การจัดการความรู้ในโรงเรียนเบิดพิทยาสรรค์


km ไม่ใช่ mk ไม่ลอง(ทำ)ไม่รู้

 

การจัดการความรู้ในโรงเรียนเบิดพิทยาสรรค์  ( KM )

             พระราชกฤษฏีว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจกรรมบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา11 กำหนดไว้ว่าส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการเพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้องรวดเร็วเหมาะสมกับสถานการณ์รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ  สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน (สำนักงานก.พ.ร.2549:2) ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่หน่วยงานทางการศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เกิดความรู้ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุรณาพการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้กระบวนการจัดการกับความรู้นับเป็นกระบวนการที่สำคัญหนึ่ง          

ความรู้ที่ได้มีการจัดการความรู้  ในโรงเรียนเบิดพิทยาสรรค์  มีดังต่อไปนี้

                 1.  มีการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น  ได้แก่ 

                                1.1  หลักสูตรการทำเกษตรอินทรีย์ 

               ลักษณะการจัดการเรียนกานสอนจะมีการเชิญวิทยากรในท้องถิ่น และตัวแทนองค์กรในท้องถิ่นมาเป็นวิทยากรฝึกอบรมให้กับนักเรียน  มีการฝึกปฏิบัติจริง  นำน้ำหมักและผลิตผลที่ได้  ไปใช้ในแปลงเกษตรสาธิตของโรงเรียน  และนักเรียนได้นำความรู้และทักษะที่ได้รับไปปฏิบัติจริงที่บ้าน  โดยมีการกำกับติดตามประเมินผล

                                1.2  หลักสูตรสวนสมุนไพร 

               ลักษณะการจัดการเรียนกานสอนจะมีการเชิญวิทยากรในท้องถิ่น และตัวแทนองค์กรในท้องถิ่นมาเป็นวิทยากรฝึกอบรมให้กับนักเรียน  มีการฝึกปฏิบัติจริง  ซึ่งทางโรงเรียน โดยกลุ่มการงานอาชีพได้จัดทำแปลงสาธิตการปลูกพืชสมุนไพร  แล้วแต่งตั้งนักเรียนเป็นคณะทำงาน

                                  1.3  หลักสูตรดนตรีพื้นบ้าน (กลองยาว)

                ลักษณะการจัดการเรียนกานสอนจะมีการเชิญวิทยากรในท้องถิ่น และตัวแทนองค์กรในท้องถิ่นมาเป็นวิทยากรฝึกอบรมให้กับนักเรียน  มีการฝึกปฏิบัติจริง  ซึ่งในการจัดหาสื่อ วัสดุ อุปกรณ์การสอนต่าง ๆ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณบางส่วนจาก อง๕กรปกครองส่วนท้องถิ่นป็นอย่างดี ( อบต.)      

                  2.  โรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี  ICT  โดยการส่งครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับการฝึกอบรม  ได้จัดอบรมขึ้นในโรงเรียนโดยเชิญวิทยากรภายนอกที่มีความรู้ ความสามารถในแต่ละด้านที่ครูสนใจ  มาฝึกอบรมให้อยู่เสมอ ๆ           

                  3.  โรงเรียนส่งเสริมการทำวิจัยในในชั้นเรียน  โดยการส่งครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับการฝึกอบรม  ได้จัดอบรมขึ้นในโรงเรียนโดยเชิญวิทยากรภายนอกที่มีความรู้  ความสามารถมาฝึกอบรมให้  จากนั้นฝ่ายบริหารได้นิเทศ กำกับติดตามมาโดยตลอด  

  ในการจัดการความรู้ดังได้กล่าวมาทั้งหมด  ได้ก่อให้เกิดผลดีต่อทางโรงเรียนหลายประการ  ดังนี้

            1.  หลักสูตรท้องถิ่น

-  ทำให้นักเรียนสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์  และน้ำยาขับไล่แมลงเองได้  ทำให้สามารถพึ่งพาตนเองได้  ไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงซึ่งมีราคาแพง  แถมผลิตภัณฑ์จากเกษตรอินทรีย์ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ทั้งยังไม่มีสารพิษสะสมอยู่ในพืชผักผลไม้ที่จะนำไปรับประทานอีกด้วย

-  การที่นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องพืชสมุนไพร  นอกจากลดการพึ่งพายาแผนปัจจุบันแล้ว  ยังเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับยาสมุนไพรสู่คนรุ่นใหม่อีกด้วย  เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นมิให้สูญหายไป  ซึ่งนับว่าเป็นการดีอย่างเหลือเกินที่ในปัจจุบันนี้วงการแพทย์ได้หันมาสนใจและสนับสนุนการศึกษาค้นคว้า วิจัย ในการนำสมุนไพรที่มีอยู่อยางมากมายในประเทศไทยมาใช้ในการ บำบัดรักษาโรคต่าง ๆ

-  หลักสูตรดนตรีพื้นบ้าน  ทำให้เยาวชนมีความเข้าใจ และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น  มีความรัก ความผูกพันต่อท้องถิ่นของตน  เป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอันทรงคุณค่าของท้องถิ่นให้คงสืบต่อไป

2.  การที่ทางโรงเรียนส่งเสริมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ  ICT  ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่  อีกทั้งทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อได้อย่างกว้างขวาง  ขจัดข้อจำกัดทางด้านเวลา  สถานที่ ในการศึกษาหาความรู้ได้  อันเป็นผลทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่  ทุกเวลา  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้  อันเป็นเป้าหมายสำคัญ   

                3.  การทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน  เกิดประโยชน์ต่อทั้งตัวผู้เรียน ครู และสถานศึกษา กล่าวคือ

                -  ประโยชน์ต่อผู้เรียน  เนื่องจากผู้เรียนในชั้นเรียนมีความรู้ความสามารถพื้นฐานแตกต่างกัน ถ้าครูใช้รูปแบบการสอนเพียงแบบเดียวกับผู้เรียนทุกคน อาจทำให้ผู้เรียนบางคนไม่ได้รับการพัฒนาหรือ  แก้ไขปัญหา ซึ่งอาจส่งผลกระทบไปถึงปัญหาอื่น

-   ประโยชน์ต่อครู  ทำให้ครูรู้จักการวางแผนการทำงานในหน้าที่ของตนอย่างเป็นระบบได้แก่ วางแผนการเรียนการสอน ออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนประเมินผลการทำงานเป็นระยะเป็นผลให้ครูเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการหาทางแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ได้นวัตกรรมใหม่ ๆ และเกิดความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น สามารถอธิบายได้ว่าตนเองสามารถจัดการเรียนรู้ให้เกิดผลแก่ผู้เรียนเป็นรายคนและแต่ละคนอย่างไรบ้าง

                -  ประโยชน์ต่อสถานศึกษา  การศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ที่ครูรับผิดชอบอยู่ จะช่วยให้การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  มากขึ้น สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุและชี้ประเด็นปัญหาได้ชัดเจน แก้ปัญหาได้ตรงจุด เป็นการสร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรกันทางวิชาการในสถานศึกษา และยกระดับมาตรฐานวิชาการของสถานศึกษา ให้สูงขึ้น        

 

แหล่งอ้างอิง   

                   

การจัดการความรู้ การวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรม  [online].  เข้าถึงได้จาก:

               http//www.npt2.obec.go.th/pre2/kkn/inno.dog. (2551,  พฤศจิกายน 21)

รศ. รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. การจัดการองค์ความรู้ Knowledge Management  [online]. 

               เข้าถึงได้จาก  http//www.fulbrightthai.org/data/knowledge. (2551,  พฤศจิกายน 21)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 223087เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2008 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท