อำนาจ..ครู


"ดูสิดูสวมร่างครูอาจารย์"

บ้าอำนาจ...

ทำอะไรอุกอาจเบ่งกล้าหาญ

ดูสิดูสวมร่างครูอาจารย์

ทำอวดเก่งปฏิญาณว่าเป็นครู

 

แท้หัวใจโสมมยิ่งกว่าเด็ก

หัวใจเล็กนิดเดียวทำเป็นขู่

อยู่ที่อื่นหดหัวอยู่ในรู

อยู่โรงเรียนก้องกู่กูเป็นใหญ่

 

ครูหนอครู...

ชีวิตน่าอดสูเป็นไฉน

หอบปริญญาเมืองกรุงมาแต่ไกล

แต่หัวใจไร้สิทธิ์คิดเป็นครู.....

 

ป.ล. อาจจะขัดความรู้สึกของหลายคนครับ แต่ผมขอยืนยันว่า คุณครูก็ยังเป็นที่เคารพรักของผมเสมอ

เพราะผมเป็นอยุ่ทุกวันนี้ได้ ก็เพราะคำสอนของครู  วิชาความรู้จากครู  ถ้าไม่มีครูก็ไม่รู้จะเป็นอย่างไร

ผมจำได้ว่าผมเขียนกลอนนี้ตอนเป็นนักศึกษา เป็นข้อพิพาทระหว่างนักเรียนกลุ่มหนึ่งกับคุณครูที่บ้าอำนาจ

แต่จะเป็นเหตุผลกลใด ด้วยภาวะแบบนั้น ครูหลายท่านก็บอกว่าไม่เหมาะสม ดังนั้นแล้วผมก็แค่อยากเขียน

อยากระบาย นำมาให้ทุกคนอ่าน  ผมรักคุณครูครับ ไม่ได้เจตนาให้ความรู้สึกไปบั่นทอน คุณครูท่านใด 

บริโภคอย่างมีสตินะครับ 

หมายเลขบันทึก: 220573เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2008 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นการกลั่นออกมาจากหัวใจ..ในยามวัยเปลี่ยนผ่าน...พอมาดูย้อนหลัง..เด็กในวัยนั้นก็มีพฤติกรรมเช่นนั้น...เอง เอวัง....ครูเข้าใจเธอ

-อื่ม อ่านแล้วชวนคิด

-ดูสิดูสวมร่างครูอาจารย์

-เป็นอีกมุมหนึ่งของปลาในข้องเดียวกัน แฮะๆๆๆ

มีอคติอะไรกับครูหนอ?

ป่าวนะครับ..ผมรักครูครับ..

เพราะครู..คือความรู้ของผม..

 ความเป็นสุภาพบุรุษ

สุภาพบุรุษ จะไม่กล่าวโทษผู้อื่นทั้งต่อหน้าและลับหลัง

สุภาพบุรุษ จะให้เกียรติอิสตรีเสมอ สุภาพบุรุษ จะไม่สาวไส้ (พฤติกรรมต่ำช้า)ของคนที่เคยรักกัน ทุกเวลา ทุกสถานที่

สุภาพบุรุษ จะไม่ใช้ความฉลาด (แกมโกง)ด้านภาษา เล่นคำบางคำให้มีนัยพิเศษ เพื่อให้กระทบความรู้สึกผู้อื่น

ขอบคุณคุณผู้ชายที่ยังรู้จักคำว่า "สุภาพบุรุษ"

แล้วคุณล่ะ?

สัปปุริสธรรม เท่าที่ผมเคยเรียนมา มีอยู่ 7 อย่าง คำว่า สัปปุริสธรรม แปลว่า ธรรมะของคนดี หมายความว่า ผู้ใดมีธรรมเหล่านี้แล้ว ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นคนดี

1.ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ

2.อัตถัญญุตา รู้จักผล

3.อัตตัญญุตา คือรู้ตามเป็นจริงว่า ตัวเรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความถนัด ความสามารถ และคุณธรรม

4.มัตตัญญุตา คือการรู้จักประมาณ รู้จักพอดี ทั้งในการบริโภคและใช้จ่ายทรัพย์ การพูด การปฏิบัติกิจและทำการต่างๆ

5.กาลัญญุตา คือ การรู้จักกาลเวลาอันเหมาะสม

6.ปริสัญญุตา คือการรู้ชุมชน รู้จักถิ่นที่อยู่ รู้จักที่ชุมชน รู้การอันควรประพฤติปฏิบัติในถิ่นที่ชุมนุม

7.ปุคคลัญญุตา คือการรู้จักและเข้าใจความแตกต่างแห่งบุคคลว่าโดยอัธยาศัย ความสามารถ และ คุณธรรม

ขอบคุณคำแนะนำดีดี และ คำถามดีดีของ คุณสัปปุริสธรรมนะครับ เหมือนผมมีความหลังกับคุณครูนะครับ แต่สิ่งที่ผมได้เขียนขึ้น ผมก็ได้แจ้งให้คุณครูทราบ มันเป็นอารมณ์ของเด็กคนหนึ่ง ที่มองเห็นบางสิ่งที่มันเกิดขึ้นซ้ำๆซากๆ มิได้บังอาจที่จะทำลายใครสักคน และผมเองก็เชื่อว่า การทำความดีเกิดขึ้นได้จากตัวของเราเอง ไม่ได้เกิดขึ้นจากตัวหนังสือ หรือจากความหมายของคำบางคำ โดยอ้างเอาประโยค แต่ขาดการปฏิบัติตาม สำหรับผมแล้ว การไม่ทำให้ใครเดือดร้อนด้วยการกระทำ และปฏิตนไม่ให้เป็นภาระของคนอื่น ผมก็มีความสุขแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท