อ่านอย่างไรเขียนอย่างไร


อ่านอย่างไรเขียนอย่างไร

 อ่านอย่างไร

         

     ภาษาไทยนับว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญที่สุดซึ่งแสดงให้เห็นความเป็นไทยของเรา   ภาษาไทยมีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน   โดยเฉพาะภาษาเขียนนั้นได้มีภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนอยู่มาก   ทั้งภาษาบาลี   สันสกฤต   มอญ   เขมร   จีน   อาหรับ   และภาษาฝรั่ง   ฯลฯ   บางคำเราก็ออกเสียงตามสำเนียงเดิมของเขา   บางคำก็นำมาปรับใช้ให้เข้ากับลิ้นของเรา    บางคำก็อ่านตามหลักบางคำก็อ่านตามความนิยมหรือบางคำก็อ่านทั้งตามหลักและตามความนิยม   เช่น   ภรรยา   อ่านว่า   พัน-ยา   ( ตามหลัก )   หรือ   พัน-ระ-ยา   ( ตามความนิยม )   ก็ได้   แต่โดยทั่วๆ   ไปแล้วเราควรจะยึดหลักไว้ก่อนเพื่อให้    เกิดเอกภาพในการอ่าน   ราชบัณฑิตยสถานจึงได้รวบรวมคำต่างๆ   ที่มักอ่านกันไม่ถูกต้อง   โดยพิมพ์คำอ่านตามหลัก         ไว้ในลำดับแรก   และคำอ่านตามความนิยมไว้ในลำดับที่      นอกจากนี้ยังได้รวบรวมการอ่านคำวิสามานยนามที่สำคัญ  เช่น  ชื่อจังหวัด   อำเภอ    กิ่งอำเภอ   ( เฉพาะบางจังหวัด )   ถนน   ตรอก   ซอย   ( เฉพาะบางชื่อ )   ในเขตกรุงเทพมหานคร   ชื่อพระอารามหลวงต่างๆ   การอ่านตัวเลข   และการอ่านเครื่องหมายต่างๆ   ไว้ด้วย   ดังนี้

 

                  คำ                                        อ่านว่า

           กกุธภัณฑ์                            กะ-กุด-ทะ-พัน

           กฐินกาล                              กะ-ถิน-นะ-กาน

           กฐินทาน                              กฐินทาน

           กฐินัตถารกรรม                    กะ-ถิ-นัด-ถา-ระ-กำ

           กณิกนันต์                             กะ-นิก-นัน

           กตเวทิตา                              กะ-ตะ-เว-ทิ-ตา

           กรกฎ , กรกฏ                       กอ-ระ-กด

           กรกฎาคม                             กะ-ระ-กะ-ดา-คม,

                                                         กะ-รัก-กะ-ดา-คม

           กลอุบาย                                กน-อุ-บาย

          กามคุณ                                   กาม-มะ-คุน 

 

เขียนอย่างไร

          ระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียนนั้น   ปัญหาที่มีมากที่สุดก็คือ   ภาษาเขียน   ว่าควรจะเขียนอย่างไรจึงจะถูกตามพจนานุกรม   ในการพูดนั้น   แม้จะพูดผิดเพี้ยนกันไปบ้างก็พอฟังเข้าใจ   แต่ในด้านการเขียน   ก่อนที่จะมีปทานุกรมหรือพจนานุกรมออกมาเป็นทางราชการ   คำบางคำอาจเขียนไม่เหมือนกัน  หรือเขียนไม่ตรงกัน   เช่น   คำว่า   ละคร   เดิม   เขียนกันเป็นหลายรูป   คือเขียนเป็น   ละคร   ก็มี   ละคร   ก็มี   ละคร   ก็มี   เพื่อให้เกิดเอกภาพในการเขียนอย่างมาตรฐานเดียวกัน ไม่ลักลั่น   และถูกต้องตามอักขรวิธีของภาษาไทยพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานจึงได้กำหนดให้เขียนเพียงรูปเดียว   คือ   ละคร   เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สนใจการเขียนคำให้ถูกต้อง   ราชบัณฑิตยสถานจึงได้รวบรวมคำที่มักเขียนไม่ค่อยถูกต้องหรือใช้คำที่ผิดความหมายไปจากที่ต้องการเขียน   ดังนี้

 

       คำ                     มักเขียนผิดเป็น

     กงสุล                                กงศุล

     กฎ                                     กฏ

     ข้น                                     ค่น

     ข้นแค้น                             ค่นแค้น

     คณนา                               คณณา

     คทา                                   คธา

     คนโท                               คนโฑ 

     งบดุล                                งบดุลย์

     งึมงำ                                 งึมงัม

     จงกลนี                             จงกลณี

     จระเข้                                จรเข้

     ฉกาจ                                 ฉะกาจ

 

 

             คำ            มักเขียนผิดเป็น

 

            ฉบับ                      ฉะบับ

            ดาดฟ้า                    ดาษฟ้า

            ดารดาษ                 ดารดาด

            ดาวคะนอง            ดาวคนอง

            ดาวดึงส์                 ดาวดึงษ์

            ดาษดื่น                  ดาดดื่น

            ดำรง                      ดำรงค์

            ดุล                         ดุลย์

            นกพิราบ               นกพิราป , นกพิลาป

            นงพะงา                นงพงา

            นนทรี                 นนทรีย์

 

 


       

หมายเลขบันทึก: 217281เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2008 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอข้อมูลอ่านอย่างไรเขียนอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท