น่าจะทำการเกษตรอะไรดี?...ที่เกาะภูเก็ต


จัหงวัด  พื้นที่ทำการเกษตรในจังหวัดภูเก็ต  ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกยางพารา  รองลงมาเป็นพื้นที่ปลูก   ไม้ผลไม้ยืนต้น  พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ และอื่นๆ  ปัจจุบันพื้นที่การเกษตรลดลงเนื่องจากการขยายตัวของการท่องเที่ยวและบริการ ดังนั้นการส่งเสริมการเกษตรในภูเก็ต จำเป็นต้องปรับตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน           

จากการวิเคราะห์ SWOT งานส่งเสริมการเกษตรในภูเก็ต  พบว่า 

.                           จุดแข็ง    เกษตรกรมีความพร้อมในการพัฒนา  สำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ตมีบุคลากรที่มีความรู้หลากหลาย   ทั้งในระดับจังหวัด  ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุน และในระดับพื้นที่  ทำหน้าที่ประสานงานและปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบ     มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ปรับปรุงการให้บริการแก่เกษตรกร  รวมทั้งได้มีการสนับสนุนความรู้และตลาดหรือแหล่งจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง 

                           จุดอ่อน   ขาดการบูรณาการในการพัฒนาบุคลากร  เกษตรกร  ข้อมูลสารสนเทศ  เครื่องมือและองค์ความรู้ที่

จำเป็นในการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรในภูเก็ต

                           โอกาส   นโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐาน เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก และหน่วยงานสามารถขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่  กลุ่มจังหวัด  จังหวัด  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เอกชน  เป็นต้น

                             ข้อจำกัด   มูลค่าที่ดินสูงมาก  พื้นที่การเกษตรลดลง  เนื่องจากการขยายตัวของการท่องเที่ยวและบริการ  นอกจากนี้  ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบเกษตรกรและผู้บริโภค เช่น  ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ  ศัตรูพืช  ต้นทุนการผลิต  และค่าครองชีพสูง  เป็นต้น

              จากการสำรวจข้อมูล  พบว่าพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและผู้บริโภคมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ไม้ดอกไม้ประดับ     พืชผัก  ผักพื้นบ้าน  พืชสมุนไพร ไม้ผลและไม้ยืนต้นบางชนิด  ซึ่งใช้ในการบริโภคผลผลิต  แปรรูปเป็นอาหารและเครื่องดื่ม  รวมทั้งนิยมใช้ประโยชน์ในกิจการสปาและสุขภาพ  พืชดังกล่าวมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดภูเก็ต  ตอบสนองต่อความต้องการและสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิต  ผู้บริโภค และผู้ใช้ประโยชน์ที่เชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง           จากข้อจำกัดด้านพื้นที่ที่ลดลง ดังนั้นควรส่งเสริมให้ผลิตพืชที่ตลาดต้องการมาก  สร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตและเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง  ใช้พื้นที่น้อย  และ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม พืชที่สำคัญคือ ไม้ดอกไม้ประดับ

 

หมายเลขบันทึก: 219992เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2008 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • อยากได้ความรู้เรื่องการเพาะเห็ดมากค่ะ
  • เห็นเข็มทอง และเห็ดเป๋าฮื้อน่ะค่ะ
  • ที่เกษตรภูเก็ตมีแนะนำไหมค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท