การพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ วิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล


การพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ วิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล

การพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ วิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล

ตามที่เขียนไว้ในบันทึกที่แล้วว่า วิชานี้มีนักศึกษาจำนวนมาก จึงต้องใช้อาจารย์ในการสอนจำนวนมาก จึงแบ่งเป็น 2 ทีม สำหรับทีมนี้ประกอบด้วย

  1 อ. สุปราณี ฉายวิจิตร   ผู้นำทีม   2. ดร.มัณฑนา  เหมชะญาติ 3. ดร. ศรีสกุล เฉียบแหลม 4. อ. บุษยารัตน์       ลอยศักดิ์  5 อ. รัชชนก  สิทธิเวช   6. อ. รัชสุรีย์  จันทเพชร  7. อ. นิศารัตน์  รวมวงษ์  เลขา

 

ประเด็นความรู้คือ

1.       การรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน

2.       การประเมินสภาพเมื่อผู้ป่วยมีบาดแผลอย่างครอบคลุม

3.       การสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลกับผู้ป่วย

4.       การส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการ Conference

หลังจากดำเนินการไปได้ช่วงหนึ่งในวิชานี้คงได้ความรู้ปฏิบัติมา ลปรร. กันอีกแน่ๆ

 

หมายเลขบันทึก: 217836เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2008 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (44)
สุปราณี ฉายวิจิตร

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่ 2 ของการฝึกภาคปฏิบัติของวิชาปฏิบัติหลักการพยาบาล ประเด็นความรู้ที่กำหนดไว้เดิม คงจะต้องมีการปรับบ้าง โดยจะมีการประชุมทีมอาจารย์นิเทศในวันที่ 22 ตุลาคม 2551 เป็นครั้งแรกหลังจากการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาปีที่2  หัวข้อที่จะนำมาพูดคุยกันในวันพรุ่งนี้คือ

  1. ประเด็นความรู้ที่กำหนดไว้ มีวิธีจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติอย่างไร
  2. มีสถานการณ์อย่างไรหรือพบปัญหาอะไรหรือไม่
  3. จะต้องปรับวิธีการบ้างหรือไม่
  4. ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของอาจารย์ภายในทีม

หลังจากการประชุมจะนำสิ่งที่ได้มาแบ่งปันกันนะคะ ถึงแม้ว่าเราจะเพิ่งขึ้นนิเทศได้เพียง 6วันแต่เราก็รู้สึกสนุกที่ได้นิเทศอย่างเห็นเป้าหมาย ภูมิใจเหมือนกันนะที่ได้ถ่ายทอดความคิด ความรู้และประสบการณ์ให้กับนักศึกษา เป็นกำลังใจให้กับอาจารย์ใหม่ด้วยนะคะ

 

การคำนึงถึงประเด็นความรู้(เป้าหมาย)ที่ต้องการพัฒนาจะเป็นตัวนำไปสู่การพัฒนาที่แท้จริงครับ พัฒนาทีม พัฒนาความรู้ร่วมกันต่ดไปนะครับ

ทราบว่าวันนี้ มีการประชุม ลปรร.กัน เป็นอย่างไรบ้างครับ

เล่าสู่กันอ่าน ด้วยนะครับ คอยติดตามอยู่

สุปราณี ฉายวิจิตร

วันนี้มีการประชุมทีม ลปรร.กันเสียดายปิ่นไม่ได้เข้าร่วม ต้องบอกก่อนว่า รู้สึกดี มากๆ พูดคุยกันจนลืมหิวข้าวเลยนะ  หลังจาก conference อ.ศรีสกุลก็มาประชุมด้วย เริ่มที่พี่ก่อน พี่ปรับประเด็นจากการรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนเป็น การใช้concept mappingในการวิเคราะห์ปัญหาทางการพยาบาล ส่วนอาจารย์มัณฑนาจะเป็นประเด็น การสร้างความมั่นใจในการฝึกปฏิบัติ ซึ่งอาจารย์เริ่มด้วยการให้นศ.เขียนเล่าถึงความรู้สึก ความต้องการ การสะท้อนคิด ซึ่งเราก็ได้วิธีการหลายวิธีนะ ต่อไปอาจจะได้เห็นนวัตกรรมอะไรออกมาก็ได้นะ ส่วนเรื่องการมีส่วนร่วมในการconference ก็จะมีเทคนิคการตั้งคำถาม  การจำชื่อให้ได้ และประเด็นของอาจารย์นิศารัตน์ learning port folio ซึ่งมีประเด็นคล้ายกับอาจารย์มัณฑนา คือการสะท้อนคิด มีการบันทึกความรู้ ประสบการณ์ การบันทึกข้อมูลเพื่อการประเมินและพัฒนานศ.เป็นรายบุคคล โดยนศ.กลุ่มของอ.นิศารัตน์จะสลับกับกลุ่มของพี่  รายละเอียดทั้งหมดจะบันทึกให้เรียบร้อยและจะส่งให้ปิ่นนะคะ  อ้อ..แค่เราคุยกันครั้งแรกเนี่ย เราก็จะนำประเด็นของอาจารย์แต่ละคนมาใช้เลย พี่ต้องบอกว่าเราอยู่ในช่วงทดลองแนวทาง ให้ตรวจสอบความถูกต้องก่อน

ยอดเยี่ยมมากครับ ผมคิดว่าอาจจะปรับกระบวนการให้มีการขยายความรู้ปฏิบัติที่ได้แลกเปลี่ยนกันในกลุ่มย่อย ให้กับทั่วทั้งองค์กรได้รับรู้และสามารถนำไปใช้ได้ด้วยครับ

กลุ่มนี้เก่งจริงๆ ค่ะ ประชุม ลปรร.กันแล้ว หนูคอยติดตามวิธีสร้างความมั่นใจในการฝึก

ปฏิบัติอยู่นะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

สุปราณี ฉายวิจิตร

ขอบคุณที่น้องให้กำลังใจนะคะ

อยากจะเข้า มาแต่เมาหา ไม่เจออยู่พักใหญ่ เลยมาสายไปหน่อย หลังจาก ลปรร มาแล้ว 1 ครั้ง เดิมที่เคยทำ Laerning folio ได้นำเอา Mapping มาทดลองใช้กับนักศึกษา หลังจากที่เจอปัญหา ว่า นักศึกษาไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ที่มีมากมาย มาใช้ประโยชน์ ใน การวินิจฉัยปัญหาได้ แต่พอลองให้ทำ Mapping แล้ว นักศึกษา บอกว่า ง่ายกว่า และ คิดปัญหา อย่างสนุกด้วย เข้า Concept Learn + play = PLEARN เลย แต่มีปัญหาจะถาม อาจารย์ ปิ่นว่า หากเราจะเอา Map มา show ทำไง.....ครับ .. เลขา....KM กลุ่ม 6

ผลการประชุมครั้งที่ 1 ผลการประชุมดังนี้

http://gotoknow.org/file/nisarat_aooh/KM1.jpg

 

น้อง Panda คะ KM กลุ่ม 6 จะประชุมอีกครั้ง 12 พ.ย.2551 เวลา 13.30 น. นะคะ เรียนอาจารย์ศรีสกุลให้พี่ด้วยนะ พี่จะบอกอาจารย์แต๊ปเองค่ะ

เรียนอาจารย์รัชนก อาจารย์รัชสุรีย์ให้ด้วยนะคะ ตอนที่น้องขึ้น ward กับอาจารย์นะคะ ขอบคุณค่ะ

รายงานความก้าวหน้า หลัง ลปรร ครั้งที่แล้ว ได้มีการนำ Concept mapping ไปใช้ในการ ทำ One Page Diary Mapping ในสัปดาห์ที่ 4 นักศึกษาบอกว่า " อาจารย์ขา น่าจะสอน ตั้งแต่ แรกค่ะ มันทำให้มองเห็นปัญหา ได้ง่ายขึ้น ''

 

พอทำแล้ว ลองประเมอนผล โดยใช้ เกณฑ์ดังนี้

 

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของนักศึกษากลุ่มใหม่ ได้นำ Concept mapping  มาใช้ในการวางแผนการพยาบาล โดยได้มีการปรับปรุงดังนี้

  • ให้นักศึกษาเตรียมดินสอสีเพื่อเน้นข้อมูลในแต่ละปัญหาให้ชัดเจน
  • ให้นักศึกษานำข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมได้ มาเขียนเป็น map ไม่ว่าจะอ่านลายมือไม่ออก สะกดไม่ถูกก็ตาม และให้พยายามเชื่อมโยงข้อมูล ทุกข้อมูล ถึงแม้จะเชื่อมโยงไม่ถูกต้อง ครูก็จะชี้แนะให้ ไม่ดุค่ะ
  • ให้นักศึกษามองปัญหาที่สำคัญของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งจะไม่เหมือนกัน โดยใช้หลัก clinical risk
  • ใช้ mapping ในการ Pre conference
  • ที่สำคัญ ต้องปรับเรื่องการประเมินผล จะขอใช้แบบประเมินการวางแผนการพยาบาลของ อ.นิศารัตน์ ที่ชัดเจน มีการfeed back ทำให้นักศึกษาปรับปรุงได้ตรงจุด จะทำให้เห็นพัฒนาการของนักศึกษาได้ในแต่ละสัปดาห์

ยินดี ค่ะ เพื่อว่าจะได้ ประเมินพัฒนาการนักศึกษา ในทิศทางเดียวกัน

เพิ่มเติมเรื่องการมีส่วนร่วมของนักศึกษา ในการ Conference :ซึ๋งคะแนน ในการ conference นั้น 30 % ของคะแนนปฏิบัติงาน  ปัจจุบันพบว่า นักศึกษาบางคนพูด บางคนไม่กล้าพูด จึงกระตุ้น โดย  การมอบหมายให้ พูดศัพท์ ที่ได้เรียนรู้จาการส่งเวร ทุกวัน คนละ  1 คำ เพื่อที่อาจารย์ จะได้ อธิบาย และนำ Conference เพิ่มเติม เช่น

เช่น การเตรียม Bowel หมายถึง อะไร ? เป็นต้น

Active มากเลยนะครับกลุ่มนี้

สำหรับวิธีการใส่รูปเดี๋ยว ลองไปฝึกดูว่าทำอย่างไรให้มันเล็กลงครับ

มารายงานตัวค่ะ

สำหรับเนื้อหาและความก้าวหน้าขอกลั่นกรองและจะตามมาทีหลังนะคะ

นิเทศผ่านไปแล้ว 1 กลุ่ม เลยได้มีโอกาส ทบทวนกระบวนการ พอสรุปได้ดังนี้

http://gotoknow.org/file/nisarat_aooh/process.jpeg

                                             Panda

อาจารย์นิศารัตน์คะ ที่อาจารย์ให้นักศึกษาประเมินผลตามข้อวินิจฉัยการพยาบาล นอกจากการประเมินตาม daily plan แล้ว อาจารย์ให้คะแนนตรงส่วนนี้ด้วยหรือเปล่าคะ แล้วอาจารย์feed back คะแนนให้นักศึกษาทราบอย่างไรคะ ภาพรวมหรือแยกส่วนคะ

ตอบ อ.พี่ใหญ่ ค่ะ Feed back นักศึกษา แยกเป็นส่วนตามเกณฑ์ เพื่อที่นักศึกษา จะได้ทราบ จุดเด่น จุดด้อย ของตนเอง และ พัฒนาได้ตรงประเด็น ซึ่งพบว่า ประเด็นที่ยังเป็นปัยหาของนักศึกษา คือ การสืบค้นประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน และ ข้อวินิจฉัยปัญหาทางการพยาบาล และการเขียนการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาล ค่ะ

อาจารย์น้องอ๋อคะ  ตามเกณฑ์การให้คะแนน การประเมินผลตามข้อวินิจฉัยการพยาบาลจะให้คะแนนอย่างไรดีคะ

งั้นเรานัด รวมสมองกันนอก กระดานก่อนนะคะ เพราะมีรายละเอียดที่ต้องแลกเปลี่ยน หลายเรื่องอยู่

ตอบ หลังจาก คุยกันนอกรอบแล้ว ขอตอบ ประเด็น อาจารย์พี่ใหญ่ ว่า การประเมอนผลในข้อ 7 ประเมินจากการที่นักศึกษา นำข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ตั้งไว้ มาวางแผนการพยาบาลตาม กระบวนการพยาบาล ตั้งแต่ ข้อมูลสนุบสนุน S+O การวิเคราะห์ปัญหา เป้าหมายการพยาบาล และเกณฑ์การประเมิน การวางแผนการพยาบาล ตลอดจน ประเมินผลการพยาบาล ค่ะ

มารายงานตัวเป็นรอบที่ 2 ค่ะ

คือหลังจากที่กลุ่มเราได้ประชุม KM ผ่านมาแล้วนำข้อมูลที่ได้จากการประชุมมาปรับใช้กับกลุ่มของเรา ซึ่งในกลุ่มของหนูก็ได้นำกระบวนการมาทดลองใช้แด้นำมาปรับปรุงในกลุ่มที่2ดังนี้ค่ะ (ทั้ง2 กลุ่มที่ขึ้นในแต่ละสัปดาห์ก็มีการใช้กระบวนการที่แตกต่างกันแต่มีข้อสรุปค่อนข้างเหมือนกัน)ดังนี้ค่ะ กลุ่มที่ขึ้นฝึกปฏิบัติการบนหอผู้ป่วยในวันจันทร์กับอังคาร เราจะเน้นให้นักศึกษามีการใช้กระบวนการคิดโดยใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นถามให้นักศึกษาทุกคนได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และถ้าหากนักศึกษามีข้อคำถามใดที่สงสัยหรือต้องการที่จะถามเป็นการส่วนตัว ซึ่งในแต่ละสัปดาห์ที่มีการ Conference ทางกลุ่มเราก็จะมีการถามคำถามโดยให้นักศึกษาเขียนมาในกระดาษตามหัวข้อที่เราถามไปซึ่งสรปแล้วสิ่งที่นักศึกษาต้องการส่วยใหญ่คือ ต้องการให้ครูผู้สอนพูดช้าๆ เน้นย้ำๆในเรื่องที่สอน พูดศัพท์ภาษาอังกฤษได้แต่ต้องแปลให้ด้วย และขณะที่ทำหัตถการต้องการให้ครูอยู่ข้างๆ ซึ่งตามที่นศ.ได้เขียนมาทางกลุ่มเราก็นำมาปรับใช้ในสัปดาห์ถัดไป และกับกลุ่มถัดไป ทำให้นักศึกษารู้สึกอุ่นใจและมั่นใจที่จะให้กิจกรรมการพยาบาลกับผู้ป่วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นครูผู้สอนต้องมีความใจเย็น และเอื้ออาทรกับนศ.ด้วย เพราะนศ.บางคนค่อนข้างช้าแต่ถ้าเห็นว่าครูรอและพร้อมที่จะสอนนศ.ก็รู้สึกอุ่นใจและเกิดการอยากเรียนรู้กล้าที่จะทำกิจกรรมอื่นๆต่อไป

สำหรับกลุ่มวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ เราจะมีการให้นักศึกษาเขียนรายงานCase เป็นแบบ Concept mapping ในแผ่นเดียวกันซึ่งจะเป็นการง่ายในการดูข้อมูลและเชื่อมข้อมูลเข้าหากันซึ่งก็จะคล้ายๆกับกลุ่มของอาจารย์นิศารัตน์ค่ะ แต่ก็มีการให้นักศึกษาได้มีการจัดทำสมุดความรู้ควบคู้กันด้วย โดยด้านหนึ่งเป็นความรู้ที่ได้จากการ Conference ส่วนอีกด้านหนึ่งจะเป็นความรู้ที่นักศึกษาแต่ละคนสนใน โดยแบ่งออกเป็นเรื่องต่างๆ และนำเรื่องที่นศ.แต่ละคนสนใจมา Confrence ให้เพื่อนคนอื่นๆได้รู้ด้วย และจะได้เก็ยรวบรวม Map และสมุดความรู้ที่แต่ละคนได้ทำขึ้นมาไว้ใช้ในการขึ้นฝึกปฏิบัติงานในครั้งๆต่อๆไปและถ้านศ.สามารถทำแบบนี้ได้ทุกตึกที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานนศ.ก็สามารถนำความรู้เหล่านี้ที่ง่ายต่อการเข้าใจเก็บไว้ใช้อ่านในการสอบสภาได้อีกด้วยค่ะ ซึ่งนศ.ทุกคนก็มีความสนใจและตั้งใจในการทำเป็นอย่างดีและทุกคนบอกว่าสิ่งที่ทำนี้มีประโยชน์อย่างมากและจะพยายามทำให้ได้แบบนี้ทุกตึกเพราะจะเป็นการง่ายต่อการค้นคว้าและเข้าใจค่ะ

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของกลุ่มที่ 2 แล้ว  รู้สึกและเห็นว่าเค้า(นศ.)โตขึ้น  มั่นใจมากขึ้น  เหมือนกับเลี้ยงลูกเลยนะ เวลาที่เห็นลูกตั้งไข่(ยืน)ได้ ถึงแม้ว่าจะล้มลุกคลุกคลานไปบ้าง คนเป็นแม่ก็จะภูมิใจ ชื่นใจในตัวลูกนะ วันนี้ post conference ก็ได้บอกกับนศ.ว่าดีใจที่ได้เห็นนศ.โตขึ้นและก็จะเป็นกำลังใจให้เสมอ

Active มากๆ ขอชื่นชมและชื่นใจจริงๆ คิดว่าจะรวมรวบสิ่งดีๆ ที่แต่ละท่านได้ใช้และขยายผล ออกมาเพื่อเผยแพร่ให้พวกเราได้ลองนำไปใช้ครับ

เข้าสู่ การนิเทศ กลุ่มที่ 3 แล้ว แต่เป็นกลุ่มที่นักศึกษา กลับจากชุมชน พาไป Orientation ตึกวันแรก รู้สึก เหวอ เลย ( นักศึกษา บอก ) แต่ที่กลุ่ม ใช้ วิธีการ ให้นักศึกษา จับคู่ Orientation เพื่อนที่มาจากชุมชน สิ่งหนึ่งที่ได้ยิน นักศึกษา พูด ว่า  '' ดูเพื่อน เขามั่นใจ มาก นักศึกษาสงสัย ว่าทำไมเพื่อนทำได้ ''

 หลังจากนั้น อาจารย์ ก็เสริมต่อ ว่าหากนักศึกษา พยายาม ก็จะทำได้เหมือนเพื่อน  ....วิธีนี้ เพิ่งทดลองใช้กับกลุ่มนี้ ได้ผล นะ เรื่อง การเสริมสร้างความมั่นใจ ให้นักศึกษา

 

มีคำพูดจากนศ.กลุ่มที่3 ว่า "ผมอยากเก่ง" ฟังแล้วมีแรงขึ้นอีกเยอะเลยนะคะ

      ผ่านไปแล้ว 2 กลุ่ม มีประเด็นที่ทำให้มีโอกาสพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในกลุ่มที่ 3คือ

  1. ปรับเกณฑ์การให้คะแนน daily plan ใหม่อีกครั้ง เช่น หัวข้อ อาการสำคัญ ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน  ในอดีต เพราะในส่วนนี้นศ.นำข้อมูลมาจากเวชระเบียนโดยตรงไม่ได้ซักประวัติด้วยตัวเอง
  2. มีการตั้งผลลัพธ์ที่คาดหวัง (ตามแนวทางการปฏิบัติของโรงพยาบาลพระปกเกล้า) เกณฑ์การประเมินผล  การประเมินผลตามข้อวินิจฉัยการพยาบาล และให้บันทึกการพยาบาลตั้งแต่รับเวร
  3. การใช้เวลาในการ Pre-conference ให้กระชับมากขึ้น โดยอิงวิธี Pre conference และการใช้ daily plan ของ ward  และจะใช้เวลาในการ post conference ให้มากขึ้น

 บ่าย 3 โมงวันนี้ จะพานศ.กลุ่มใหม่ขึ้นดู assign และวิธีการนำ concept mapping มาใช้ในกระบวนการพยาบาล

เปิดประเด็น เรื่องการ ทำ Case Study ของนักศึกษา ที่ตรวจผ่านไปแล้ว 2 กลุ่ม ในความเห็น ส่วนตัว อยากปรับส่วนที่ 6 และ 7 อยากนำมารวมกัน น่าจะทำให้ นักศึกษาเขียนได้ ง่ายขึ้น เพราะพอมองแบบแยกเป็นส่วน ๆ แล้ว พบว่า นักศึกษาไม่ได้ใช้ ข้อมูลมาเชื่อมโยงกัน ( จะลองปรับในกลุ่ม 3 ค่ะ )

เมื่อบ่ายวันพุธพานศ.กลุ่มพฤหัส-ศุกร์ขึ้นดู assign ครั้งแรก มีคำพูดว่า   "ไม่คิดว่าจะลำบากขนาดนี้"     "ถ้าไม่ติดเรื่องเงิน หกหมื่นบาทก็จะไม่เรียน  เพราะไม่ใช่ความมุ่งมั่น"   แวบแรกที่ได้ยินก็รู้สึกแย่เหมือนกัน แต่ก็เตือนตัวเองว่าเราเป็นครูนะ อย่าเกิด bad impression กับลูกศิษย์ตัวเอง  เพราะตอนนี้ลูกศิษย์ก็รู้สึกแย่เหมือนกัน  กลับไปคิดต่อที่บ้านว่าจะทำอย่างไรดี  แล้วก็คิดได้ เพราะได้คิด ว่า คิดดีกับเค้าก่อนก็แล้วกัน   สองวันที่ผ่านมาทั้งครูและลูกศิษย์ก็มีความสุขในการขึ้นwardด้วยกันดีค่ะ

ส่วนบรรยากาศ ของกลุ่มใหม่ ก็สนุกดี วันแรกทำเอาอาจารย์แทบแย่ เพราะ นักศึกษาเครียด กับการทำ Diary Plan มาก เพิ่งกลับมาจากชุมชน ถือเป็นงานหนัก ของทั้งนักศึกษา นะคะ และอาจารย์ แต่พอเห็นพัฒนาการ วันที 2 หลายคนทำให้ชื่นใจ  แต่ยังมีบางคนที่ต้อง Close observation อยู่ ท้าทาย ท้าทาย ท่องไว้

 สังเกตเห็นว่านศ.กลุ่มนี้รู้จักสร้างสัมพันธภาพกับพี่ๆที่ward น่าจะเป็นผลที่ดีจากการออกชุมชนมาก่อนก็ได้นะ  ที่อาจารย์น้องอ๋อบอกว่า        "ท้าทาย ท้าทาย"  ต้องขอบคุณด้วยนะคะ ทำให้ได้คิดว่า ถ้างานอะไรที่ง่ายๆ อุปสรรคน้อยๆ เราคงจะพัฒนาตัวเอง พัฒนางานไปได้ช้า....

 

ที่ห้องคลอดก็เปลี่ยนกลุ่มใหม่เหมือนกัน

อาจารย์ห้องคลอดก็เหนื่อยไม่แพ้กันค่ะ

แต่เราต้องสู้ต่อไปเพื่อช่วยกันพัฒนาค่ะ

เราเป็นกำลังใจให้ซึ่งกันและกันต่อไปนะคะ

สู้...สู้

ทักทาย น้อง อารีรัตน์ ค่ะ เป็นกำลังใจให้เช่นกัน พี่ได้คุยกับนักศึกษา เขาตื่นเต้นมากนะคะ ที่ได้ฝึกห้องคลอด ...

พี่อ๋อลองถามนักศึกษาเกี่ยวกับความรู้สึกหรือความในใจที่อยากบอกในการฝึกห้องคลอด

ให้หนูด้วยก็ได้นะคะ เผื่อว่าหนูจะได้ข้อมูลในการปรับเปลี่ยนการนิเทศค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ค่ะ น้องกบ

   พี่อ๋อ

อ่านดูแล้วมีพัฒนาการในการเรียนรู้ จากประสบการณ์ของอาจารย์แต่ละท่านเป็นอย่างดี ....เมื่อวันก่อน เห็นกลุ่มของอาจารย์คณิสร ก็ได้ให้นักศึกษาได้ใช้ Mapping ในการศึกษาผู้ป่วย คิดว่าน่าจะช่วยทำให้นักศึกษาเรียนรู้อย่างเป็นระบบได้ดีขึ้น ที่น่าชื่นชมก็คือ มีการขยายและต่อยอดการเรียนรู้ร่วมกันในการที่จะช่วยทำให้นักศึกษาเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ....คิดว่า วันอังคารนี้ จะลองให้ ปี 4 เขียนสรุปการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติงานในชุมชนเป็น Mapping บ้าง อยากรู้จังว่าผลจะเป็นอย่างไร ขออนุญาต นำวิธีการไปใช้ดูบ้างนะครับ ...ผลเป็นอย่างไร จะเล่าให้อ่านนะครับ..ฮิฮิ

รู้สึกดีนะคะ.....ที่มีอาจารย์หลายท่านนำmapping มาใช้  นศ.หลายคนทำ mapping ได้ดี สามารถนำมาวางแผนการพยาบาลได้ครอบคลุม mapping ยังช่วยในการconference  ประเมินการคิด การเชื่อมโยงของนศ.ได้ ทั้งยังประเมินการรวบรวมข้อมูล และการนำข้อมูลมาใข้ได้ดีอีกด้วยค่ะ

ได้ให้นักศึกษาปี 4 สรุปผลการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้จากฝึกปฏิบัติงาน ผลปรากฎว่านักศึกษาสามารถสรุปการเรียนรู้ได้อย่างน่าพอใจ เมื่อให้นักศึกษาอธิบาย Mapping ของตนเอง นักศึกษาสามารถอธิบาย ประสบการณ์ การเรียนรู้ของเขาได้อย่างเป็นระบบ นักศึกษายังบอกอีกว่า Mapping ช่วยให้เขาคิดอย่างเป็นระบบ และมีการทบทวนการคิด ก่อนที่จะเขียนลงไปว่า การเรียนรู้หรือประสบการณ์นั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร มันทำให้การนำเสนอผลงานของเขาเป็นระบบมากขึ้น นับว่าเป็นวิธีการที่ดี และหากให้นักศึกษาได้ทำบ่อยๆ น่าจะช่วยให้นักศึกษาเกิดทักษะการคิดอย่างเป็นระบบได้ดียิ่งนั้น

หายไปนาน กลับมามี Map สวย ๆ ของนักศึกษา มา Show นะ สวยมาก นักศึกษา สนุกที่จะทำ มาส่ง พออาจารย์ Comment กลับไปให้แก้ไข เขาก็เห็นประเด็น และพัฒนา Map มาอย่างสวยงาม

http://gotoknow.org/file/nisarat_aooh/mapcarectum.jpg

 

 

เมื่อวาน มีประเดินที่น่าชื่นใจ อย่างหนึ่ง ในการนิเทศ นักศึกษา พบผู้ป่วย ที่ มาด้วย  Large Mass AT  neck ด้านซ้าย ขนาดประมาณ 8*10 cm  นักศึกษา ถามว่า อาจารย์ ใช่ลักษณะของ Neck vein engorgement หรือไม่ค่ะ !! ตอนนี้ตรวจร่างกาย หนูไม่เคยเจอ เลยค่ะ พอเจอเลยแยกไม่ออก สิ่งที่อยากบอก คือ รู้สึกชื่นใจ ที่นักศึกษา ไม่ยอมให้สิ่งที่ผ่านเข้ามาในประสบการณ์ ของเขา ผ่านไปเฉย ๆ แต่สนใจ ที่จะเรียนรู้ และแสวงหาความรู้ ค่ะ อย่างนี้ ครู อยากจะสอน จนใจขาดดิ้น เลย

 

เห็นด้วยกับ อ.นิศารัตน์ อย่างยิ่ง เวลาที่ เราเห็นนักศึกษาสนใจที่จะเรียนรู้มันเป็นเหมือนมีแรงมีกำลังใจที่จะสอน และมีความสุขด้วยเน๊าะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท