การประเมินผลโครงการของMicheal Patton


การประเมินผลแบบมุ่งเน้นประโยชน์ไปใช้ (Utilization Focused Evaluation)

จากการเรียนกระบวนวิชา MR 626 การประเมินผลโครงการ ของ รศ.ดร.เตือนใจ เกตุษา ท่านอาจารย์มอบหมายให้แปลบทความภาษาอังกฤษและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับรูปแบบการประเมินของ  Micheal Patton 's Utilization  Focused  Evaluation คู่กับคุณธนภรณ์ ผลถาวร ดิฉันคิดว่าจะเกิดประโยชน์แก่ท่านผู้สนใจ จึงขอนำมาเผยแพร่ให้แก่ท่านผู้สนใจ

วิธีการประเมินที่เน้นการใช้ประโยชน์ ของ Micheal Patton ซึ่งเป็นการออกแบบการประเมินที่กลุ่มเป้าหมาย (Client groups) เป็นกลุ่มที่ทำการตัดสินใจเองว่าจะทำการเปลี่ยนแปลงกับองค์กรอย่างไร

UFE เป็นกระบวนการสำหรับพัฒนากระบวนการศึกษาของการประเมินการร่วมมือกันและการเจรจาต่อรองกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งถูกเลือกจากกลุ่มของผู้ถูกประเมิน UFE จะมุ่งประเด็นไปที่การให้ผลผลิตที่มีประโยชน์สำหรับผู้ถูกประเมิน

บทบาทของผู้ประเมิน
     Patton ไม่เห็นด้วยกับกับความคิดของการรายงานผลให้กับผู้รับการประเมิน แต่เขาชอบการนำไปใช้ประโยชน์จริงๆ ดังนั้นบทบาทของผู้ประเมินเป็นเสมือนผู้ต่อรอง (Negotiating ) ขึ้นอยู่กับสถานการณ์นั้นๆ เพราะฉะนั้นตัวผู้ประเมินก็ทำหน้าที่หลายบทบาทขึ้นอยู่กับสถานการณ์ อาจเป็นได้ทั้งผู้ฝึกหัด (trainer )พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม(group facilitator ) ผู้แก้ปัญหา นักการทูต ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้เชียวชาญในการวัดการประเมิน ผู้เชี่ยวชาญในการตอบคำถามในเชิงคุณภาพ เป็นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างองค์ความรู้ เป็นที่ปรึกษา เป็นผู้ร่วมงาน เป็นผู้ฟัง ผู้วิเคราะห์ และเป็นสื่อกลาง

ผู้ต่อรอง (Negotiating )     Active –Reactive –Adaptive Processes
        การต่อรองเป็นกระบวนการระหว่างผู้ประเมินกับผู้ถูกประเมิน
ประเมิน เพื่อก้าวต่อไปยังการวางแผน เพื่อทำให้เกิดความสมบูรณ์ในการศึกษา โดยคำนึงถึงบุคคล วัฒนธรรม และนิสัยเดิม (idiosyncrasies)

           ดังนั้นจึงต้องมีการอภิปรายให้คำแนะนำ คำปรึกษาทั่วๆไปตลอดจนระหว่างเวลาทำการศึกษาข้อมูล ผู้ประเมินจะต้อง กระตือรือร้น active   ส่วนผู้ถูกประเมินต้องมีปฏิกิริยาสัมพันธ์โต้ตอบ reactive  กระทำกระบวนการนี้จนกว่าจะสมบูรณ์  สามารถยืดหยุ่นเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสม แล้วจะนำไปสู่ การประยุกต์ใช้ adaptive ที่เหมาะสม

 

ผู้ประเมินต้องตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้ทุกตอนดังนั้นบทบาทของผู้ประเมินจะต้องเปลี่ยนไปด้วยตามกระบวนการ active- reactive- adaptive จนสิ้นกระบวนการประเมิน เช่นกันผู้ประเมินจะมีบทบาททั้งเป็นคนที่อยู่นอกเหตุการณ์เช่นเดียวกับผู้ชี้นำโดยให้ความสำคัญกับ ทักษะ , ความรู้, และจรรยาบรรณของผู้ประเมิน เพราะไม่ได้มุ่งเน้นไปเฉพาะวิธีการประเมินเท่านั้น ต้องมีการประนีประนอม ซึ่งหมายถึง การต่อรอง

 สรุปรูปแบบการประเมินของแพตตัน

                รูปแบบการประเมินที่มุ่งเน้นประโยชน์การนำไปใช้  นักวิชาการบางท่านก็แปลว่ารูปแบบการประเมินที่ยึดประโยชน์ใช้สอย
เอ็ม  คิว  แพตตัน  (M. Q  Patton.  1997)  (สมคิด   พรมจุ้ย  2544 : 63)  ได้เสนอแนวคิดรูปแบบการประเมินที่ยึดประโยชน์ใช้สอย  (Utilization  Focused  Evaluation)  เพื่อแก้ปัญหาการประเมิน  โดยเฉพาะประเด็นที่มักจะได้รับคำวิจารณ์ว่า  ประเมินแล้วไม่ได้นำผลการประเมินไปใช้หรือผู้บริหารมองว่าผลการประเมินไม่ตรงกับข้อมูลที่ต้องการใช้ประกอบการตัดสินใจ  แพตตัน  จึงได้เสนอแนวคิดและแนวทางในการประเมิน  ดังนี้

                                1.  หลักในการประเมินโครงการ  นักประเมินควรให้ความสำคัญกับผู้บริหารหรือกลุ่มลูกค้าที่จะใช้ผลการประเมินนั้นๆ  คำถามเพื่อการประเมินตรวจสอบควรเกิดจากกลุ่มที่เกี่ยวข้องเหล่านั้นหรือต้องเป็นความอยากรู้อยากเห็น  หรืออยากใช้ข้อมูลผลการประเมินของผู้เกี่ยวข้องไม่ใช่ความอยากรู้อยากเห็นของนักประเมิน  เป็นกรอบในการกำหนดจุดประสงค์ของการประเมินซึ่งการประเมินแนวคิดนี้  จะทำให้ผลการประเมินมีโอกาสถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนามากขึ้น

                                2.  ขั้นตอนการประเมิน  แพตตัน  ได้เสนอแนวทางการประเมินโดยเฉพาะการดำเนินการเพื่อให้ได้วัตถุประสงค์ของการประเมิน  โดยแบ่งกิจกรรมเป็น  3  ขั้นตอน  คือ

                  2.1  จำแนกประเภทหรือกลุ่มบุคคล  ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ  ในขั้นตอนนี้นักประเมินต้องพิจารณาว่ามีใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่จะประเมิน  เช่น  ผู้บริหาร  ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้เกี่ยวข้องกับโครงการอื่นๆ

                  2.2  สัมภาษณ์  สอบถามผู้เกี่ยวข้องได้จาก (1) เพื่อรวมความคิดเห็นหรือความต้องการว่า  กลุ่มบุคคลเหล่านี้  ต้องการทราบผลการดำเนินโครงการในลักษณะใดบ้างต้องการใช้ข้อมูลการประเมินเรื่องใดหรืออยากรู้อะไร

                  2.3  จัดหมวดหมู่คำถาม  หรือความอยากรู้อยากเห็น  หรือความต้องการอยากใช้ข้อมูลของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโครงการ  แล้วกำหนดเป็นรายการ  คำถามหลักๆ  เพื่อการประเมิน  เช่น  การดำเนินโครงการทำได้เพียงใด  เกิดปัญหาในลักษณะใดบ้าง  ผลการดำเนินของโครงการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์เพียงใด  โครงการก่อให้เกิดผลกระทบเพียงใด  เป็นต้น

            หลังจากดำเนินการทั้ง  3  ขั้นตอน  นักประเมินจึงกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินที่ครอบคลุมประเด็นคำถามการประเมิน  ของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องโครงการส่วนการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป  ก็ดำเนินการตามกระบวนการประเมินผลตามปกติ

สำหรับรูปแบบการประเมินของแพตตันในเอกสารประเมินโครงการของ จิรวัฒน์ โหม่งมาตย์ หน้า 29 ความว่า

รูปแบบการประเมินของ แพทตัน (1978)

แพทตัน  ได้เสนอแนวความคิดในการประเมิน โดยเห็นว่า  ควรเน้นการประเมินเพื่อนำสารสนเทศไปใช้อย่างแท้จริง จึงได้เสนอรูปแบบจำลองที่เรียกว่า Utilization-Focused Evaluation ทั้งนี้เสนอได้ดำเนินการกิจกรรมที่สำคัญ ๆ ในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน คือ

1.        แยกแยะกลุ่มลูกค้าหรือผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ ซึ่งถือเป็นกลุ่มเป้าหมายในการใช้สารสนเทศประกอบการตัดสินใจ

2.        สัมภาษณ์/สอบถามผู้เกี่ยวข้องในข้อ 1 เพื่อให้ระบุรายการสารสนเทศที่ต้องการประกอบการตัดสินใจปรับปรุง พัฒนางานหรือโครงการ

3.        จัดหมวดหมู่รายการสารสนเทศที่ผู้เกี่ยวข้องต้องการ แล้วสรุปเป็นรายการสารสนเทศสำคัญๆ ที่ต้องการประเมิน หรือ กำหนดเป็นวัตถุประสงค์เฉพาะในการประเมินครั้งนั้นๆ

สรุป

                รูปแบบการประเมิน เป็นกรอบแนวทางที่ทำให้การประเมินมีคุณภาพยิ่งขึ้น ผู้ประเมินต้องเลือกรูปแบบการประเมินให้สอดคล้องและเหมาะสมกับงานหรือโครงการที่จะประเมิน ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 219829เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2008 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท