การตรวจสอบความเที่ยงตรงของลำแสงไฟและลำแสงเอกซเรย์


เครื่องมือตรวจสอบลำแสงไฟชนิดใหม่ระบบดิจิทัล

สวัสดีครับ วันนี้ขอเสนอการตรวจสอบลำแสงไฟและลำแสงเอกซเรย์ (Collimator test tool) ของนักศึกษารังสีเทคนิค

วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ คือ ต้องการตรวจสอบว่าสอบลำแสงไฟและลำแสงเอกซเรย์ที่ออกมามีขนาดเท่ากันหรือไม่? 

collimator 

ขั้นตอนการทดสอบ

1.นักศึกษาวางแผ่นอุปกรณ์ทดสอบบนฟิล์มเอกซเรย์ โดยแบ่งการถ่ายภาพ 2 ครั้ง

ครั้งที่ 1  เปิดให้ลำแสงไฟคลุมฟิล์มและแผ่นทดสอบ

ครั้งที่ 2 เปิดให้ลำแสงไฟคลุมเฉพาะแผ่นทดสอบ โดยเลือกขอบเขตของแสงไฟ ให้คลุมพื้นที่กำหนดไว้

2.นำฟิล์มไปผ่านขบวนการล้างฟิล์ม แล้วเปรียบเทียบเพื่อหาความคลาดเคลื่อนระหว่างลำแสงไฟกับลำแสงเอกซเรย์ในแต่ละด้าน (กว้างและยาว) ว่ามีความแตกต่างกัน เกิน 1% หรือไม่? หากเกิน 1% ต้องแก้ไข

ภาพต่อมาเป็นการตรวจสอบแบบเดียวกัน โดยใช้เครื่องมือตรวจสอบแบบดิจิทัล ให้อยู่ในพื้นที่ลำแสงไฟที่ต้องการตรวจสอบ จากนั้นก็ฉายลำรังสีเอกซ์กระทบเครื่องมือนี้ จากนั้นจะเห็นแถบดิจิทัล ปรากฎทันที่ ทำให้ตรวจสอบลำแสงไฟและลำแสงเอกซเรย์ได้ทันที โดยไม่ต้องใช้ฟิล์ม ทำให้สะดวกในการใช้งาน แต่สามารถตรวจสอบได้ที่ละด้านเท่านั้น ดังนั้นต้องฉายรังสีเอกซ์ 4 ครั้ง เพื่อตรวจสอบทั้ง 4 ด้าน

digital collimator test tool

หมายเลขบันทึก: 223933เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2008 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรียนอาจารย์ต้อม QC + QA ในวิชาชีพ อยู่ในสายเลือดครับ

เรียน อ.เพชรากรที่เคารพ

ทำlab ช่วยให้เราได้เรียนรู้ปัญหาจากข้อผิดพลาดต่าง ๆ และเกิดปัญญาจากการค้นคว้าหาคำตอบค่ะ.......ขอบคุณค่ะ

เรียน อ.ต้อม ผมมีอีกวิธีครับ โดยใช้แผ่น SCREEN ที่ไม่ใช้แล้วครับ(เป็นชนิดGreen จะดีมากครับ ) ตีเส้นเท่ากับลำรังสี แล้วฉายรังสี นี่อาจต้องใช้ความสามารถตัวสูงเพราะต้องสังเกตุให้ทัน ขณะที่แผ่นSCREEN เรืองแสง ข้อดีคือ ประหยัดค่าใช้จ่าย รวดเร็วไม่ต้องรอล้างฟิล์ม ครับ

เรียน อ.จิตเจริญ และ คุณฐิตินันท์

ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยม

เรียน คุณปรีชา

ดีครับ ประยุกต์ เพื่อการใช้งาน

หากเป็นไปได้ ควรวางโลหะเพื่อเป็นกรอบแสดงแสงไฟ ว่าครอบคลุมกว้างยาวเท่าไร เมื่อแสงเอกซเรย์ที่ปรากฏบน Screen จะได้เปรียบเทียบกันง่ายขึ้น

หรือ

หากล้องวีดีโอ จับภาพระว่างฉายรังสี แล้วนำมาคำนวณร้อยละความผิดพลาดได้ครับครับ

อาจารย์ครับถ้าผลการทดสอบรวมทั้ง 4 ด้านออกมายอมรับไม่ได้คือ %FFDมากกว่า 2 % จะมีการแก้ไขยังไงครับ ขอขอบคุณตชครับ

เรียน คุณชายแดน

1. ควรทดสอบซ้ำ ว่ามีความผิดพลาดจริงหรือไม่

2. หากผิดพลาดเกินเกณฑ์ มาตรฐานจริง ก็ แก้ไข

สาเหตุอาจมาจาก

1. ตำแหน่งหลอดไฟเคลื่อน

2. ตะกั่วควบคุมลำแสง เคลื่อนหรือ ชำรุด ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท