เรื่องเล่า การพัฒนาเมืองน่าอยู่ชุมชนน่าอยู่ แห่งนครชัยบุรินทร์ ตอนที่ 30 (การควบคุมโรคไข้เลือดออก ในชุมชน)


ผู้เล่าเรื่อง : คุณเกียรติศักดิ์ บุญแสน
เทศบาลตำบลบ้านกรวด อำเภอบ้านกรวด
จังหวัดบุรีรัมย์ โทร 044-679067


เรื่องเล่า : การควบคุมโรคไข้เลือดออก ในชุมชน


          การควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ของอำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เกิดไข้เลือดออกระบาดในพื้นที่เป็นจำนวนมาก มีผู้ป่วยมาก การดำเนินการในตอนแรกใช้แต่กำลังคนของเจ้าหน้าที่รัฐ และวัสดุ, สื่อ แต่การควบคุมโรคกลับไม่ได้ผล ยังมีการระบาดของไข้เลือดออกเหมือนเดิม จึงได้เปลี่ยนวิธีใหม่ โดยให้ทุกส่วนมีส่วนร่วมในการควบคุมโรค ให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน อสม. แกนนำชุมชน โดยให้ท้องถิ่นเป็นผู้สนับสนุนด้านวัสดุ สิ่งของ แล้วดำเนินการควบคุมโรคอย่างจริงจัง โดยให้ อสม. เดินรณรงค์ใส่ทรายอะเบตกำจัดลูกน้ำ ปล่อยปลาหางนกยูงในภาชนะที่ใส่น้ำ เช่น อ่างน้ำในห้องน้ำ โอ่งเก็บน้ำ รณรงค์ทุก ๆ 3 เดือน และให้ อสม. ที่รับผิดชอบแต่ละหลังคาเรือนช่วยดูแลให้คำแนะนำบ้านที่ตนเองรับผิดชอบ ในกรณีสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกให้ประสานกับโรงพยาบาล ให้รายงาน Case โดยเร็วเพื่อทำการควบคุมตัวแก่ (ยุง) โดยเร็วไม่ให้เกิดการระบาดของโรค ซึ่งก็สามารถลดการระบาดของโรคลงได้มาก
         
          ปัญหาอุปสรรค คือการดำเนินการต้องทำอย่างต่อเนื่อง กรณีที่สงสัยว่าจะเกิดโรคแต่ทีมงานที่คอยเฝ้าระวังติดภารกิจอื่น การแก้ปัญหาก็คือ ประสานกับทีมที่อยู่ใกล้เคียงให้ช่วยดำเนินการแท

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1. ทุกคนมีส่วนร่วม
2. มีการประเมิน
3. มีการประสานหน่วยงาน/ชุมชน/เครือข่าย
4. มีการบริหารจัดการที่ดี
5. ผู้บริหารเห็นชอบ/เห็นความสำคัญ
6. มีความตั้งใจ/มุ่งมั่นของเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ ความสามารถ
7. มีการดำเนินงานที่ครอบคลุม
8. มีการชี้แจงให้ความรู้
9. สื่อ, โฆษณาเกี่ยวกับโรค
10. ประชาชนตระหนักเห็นความสำคัญ
11. ประชาชนมีความรู้, ความเข้าใจ
12. ประชาชนร่วมมือดี
13. มีข้อมูลพร้อม
14. มีความต่อเนื่อง

หมายเลขบันทึก: 222852เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2008 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท