วิกฤตการณ์ทางการเมือง:4


ได้รัฐบาลชุดที่ 57 สมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25

วิกฤตการณ์ทางการเมือง

เหตุการณ์ 22 กรกฎา นปก.บุกบ้านสี่เสาเทเวศร์

เหตุการณ์ตำรวจปราบจราจลปะทะกับม็อบ นปก. หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เมื่อแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) จำนวน 15 คนและกลุ่มผู้สนับสนุน ได้เดินทางด้วยเท้าจากสนามหลวงไปยังบริเวณหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ ที่พักของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เพื่อชุมนุมกดดันให้ พล.อ.เปรมลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี โดยอ้างว่า พล.อ.เปรม อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549โดยกลุ่มผู้ชุมนุม ได้ใช้เครื่องขยายเสียงขาดใหญ่โจมตีปราศรัยประธานองคมนตรี ด้วยถ้อยคำหยาบคายที่หน้าบ้านพัก

เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เจรจาให้มีการสลายการชุมนุมแต่ก็ไม่ได้รับความร่วมมือจากแกนนำและกลุ่มผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐจึงเริ่มพยายามเข้าสลายการชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมไม่ยอมสลายการชุมนุม ได้ใช้ชะแลงงัดอิฐตัวหนอนปูถนน แผงเหล็กกั้น เก้าอี้ และอุปกรณ์อื่น ปาตอบโต้เจ้าหน้าที่ จนทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องถอยกลับไปตั้งตัว เพราะมีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ ขณะที่ผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งก็ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยผู้ชุมนุมได้ทำลายทรัพย์สินต่างๆบริเวณโดยรอบที่ชุมนุมประท้วง อาทิ ป้อมยามตำรวจ, ร้านค้าของกลุ่มแม่บ้านกองทัพบกและมูลนิธิพระดาบส ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง, ผู้ชุมนุมได้ทำการยึดรถโดยสารประจำทางปรับอากาศยูโรทู สายที่ 3 หมายเลขข้างรถ 8-67080 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มาทำการปล่อยลมยางและนำมาปิดกั้นถนนสามเสนบริเวณแยกเทเวศร์ และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการเข้าสลายอีก โดยมีการปะทะรวมทั้งหมด 4 ครั้ง ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ปะทะกับผู้ชุมนุม แกนนำ นปก.ที่อยู่บนรถบรรทุก 6 ล้อ ได้ปราศรัยปลุกเร้าผู้ชุมนุมตลอดเวลา

หลังเหตุการณ์นี้ ในวันรุ่งขึ้น (23 ก.ค. 2550) ตำรวจได้ตั้งข้อหา "ซ่องสุมเกินกว่า 10 คน" ต่อแกนนำ นปก.  และได้จับกุมแกนนำ หลังจากแกนนำทั้งหมดได้ติดต่อเข้ามอบตัว ประกอบด้วย นายวีระ มุสิกพงศ์, นายจตุพร พรหมพันธ์, นายจักรภพ เพ็ญแข, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นพ.เหวง โตจิราการ, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย, พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย, นายจรัล ดิษฐาอภิชัย, นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ โดยภายหลังที่แกนนำนปก.ถูกจับกุม ทางกลุ่มนปก.ก็ได้แต่งตั้งแกนนำนปก.รุ่น 2 ขึ้นมาทำหน้าที่แทนทันที

ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้เปิดให้ประชาชนออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ช่วงเวลา 8.00 น.ถึง 16.00 น. โดยใช้วิธีกากบาทลงบัตรเหมือนการเลือกตั้ง

ผลการออกเสียงตามรายงานผลอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ผลการออกเสียง:

จำนวนผู้มาใช้สิทธิ

25,978,954

57.61%

จำนวนผู้ไม่มาใช้สิทธิ

19,114,001

42.39%

ผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด

45,092,955

 

การลงคะแนน:

บัตรที่นับเป็นคะแนน

25,474,747

98.06%

บัตรที่ไม่นับเป็นคะแนน (บัตรเสีย/การคืนบัตร/อื่น ๆ)

504,207

1.94%

รวม

25,978,954

 

การเห็นชอบและไม่เห็นชอบ:

เห็นชอบ

14,727,306

57.81%

ไม่เห็นชอบ

10,747,441

42.19%

รวม

25,474,747

 

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 เป็นการเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550
         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 480 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวน 80 คน

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 มีดังนี้

พรรค

แบ่งเขต

สัดส่วน

รวม

พรรคพลังประชาชน

199

34

233

พรรคประชาธิปัตย์

132

33

165

พรรคชาติไทย

33

4

37

พรรคเพื่อแผ่นดิน

17

7

24

พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา

8

1

9

พรรคมัชฌิมาธิปไตย

7

0

7

พรรคประชาราช

4

1

5

รวม

400

80

480

นายสมัครยอมรับว่าคณะรัฐมนตรีชุดนี้ "ขี้เหร่นิดหน่อย" เพราะพรรคร่วมรัฐบาลไม่ค่อยให้โอกาส แต่ก็พูดไม่ได้ เพราะเชิญมาร่วมรัฐบาลแล้ว เช่นกรณีที่อยากให้น้องชายจาตุรนต์ ฉายแสง (วุฒิพงศ์ ฉายแสง รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แต่พรรคเพื่อแผ่นดินไม่ยอม

ธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข่าววิเคราะห์การเมืองไทยและวิพากษ์รัฐบาล โดยกล่าวว่ารัฐบาลนี้ไม่ใช่ตัวจริง เป็นรัฐบาลนอมินีที่ควรเรียกว่ารัฐบาลลูกกรอก ที่เกิดจากการปลุกเสกของผู้มีอำนาจ ทำให้รัฐบาลนี้ซื่อสัตย์และจงรักภักดี โดยมี "รักเลี๊ยบและยมมิ่ง"เป็นผู้นำ (รักเลี๊ยบ หมายถึง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และรมว.คลัง ส่วนยมมิ่ง หมายถึงนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์) ขณะเดียวกันก็มีหัวหน้าคณะลูกกรอกอยู่ 2 ตนเป็นกุมารทองคะนองฤทธิ์ ตนแรกเป็นกุมารทองคะนองปาก (หมายถึงนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี) คอยทะเลาะสร้างศัตรูไปทั่วทุกกล่ม ส่วนกุมารทองตนที่สองคือ กุมารทองคะนองอำนาจ (หมายถึง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย) ชอบอยู่กระทรวงที่มีอำนาจ เชื่อมั่นว่าอำนาจจะสามารถทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องเกรงใจใคร

ข้อวิพากษ์ดังกล่าวทำให้ ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงการวิจารณ์รัฐบาลของนายธีรยุทธว่ามีคุณค่าทางวิชาการน้อยมาก เป็นแค่การโชว์ความสามารถในการคิดถ้อยคำเท่านั้น และนายธีรยุทธ มักจะมองการเมืองในแง่ร้ายเสมอ

นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ

 

โดยมีนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

โปรดติดตามตอนที่ 5 ต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 223544เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2008 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

กำลังรออ่านตอนที่ 5 ครับ ขอบคุณมากครับ อ่านแล้วรู้สึกสงสารเจ้าน้าที่ตำรวจครับ ในฐานะที่พวกเขาเป็นของใช้ส่วนกลาง ใครมีอำนาจก็ใช้พวกเขาไปในทางที่คุ้มครองประโยชน์ให้ทั้งนั้น พลาดขึ้นมามากหรือน้อย พวกเขาอีกแหละรับไปเต็ม ๆ

เข้ามาติดตามค่ะ ได้ข้อมูลหลายอย่างค่ะ แต่รู้สึกสงสารประเทศไทยจัง บอบช้ำมากนะคะ

ขอบคุณผู้ไม่แสดงตนเอง และคุณครูตาครับ

คุณครูตา สบายดีน่ะครับ ฝากความระลึกถึงทีมงานครอบครัวอบอุ่นทุกท่านด้วยครับ

สวัสดีครับ

สบายดีจ้า ... ครูตาตามมาอ่านตอนที่ 5 ค่ะ..จะคอยติดตามนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท