สิ่งหนึ่งที่ทำให้อยู่ได้และทำงานกับผู้ป่วยอย่างไม่เบื่อ


ถามผู้ป่วยทุกคนที่ทำกิจกรรมกลุ่มบำบัดกับเราว่ามีใครตั้งใจติดยาไหม...ครั้งแรกที่ใช้ยาอยากติดหรือเปล่า.....จำได้ว่าทุกคนตอบเหมือนกันว่า ...ไม่ตั้งใจ...ผมไม่รู้...ผมไม่ทราบ แค่อยากลอง แค่ใช้เพื่อทำงาน แค่ใช้เพื่ออยากหายเครียด....แสดงว่าจริงๆแล้วไม่มีใครอยากติดยาเลยสักคน

ตนเองเพิ่งมีประสบการณ์ทำงานด้านการบำบัดรักษายาเสพติดมาประมาณ 6 ปี มีโอกาสได้พบเจอ และให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดมาจำนวนมากพอสมควร    ผู้ป่วยบางรายมารักษาเพียงรอบเดียวก็สามารถเลิกยาเสพติดได้  บางรายก็มากกว่า 1 รอบอาจเป็น 2,3, 4,.....20...30 ก็แล้วแต่  บางคนเลิกยาได้ก็เพราะเจอทางตัน คือ ใช้ยาต่อไปไม่ได้อีกแล้ว มีปัญหาสุขภาพ  ปัญหากฏหมาย ครอบครัวหรืออะไรก็ตาม แต่ก็ยังมีอีกส่วนที่ยังเลิกยาไม่ได้สักที  เข้าออกโรงพยาบาล  สถานบำบัด ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดหลายๆที่เหมือนการ  shopping ....  เมื่อวานได้ทำกิจกรรมกลุ่มบำบัดกับผู้ป่วย มีโอกาสได้พบกับผู้ป่วยรายหนึ่งเล่าให้ฟังว่า  ตนเองพักอาศัยอยู่ต่างจังหวัด เคยรักษาอาการเสพติดเฮโรอินมาแล้วหลายครั้งในสถานบำบัดใกล้บ้านของตนเอง  แต่ครั้งนี้ตัดสินใจมาธัญญารักษ์เพราะว่าไม่กล้าไปสถานบำบัดเดิม  รู้สึกเกรงใจนักบำบัดที่ตนเองเข้า-ออกหลายรอบ......ฟังแล้วก็รู้สึกขำๆดี แต่ก็คิดเหมือนกันว่าที่เขายังเลิกยาไม่ได้มีปัจจัยอะไรบ้าง....เป็นเพราะรูปแบบการบำบัดรักษา , นักบำบัด , บุคลิกภาพของตัวผู้ป่วยเอง , ครอบครัว , สิ่งแวดล้อม , ตัวกระตุ้นต่างๆ ,.......หรือเพราะผู้ป่วยยังไม่เจอทางตัน!!......คำถามเหล่านี้เกิดขึ้นทุกครั้งที่เจอกับผู้ป่วยรายเดิมที่เคยผ่านกระบวนการบำบัดรักษาแล้ว....(เคยรู้สึกกังวลและเครียดเหมือนกันแรกๆก็รู้สึกว่าเรายังทำได้ไม่ดีพอ....) แต่โชคดีอย่างหนึ่งคือ ได้มีโอกาสเรียนรู้และทำกิจกรรมกลุ่มบำบัดรูปแบบ Matrix Program ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีองค์ความรู้ชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการติดยาเสพติดและการเลิกยาเสพติด  เรียนรู้ว่าการที่ผู้ป่วยกลับไปเสพยาซ้ำก็มีหลายๆปัจจัย  เช่น  ประวัติครอบครัว  พันธุกรรม ลักษณะทางกายภาพของแต่ละบุคคล....ดังนั้นการที่ผู้ป่วยจะเลิกยาอาจช้า-เร็วไม่เท่ากัน แต่ต้องเชื่อในความเป็นมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้...( สักวันก็ต้องเลิกยาได้ )

พอมีโอกาสทำงานด้าน Harm reduction ยิ่งไปกันใหญ่เลย ผู้ใช้ยาในกลุ่มนี้บางรายยังไม่มีความคิดที่จะเลิกยาเลยด้วยซ้ำไป ..( งานเข้าซะแล้ว ) ต้องปรับทัศนคติอีกว่า เอาน่ะยังไม่อยากเลิกก็ขอให้ปลอดภัยในการใช้ยาเสพติดก็ยังดี แต่ก็แอบๆหวังอยู่เหมือนกันว่าขอให้เลิกยาได้จะดีที่สุดเลย......การทำงานกับผู้ใช้ยากลุ่มนี้จึงต้องใช้เทคนิคการสร้างแรงจูงใจเสริมเข้าไปด้วย ( ใช้อย่างหนักเลย....) ร่วมกับการให้ข้อมูล ความรู้ในการดูแลสุขภาพ ความปลอดภัย ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือตามสภาพปัญหา การส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น โรงพยาบาล การประสานเรื่องสิทธิการรักษา ฯลฯ

สิ่งหนึ่งที่ทำให้อยู่ได้และทำงานกับผู้ป่วยอย่างไม่เบื่อเลย...ก็คือ การทำความเข้าใจในตัวผู้ป่วย...ถามผู้ป่วยทุกคนที่ทำกิจกรรมกลุ่มบำบัดกับเราว่ามีใครตั้งใจติดยาไหม...ครั้งแรกที่ใช้ยาอยากติดหรือเปล่า.....จำได้ว่าทุกคนตอบเหมือนกันว่า ...ไม่ตั้งใจ...ผมไม่รู้...ผมไม่ทราบ   แค่อยากลอง  แค่ใช้เพื่อทำงาน  แค่ใช้เพื่ออยากหายเครียด....แสดงว่าจริงๆแล้วไม่มีใครอยากติดยาเลยสักคน  แต่พอลองใช้แล้วมันติด มันควบคุมตนเองไม่ได้  หลายคนบอกว่าหากย้อนเวลาได้จะขอไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเลย....  แต่เราไม่ใช่โดราเอมอน ไม่มีทามมัชชีน ไม่สามารถย้อนเวลาได้...ดังนั้นเราก็ต้องพยายามทำวันนี้ให้ดีที่สุด....บอกกับผู้ป่วยอย่างนี้เสมอๆๆ  กับผู้ที่ยังใช้ยาที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในบ้านอุ่นไอรักก็เช่นกัน  จะบอกกับเขาอย่างนี้เสมอๆๆ   ยังเชื่อว่าสักวันหนึ่งเขาจะมีแรงจูงใจในการเลิกยาเสพติดมากขึ้น....และพยายามเลิกยาเสพติดให้สำเร็จ

 

หมายเลขบันทึก: 221153เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2008 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท