บทความรูปแบการจัดการศึกษา


การจัดการที่ดีทำให้มีรากฐานดี

 

 

 

รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา

 

         การบริหารจัดการสถานศึกษายุคใหม่ ต้องบริหารจัดการศึกษาให้ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน สถานศึกษานับเป็นองค์กรหนึ่งในชุมชนซึ่งมีบทบาทสำคัญคือการให้การศึกษาการปรับบทบาทสถานศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมรอบตัวและสังคมโลก การให้ความสำคัญต่อบุคลากรภายในสถานศึกษา ว่า ครูมีความสำคัญที่สุด ถือเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการศึกษาสมัยใหม่ที่เห็นคุณค่าของบุคลากรเป็นสำคัญ เพราะคนคือ ทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดขององค์กรทั้งนี้เนื่องจากกระแสของการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกเป็นไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยุคนี้ยังเป็นยุคของเศรษฐกิจฐานความรู้ ดังนั้นองค์กรสมัยใหม่จึงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงบุคลากรในสถานศึกษา จะต้องทำทุกอย่าง ทุกด้านอย่างครอบคลุมและรับผิดชอบ ทำงานเป็นคณะและจำเป็นต้องจัดการความรู้ให้ทุกคนมีจิตสำนึกต่อสถาบันไปในทางเดียวกัน คือ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบ
           วิจารณ์  พานิช (๒๕๔๗ ก: ๖๓) กล่าวว่า การจัดการความรู้เป็นการเรียนรู้แบบใหม่ที่เรียนจากการปฏิบัติเป็นตัวนำเป็นตัวเดินเรื่องไม่ใช่แค่เรียนจากครูหรือตำรา ตำรานั้นเป็นการเรียนรู้แบบเก่า ซึ่งเน้นเรียนรู้แบบเก่า และเน้นเรียนทฤษฏี ขณะที่การเรียนรู้ แบบ KM ก็เป็นทฤษฏีแต่ว่าเน้นที่การเรียนรู้แบบปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติทำให้เกิดประสบการณ์ การจัดการความรู้ไม่ใช่เรื่องของคนๆ เดียวเป็นเรื่องของคนหลายคนที่ทำงานร่วมกัน เพราะฉะนั้นเวลาปฏิบัติแต่ละคนจะมีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน เมื่อนำมาแลกเปลี่ยนกันแล้ว อาจเห็นส่วนที่เหมือนกัน ซึ่งจะเป็นการยืนยันว่าเข้าใจตรงกันเมื่อเอาแลกเปลี่ยนกันมากๆ จะทำให้ยกระดับความรู้ความเข้าใจขึ้นไปอีก  จะเห็นว่าการจัดการความรู้เราจะเน้นที่การเรียนรู้จากการปฏิบัติ แล้วก็เน้นตัวความรู้ที่เป็นความรู้ใจคนหรือที่เรียกว่า Tacit Knowledge ทั้งนี้ ความรู้จากเอกสารตำรา หรือที่เรียกว่า Explicit Knowledgeนั้นก็สำคัญ เพียงแต่ว่าเรามักจะละเลยความรู้ที่อยู่ในคน

บุญดี บุญญากิจ และคนอื่นๆ (๒๕๔๗ : ๒๒) ได้สรุปขั้นตอนหลักๆ ของกระบวนการความรู้ (
Knowledge Process) ไว้ดังนี้

  ๑.การค้นหาความรู้ (Knowledge Identification)

  ๒.การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation Acquisition)

  ๓.การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)

  ๔.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)

  ๕.การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)

  ๖.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)

  ๗.การเรียนรู้ (Learning)

             ทั้ง ๗ ขั้นตอนนี้จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างและจัดการความรู้ทั้งที่มีอยู่เดิม ภายในองค์กรและความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ                 

 

ในแนวความคิด  การจัดการความรู้ในสถานศึกษา     โรงเรียนบ้านโคกสูง มีวิสัยทัศน์ มุ่งจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยให้ผู้เรียน รักการอ่าน  การเขียน  รักการทำงาน  รักกีฬา  ก้าวทันเทคโนโลยีพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม  สืบสานวัฒนธรรม ภายใต้ความร่วมมือจากชุมชน ได้แก่    
            1.
  จัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรักการอ่านการเขียนโดยเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล
            2.  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนรักการทำงาน  รักกีฬา  และใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
            3.  จัดการเรียนรู้
  ให้นักเรียนมีคุณธรรมนำความรู้  นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
            4.  พัฒนาการศึกษาโดยความร่วมมือของบุคลากรและชุมชน
            5. ประชาสัมพันธ์
  เผยแพร่  ผลงานของผู้บริหาร  ครู นักการ  ลูกจ้าง  ในเอกสารประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน     
            6. สนับสนุนให้ครูเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ใช้ผลงานวิจัยประกอบการวางแผนและแก้ปัญหาเผยแพร่ผลงานวิจัยของ
  ผู้บริหาร  ครู ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา การจัดการเรียนการสอนและควรเป็นงานวิจัยและพัฒนา (Research and Development)  เช่น การวิจัยในชั้นเรียน   
            7.ส่งเสริมการสร้างเครือข่าย ระหว่างบุคคลและเครือข่ายระหว่างหน่วยงานกับสถานศึกษาดังนั้นในการจัดการความรู้ของโรงเรียน จึงกำหนด
   "เป้าหมายในการจัดการความรู้"  (Desired State)เพื่อให้วิสัยทัศน์ บรรลุผล โดยเลือกกำหนดให้สอนคล้องกับยุทธศาสตร์ ที่กำหนดไว้ในแผน   

หมายเลขบันทึก: 224052เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2008 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ แวะเข้ามาอ่านค่ะ ขอบคุณค่ะ

ข้อความดีมากขอเป็นกำลังใจให้ทำผลงานต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท