เอสโอเอ


เอสโอเอ

อ.ฤทธิรงค์ เสนฤทธิ์

อ.ธนัณชัย สิงห์มาตย์

อ.อุดมศักดิ์ พิมพ์พาศรี

อ.วัลวลี ศีลพันธุ์

 

Service-Oriented Architecture: SOA

                ในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันภายในประเทศและจากต่างประเทศ ส่งผลให้ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาวะการถดถอยของเศรษฐกิจทั่วโลก ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจ ดังนั้น องค์กรธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีการแสวงหาแนวทางใหม่เพื่อมาสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจสามารถแข่งขันกับองค์ธุรกิจอื่นๆได้  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรก็จัดเป็นวิธีการที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสนับสนุนการทำงานได้ดีขึ้น แต่การเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สิ่งหนึ่งจะต้องคำนึงถึงก็คือเทคโนโลยีนั้นจะต้องเปิดกว้างให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรสามารถนำข้อมูลใช้ไปให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด

ในวงการไอทีในปัจจุบันกำลังมีการปรับเปลี่ยนก้าวสู่ยุคแนวคิดเชิงบริการ  (Service Orientation) เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจในยุคปัจจุบัน และในอนาคตอันใกล้บุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมเมอร์ ผู้ดูแลระบบ  รวมทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ จะมีมุมมองต่อการพัฒนาแอปพลิเคชันบนพื้นฐานการทำงานของ บริการต่างๆ ซึ่งการทำงานจะอาศัยมาตรฐานแบบเปิดในการติดต่อเรียกใช้บริการ และมาตรฐานนั้นจะเป็นที่ยอมรับกันในอุตสาหกรรมซอฟแวร์ และเพื่อให้แนวคิดนี้เป็นไปได้จริง องค์กรทางธุรกิจต่างๆจะต้องปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมของระบบซอฟแวร์ของตนเองให้เป็นเชิงบริการเอสโอเอ

แนวคิดการใช้ SOA (Service-Oriented Architecture ) เกิดขึ้น เพราะการใช้ไอทีในองค์กรไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ที่ไม่เพียงพอต่อการทำงานที่เพิ่มขึ้น อีกต่อไป SOA (Service Oriented Architecture) เป็นรูปแบบในการออกแบบระบบ (system) หรือ โปรแกรมประยุกต์ (application)  SOA จะมองระบบประกอบด้วยการทำงานหรือบริการ (service) ต่างๆ  เพราะการใช้งานด้านไอที ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพื่อบันทึกข้อมูลของบุคลากรอีกต่อไป แต่ยังจำเป็นต้องวิเคราะห์และบริการจัดการข้อมูล และสร้างบริการในเชิงลึกอีกมาก

               

Service-Oriented Architecture: SOA

สถาปัตยกรรมเชิงบริการหรือเอสโอเอ  (Service-Oriented  Architecture : SOA)  หมายถึง  สถาปัตยกรรมด้านซอฟท์แวร์  ที่รวมเอาบริการหรือเซอร์วิซ  (Service)  หลายๆ  ด้าน  มาเชื่อมโยงกัน  เป็นระบบที่ใหญ่ขึ้นเพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูล  สารสนเทศต่างๆ  ซึ่งจะก่อให้เกิดระบบการทำงานแบบอัตโนมัติในหลายด้าน  เช่น  การติดต่อสื่อสาร  การบันทึกข้อมูลต่างๆ  ระบบการซื้อ ขาย  ระบบการจองบริการต่างๆ  ระบบการเช่า  การตรวจสอบเครดิตเป็นต้น  ซึ่งขั้นตอนต่างๆ  ดำเนินการภายใต้การควบคุมของเซอร์วิซแต่ละด้าน  โดยมีมาตรฐานการติดต่อสื่อสารเช่น Web  Service 

 

 

 

แผนภาพที่ 1 สถาปัตยกรรมเชิงบริการ

 

องค์ประกอบที่สำคัญของ SOA
องค์ประกอบต่อไปนี้เป็นองค์ประกอบที่จำเป็น เพื่อให้สามารถเรียกใช้บริการอื่นๆ ได้ ดังนี้

1. เซอร์วิส (Service) กลุ่มของอินเตอร์เฟสที่ระบุฟังก์ชันต่างๆ ที่สามารถให้ระบบอื่นสามารถเรียกใช้บริการได้
2. ผู้ให้บริการ (Service Provider) กลุ่มของคอมโพเนนต์ที่สามารถทำฟังก์ชันที่เป็นบริการตามที่กำหนดไว้เป็น เซอร์วิส (Service Specification)
3. ผู้รับบริการ (Service Consumer or Requestor) ระบบอื่นๆ ที่เรียกใช้เซอร์วิสซึ่งระบบอื่นๆ อาจจะเป็นเซอร์วิสที่เรียกใช้เซอร์วิสด้วยกันก็ได้
4. ผู้ให้บริการข้อมูลรายละเอียดของเซอร์วิสและค้นหาสถานที่ตั้งของผู้ให้ บริการ (Service Locator) เป็นผู้ให้บริการประเภทหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่ลงทะเบียนรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ให้บริการ (Service Registry) และคอยให้บริการข้อมูลรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการเรียกใช้บริการ
5. ตัวแทนติดต่อระหว่างผู้รับบริการและผู้ให้บริการ (Service Broker) ทำหน้าที่ช่วยติดต่อส่งคำร้องขอบริการจากผู้รับบริการไปยังกลุ่มของผู้ให้ บริการ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการติดต่อเรียกใช้บริการ

 

การนำ SOA มาใช้ในองค์กร

                การนำ SOA มาประยุกต์ใช้งานในองค์กรจำเป็นจะต้องวิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปได้ ดังนี้

1.       ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค (Technical Feasibility)

ศักยภาพของโครงสร้างทางด้านเทคโนโลยีขององค์กรทั้งทางด้าน ฮาร์ดแวร์

ซอฟต์แวร์ และความพร้อมของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งภายในและภายนอก

องค์กร

2.       ความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติงาน(Operational Feasibility)

การตรวจสอบความพร้อมของบุคลากรในองค์กร ทางด้านความรู้เกี่ยวกับ การพัฒนา การใช้งาน การดูแลบำรุงรักษา และการนำเอา SOA มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน

3.       ความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic Feasibility)

การศึกษาถึงผลตอบแทนทางการเงินและต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการนำเอา SOA มาใช้ในองค์กร

แผนภาพที่ 2 การศึกษาความเป็นไปได้

 

ประโยชน์ SOA ที่มีต่อธุรกิจ

1.       ทำให้เกิดการบูรณาการข้อมูลระหว่างองค์กร

เราสามารถเชื่อมโยงข้อมูลภายในขององค์กรกับองค์กรภายนอกได้  โดยที่แต่ละองค์กรที่ทำการเชื่อมโยงกันนั้นมีรูปแบบหรือเทคโนโลยีที่ต่างกันหรือจะเหมือนกันก็ได้

2.       ลดค่าใช้จ่าย

การนำ SOA มาใช้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการทางด้านข้อมูลภายในองค์กร

3.       ความเข้ากันของฝ่ายพัฒนาระบบกับฝ่ายธุรกิจ

เนื่องจากการทำงานส่วนใหญ่แล้วจะต้องทำงานกับกระบวนการทางธุรกิจเป็นหลักจึงทำให้ฝ่ายธุรกิจสามารถมองระบบออกได้ง่ายยิ่งขึ้นจึงทำให้การพัฒนาระบบสอดคล้องกันได้อย่างลงตัว  และทำให้งานที่ได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

4.       ลดความซับซ้อนและลดเวลาในการพัฒนาและดูแลรักษาระบบ

 

 

กานดา สายแก้ว. SOA มีประโยชน์อย่างไร. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก 

http://gotoknow.org/blog/krunapon/88322  ( 1 พฤศจิกายน 2551).

                                     . เว็บไซต์ที่น่าใจในการเรียนรู้เรื่องเอสโอเอ (SOA). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก     

http://gotoknow.org/blog/krunapon/115885   ( 1 พฤศจิกายน 2551).

ณัฐวุฒิ  หนูไพโรจน์และคณะ.  (2550).  การเชื่อมโยงการทำงานข้าม

องค์กรในกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจประกันภัยโดยใช้เอสโอเอ  ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์  ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์  คณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวิตีย์  เสนีวงศ์    อยุธยาและยรรยง  เต็งอำนวย.  (2549).  ปรากฏการณ์เอสโอเอ  ศูนย์เชี่ยวชาญ

เฉพาะทางด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์  ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์  คณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มปป. สถาปัตยกรรมบริการเชิงรุก (Service Oriented Architecture: SOA). (ออนไลน์).

เข้าถึงได้จาก  http://soa-service-oriented-architecture.blogspot.com/2007/09/service-

oriented-architecture-soa.html  ( 1 พฤศจิกายน 2551).

วิวัฒน์  วัฒนาวุฒิและสมใจ  บุญศิริ.  (2550).  “Web  Services  Orchestration  using  BPEL”  ศูนย์

เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์  ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 

คณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

คำสำคัญ (Tags): #เอสโอเอ
หมายเลขบันทึก: 221171เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2008 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท