ส่วนการแสดงข้อธรรมในอิทธิบาทน้ันท่านแสดงไว้อย่างเป็นเอกเทศและแต่ละข้อธรรม ก็มีกระบวนธรรมของตนเอง ข้อธรรมในกระบวนธรรมของอิทธิบาทแต่ละข้อจะมี 2 ประการเหมือนกัน คือ สมาธิ และ ปธานสังขาร ดังน้ัน อิทธิบาททุกข้อจึงทำให้เกิดสมาธิที่ประกอบด้วยปธานสังขาร

2. หลักธรรมเทียบเคียงอิทธิบาทแนวนอน คือ อธิปไตย และ พรหมวิหาร อิทธิบาทอาจเทียบได้กับหลักอธิปไตย 3 ได้ คือ อัตตาธิปไตย คือการตัดสินใจที่ถือตนเป็นใหญ่ ได้ในอิทธิบาท 2 ข้อแรก คือ ฉันทะ และ วิริยะ เพราะถือเอาความรู้สึกชอบและชังของตนเป็นใหญ่ในการ ตัดสินใจโลกาธิปไตย คือ การตัดสินใจที่ถือคนอื่นหรือสังคมเป็นใหญ่ ได้ในอิทธิบาทข้อที่ 3 คือ จิตตะ และ ธรรมาธิปไตย ได้ในอิทธิบาทข้อที่ 4 คือ วิมังสา เพราะถือเอาหลักการหรือความถูกต้องเป็นใหญ่ในการ ตัดสินใจ นอกจากนี้ยังเทียบได้กับหลักพรหมวิหาร 4 คือ พรหมวิหาร 3 ข้อต้น ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา เป็น องค์ฝ่ายความรู้สึกเทียบได้กับอิทธิบาท 2 ข้อแรกซึ่งเป็นการตัดสินใจที่มีความรู้สึกเป็นตัวนำ ส่วนอุเบกขา  พรหมวิหาร ได้ในอิทธิบาท 2 ข้อหลัง คือ การวางความรู้สึกเป็นกลาง อยู่เหนือความชอบและชังส่วนตน (เฉย) แล้วตัดสินใจเพราะเห็นแก่ผู้อื่น เป็ น จิตตะ(เฉยคน) และ ตัดสินใจเพราะเห็นแก่หลักการหรือ ความถูกต้อง เป็นวิมังสา(เฉยธรรม)

3. หลักธรรมสนับสนุนการอธิบายอิทธิบาทแนวนอน คือ สมาธิ ผลที่เกิดขึ้นจากการเจริญอิทธิบาท คือ สมาธิ หรือ อิทธิบาทเป็นตัวนำให้เกิดสมาธิ โดยนัยนี้ สมาธิ จึงอาจแบ่งตามอิทธิบาทตัวนำได้ 4 อย่าง คือ สมาธิที่มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ และ วิมังสา เป็นตัวนำ เรียก เรียงตามลำดับว่า ฉันทสมาธิ วิริยสมาธิ จิตตสมาธิ และ วิมังสาสมาธิ หลักธรรมข้อนี้แสดงให้เห็นว่า อิทธิบาทแต่ละตัวสามารถทำให้เกิดสมาธิได้เหมือนกัน และ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วก็จะมีลักษณะนุ่มนวล ควรแก่การงาน ซึ่งจะทำให้งานที่ทำด้วยสมาธิจิตประสบความสำเร็จด้วยดี ตรงกันข้าม หากจิตไม่มีสมาธิ แม้แต่งานที่ชอบหรือที่เคยทำได้ดีก็อาจผิดพลาดได้ ทุกคร้ังที่ทำงานอิทธิบาทตัวใดตัวหนึ่งจะเกิดขึ้นแล้วหน่วงจิตไว้กับงานที่ทำอยู่น้ัน อิทธิบาทจึงเป็น ตัวเร้าให้สติจับจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำไม่คลาดเคลื่อนไปไหน เมื่อจิตไม่ซัดซ่านไปที่อื่น ก็คือ ลักษณะของสมาธิ ดังน้ันอิทธิบาทนอกจากจะเป็นแรงขับในการตัดสินใจทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือระยะยาวแล้ว ในการประกอบ กิจทุกชนิดก็ต้องมีอิทธิบาทเป็ นตัวเร้าให้จิตอยู่กับสิ่งที่ทำ จนสามารถทำงานได้อย่างไม่ผิดพลาด มีประสิทธิภาพ และประสบผลตามที่ต้องการ ข้อนี้สอดคล้องอย่างยิ่งกับชีวิตประจำวันเพราะในแต่ละวันเรา ได้ทำสิ่งที่ชอบน้อยมาก ซึ่งสังเกตได้จากกิจกรรมที่ทำต้ังแต่ตื่นนอน ออกไปทำงาน กลับบ้าน และ นอน จะมีกิจกรรมที่ชอบ ชัง และ เฉย ที่ต้องจัดการอยู่ตลอด

5. สรุปผลการวิจัย

     จากการศึกษา สรุปได้ว่า อิทธิบาท สามารถอธิบายได้ท้ังแนวต้ังและแนวนอน และ ท้ังแบบ เผชิญหน้าและเป็นเรื่องราว หรือ ท้ังระยะส้ันและระยะยาว อิทธิบาทเกิดแบบเอกเทศก็ได้ เกิดรวมกันสอง หรือสามข้อก็ได้ เกิดท้ังหมดก็ได้ ข้อใดเกิดก่อนก็ได้ และทุกข้อสามารถทำให้เกิดสมาธิจิตได้โดยมีเงื่อนไข ว่าต้องวางจิตให้ถูกต้องเมื่อเผชิญหน้ากับสิ่งที่ต้องทำน้ัน เมื่อทำงานด้วยจิตที่เป็ นสมาธิ งานน้ัน ๆ ก็จะ ประสบความสำเร็จ ดังน้ันหัวใจของอิทธิบาทคือการทำให้เกิดสมาธิ

(1) อิทธิบาทแนวนอนหรือแบบเอกเทศ มีกระบวนธรรมดังนี้

      1.อิทธิบาทเป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดสมาธิ เกิดขึ้นได้อย่างเป็นเอกเทศ

     2.สมาธิเกิดจากอิทธิบาทข้อใด ก็มีชื่อเรียกตามอิทธิบาทข้อน้ัน

     3.สมาธิเหล่าานี้เกิดควบคู่ไปด้วยกันกับปธานสังขาร คือ ความเพียรสร้างสรรค์ (สมาธิปธานสังขาร)

     4.สมาธิปธานสังขาร นำไปสู่ผลสำเร็จที่เป็นจุดหมายของสมาธิ (งานที่ทำ)

     ข้อสรุปท้ัง 4 ประการ เขียนเป็นกระบวนธรรมได้ดังนี้

     1.ฉันทะ → สมาธิ = ฉันทสมาธิ, ฉันทสมาธิ+ปธานสังขาร = ฉันทสมาธิปธานสังขาร → อิทธิ (ความสำเร็จ)

     2.วิริยะ → สมาธิ = วิริยสมาธิ, วิริยสมาธิ+ปธานสังขาร= วิริยสมาธิปธานสังขาร →อิทธิ

     3.จิตตะ → สมาธิ = จิตตสมาธิ, จิตตสมาธิ+ปธานสังขาร= จิตตสมาธิปธานสังขาร →อิทธิ

     4.วิมังสา → สมาธิ = วิมังสาสมาธิ, วิมังสาสมาธิ+ปธานสังขาร= วิมังสาสมาธิปธาน สังขาร →อิทธิ

(2) อิทธิบาทแบบสัมพันธ์ หรือ อิทธิบาทแนวต้ัง มีกระบวนธรรม ดังนี้

     อิทธิบาทแต่ละข้อเกิดขึ้นสัมพันธ์กันตามลำดับ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และ วิมังสา เขียนเป็นกระบวนธรรม ได้ดังนี้ ฉันทะ→ วิริยะ →จิตตะ →วิมังสา →สมาธิ→ อิทธิ ตามกระบวนธรรมนี้ ฉันทะทำให้เกิดวิริยะ วิริยะทำให้เกิดจิตตะ จิตตะทำให้เกิดวิมังสา วิมังสาทำ ให้เกิดสมาธิ สมาธินำไปสู่ความสำเร็จ

6. การนำไปใช้

     สังคมมักจะเร้าหรือสนับสนุนให้ตัดสินใจทำสิ่งที่ชอบ หรือ เอาสิ่งที่ชอบมาเป็นตัวเร้าให้ตัดสินใจ ทำ น้ัน ถือว่าไม่เพียงพอกับการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์เพราะได้เพียงด้านเดียว ไม่ครอบคลุมอีก 3 ด้าน คือ ชัง เฉยคน และ เฉยธรรม ท้ังในชีวิตจริงก็ไม่เป็นเช่นน้ัน คือ ไม่ได้มีเฉพาะสิ่งที่ชอบให้ทำ ดังน้ัน จึงควรเร้า ให้ตัดสินใจทำสิ่งที่ไม่ชอบด้วย เพราะเป็นสิ่งที่ทำยาก ท้าทาย และเป็นการฝึกตน อันเป็นลักษณะของวิริยะ ให้ตัดสินใจอยู่เหนือความชอบและชังโดยยึดประโยชน์ของสังคมเป็นที่ต้ัง อันเป็นลักษณะของจิตตะ (เฉย คน) และ ให้ตัดสินใจอยู่เหนือความชอบและชังโดยยึดหลักการหรือความถูกต้องเป็นที่ต้ัง อันเป็นลักษณะ ของวิมังสา (เฉยธรรม)

7. กิตติกรรมประกาศ ขอกราบขอบพระคุณพระเมธีปริยัตโยดม เจ้าอาวาสวัดพระนอนจักรสีห์ ผู้ให้โอกาสแก่ผู้วิจัยในการ ให้โอวาทแก่สามเณรและเป็นคร้ังแรกที่ได้นำเสนอการอธิบายอิทธิบาทแนวใหม่นี้ เพื่อกระตุ้นให้สามเณรที่ บางรูปท้ังชอบ ชัง และ เฉยต่อภาษาบาลี ได้มีกำลังใจในการเรียนภาษาบาลีอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ขอขอบคุณผู้ที่ให้โอกาสผู้วิจัยได้เสนอการอธิบายอิทธิบาทแนวนอนนี้ท้ังชาวต่างชาติและชาวไทยซึ่งมี จำนวนไม่น้อยกว่า 50 รูป/คน ต้ังแต่ปี 2545 เป็นต้นมา

8. เอกสารอ้างอิง

[1] พระไตรปิ ฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. เล่มที่ 11. ข้อ 231. (2514). ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค. กรุงเทพ: กรมการ ศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. 204.

[2] --------. เล่มที่ 11. ข้อ 228. (2514). ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค. กรุงเทพ: กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. 201.

 [3] --------. เล่มที่ 12. ข้อ 149. มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์. กรุงเทพ: กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. 99-100.

[4] --------. เล่มที่ 22. ข้อ 192. อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต. กรุงเทพ: กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. 230.

[5] พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพ: เอส อาร์ พริ้นติ้ง.

[6] พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 830.

หมายเลขบันทึก: 224282เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2008 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท