บทบาทของพยาบาลกับADR.


ADR.เป็นปฏิกริยาที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นอันตรายต่อร่างกายและเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาในขนาดปกติ

   พยาบาลมีหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ADR: Adverse Drug Reactions เป็นภาวะหนึ่งที่อาจเกิดกับผู้ป่วยได้ พูดง่ายๆว่า ADR. คือการแพ้ยา  การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการจ่ายยา ซึ่งทางเภสัชวิทยาให้ความหมายว่า ADR. เป็นปฏิกริยาที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ และเป็นอันตรายต่อร่างกาย เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาในขนาดปกติ  ซึ่งภาวะดังกล่าวพยาบาลสามารถให้การป้องกันได้ ดังนี้

       1.พยาบาลต้องซักประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วย  โดยอาจถาชื่อยาที่แพ้  นำเม็โฏยาที่แพ้มาให้ดู หรือถามลักษณะการแพ้ยาว่าเมื่อแพ้ยาแล้วเกิดอาการอย่างไร

      2. มีการส่งต่อข้อมูลการแพ้ยาของผู้ป่วยให้ทีมรักษาทราบ โดยอาจมีระบบการบันทึกที่ดี  และสื่อสารเป็นนโยบายว่า จะสงัเกตในใบรายงานแผ่นใดจึงจะทราบว่าผู้ป่วยแพ้ยา

     3. ไม่ให้ยาที่ไม่แน่ใจ  พยาบาลโรงพยาบาลชุมชนบางท่านอาจต้องให้การรักษาแทนแพทย์นอกเวลาราชการ พยาบาลพึงระลึกไว้เสมอว่า จะไม่ให้ยาที่ไม่แน่ใจว่าผู้ป่วยแพ้หรือไม่ให้ผู้ป่วยรับประทาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้

   4. ต้องมีการบริหารที่ถูกต้อง  มีระบบเบิกก่อนจ่ายก่อน (Frist  in  Frist  out) 

   5. มีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยอย่างครบถ้วน เพื่อป้องกันการให้ยาที่แพ้ซ้ำ

   6. เฝ้าระวังการเกิด ADR.ภายหลังการให้ยา สังเกตอาการแพ้ เช่น ผื่นคัน ผื่นแพ้ เป็นต้น

   7 ใส่ใจในทุกปัญหาของผู้ป่วย เพื่อจะได้รับข้อที่รวดเร็วและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21903เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2006 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท