การวิจัยแบบศึกษาพัฒนาการ (Developmental studies)


การวิจัยแบบศึกษาพัฒนาการ (Developmental studies)

 

              เป็นการศึกษาที่มุ่งทราบลักษณะการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ เมื่อเวลาล่วงเลยไปในช่วงเวลาหนึ่ง การวิจัยแบบศึกษาพัฒนาการแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ

              1) การศึกษาความเจริญงอกงาม (Growth studies) เป็นการศึกษาที่ผู้วิจัยมุ่งอธิบายและทำนายความเจริญงอกงามที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งทางด้านกายภาพและพฤติกรรมทางสังคม ตลอดจนมุ่งควบคุมสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นให้เป็นไปตามที่ประสงค์ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง บุคลิกภาพ เจตคติ ความเชื่อ ตลอดจนคุณลักษณะด้านต่าง ๆ ทางสมอง ซึ่งอาจแปรเปลี่ยนไปตามเพศ อายุ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น การศึกษาความเจริญงอกงามอาจทำได้ 2 วิธีคือ

                   - การศึกษาแบบติดตามผลระยะยาว (Longitudinal technique) คือการศึกษาความเจริญงอกงามโดยเลือกศึกษาเพียงกลุ่มเดียว แล้วติดตามกลุ่มนี้ไปตลอดระยะเวลายาวเท่าที่ต้องการศึกษา การศึกษาแบบนี้มีข้อยุ่งยากในการติดตามผล และเสียเวลามากแต่ก็เชื่อถือได้มาก

                   - การศึกษาแบบติดตามผลระยะสั้น (Crossectional technique) คือการศึกษาความเจริญงกงามโดยเลือกศึกษากับเด็กหลาย ๆ กลุ่มที่มีความแตกต่างกันในอายุหรือระดับชั้นเรียน ในช่วงเวลาเดียวกันก็จะทราบลักษณะความเจริญงอกงามในตัวแปรนั้น ๆ วิธีนี้จะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย แต่การแปลผลอาจเชื่อถือได้ไม่ดีนัก และต้องระวังเป็นพิเศษในการเลือกกลุ่มตัวอย่างให้เป็นตัวแทนของประชากร

              2) การศึกษาแนวโน้ม (Trend study) เป็นการศึกษาลักษณะเดียวกับการศึกษาความเจริญงอกงาม คือศึกษาเหตุการณ์ที่ผ่านมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน แต่มีลักษณะที่เพิ่มขึ้นคือ การศึกษาแบบนี้อาศัยข้อมูลดังกล่าวมาทำนายหรือคาดคะเนเหตุการณ์หรือตัวแปรในอนาคต การศึกษาแนวโน้มนี้อาจผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้ง่ายถ้ามีเหตุการณ์ที่ผิดปกติมาแทรกซ้อน เช่น สินค้าในตลาดมีแนวโน้มที่จะขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามภาวะเศรษฐกิจปกติ แต่เมื่อน้ำมันขึ้นราคาผิดปกติ ราคาสินค้าในท้องตลาดก็จะขึ้นมากผิดปกติไปด้วย

การศึกษาแนวโน้มสามารถนำมาใช้ในการวางแผนงานของโรงเรียน ตลาดการค้า การลงทุน โรงงานอุตสาหกรรม การวิจัยประเภทนี้จึงใช้ได้ดีในวงการธุรกิจ อุตสาหกรรม การเมือง การศึกษา ฯลฯ

 

Mr.PK

 

ขอขอบคุณที่มา

เอกสารชุดนี้นำมาจาก เอกสารประกอบคำสอนเรื่อง "ประเภทของการวิจัย" โดย รองศาสตราจารย์นิภา ศรีไพโรจน์

http://www.watpon.com/Elearning/res15.htm

 

หมายเลขบันทึก: 219307เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2008 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่มีอะไรมากค่ะ

มาบอกว่า หน้าพี่เต็มจอเลยค่ะ

ขยันจังเลยน่ะค่ะ

แบบว่า มีแต่พี่จริง ๆ

ว่าจะแซวตั้งแต่เมื่อวานแล้ว

มีความสุขมาก ๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท