วิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษา


องค์การแห่งการเรียนรู้

วิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษา                              

               

                การจัดการศึกษาให้กับวัยรุ่นซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญของชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ในฐานะที่เป็นนักการศึกษามีหน้าที่หลักในการพัฒนาบุคคลเหล่านั้นให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม มีความสามารถในการนำเอาความรู้ต่าง ๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต มีความเฉลียวฉลาด เกิดเชาว์ปัญญามีความคิดที่ฉับไว บนพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งเป็นยุคของสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ เราต้องเรียนรู้ให้เร็วกว่าคู่แข่ง เรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์กับการทำงาน และสามารถปฏิบัติงานได้ดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

                บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษา ต้องพัฒนาความรู้ให้เกิดขึ้น มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างถูกต้องสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลความรู้นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องรวดเร็วเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากรในสังกัดให้มีประสิทธิภาพ มีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อผลผลิตที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายถึงสถานศึกษาที่มีคุณภาพ มีผลผลิตที่แสดงถึงคุณภาพคือนักเรียนนั้นเอง

                ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญในการเป็นสถานศึกษาคุณภาพ คือ ต้องทำให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ที่ประกอบด้วยคนที่มีความมุ่งมั่นที่จะขยายขีดความสามารถของตน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมอย่างต่อเนื่อง มีบรรยากาศในองค์การที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการจัดหา สร้างและถ่ายโอนความรู้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการใช้ความรู้ใหม่ มีแนวคิดในการจัดการความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย สร้างนวัตกรรมที่มีคุณค่าต่อตนเองและองค์การ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือคุณภาพของสถานศึกษาที่สามารถดำรงอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของสังคมโลกได้อย่างสง่างาม

ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ

                แนวทางกระบวนการขับเคลื่อนให้โรงเรียนมัธยมเป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพ            โดยเป้าหมายสำคัญคือนักเรียนที่มีความเก่งในทุกด้าน ทั้งเก่งในการเรียนรู้ เก่งคิด และเก่งทำ การเก่งในการเรียนรู้ ก็คือ มีปฏิภาณ ไหวพริบ และความเพียรพยายามตั้งแต่เยาว์วัยในการ         ใฝ่รู้ จนเข้าสู่โลกอาชีพแล้วก็ยังปฏิบัติอยู่อย่างเสมอต้นเสมอปลาย และการเรียนรู้นี้ก็จะเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้นักเรียนที่ฝึกปฏิบัติมีความเป็นเลิศ ซึ่งหนทางหรือแนวทางการปฏิบัติในสถานศึกษาได้จากคุณลักษณะต่อไปนี้

·       มุมมองในเชิงองค์การ (Organizational Perspective)

1.       มีมุมมองเชิงระบบ มองเห็นและเข้าใจถึงกระบวนการและความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆทั่วทั้งองค์การ

2.       มีวิสัยทัศน์ เป้าหมายและค่านิยมร่วมกันทั้งองค์การ

3.       มีการมองว่าองค์การสามารถเรียนรู้และเติบโตได้

·       มุมมองในเชิงกระบวนการ (Process  Perspective)

1.       เล็งเห็นโอกาสในความไม่แน่นอนเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้า

2.       สามารถปรับตัวและสอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงได้ดี

3.       สร้างวัฒนธรรมการเสริมแรงและการเปิดเผยข้อมูลในองค์การ

4.       มีการเพิ่มอำนาจและกระจายการตัดสินใจให้แก่บุคลากร

5.       มีการสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกองค์การ

6.       สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้เกิดทั่วทั้งองค์การ

·       มุมมองเกี่ยวกับคน (Human Perspective)

1.       ให้โอกาสบุคลากรระดับล่างอธิบายความคืบหน้าและอุปสรรคในงาน

2.       ผู้บริหารเป็นผู้ชี้แนะ พี่เลี้ยง ที่ปรึกษาและเป็นผู้เกื้อหนุนการเรียนรู้

3.       มีแม่แบบที่กล้าและปฏิบัติในสิ่งที่คิดดีแล้ว

4.       ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการจัดตั้งทีมปฏิบัติงานทุกรูปแบบ

5.       มีการใช้คณะทำงานที่มีผู้ปฏิบัติมาจากหลาย ๆ ส่วนงาน

ความสำเร็จของสถานศึกษาที่มีคุณภาพ ขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการเรียนรู้ สามารถเปลี่ยนแปลงความรู้ใหม่ ๆ ให้กลายเป็นนวัตกรรม สร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่น่าตื่นเต้น สนุกสนาน และเต็มไปด้วยความสำเร็จ  ความพยายามเปลี่ยนแปลงโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จต้องเกิดจากบุคคลในองค์การร่วมกันพิจารณาสถานะต่าง ๆ ทั้งด้านการแข่งขัน ผลผลิต เทคโนโลยี  สถานะทางการเงินอย่างจริงจัง  และตระหนักถึงวิกฤตและโอกาสที่มีความรู้สึกจำเป็นเร่งด่วน จะช่วยให้เกิดการผนึกกำลัง ทั้งนี้ปัจจัยที่สำคัญคือการมีกลยุทธ์ที่ชัดเจน สามารถนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติและดำเนินงานได้ดี มีวัฒนธรรมในองค์การที่มุ่งเน้นการปฏิบัติงาน ลดขั้นตอนด้วยโครงสร้างองค์การที่ไม่ซับซ้อน มีการรักษาและพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถ ส่งเสริมให้มีผู้นำที่มีความมุ่งมั่น สร้างนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยน  สิ่งที่สำคัญคือมีพันธมิตรเครือข่ายในการร่วมมือ สร้างองค์การแห่งการเรียนรู้

สิ่งที่ควรนำมาปฏิบัติในโรงเรียนมัธยม

1.       สร้างพลวัตแห่งการเรียนรู้ให้บุคลากรและทีมงาน

·       การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อสถานศึกษา

·       สนับสนุนให้บุคลากรบริหารการเรียนรู้และการพัฒนาของตนเอง

·       ทุกคนมีความกระตือรือร้นในการรับฟังผู้อื่น ให้ข้อมูลป้อนกลับที่มีประสิทธิผล

·       ทุกคนได้รับการอบรม และฝึกสอนให้เรียนรู้วิธีที่จะเรียนรู้

·       บุคลากรทุกคนสามารถคิดและปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบ

·       ทีมงานเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทำงาน และการเรียนรู้ภายในกลุ่ม

2.       ปฏิรูปองค์การ วิสัยทัศน์ วัฒนธรรม กลยุทธ์ และโครงสร้าง

·       ทุกคนในสถานศึกษาเข้าใจถึงความสำคัญของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

·       มีบรรยากาศทีสนับสนุน และตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้

·       เราเรียนรู้จากความผิดพลาดและจากความสำเร็จ

·       มีการให้รางวัลแก่บุคคลและทีมที่มีการเรียนรู้ และช่วยผู้อื่นได้เรียนรู้

·       มีการออกแบบวิธีแบ่งปันความรู้ และส่งเสริมการเรียนรู้ทั่วทั้งองค์การ

·       แต่ละฝ่ายมีความร่วมมือกัน เพื่อเป้าหมายเดียวกัน และเพื่อการเรียนรู้ มากกว่าจำกัดตนเองให้อยู่ในของเขตการทำงานในแผนกตนเท่านั้น

3.       การเอื้ออำนาจให้แก่บุคลากร

·       พัฒนาบุคลากร และให้อำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน

·       กระจายอำนาจและมอบอำนาจตามสัดส่วนหน้าที่ความรับผิดชอบและความสามารถ

·       ผู้บริหารและบุคลากรทำงานร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน

·       ผู้บริหารควรมีบทบาทเป็นทั้งผู้ฝึกสอน พี่เลี้ยง และเป็นผู้อำนวยความสะดวก                  ในการเรียนรู้

·       รับฟังความคิดเห็นนักเรียนเพื่อจะได้เรียนรู้ รวมถึงปรับปรุงพัฒนาบริการให้ดีขึ้น

·       เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้กับชุมชน สมาคมวิชาชีพ และสถาบันการศึกษาอื่น

4.       มีการจัดการความรู้ 

·       มีการแสวงหาข้อมูลที่จะทำให้การทำงานของโรงเรียนดีขึ้น

·       มีระบบการจัดเก็บข้อมูลจากภายใน และภายนอกองค์การ ที่บุคลากรสามารถเข้าสู่ระบบได้โดยง่าย

·       มีการเทียบเคียงการปฏิบัติที่เป็นเลิศจากภายนอกสถานศึกษา

·       สนับสนุนให้บุคลากรได้รับการฝึกฝนทักษะต่าง ๆเกี่ยวกับการคิดสร้างสรรค์ และการสร้างนวัตกรรม

·       สร้างความตระหนักและความจำเป็นในการเก็บรักษาความรู้ของสถานศึกษา และการแบ่งปันความรู้เหล่านั้นกับผู้อื่น

·       จัดตั้งทีมปฏิบัติงานข้ามสายงาน เพื่อถ่ายโอนการเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม

·       มีการพัฒนากลยุทธ์ และกลไกในการแบ่งปันความรู้ทั่วทั้งสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง

5.       ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ระบบสารสนเทศความรู้ ผ่านระบบงานอิเล็กทรอนิกส์

·       นำระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมาอำนวยความสะดวก

·       ทุกคนสามารถเข้าถึงทางด่วนข้อมูลได้ผ่านทาง LAN และ Internet

·       มีการนำสือประสมมัลติมิเดียมาช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้

·       นำโปรแกรมการเรียนรู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบมาสนับสนุนการเรียนรู้

·       มีการออกแบบระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานอิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นไปตามความต้องการเรียนรู้ของสถานศึกษา

·       ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ตนต้องการ เพื่อสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยุทธศาสตร์สนับสนุน

 

การบริหารแบบฐานโรงเรียน (School-Based Management : SBM)

-          ผู้บริหารมีภาวะผู้นำมีสมรรถนะในการจัดการ

-          การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมสร้างวิสัยทัศน์ กำหนดนโยบาย

-          กระจายอำนาจให้กลุ่มบุคคล

-          มีส่วนร่วมกับหน่วยงานภายนอกใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน ทำให้โรงเรียนมีปัจจัยเพื่อจัดการศึกษา

การประกันคุณภาพ (Quality Assurance : QA)

-          เป็นกระบวนการวางแผน และกระบวนการจัดการของสถานศึกษาที่สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนที่จบการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

-          จัดทำมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่ชัดเจน มีทิศทางและเป้าหมายความสำเร็จ

-          กระตุ้นให้ครูมีข้อมูลสารสนเทศของตนเองเพื่อพัฒนาวิชาชีพ

-          ใช้กระบวนการเรียนรู้ในระบบประกันคุณภาพเป็นเครื่องมือผลักดันให้ครูมี              แผนการสอน สรุปผลหลังสอน วัดผลประเมินผล

การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (School Advising and Counseling System : SC)

-          รู้จักนักเรียนรายบุคคล มีข้อมูล 3 ด้าน คือ ความสามารถ สุขภาพ และครอบครัว

-          การคัดกรองนักเรียน

-          การส่งเสริมนักเรียน โดยส่งเสริม สนับสนุนนักเรียนทุกกลุ่ม ให้มีคุณภาพที่โรงเรียนและชุมชนคาดหวัง

-          การป้องกันและแก้ปัญหา โดยดูแลเอาใจใส่หาวิธีการช่วยเหลือ

-          การส่งต่อ โดยส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

 

 

 

สวัสดี......แล้วพบกันใหม่

หมายเลขบันทึก: 221041เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2008 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท