บิดอะฮฺในด้านอีบาดะฮฺที่เกี่ยวกับการละหมาดวาญิบ (ละหมาดฟัรดู 5 เวลา)


บิดอะฮฺในด้านอีบาดะฮฺที่เกี่ยวกับการละหมาดวาญิบ (ละหมาดฟัรดู 5 เวลา)

บิดอะฮฺในด้านอีบาดะฮฺที่เกี่ยวกับการละหมาดวาญิบ (ละหมาดฟัรดู 5 เวลา)

 

1. การกล่าวคำนิยัต (อย่างตั้งใจ) ตอนที่จะอาบน้ำนมาซ และตอนที่จะนมาซ การกล่าวคำนิยัตนั้นไม่ว่าจะเป็นตอนอาบน้ำนมาซหรือก่อนที่จะละหมาดนั้นล้วนเป็นบิดอะฮฺทั้งสิ้น

                2. การกล่าวตักบีรโดยการลากเสียงยาวจนถึง 12 หะรอกัต โดยในระหว่างนั้นให้นึกถึงทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับการละหมาด รวมทั้งการการเกาะศอด ตะอัรรุฎ ตะอ์ยิน และอื่นๆ อีกให้พร้อมสรรพ การกระทำอย่างนี้ไม่มีปรากฎในซุนนะฮฺเลย แม้ว่าจะมีหนังสือหลายเล่มที่แต่งขึ้นในสมัยหลังๆนี้ เขียนว่าการกระทำอย่างนั้นเป็นการดีเยี่ยม

3. การที่มะมูมกล่าวตักบีรรอตุลอิห์รอมดังกว่าอีม่ามก็เป็นบิดอะฮฺเช่นกัน

                4. การอ่านกุลอะอูซูบิรอบบินนาส ก่อนกล่าวตักบีรและการกล่าวรอบบิจญ์ อัลนีมุกีมัศเศาะลาตฺ วามินซุรรียะตีจนจบอายะฮฺ

                5. การไม่กล่าวดุอาฮฺอิฟติตาห์ หลังจากตักบีรรอตุลอิห์รอม ซึ่งบรรดาผู้ที่ตามมัซฮับมาลีกีย์นิยมทำกัน

                6. การไม่กอดอกในขณะยืนนมาซ โดยปล่อยมือลงดังที่พวกที่ถือมัซฮับมาลีกีย์ทำกัน ซึ่งเกียวกับเรื่องนี้มีฮะดีษเศาะหิห์หลายบทที่กล่าวกถึงท่านนบีมูฮำมัด (ศ็อล) ว่าท่านได้กอดอกในขณะนมาซ แม้แต่ในหนังสือ มุวัฏฏออ์ ของท่านอีม่ามมาลิกก็กล่าวถึงฮะดีษที่แสดงถึงการกอดอกในขณะยืนนมาซ

                7. การทาบมือที่หน้าท้องด้านซ้าย  เพราะตามซุนนะฮิของท่นนบีให้ทาบที่หน้าอก

                8. การกล่าว อัลลอฮุมมัฆฟิรลีย์ วาลีวาลีดัยยา วาลิลมุสลีมีน หลังจากที่อ่านฟาตีฮะห์จบแล้ว ก่อนที่จะกล่าว อามีน เพาะตามซุนนะฮฺของท่านนบีมูฮำมัด (ศ็อล)ให้มะมูมนั้นกล่าวคำว่า อามีน พร้อมๆกันอีม่าม โดยก่อหน้านั้นไม่ต้องกล่าวคำอะไรเลย

                9. การอ่านอายะฮฺส่วนใดส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานหลังจากอ่านอัลฟาตีฮะห์จบแล้ว เพราะตามซุนนะฮฺให้อ่านซูเราะฮฺใดซูเราะฮฺหนึ่งตั้งแต่ต้นจนจบ หรือจนถึงกึ่งหนึ่งของซูเราะฮฺ ใม่ใช่หยิบเอามาอ่านอายะฮฺใดอายะฮฺอายะฮิหนึ่งของซูเราะฮฺ

                ท่านนบีมูฮำมัด (ศ็อล) เคยอ่านอายฮฺเดียวหลังจากอ่นอัลฟาตีฮะห์ ในนมาซซุนนะฮฺซบฮีเท่านั้นส่วนที่ว่าผู้ใดอ่าน ซูเราะฮฺอาลัมนัสเราะฮฺ และ อาลัมตารอกัย ในนมาซซุบฮีและมัฆริบ แล้วโรคภัยไข้เจ็บจะไม่เข้าไกล้นั้นเป็นฮาด๊ษที่ไม่ถูกต้อง ตามซุนนะฮฺท่านนบี (ศ็อล) อ่านอายะฮฺ กูลูอามันนาบิลลาฮี วามา อุนซิลาอีลัยนา  จนจบอายะฮฺ ในรอกะอัตแรก ในนมาซซุนนะซุบฮี และอายะฮฺ กุลยาอะฮฺลัลกีตาบิ ตะอาเลา อิลา กาลีมาตินสาวาอิน จนจบอายะฮฺ หรือท่านนบี (ศ็อล) อ่านอายะฮฺ อัล-กาฟิรูน ในรอกะอัตแรกในนมาซดังกล่าว และอ่านซูเราะฮฺ อัล-อิคลาส ในเราะกะอัตที่สอง

 

                10 การอ่านกุนุต ในนมาซซุบฮี โดยสม่ำเสมอตลอดไป เพราะฮะดีษที่กล่าวถึงการอ่านกุนุตโดยตลอดไปนั้นเป็นฮาดีษที่มีหลักฐานอ่อนที่สุด ไม่มีฮะดีษเศาะหีห์บทใดที่กล่าวถึงท่านนบี (ศ็อล) ว่าท่านได้กระทำกุนุตมาโดยตลอด ด้วยเหตุนี้บรรดาสาวกกลุ่มหนึ่งได้กล่าวว่า การทำกุนุตโดยสม่ำเสมอตลอดไปนั้นเป็นบิดอะฮฺ และการคว่ำฝามือขณะที่อ่นถึงตอน ลายาซิลลุมันวาลัยต์ นั้นเป็นบิดอะฮฺอย่างยิ่ง

                11. การตักบีรด้วยการลากเสียงยาวตอนที่จะลงสุญูด และตอนที่จะขึ้นจากสูญุดสู่อิริยาบทยืน เพราะว่าตามซุนนะฮฺเสียงตักบีรตอนที่จะลงจากอิริยาบทยืนสู่อิริยาบทสูญูดนั้น ให้จบลงในระหว่างกึ่งกลาง และจากอิริยาบทสูญุดสู่อิริยาบทยืนนั้นก็ให้จบในระหว่างกึ่งกลางเช่นกัน

                12. การกล่าว วาบีฮัมดิฮฺ ในตัสบีห์รูกูห์ และในตัสบีห์สูญุด เพราะในฮะดีษเศาะหิห์และในฮาดีษฮาซันไม่ได้ระบุถึงการกล่าวถึงคำ วาบีฮัมดิฮิ แต่อย่างใด

                13. การเพิ่มคำว่า ซัยยีดีนา ในเศาะลาวาต หลังจากที่ได้กล่าวตะชะฮฮุดจบแล้ว ซึ่งการกล่าวเช่นนี้ไม่มีปรากฏในฮะดีษจากท่านนบี ศ็อลฯ เลย คือแทนที่จะกล่าว อัลลอฮฺฮุมมาศ็อลลีอาลามุฮำมัด กลับเพิ่มคำว่า อัลลอฮฺฮุมมาศ็อลลีอาลา ซัยยีดีนา มุฮำมัด เป็นต้น

                14. การอ่านอัสอะลุกัล-เฟาซะ บิลญันนะฮฺ หลังจากให้สลามข้างขวา หรือ การกล่าวคำว่า อะอูซูบีกามีนันนาร หลังจากให้สลามหันไปข้างซ้าย

                15. การลูบหน้าหลังจากนมาซเสร็จ ก็เป็นบิดอะฮฺเช่นกัน

                16. การกล่าวอิสติฆฟารพร้อมๆกัน ด้วยเสียงดังๆ เพราะตามซุนนะฮฺนั้นให้ต่างคนต่างอ่านอย่างเบาๆ

                17. การอ่านซุบฮานะมันลาญานาวาลายัสฮู ในสูญุดสะห์วี คือการสูญุดเนื่องจากลืมอย่างใดอย่างหนึ่งในนมาซ เพราะเรื่องนี้ไม่มีปรากฏในฮะดีษของท่นนบีมูฮำมัด (ศ็อล) นอกจากพบในฝันของซูฟีคนหนึ่งเท่านั้น

                18. นมาซซุฮฺรีหลังจากนมาซวันศุกร์ มีหลักฐานอย่างมากมายที่แสดงถึงความเป็นบิดอะฮิของการนมาซซุฮฺรี หลังจากนมาซวันศุกร์ แต่ก็มีผู้คนบางพวกที่ยังทำกันอยู่ โดยพวกเขาถือว่า การละหมาดซุฮฺรีหลังจากนมาซวันศุกร์นั้นเป็นนมาซ อิอาดะฮฺ

                19. การอ่นซุเราะฮฺ อัล- อิคลาส  ซูเราะฮฺ อัล-ฟาลัค  และซูเราะฮฺ อัน-นาส  อย่างละ 7 ครั้งหลังจากนมาซวันศุกร์นั้นก็เป็นบิดอะฮฺ ฮะดีษที่กล่าวถึงให้กระทำ อะมัล เช่นนี้เป็นฮาดีษที่อ่อนหลักฐาน  และการอ่านดูอาร์ต่อไปนี้หลังจากนมาซวันศุกร์อย่างสม่ำเสมอก็เป็นบิดอะฮฺเช่นกัน คือ อัลลอฮฺ ฮุมมายา ฆอนีนียุยาหะมีด ยามุบดิอุ ยามุอีด  อัฆนะบี บิหะลาลีกะฮฺ วะบิฟัฎลีกะฮฺ อัมมัน สิวากะ  อุลามาอฺบางท่านมีความเห็นว่า ผู้ใดอ่นดุอ่ร์ดังกล่าว 70 ครั้ง หลังจากนมาซวันศุกร์แล้ว อัลลอฮฺจะทรงให้เขาร่ำรวย  และจะทรงให้ปลดเปลื้องหนี้สินของเขา  ความเห็นแบบนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องขอหลักฐานจากเขาที่แสดงว่า ความเห็นของเขานั้นเป็นความจริง

                การอ่านกุล ฮุวัลลอฮิ  1.000 คั้งในวันศุกร์ไม่มีฮะดีษใดที่พอจะยึดถือเป็นหลักฐานได้ หะดีษที่ว่าผู้ใดอ่านซูเราะฮฺ อัล-อิคลาส กุลฮุวัลลอฮฺ 1.000 คร้ง อัลลอฮิจะทรงให้เขาปลอดภัยจากไฟนรกนั้นเป็นเป็นฮะดีษปลอมที่เล่าโดยผู้พูดเท็จ ผู้ที่เชื่อถือไม่ได้  การถือหะดีษโดยรู้ว่าผู้เล่าเป็นผู้เชื่อถือไม่ได้นั้น ถือเป็นหะรอม ที่ท่านนบีมูฮำมัด (ศ็อลฯ) ให้เราอ่านในคืนวันศุกร์ ก็คือสูเราะฮฺ อัล-อิมรอน อัล-กะฮฺฟี และศอลาวาตแด่ท่านนบี (ศ็อลฯ)ให้มาก  ตลอดจนให้อาบน้ำแต่งตัวให้สะอาด ส่งเสริมให้ใช้ของหอม แล้วให้รีบไปมัสยิด  เป็นต้น

20. การกำหนดว่าการนมาซวันศุกร์นั้นต้องนมาซในมัสยิดเท่านั้น และการกำหนดว่าถ้าผู้มานมาซไม่ครบ 40 คนจะทำนมาซวันศุกร์ (ญุมอะฮฺ) ไม่ได้-ไม่เศาะฮฺ  ทีจริงไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างนมาซวันศุกร์กับนมาซอื่นๆ เว้นแต่ ในนมาซวันศุกร์นั้นต้องมีคุตบะฮฺเท่านั้น

21. การอ่านกุลฮุวัลลอฮิ 3 ครั้ง  ในขณะนั่ง ระหว่าง 2 คุฏบะฮฺ  ตามฮะด๊ษที่เศาะหีห์ กล่าวว่าท่านนบีมูฮำมัด (ศ็อลฯ) หยุดนั่งเพียงครู่เดียวเท่านั้นในระหว่าง 2 คุฎบะฮฺ  การกล่าวคุฎบะฮฺที่ 2  ด้วยการศอลาวาตและดุอาร์ต่อผู้นำ โดยไม่ได้บรรจุคำสอนและตักเตือน ก็เป็นบิดอะฮฺ คุฎบะฮฺของท่านนบีไม่ได้ทำในรูปแบบนี้

22. การจบคุฎบะฮฺด้วยคำว่า อุซกุรุลลอฮฺ ฮะ อัซกุรกุม หรือคำว่าเอ็นนัลลอฮิ ยะมีรุ บิลอดลีย์วัลอิฮิสาน โดยตลอดก็เป็นบิดอะฮฺ  เพราะในศตวรรษแรก ๆ เคาะฎีบจะจบคุตบะฮฺด้วยคำว่า อะกูลูเกาลีฮาซา  วัซตัฆฟิรุลลอฮฺลีวาลากุม

22. ไม่เห็นถึงความสำคัญในการละหมาดย่อ (นมาซกอซัร) ในระหว่างเดินทาง ซุนนะฮฺอันนี้ผู้คนไม่ค่อยเอาใจใส่มากนัก แม้แต่อุลามาอฺก็ไม่ค่อยบอกกล่าวให้นมาซย่อ ทั้งๆ ที่ในฮาดีษที่บันทึกโดยอีหม่าม อะฮฺมัด  อิบนุ อุมัร  ได้รายงานว่า  ท่านนบี (ศ็ฮลฯ) ได้กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงชอบให้เรากระทำการงานที่พระองค์ทรงลดหย่อนให้ง่ายลง และตามบันทึกของอันนะสาอีย์ ท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวว่า อัลลอฮิทรงใช้ให้เรานมาซ 2 รอกะอัตเท่านั้นในระหว่างเดินทาง หมาถึง นมาซที่มี 4 รอกะอัต คือ ซุฮรี อัสรี และอีซา ให้ละหมาดอย่างละ 2 รอกะอัตเท่านั้น ส่วนนมาซ ศุบฮีและมัฆริบจะละหมาดย่อไม่ได้ ใหละหมาดตามปกติ ท่านนบี (ศ็ฮลฯ) ได้กล่าวอีกว่า การนมาซย่อนั้นเป็นของที่ประทาน (ศอดาเกาะฮฺ)  จากอัลลอฮฺที่ทรงประทานให้แก่เราซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องรับ

23. การเช็ดศรีษะ  ให้ถูกส้นผมไม่กี่เส้นที่ทำวูฎุอ์  (อาบน้ำนมาซ)  เพราะว่าตามซุนนะฮิของท่านนบี (ศ็อลฯ) คือให้ลูบทั่วศรีษะ หรือลูบส่วนหนึ่งของศรีษะ หรือลูบไปบนผ้าโผกศรีษะ (ถ้าโผกผ้าสัรบันอยู่)

24. ลูบศรีษะ 3 ครั้ง เพราะว่าตามซุนนะฮฺแล้วท่านนบี  (ศ็อลฯ)  ลูบเพียงครั้งเดียวพร้อมเช็ดทั้งใบหูด้วย  โดยไม่ต้องจุมมือในน้ำอีก

25. ทำตะยัมมุมตอนลูบมือ  ลูบจนถึงข้อศอก และมือตบดิน 2  ครั้ง  ตามหะดีษเศาะเหี๊ยะฮฺ  การเอามือตบที่พื้นดิน เพื่อทำตะยัมมุมนั้นให้ตบเพียงครั้งเดียว ให้ลูบหน้าและมือจนถึงข้อศอก

26. ไม่ตอบรับอาซาน  เมื่อมุอัซซินได้ทำการอาซานดังที่ท่านนบี  (ศ็อลฯ)  ได้สั่งไว้

27. การกล่าวอาซานด้วยลีลา และทำนองสูงๆ  ต่ำๆ หรืออาซานด้วยการลากเสียงยาวๆ

28. ละทิ้งอาซานครั้งแรกในนมาซศุบหฺ  เพราะตามซุนในการนมาซซุบหฺอะซาน 2 ครั้ง อาซานครั้งแรกก่อนเข้าเวลานมาซศุบหฺเล็กน้อยอะซานครั้งนี้ให้เติมคำว่า อัศ-เศาะลาตุค็อยรุม มินันเนาวม์  อะซานครั้งที่ 2  เมื่อเข้าเวลานมาซแล้ว อะซานครั้งนี้ไม่ต้องกล่าวคำว่า อัศ-เศาะลาตุค็อยรุม มินัน เนาวม์

29. อะซานในมัสยิดวันศุกร์ต่อหน้าคอฎีบ  หรือไกล้ ๆ มิมบัรและอ่านตัรกียะฮฺ  คือ ซิกรฺ  ชฺญคอฎีบไปบนมิมบัรและกล่าวคำว่า  อินนัลลอฮฺ ฮะวามาลาอีกาตูฮูยุศอลลูนะอาลันนบี  จนจบ  แล้วต่อด้วยฮะดีษที่ว่าผู้ใดพูดจากันในขณะคอฎีบกล่าวคฎบะฮฺการนมาซของเขาสูญเปล่าไม่ได้ผลบุญอะไรเลย  ตามซนนะฮิให้อาซานที่ประตูมัสยิด หลังจากที่คอฎีบได้ให้สลามและนั่งลงบนมิมบัรแล้ว

30. การกล่าว อามีนด้วยเสียงดังตอนที่คอฎีบขอดุอาอฺในคุฎบะฮฺ

31. นมาซซุนนะฮฺ กอบลียะญุมอัต  คือการละหมาด 2  รอกอะฮฺ  หลังจากอาซานครั้งแรก 

หมายเลขบันทึก: 217255เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2008 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
แลกเปลี่ยนเรียนรู้

โปรดนำความรู้ดีๆ เขียนมาให้อ่านอีกนะครับ

ขอบคุณ

2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ขอบคณุมากๆเลยขอให้บังมาให้ความรู้อย่างนี้เรื่อยๆๆน่ะ

จากที่ไม่เคยรู้ก้อได้รู้ชอบมากรู้สึกว่าเส้นหยักในสมองมันเพิ่มขึ้นมาอีกแล้ว

ขอบคณุที่มอบสิ่งดีๆและความรู้ตามแบบฉบับของท่านนบี

ขอให้อัลลอฮทรงตอบแทนคณุงามความดีน่ะค่ะ

..............อามีน..................

เป็นความรู้ที่มีประโยชน์มาก

รู้แค่นี้เองเหรอ ฮาดิษเรียนหมดทุกเล่มหรือยัง

หลักฐานการกอดอกในนมาซแข็งแรง ศอฮีฮ์ เชื่อถือได้จริงหรือ ? ไม่เลย เพราะอะไร โปรดอ่าน !

เป็นที่รู้กันว่า ๑ใน ๔ มัซฮับ ของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์นั้นจะยืนนมาซปล่อยมือเหยียดตรงตามระนาบขาเหมือนกับชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลก เมื่อเราไปเห็นคนยืนนมาซปล่อยมือในเทศกาลฮัจญ์ค่อนข้างจะหนาตากว่าพวกที่ยืนกอดอก แต่ก็เอาเถอะ แบบไหนจะมากกว่ากัน บางครั้ง ก็มิใช่สิ่งชี้วัดความถูกผิดในหลักการได้เสมอไป

แต่ในสังคมของพี่น้องอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ในบ้านเมืองของเรานี่ซิ จะมีเสียงซุบซิบถามกันอยู่บ่อยว่า ทำไมพวกชีอะฮ์จึงนมาซปล่อยมือ ? ทั้งนี้ เพราะพวกเขาลืมไปว่า ในทำนองเดียวกันนี้ สังคมของชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ ก็จะซุบซิบถามกันอยู่เหมือนกันว่า ทำไมพวกซุนนีจึงนมาซกอดอก ?

ถ้าเราลองเปิดตำราฮะดีษอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ จะมีอยู่ฮะดีษหนึ่ง ที่บรรดาท่านครูสายอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ถือว่า เป็นฮะดีษหนึ่งที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากที่สุด และเป็นหลักฐานที่มาของการเอามือกอดอกในเวลายืนนมาซของคนจำนวนหลายพันล้านคนสืบต่อมา ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

จริงๆแล้ว ในสังคมพี่น้องอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ จะมีความแตกต่างและขัดแย้งกันเอง ในเรื่องการยืนนมาซกอดอก เพราะถึงแม้ว่าดูเผินๆจะเห็นว่า กอดอกด้วยกันก็จริงอยู่ แต่ในความเป็นจริง ท่ากอดของแต่ละกลุ่ม แต่ละคณะ แต่ละครู จะแตกต่างคลาดเคลื่อนกันไป ทำให้มองดูแล้วไม่มีความเป็นเอกภาพ

และนี่คือ สิ่งบ่งชี้ว่า การเอามือกอดอกในนมาซ ต้องมิใช่ซุนนะฮ์ของท่านนบี(ศ)อย่างแน่นอน

บางคนเอามือกอดอก แล้วถ่างขาออกกว้าง แล้วเผยอยกไหล่ ยกข้อศอกให้ขนานกับพื้น บางคนหย่อนข้อศอกให้ราบลงหน่อย ฯลฯ ในแต่ละมัสยิดของพี่น้องอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เราจะพบท่ายืนกอดอกในนมาซของพี่น้องของเราสารพัดรูปแบบ และล้วนมีวิธีการที่แตกต่างและขัดแย้งกัน ราวกับพวกเขามิใช่มัซฮับเดียวกัน

จากหนังสือ “สุบุลุสสลาม” รวบรวมโดย “ซัยยิด อิมาม มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล อัล กะห์ลานี –อัศศ็อนอานีย์ มะอ์รูฟ บิล อะมีร (ฮ.ศ ๑๐๕๙-๑๑๘๒)บันทึกรายงานฮะดีษบทหนึ่งจาก วาอิล อิบนุ ฮุจญร์ กล่าวว่า ข้าพเจ้าเคยได้นมาซร่วมกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) ท่านได้วางมือขวาลงบนมือซ้าย แล้ววางลงบนทรวงอกของท่าน” บันทึกฮะดีษนี้โดยอิบนุคุซัยมะฮ์ ส่วนทางด้านหนังสือ “สุนันอะบูดาวูด” และ “อันนะซาอีย์” บันทึกว่า “หลังจากนั้นท่าน(นบี ศ็อลฯ)ได้วางมือขวาของท่านลงบนหลังฝ่ามือซ้ายและข้อต่อของข้อมือ”

เจ้าของหนังสือ สุบุลุสสลาม ระบุต่อไปว่า ฮะดีษนี้แหละเป็นหลักฐานในการวางกฎเกณฑ์ดังกล่าวขึ้นในนมาซและตำแหน่งที่วางมือก็คือ ทรวงอก ตามที่ฮะดีษนี้ให้ความหมาย

อิมามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัลมินฮาจญ์”ว่า มีรายงานฮะดีษระบุให้ วางมือลงที่ข้างล่างทรวงอก เขาได้กล่าวไว้ใน “ชะเราะฮ์อันนัจมุลซะฮาจญ์”ว่า ตามรูปประโยคของบรรดาอัศฮาบ คือ ให้วางมือข้างล่างทรวงอก ส่วนฮะดีษที่ใช้ประโยคว่า “ให้วางบนทรวงอก” นั้น เขากล่าวว่า คนเหล่านี้ใช้คำพูดคลาดเคลื่อนเล็กน้อย ทั้งนี้มีท่านเซด บิน อะลีและอะห์มัด บิน อีซาให้ทัศนะไปตามกฎเกณฑ์นี้ด้วย

ส่วนอะหมัด บิน อีซานั้นได้นำรายงานฮะดีษของวาอิลบทนี้ บันทึกต่อไป ในหนังสือ “อัลอามาลี” จากนั้น พวกที่ตักลีดมัซฮับชาฟิอีย์และฮะนะฟีย์ ก็ได้นำไปปฏิบัติตาม และนี่คือ ที่มาสำหรับการกอดอกในนมาซ สำหรับพี่น้องชาวอะห์ลิซซุนนะฮ์บ้านเรา

อย่างไรก็ตาม ในหนังสือสุบุลุสสลาม เล่ม ๑ หน้า ๑๖๙ ระบุว่า นักปราชญ์ซุนนะฮ์ท่านหนึ่ง ชื่อ “อัลฮาดูวียะฮ์” ได้ให้ทัศนะแย้งว่า ในความเป็นจริงไม่มีกฎเกณฑ์ข้อนี้แต่อย่างใด และถือว่า การเอามือกอดอกจะทำให้นมาซบาฏิล(โมฆะ)ด้วยซ้ำไป

เนื่องจากการเอามือขึ้นไปวางในตำแหน่งใดๆตามร่างกาย ถือเป็นการทำงานอย่างหนึ่งในนมาซ ซึ่งการทำงานใดๆในเวลานมาซนั้น ทำให้นมาซเป็นโมฆะ และการเอามือขึ้นไปวางไว้บนทรวงอก ถือเป็นการทำงาน “ประเภทที่กระทำมาก” (นำส่วนที่มิใช่แบบอย่างของท่านนบี(ศ)เข้ามาเพิ่มเติมในนมาซ)

ส่วนอิบนุอับดุลบัร กล่าวว่า ถ้าเป็นหลักปฏิบัติจากท่านนบี(ศ)จริงๆ จะต้องไม่มีความขัดแย้งกันแบบนี้ แต่รายงานนี้ มีการขัดแย้งกันอย่างเห็นได้ชัด (วางข้างบน – วางข้างล่างทรวงอก)และนี่คือ คำกล่าวของญุมฮูรทั้งศอฮาบะฮ์และตาบิอีน

อิบนุอับดุลบัร ได้กล่าวต่อไปว่า และนี่คือ สิ่งที่อิมามมาลิกกล่าวไว้ในหนังสือ "อัลมุวัฏเฏาะอ์" ทั้งอิบนุอัลมันซุรและท่านอื่น ก็มิได้อ้างจากท่านอิมามมาลิกไปเล่าเป็นอย่างอื่น แต่มีรายงานจากท่านอิมามมาลิก ระบุว่าให้ปล่อยมือ และได้มีผู้ปฏิบัติตามท่านเป็นจำนวนมาก

แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีการเขียนฮะดีษปลอมอีกจำนวนหนึ่งเพื่อสนับสนุน โดยระบุว่า รายงานจากศอฮาบะฮ์บางท่าน เรื่องนมาซกอดอก ทำราวกับว่า หลังจากสิ้นสมัยท่านศาสดา(ศ)แล้ว พวกเขาหยุดนมาซกันจนลืม ไปนานหลายปี แล้วเพิ่งมารื้อฟื้น ทบทวนความจำกันใหม่ ในเรื่องการทำนมาซ ! เลยต้องสืบสวนกันว่า ทำนมาซกันอย่างไร !

หลักการปลีกย่อย(ฟุรูอ์)จากฝ่ายอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ มักจะเป็นมาแบบนี้ทั้งสิ้น เพราะไม่มีการยอมรับบรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ)ซึ่งเป็นเจ้าของแนวทางที่แท้จริง

ส่วนในสายรายงานของนักปราชญ์ชีอะฮ์อิมามียะฮ์ ได้อธิบายเรื่องนี้ตรงกันเป็นเอกฉันท์ เหมือนกับทุกเรื่องในหลักการศาสนา เพราะไม่มีอะไรมืดมน และสับสนสำหรับบรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ) ยิ่งเป็นเรื่องนมาซด้วยแล้ว จะมีความชัดเจน และยิ่งใหญ่เกินกว่าจะเป็นปัญหาให้คนรุ่นหลังเกิดความเคลือบแคลง สงสัย และคลุมเครือได้

ฉะนั้น เรื่องนมาซในสายรายงานของชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ จะไม่มีทัศนะของฟุกอฮาอ์ท่านใดเข้ามาก้าวก่าย เพราะมิใช่เรื่องที่จำเป็นต่อการให้ทัศนะ และไม่ขึ้นอยู่กับการใช้ความคิดเห็นของนักปราชญ์คนใด

เพราะการนมาซ เป็นสิ่งปรากฏในสายตาของบรรดาอิมามแห่งอะห์ลุลบัยต์(อ)ตั้งแต่อ้อนออก ท่านอะลี บิน อะบี ฏอลิบ(อ)อยู่กับท่านนบี(ศ)ตั้งแต่เด็ก ท่านไม่เคยขาดนมาซแม้เวลาเดียว ท่านนมาซตามหลังท่านศาสดาตั้งแต่เยาว์วัย

ฉะนั้น ชีอะฮ์อิมามียะฮ์ จึงไม่อาศัยรายงานบอกเล่าจากวาอิล คนเพิ่งมาเข้าอิสลามใหม่ทีหลัง หรือจากการรายงานของศอฮาบะฮ์คนใดเกี่ยวกับวิธีการทำนมาซของท่านศาสดา(ศ)

บรรดานักปราชญ์ของชีอะฮ์ อิมามียะฮ์จึงมีคำฟัตวาเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน ในกรอบเดียวกันมาทุกสมัยว่า ต้องยืนตรง ตามรูปแบบที่เป็นข้อกำหนดจากอัล-กุรอาน ที่ใช้คือว่า กิยาม คือ การยืนตรง หมายถึง ทุกอวัยวะในเรือนร่างจะต้องเหยียดตรง ทั้งยังมีหลักฐานประกอบจากฮะดีษที่รายงานโดยอิมามญะอ์ฟัร ศอดิก(อ)ด้วยบทหนึ่ง เป็นฮะดีษสั้นๆ ตามที่มีบันทึกใน ฟุรูอุลกาฟีย์ บอกว่า “ให้ยืนนมาซโดยปล่อยมือเหยียดตรงตามระนาบขาทั้งสองข้าง”

แม้ในกลุ่มผู้รู้อะฮ์ลิซซุนนะฮ์เอง(นอกจากกลุ่มวะฮาบีย์)ในสมัยหลังมานี้ เราจะเห็นว่า นอกจากกลุ่มวะฮาบีย์แล้ว ไม่ค่อยจะยึดติดกับการกอดอกในนมาซกันเท่าไหร่นัก และนักปราชญ์ระดับมุฟตีของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์หลายฝ่าย หันมายอมรับหลักฐานการปล่อยมือในนมาซมากขึ้น สังเกตเห็นได้ชัดในเวลาที่เราไปประกอบพิธีฮัจญ์

แล้ว“วาอิล อิบนุ ฮุจญร์” เจ้าของรายงาน หรือบุคคลต้นเรื่อง “เอามือกอดอก” นั้นเป็นใคร ?

ปู่ของวาอิลชื่อ รอบีอะฮ์ เป็นชาวฮัฎรอมีย์ บิดาของเขา มาจากเชื้อสายกษัตริย์แห่งเมืองฮัฎรอเมาต์ “วาอิล” เข้ามาเป็นแขกของท่านนบี(ศ)แล้วเข้ารับอิสลาม อย่างไรก็ตาม ชีวประวัติของเขาได้ถูกเขียนขึ้นอย่างเลิศหรู สาเหตุเพราะเขาเป็นคนที่สวามิภักดิ์ต่อมุอาวียะฮ์ นักบันทึกฮะดีษกลุ่มหนึ่งจะยอมรับรายงานจากคนผู้นี้ ยกเว้นบุคอรี

แต่อย่างไรก็ตาม รายงานการเอามือกอดอก ยังมีที่มาสับสนหลายกระแส ไม่คงที่ เพราะไม่มีหลักฐานแน่นอน บ้างก็ว่า ได้มาจากท่ายืนกอดมือแสดงทำความเคารพของพวกเชลยสงครามเมื่อสมัยไปบุกพิชิตเปอร์เซีย

บ้างก็ว่าเป็น “บิดอะฮ์ฮะซะนะฮ์” ของอุมัร บิน ค็อฏฏ็อบ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อครั้งที่ท่านรู้สึกประทับใจ ที่ได้เห็นท่าทำความเคารพของทหารเชลยเหล่านั้น

ท่านจึงสั่งให้มุสลิมเอามือกอดอกในเวลานมาซ และก็คงทำนองคล้ายๆกับเรื่องนมาซตะรอวีฮ์ ที่ท่านเป็นคนคิดทำเป็นรูปแบบญะมาอะฮ์(แต่ท่านเองมิได้ทำด้วย) รวมถึงการเติมประโยคทองของท่านเข้าไปใน “อะซาน" บอกเวลานมาซศุบฮ์ นั่นคือ ประโยคบิดอะฮ์ที่เราได้ฟังกันจนชินหู ตามประโยคนั้นท่านได้ประเมินค่าการนมาซ ว่า “ดีกว่านอน”

อนึ่ง ขอขอบคุณคุณน่าชมเชยจาก mureed.com สำหรับข้อมูลความสับสนเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักฐานเรื่องตำแหน่งการวางมือ(หน้าอก-สะดือ) ที่ได้ส่งเข้ามาร่วมเสนอ ดังนี้

รายงานจากก่อบีเซาะฮ์ บิน ฮุลบ์ จากบิดาของเขา ซึ่งเขาได้กล่าวว่า "ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้เป็นอิมามนำละหมาดพวกเรา โดยท่านได้เอามือขวาจับมือซ้าย" ท่านติรมีซีย์กล่าวว่า ในเรื่องนี้ได้รายงานจาก วาอิล บิน ฮุจญฺร์ , ฆู่ฏัยฟ์ บิน อัลฮาริษ , อิบนุอับบาส , อิบนุมัสอูด , ซะฮ์ บิน สะอัด และท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า ฮะดิษของ ฮุลบ์ นี้ ฮะซัน และการปฏิบัติกรณีนี้ เป็นทัศนะของนักวิชาการจากบรรดาซอฮาบะฮ์ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม , บรรดาตาบิอีน , และบรรดาปราชญ์หลังจากพวกเขา ได้เห็นชายผู้ละหมาดคนหนึ่งทำการเอามือขวาวางบนมือซ้ายในละหมาด พวกเขาบางส่วนเห็นเขาเอามือทั้งสองวางเหนือสะดือ และพวกเขาบางส่วนเอามือทั้งสองวางใต้สะดือ ซึ่งสิ่งดังกล่าวทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องที่กว้างขวางตามทัศนะของพวกเขา" ดู สุนันอัตติรมีซีย์ ฮะดิษลำดับที่ (253)

เท่ากับเป็นการยืนยันความถูกต้องให้กับชีอะฮ์อิมามียะฮ์ ในการปล่อยมือมากขึ้น เพราะเนื่องจากเหตุผลที่ฝ่ายมีหลักฐานปล่อยมือ ไม่มีความขัดแย้งกันในเรื่องนี้เลย

(๒)

หลังจาก www.yomyai.com นำเสนอ "ทำไมจึงกอดอกในนมาซ" ตอนแรกผ่านไปไม่กี่ชั่วยาม ก็ปรากฏว่า มีผู้พบ

ข้อความภาษาอาหรับตามปรากฏข้างล่างนี้จากกระดานสนทนาเว็บไซต์ของพวกวะฮาบีย์ โดยบุคคลผู้ใช้ชื่อ ว่า อาจารย์ยูซุฟ ศรีมาลา ซึ่งท่านอาจคัดลอกมาจากเว็บไซต์ใดก็เป็นได้ แต่น่าสังเกตว่า ท่านนำมาวางทิ้งไว้เฉยๆโดยไม่ทราบสาเหตุ และก็มิได้แปลให้เป็นภาษาไทยให้ชาวบ้านได้รู้ความหมายด้วยแต่อย่างใด อาจด้วยเหตุผลความจำเป็นเฉพาะตัวบางประการของท่านเอง หรือหวังแค่ให้คนที่พอรู้ภาษาอาหรับอยู่บ้าง อ่านเอาเอง แล้วให้เขาเหมาเข้าใจเอาเองว่า นี่คือหลักฐานการกอดมือที่ศอฮีฮ์ มาจากท่านนบีศ็อลฯอย่างแท้จริง

แต่สำหรับคนที่อ่านและหาความรู้ด้วยวิจารณญาณ ก็จะสามารถเข้าใจนะครับว่า ที่แท้คำอธิบายเหล่านี้ เป็นความรู้ ความเข้าใจของคนเขียนเอง ที่บอกเล่าสืบต่อกันมาในฝ่ายของตนเอง โดยไม่เคยนำพาต่อหลักฐานแย้ง และไม่เคยนำหลักฐานนี้ไปพิสูจน์กับการวิพากษ์ การตรวจสอบ วิเคราะห์อย่างจริงจัง ทั้งในด้านสายสืบ(สะนัด)และในด้านตัวบทที่มา(มะตัน)และ ยังไม่เคยเปรียบเทียบ,ชั่งน้ำหนักกับริวายะฮ์ บทรายงานที่ให้นมาซปล่อยมือ เพื่อจะได้พิจารณาดูกันอย่างอิสระว่า อันไหนน่าจะมีน้ำหนักกว่า อันไหน น่าจะให้ความน่าเชื่อถือมากกว่า

ผมจะขออาสาแปลให้ เอาแค่พอรู้เรื่องก็พอนะครับ ตั้งแต่ประโยคเริ่มต้นเลยทีเดียว เราลองมาดูกันนะครับ

قبض اليدين في الصلاة يعني : وضع اليد اليمنى على اليسرى في حال القيام سنة من سنن الصلاة ثابتة عن النبي صلى الله عليه وسلم ، وقال بها جماهير أهل العلم . قال ابن قدامة رحمه الله : " أما وضع اليمنى على اليسرى في الصلاة : فمن سنتها في قول كثير من أهل العلم , يروى ذلك عن علي وأبي هريرة والنخعي وأبي مجلز وسعيد بن جبير والثوري والشافعي وأصحاب الرأي , وحكاه ابن المنذر عن مالك

การกอดมือในนมาซ หมายถึง การวางมือขวาบนมือซ้าย ในเวลายืนตรง เป็นสุนัตอย่างหนึ่ง จากส่วนที่เป็นสุนัตต่างๆของนมาซที่ยืนยันมาจากท่านนบี(ศ) และบรรดาผู้รู้หลายกลุ่ม(ของชาวซุนนะฮ์)ได้กล่าวอย่างนี้ อิบนุกุดดามะฮ์(ร.ฮ)กล่าวว่า สำหรับการวางมือขวาบนมือซ้ายในนมาซ นั้น เป็นแบบอย่างหนึ่งของนมาซ

คำพูดของผู้รู้ส่วนมาก รายงานเรื่องนี้จากอะลี และอะบีฮุร็อยเราะฮ์และนัคอีย์และอิบนุมัจลิซ และสะอีด บิน ญุบัยร์ และอัษเษารี,อัชชาฟิอีย์และบรรดาเจ้าของทัศนะต่างๆ และอิบนุมันซุรบอกเล่าเรื่องนี้มาจากมาลิก,

"المغني" (1/281) . وقال علماء اللجنة الدائمة : " القبض في الصلاة وضع كف اليد اليمنى على اليد اليسرى ، والسدل في الصلاة إرسال اليدين مع الجانبين ، وقد ثبت عن النبي صلى الله عليه وسلم أنه وضع يده اليمنى على اليسرى في الصلاة حال القيام للقراءة ، وحال القيام بعد الرفع من الركوع ، وذلك فيما رواه أحمد ومسلم عن وائل بن حجر رضي الله عنه ( أنه رأى النبي صلى الله عليه وسلم رفع يديه حين دخل في الصلاة وكبر ، ثم التحف بثوبه ، ثم وضع اليمنى على اليسرى ، فلما أراد أن يركع أخرج يديه ثم رفعهما وكبر فركع فلما قال سمع الله لمن حمده رفع يديه فلما سجد سجد بين كفيه ) وفي رواية لأحمد وأبي داود : ( ثم وضع يده اليمنى على كفه اليسرى والرسغ والساعد )

อัลมุฆนีย์(หน้า 281/1) อุละมาอ์กรรมการถาวร กล่าวว่า การกอดมือในนมาซ คือวางมือขวาบนมือซ้าย และการปล่อยมือในนมาซคือการเหยียดตรงมือทั้งสองตามขนาบขาทั้งสอง แน่นอนมียืนยันจากท่านนบี(ศ)ว่าท่านวางมือขวาบนมือซ้ายในนมาซในเวลายืนอ่าน และเวลายืนหลังจากขึ้นจากรุกูอ์(คือกอดทั้งก่อนและหลังรุกูอ์) และนี่คือที่รายงานมาโดยอะห์มัด และมุสลิม จากวาอิล บิน ฮุจร์ (ร.ฎ)ที่ว่า เขาได้เห็นท่านนบี(ศ)ยกมือแล้วตักบีรในเวลาเข้าพิธีนมาซ จากนั้นท่านได้คลุมกับผ้าของท่าน แล้ววางมือขวาบนมือซ้าย เมื่อท่านจะรุกูอ์ท่านก็เอามือออกมา แล้วยกขึ้นพลางกล่าวตักบีร แล้วรุกูอ์ เมื่อท่านกล่าว สะมิอัลลอฮุ มันฮะมิดะฮ์ ท่านได้ยกมือขึ้น เมื่อท่านสุญูด ก็สุญุดลงระหว่างฝ่ามือทั้งสอง” ในรายงานริวายะฮ์ของอะห์มัดและอะบูดาวูด กล่าวว่า “จากนั้น ท่านได้วางมือขวาบนมือซ้ายและข้อมือและแขน”

وفيما رواه أبو حازم عن سهل بن سعد الساعدي قال : ( كان الناس يؤمرون أن يضع الرجل اليد اليمنى على ذراعه اليسرى في الصلاة ) ، وقال أبو حازم : لا أعلمه إلا ينمي – أي : رفعه وينسبه - ذلك إلى النبي صلى الله عليه وسلم . رواه أحمد والبخاري . ولم يثبت عن النبي صلى الله عليه وسلم في حديثٍ أنه سدل يديه وأرسلهما مع جنبيه في القيام في الصلاة " انتهى . "فتاوى اللجنة الدائمة" (6/365، 366) . ثانياً : وأما مكان وضعهما فعلى الصدر . روى ابن خزيمة (479) عن وائل بن حجر رضي الله عنه قال : صليت مع رسول الله صلى الله عليه وسلم ووضع يده اليمنى على يده اليسرى على صدره . صححه الألباني في "تحقيق صحيح ابن خزيمة" . وقال الألباني في "صفة صلاة النبي صلى الله عليه وسلم" (ص 69) : " وضعهما على الصدر هو الذي ثبت في السنة ، وخلافه إما ضعيف أو لا أصل له

ในรายงานของอะบูฮาซิม จาก ซะฮ์ล บิน สะอัด อัซซาอิดีย์ กล่าวว่า “คนทั้งหลายถูกสั่งว่า ให้ผู้ชายวางมือขวาบนแขนซ้ายในนมาซ” อะบูฮาซิม กล่าวว่า ฉันไม่รู้เกี่ยวกับเขา นอกจากเขาได้ส่งเสริมมัน หมายถึง ยกเรื่องนี้ขึ้น และอ้างไปถึงท่านนบี(ศ็อลฯ)เลย รายงานโดย อะห์มัดและบุคอรี

“และไม่มีการยืนยันจากท่านนบี(ศ)ในฮะดีษใดว่าท่านปล่อยมือเหยียดมือสองข้างตามขนาบขาทั้งสองในเวลายืนในนมาซ” (การฟัตวาของกรรมการถาวร เล่ม 6/365,366)

หมายเหตุผู้แปล-กรรมการถาวร ในที่นี้ ผมเองไม่ทราบครับว่า เป็นใคร จากประเทศไหน ถาวรไปจนถึงเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบ ข้อนี้ไม่ทราบจริงๆ

2 ส่วนตำแหน่งที่วางมือ ก็คือบนทรวงอก อิบนุคุซัยมะฮ์รายงาน(479)จากวาอิล บิน ฮุจร์(ร.ฎ)ว่า ฉันได้นมาซกับศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)และท่านได้วางมือขวาบนมือซ้ายบนทรวงอกของท่าน อัลอาบานีให้ความเชื่อถือว่าถูกต้องใน “การวิเคราะห์เพื่อความถุกต้องของอิบนุคุซัยมะฮ์” และอัลบานี ได้กล่าวใน “ซิฟะตุศศอลาติรรอซูลฯ”(ลักษณะการนมาซของท่านนบี(ศ็อลฯ)”หน้า 69ว่า การวางทั้งสองมือบนทรวงอก เป็นสิ่งที่ยืนยันในซุนนะฮ์ ความขัดแย้งเรื่องนี้ เป็นเรื่องฎออีฟ(หลักฐานอ่อน)และไม่มีรากฐานที่มา

وقال السندي في حاشية ابن ماجه : " وَبِالْجُمْلَةِ فَكَمَا صَحَّ أَنَّ الْوَضْع هُوَ السُّنَّة دُون الإِرْسَال ثَبَتَ أَنَّ مَحَلّه الصَّدْر لا غَيْر ، وَأَمَّا حَدِيث : ( أَنَّ مِنْ السُّنَّة وَضْع الأَكُفّ عَلَى الأَكُفّ فِي الصَّلاة تَحْت السُّرَّة ) فَقَدْ اِتَّفَقُوا عَلَى ضَعْفه " انتهى . وقال الشيخ ابن عثيمين : " وهذه الصفة – أعني : وَضْع اليدين تحت السُّرَّة - هي المشروعة على المشهور مِن المذهب ، وفيها حديث علي رضي الله عنه أنه قال : ( مِن السُّنَّةِ وَضْعُ اليدِ اليُمنى على اليُسرى تحت السُّرَّةِ ) – رواه أبو داود وضعفه النووي وابن حجر وغيرهما - . وذهب بعضُ العلماء : إلى أنه يضعها فوق السُّرة ، ونصَّ الإِمام أحمد على ذلك . وذهب آخرون مِن أهل العِلم : إلى أنه يضعهما على الصَّدرِ ، وهذا هو أقرب الأقوال ، والوارد في ذلك فيه مقال

อัซซะนะดีย์กล่าวไว้ในภาคผนวกอิบนุมาญะฮ์ว่า กล่าวโดยสรุป ก็คือ การวางมือ คือซุนนะฮ์ มิใช่ปล่อยมือ เขายืนยันว่า ตำแหน่งของมันคือ ทรวงอกมิใช่ที่อื่น ส่วนฮะดีษหนึ่งที่ว่า ส่วนหนึ่งจากซุนนะฮ์ คือวางฝ่ามือประกบบนการประกบมือในนมาซที่ใต้สะดือ” แน่นอน มีความเห็นตรงกันว่า เรื่องนี้อ่อนหลักฐาน ท่านเชคอิบนุอะซีมัยน์ กล่าวว่า และลักษณะนี้ หมายถึง การวางมือสองข้างบนสะดือ คือ หลักการที่ถูกยอมรับของมัซฮับที่มีชื่อเสียง และในเรื่องนี้มีฮะดีษของอะลี(ร.ฎ)รายงานว่า “ส่วนหนึ่งจากซุนนะฮ์ คือ การวางมือขวาบนมือซ้าย ใต้สะดือ”อะบูดาวูดรายงาน และนาวาวีย์, อิบนุฮะญัร และท่านอื่นๆว่า หลักฐานอ่อน อุละมาอ์บางส่วนให้ทัศนะว่า จะต้องวางมือลงเหนือสะดือ และนี่คือ คำพูดที่ใกล้ความจริงมากกว่า แต่การรายงานเรื่องนี้ยังมีคำกล่าวแย้ง

แต่ทว่า ฮะดีษของซะฮ์ลุ บิน ซะอัด ซึ่งบุคอรี เปิดเผยว่าสนับสนุนให้วางบนอก ตัวอย่างฮะดีษต่างๆที่รายงานเรื่องราวเหล่านี้ มาจากคำพูดของฮะดีษท่านวาอิล บิน ฮุจร์ที่ว่า “ท่านนบี(ศ)วางมือสองข้างลงบนทรวงอก” “อัชชัรฮุลมุมัตตุอ์” 3/36-37 บทที่ 3 กล่าวว่า ส่วนลักษณะการวางมือทั้งสองข้างคือ มีสองลักษณะ 1-ต้องวางฝ่ามือด้านขวาบนมือด้านซ้ายและทาบข้อมือและแขน 2-จะต้องกอดมือขวาบนมือซ้าย และให้ดูหลักฐานเรื่องนี้ใน ญะวาบ-ซุอาล(41675)

ความหมายของข้อความภาษาอาหรับที่โปรยลงในกระดานเสวนาของเว็บฯวาฮาบี ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ก็มีเพียงแค่นี้ ต่อไปผมจะนำเสนอข้อความสนับสนุนการนมาซปล่อยมือของฝ่ายซุนนะฮ์ให้ดูบ้าง

หลักฐานการปล่อยมือนมาซของซุนนะฮ์

أما المالكية فقد ذهب جمهور أصحاب الامام مالك إلى الإرسال‏

أي ارسالهما دون قبض ، حيث سئل مالك عن وضع اليمين على اليسرى في الصلاة فقال‏:‏ لا أعرف ذلك في الفريض

ولكن في النوافل إذا طال القيام فلا بأس بذلك يعين به على نفسه‏.‏

ส่วนแนวทางของมาลิกีย์ นั้น สานุศิษย์จำนวนหนึ่งของท่านอิมามมาลิกให้ทัศนะว่าต้องปล่อยมือ หมายถึงปล่อยมือสองข้างเลย ไม่มีการกอด เพราะเมื่ออิมามาลิกถูกถามถึงเรื่องการวางมือขวาบนมือซ้ายในนมาซ เขาตอบว่า ฉันไม่ยอมรับเรื่องนี้ในนมาซฟัรฎู แต่ถ้าหากในนมาซนะวาฟิลต่างๆ ถ้าต้องยืนนานๆ ก็ไม่เป็นไร ให้เป็นเรื่องที่ตัวของเขาเองตัดสินใจ

อิบนุ อัลกอซิม มีรายงานจากมาลิกเรื่องการปล่อยมือ ขณะเดียวกันเรื่องนี้ มีการปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย นักปราชญ์ชาวมอร็อคโคทั้งหมดที่เป็นสหายของเขายอมรับตามนี้

وحكى ابن المنذر عن عبد الله بن الزبير والحسن البصرى والنخعى أنه يرسل يديه ولايضع إحداهما على الآخرى وحكاه القاضى أبو الطيب أيضا عن سيرين وقال الليث بن سعد‏:‏ يرسلهما فإن طال ذلك عليه وضع اليمنى على اليسرى للاستراحة

อิบนุอัลมันซุร ได้เล่าเรื่องราวที่ได้รับฟังมาจากอับดุลลอฮ์ บิน ซุเบร และฮะซัน อัลบัศรีย์ และอันนัคอีย์ ว่า ท่านปล่อยมือทั้งสองข้าง และไม่วางมือข้างใดบนมือข้างใด และอัลกอฎี อะบู อัฏฏ็อยยิบ ก็บอกเล่าอย่างนี้อีกเช่น จากซีรีน และอัลลัยษ์ บิน สะอัด กล่าวว่า :ท่านปล่อยมือสองข้าง แต่ถ้าหากยืนนานๆ ท่านจะเอามือขวาวางบนมือซ้าย เพื่อพักผ่อน

قال ابن العربى المالكة في أحكام القرأن‏:‏ اختلف في ذلك علماؤنا على ثلاثة أقوال‏:‏ الأول‏:‏ لا توضع في فريضة ولا نافلة لأن ذلك من باب الاعتماد ولا يجوز في الفرض و يستحب في النفل

อิบนุอัลอะรอบีย์ อัลมาลิกี กล่าวใน “อะห์กามุลอุรอาน”ว่า “นักปราชญ์ของพวกเรามี 3 ความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องนี้ คือ1-ไม่ให้วางมือ(ที่ทรวงอก)ทั้งในนมาซฟัรฎูและนาฟิละฮ์ เพราะการกระทำเช่นนั้น เป็นการยึดถือ 2-อีกทัศนะหนึ่งไม่อนุญาตให้ทำในนมาซฟัรฎู แต่ชอบให้กระทำในนมาซนาฟิละฮ์

وعد الامام إبن عبد البر كلا الأمرين جائز وسنة ، فالمسلم بالخيار فقال رحمه الله :‏ وضع اليمين على اليسرى أو إرسالهما كل ذلك سنة في الصلاة‏.

ومن هنا فإن الامر يسير ويحرص المسلم على عدم مخالفة جمهور الناس إن كانوا لا يرتضون ذلك حرصا على وحدة القلوب والصفوف

อิมามอิบนุอับดุลบัร ถือว่า การกระทำทั้งสองอย่าง ถือว่าอนุญาตและเป็นซุนนะฮ์ ดังนั้น มุสลิม สามารถจะเลือกปฏิบัติได้ ท่าน(ขอให้อัลลอฮ์ทรงเมตตา)กล่าวว่า การวางมือขวาบนมือซ้าย หรือการปล่อยมือสองข้าง เป็นซุนนะฮ์ในนมาซด้วยกันทั้งสิ้น

ฟัตวาของ “เชควะนีซ อัลมับรูก อัลฟะซียี ประเทศบุลกาเรีย 1965”

จบการศึกษามหาวิทยาลัยอัดดะอ์วะตุ วะอุศูลุดดีน กรุงอุมมาน จอร์แดน

ปัจจุบัน อาจารย์วิชาฟิกฮ์มหาวิทยาลัยยุโรปอิสลามศึกษาแห่งเวลล์

http://www.ikhwan.net/vb/showthread.php?t=4823

ยังครับ ! อย่าเพิ่งสรุปว่าจบแค่นี้ ยังไม่จบง่ายๆ โปรดคอยติดตามตอนต่อไปนะครับ อินชาอัลลอฮ์ ผมจะค้นคว้าหาหลักฐานและข้อมูลทางวิชาการเชิงลึก ในเรื่องกอดกับปล่อย มานำเสนออย่างเป็นธรรม ครบถ้วนทุกด้าน เท่าที่ความสามารถมีพอจะทำได้ เพื่อเป็นความรู้ และสารประโยชน์ทางวิชาการต่อเพื่อน พี่น้องได้ทบทวนส่วนการตัดสินใจเลือกข้างนั้น เป็นเสรีภาพและสัญชาตญาณอิสระของทุกคน ขอให้ศึกษาและย่างก้าวต่อไปด้วยความมั่นใจเถิดครับ......

(๓)

หลังจากนำเสนอหลักฐานที่ค่อนข้างจะครบถ้วนของการกอดมือตอนที่ ๒ ผ่านไปแล้ว ก็ยังคงเหลือ แต่ข้อสรุป ด้วยการนำข้อมูลที่เป็นหลักฐานเหล่านั้น มาประมวลเพื่อชั่งหาน้ำหนักเพื่อตรวจสอบดูว่าระหว่าง ข้อมูลด้านที่มาของฮะดีษ เนื้อหาของฮะดีษว่าด้วยกอดมือ จะให้น้ำหนักความเชื่อถือมากแค่ไหน

ความจริง หลักฐานการกอดมือตามที่นำเสนอเป็นตอนที่ ๒ ไปแล้วนั้น น่าจะเรียกว่า เป็นหลักฐานยืนยันความยุ่งยาก สับสนและคลุมเครือในเรื่องการกอดอก หรือกอดมือมากกว่า เพราะมีประเด็นคำถาม แทรกซ้อนเข้ามามากมายว่า สรุปแล้ว การกอดมือเป็นสุนัต(การกระทำที่ชอบ ประเภทถ้าทำ=ได้บุญ, ไม่ทำ=ไม่บาป) หรือฮะรอม(ต้องห้าม ถ้าทำ=ผิด) กันแน่ ? จะขอให้พิจารณาดังนี้ครับ

๑.มัซฮับฮะนาฟีย์ : กล่าวว่า เป็นสุนัต ไม่ถือว่า เป็นวาญิบ แต่จะให้ดี สำหรับเพศชาย จะต้องวางฝ่ามือขวาบนหลังมือซ้ายตรงตำแหน่งใต้สะดือ ส่วนผู้หญิงให้วางมือที่ทรวงอก( จากหนังสือมัจมูอ์ เล่ม ๓หน้า ๓๑๑, “อัลลุบบาบ เล่ม ๑ หน้า ๗๑,อันมุฆ็อนนีย์ เล่ม ๑ หน้า ๔๗๓ และอัลฟัลลาฮ์ หน้า ๔๑)

๒.มัซฮับชาฟิอีย์ กล่าวว่า : การกอดมือ ไม่เป็นวาญิบ แต่เป็นสุนัตทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่ดีที่สุด คือวางฝ่ามือขวาบนหลังมือซ้ายใต้ทรวงอก และเหนือสะดือขึ้นไป และให้เหลื่อมไปทางซ้าย โดยมีซุฟยาน อัซซารีย์ และดาวูด อัซซอฮิรีย์ ยึดถือตามพวกเขาด้วย(อัลฮิดายะฮ์ เล่ม๑ หน้า ๔๗,อัลมัจมูอ์ เล่ม ๓ หน้า ๓๑๑,อับลุบบาบ เล่ม ๑ หน้า ๗๑,ชัรฮุลฆอดีร เล่ม ๑ หน้า ๒๐๑

๓.มัซฮับมาลิกีกล่าวว่า การกอดอกอนุญาตให้ทำได้ แต่เป็นสิ่งที่ชอบให้ปล่อยมือทั้งสองในนมาซฟัรฎู (อัลมัจมูอ์ เล่ม ๓ หน้า ๓๑๑,อัลลุบบาบ เล่ม ๑ หน้า ๗๑,นัยลุลเอาฏอร เล่ม ๒ หน้า ๒๐๓

๔.มัซฮับฮัมบะลีย์ กล่าวว่า การกอดอกเป็นซุนัตทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่ดีที่สุด ให้วางฝ่ามือขวาบนหลังมือซ้ายแล้วนำไปวางใต้สะดือ(อัลมุฆ็อนนีย์ เล่ม ๑ หน้า ๔๗๙,อัลมัจมูอ์ เล่ม ๓ หน้า ๓๑๑,ฟัตฮุลกอดีร เล่ม ๑หน้า ๒๐๑)

ส่วนวะฮาบีย์ นั้นเป็นอิสระไม่ขึ้นตรงต่อมัซฮับใดอย่างชัดเจน หากการกอดมือนั้น บ้างก็ใช้ทัศนะของชาฟิอีย์ และบ้างก็ยึดหลัการตามฮัมบะลีย์

บางทัศนะในหมู่พวกเขาจะถือว่า ฮะรอม ดังนั้น ถ้าใครกอดมือจะเป็นบาป แต่การนมาซนั้นไม่โมฆะ

บางทัศนะ ถือว่า การกอดมือเป็นมักรูฮ์ (สิ่งต้องรังเกียจ)แต่ไม่ถึงกับฮะรอม

หลักฐานของมัซฮับทั้งสี่ เกี่ยวกับการกอดมือ โดยสรุปมีดังนี้

ฮะดีษในศอฮีฮ์มุสลิมว่าكان (ص) يضع يده اليمنى على اليسرى

ท่านนบี(ศ)วางมือขวาของท่านบนมือซ้าย

ฮะดีษในซุนันอะบูดาวูด وكان (ص) يضع اليمنى على ظهر كفه اليسرى والرسغ والساعد.

ท่านนบี(ศ)วางมือขวาบนหลังมือซ้าย ข้อมือ และแขน

ฮะดีษในอันนะซาอีย์ وكان (ص) أحيانا يقبض باليمنى على اليسرى.

ท่านนบี(ศ)กอดอกด้วยมือขวาบนมือซ้าย

ฮะดีษที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหลักของการกอดมือ ก็คือ ฮะดีษของวาอิล บิน ฮุจร์ ศอฮาบะฮ์คนหนึ่งของท่านนบี(ศ็อลฯ)ซึ่งมีทั้งหมด ๑๘ ริวายะฮ์ด้วยกัน

ท่านมุสลิมได้บันทึกในศอฮีฮ์ ๑ ริวายะฮ์(ศอฮีฮ์มุสลิม ฮะดีษที่๖๐๘)ซึ่งเป็นเพียงริวายะฮ์เดียวเท่านั้นที่มุสลิมได้บันทึกเฉพาะเรื่องนี้

ท่านนะซาอีย์ได้บันทึกไว้ในสุนัน ๓ ริวายะฮ์(สุนะนุน นะซาอีย์)ฮะดีษที่๘๗๗,๘๗๙,๑๒๔๘)

อะบูดาวูดได้บันทึกไว้ในสุนันของท่าน ๓ ริวายะฮ์(สุนันอะบูดาวูดฮะดีษที่๖๒๑,๖๒๔,๘๒๐)

อิบนุมาญะฮ์ บันทึกในสุนัน ๑ ริวายะฮ์

(สุนัน อิบนุมาญะฮ์ ฮะดีษที่ ๘๐๒)

อะห์มัด บิน ฮัมบัลบันทึกไว้ในมุสนัด ๘ ริวายะฮ์(มุสนัดอะห์มัด ฮะดีษที่ ๑๘๐๙๑,๑๘๐๙๗,๑๘๐๙๙,๑๘๑๑๑,๑๘๑๑๕,๑๘๑๑๖,๑๘๑๑๘,๑๘๑๒๐) และอัดดารอมีย์ ได้บันทึกไว้ในสุนัน ๒ ริวายะฮ์(สุนันอัดดารอมีย์ ฮะดีษที่ ๑๒๑๓,๑๓๒๓) ฮะดีษที่ถูกนำมาบันทึก คือ

عن وائل بن حجر أنه رأى النبي صلى الله عليه و سلم رفع

يديه حين دخل في الصلاة، كبر (و صف همام حيال أذنيه)

ثم التحف بثوبه، ثم وضع يده اليمنى على اليسرى،

فلما أراد أن يركع أخرج يديه من الثوب

ثم رفعهما فكبر فركع

ตามที่ได้แปลไว้แล้วในตอนที่สอง จากวาอิล บิน ฮุจร์ (ร.ฎ)ที่ว่า เขาได้เห็นท่านนบี(ศ)ยกมือแล้วตักบีรในเวลาเข้าพิธีนมาซ จากนั้นท่านได้คลุมกับผ้าของท่าน แล้ววางมือขวาบนมือซ้าย เมื่อท่านจะรุกูอ์ท่านก็เอามือออกมาจากผ้า แล้วยกขึ้นพลางกล่าวตักบีร แล้วรุกูอ์.....” ฮะดีษนี้ยังมีใจความต่ออีก แต่ในที่นี้จะนำมาเฉพาะประเด็นนี้เท่านั้น ซึ่งเป็นประเด็นความขัดแย้งอย่างมากมายระหว่างริวายะฮ์ต่างๆ ซึ่งเราจะถกในรายละเอียดถัดจากนี้ไป และตัวบทตามที่นำมาเสนอนี้ ได้คัดมาจากศอฮีฮ์มุสลิม ประเด็นแรกคือ สารบบผู้รายงานฮะดีษ(สะนัดของฮะดีษ)

แผนภูมิอธิบายสารบบผู้รายงานฮะดีษนี้ทุกริวายะฮ์ จะเป็นดังนี้

ถ้าสังเกตสารบบผู้รายงาน(สะนัด)เหล่านี้ให้ดี จะเห็นว่ามีปัญหาหลายประการ

ประการแรก มีสามคนที่ได้ยินฮะดีษนี้จากวาอิล บิน ฮุจร์ แต่คนหนึ่งไม่รู้ว่าเป็นใคร(มัจฮูล) แต่ได้รับการอธิบายบางริวายะฮ์ว่า เป็นคนรับใช้ของตระกูลวาอิล ส่วนในริวายะฮ์อื่น อธิบายว่า เป็นสมาชิกครอบครัวคนหนึ่ง เมื่อลักษณะของนักรายงานไม่รู้ว่าเป็นใคร(มัจฮูล) เมื่อสารบบผู้รายงาน(สะนัด)ขาดตอนอย่างนี้ ตามหลักวิชาฮะดีษถือว่า ต้องยกเลิกฮะดีษทั้งสองบทที่ถูกนำมาบันทึกโดยนักรายงานที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร

ประการที่สอง มีความสับสนเป็นพิเศษระหว่างวาอิล บิน ฮุจร์กับบุตรทั้งสองคือ อุลกอมะฮ์ และอับดุลญับบาร อยู่ประการหนึ่ง เพราะมีอุละมาอ์สาขาประวัติบุคคลที่เป็นนักรายงาน(ริญาล)กล่าวว่าในขณะที่วาอิล ผู้เป็นบิดาเสียชีวิตนั้น อับดุลญับบารยังอยู่ในครรภ์ และนี่คือ คำพูดของอิบนุฮิบบานและบุคอรีด้วย สายสืบนี้จึงไม่มีผลด้วยประการฉะนี้

เพราะทุกๆริวายะฮ์ที่ถูกบันทึกจะมีชื่อของ อับดุลญับบาร เป็นผู้เชื่อมต่อกับบิดา และผู้เชื่อมต่ออีกคนคือ อุลกอมะฮ์ พี่ของเขา และนี่คือ ปัญหาที่เด่นชัดอีกประการหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้ นักปราชญ์สาขาประวัติบุคคลฯ(ริญาล)จำนวนหนึ่ง ถือว่า ริวายะฮ์ของอุลกอมะฮ์ จากบิดาของตนจัดเป็นประเภท مرسلة (ข้ามช่วง) เช่นยะห์ยา บิน มุอีน (อิบนุฮะญัร อัลอัสก็อลลีย์กล่าวไว้ใน ตะฮ์ซีบุตตะฮ์ซีบ หมวดที่ ๗ หน้า ๒๔๗)

و قد ورد في إحدى الروايات أن " عبد الجبار بن وائل بن حجر قال: كنت غلاما لا أعقل صلاة أبي، فحدثني علقمة بن وائل عن أبي وائل بن حجر

ยังมีบันทึกในริวายะฮ์หนึ่งว่า “อับดุลญับบาร บุตรของวาอิล บิน ฮุจร์กล่าวว่า “ฉันเป็นเด็กที่ยังจำการนมาซของบิดาไม่ได้” ดังนั้น อุลกอมะฮ์ บิน วาอิลได้เล่าฮะดีษจาก วาอิล บิน ฮุจร์ บิดาของฉันให้แก่ฉัน(จากสุนันอะบีดาวูด ฮะดีษที่ ๖๒๑)

ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่อับดุลญับบาร จะกล่าวประโยคนี้ออกมา เพราะว่าในตอนที่บิดาเสียชีวิตนั้น เขายังไม่เกิดเลย ดังนั้นผู้ที่กล่าวก็คือ อุลกอมะฮ์ และอะบูบักร์ อัลบัซซาร ก็บันทึกไว้ว่า คนที่พูดว่า “ฉันเป็นเด็กที่ยังจำการนมาซของบิดาไม่ได้” ที่แท้คือ อุลกอมะฮ์ บิน วาอิล นั่นเอง มิใช่อับดุลญับบาร น้องชาย(อิบนุฮะญัร อัลอัศก็อลลานีย์,ตะฮ์ซีบุตตะฮ์ซีบ หมวดที่ ๖ หน้า ๙๕)

ดังนั้น ริวายะฮ์ของอุลกอมะฮ์ ที่ได้จากบิดา ก็คือ ริวายะฮ์ ของเด็กที่ยังจำการนมาซของบิดาไม่ได้ หรือเป็นริวายะฮ์ประเภทข้ามช่วง(มุรซัล) เป็นเหตุให้เราต้องตั้งเครื่องหมายปรัศนี เพื่อถามหาความเข้าใจสำหรับทุกริวายะฮ์ที่ถูกบันทึกมาในสายรายงานของอุลกอมะฮ์

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีรายงานบทใดเหลือความน่าเชื่อถืออยู่เลย ยกเว้นรายงานที่ถูกบันทึกมาจากสายของอาศิม บิน กะลีบ จากบิดาของเขา จากวาอิล บิน ฮุจร์

แต่ถึงกระนั้น ก็ยังไม่แคล้วจากปัญหา ทั้งๆที่บรรดานักปราชญ์สาขาป

สลาม

บางส่วนที่คุณ ไม่แสดงตน บอกก็น่าเชี่อถือ แต่ก็ยังต้องกรองในบางส่วน

ก็น่าจะแนะนำตัวเองสักนิด ที่นี่เป็นเวทีกลาง หากเจตนาดี ก็ไม่น่าจะพูดคำนี้น่ะ หลักฐานการกอดอกในนมาซแข็งแรง ศอฮีฮ์ เชื่อถือได้จริงหรือ ? ไม่เลย เพราะอะไร โปรดอ่าน ! รู้แค่นี้เองเหรอ ฮาดิษเรียนหมดทุกเล่มหรือยัง

หากรู้คุณจริง ทำไมไม่เอาฮาดิษซอฮิฮ บุคอรีมาอ้างอิงเล่า แล้วบอกมาด้วยว่าจบอะไรมา แสดงตนของการเป็นลูกผู้ชายด้วยน่ะ

เชื่อว่า คนเขียนอาจจะยังเด็ก คุณน่าจะเข้ามาแนะนำหนังสือดีดี เพื่อที่เค้าจะได้เอาไปใช้ ในการเขียนของเขาครั้งหน้า จะเป็นประโยชน์มากกว่า คุณ ไม่แสดงตน ก็จะได้รับผลบุญด้วย ขออัลลอฮทรงตอบแทนทั้ง เจ้าของผลงาน และคุณ ไม่แสดงตน

คนรักความถูกต้อง

ในปัจจุบัน การกล่าวหาหุกุ่มบิดอะฮ์กับบรรดาพี่น้องมุสลิมต่างทัศนะที่เกี่ยวกับปัญหาคิลาฟิยะฮ์

ข้อปลีกย่อยนั้น ได้สร้างความแตกแยกและสั่นคลอนเกิดขึ้นในสังคมมุสลิม แต่ด้วยการยึดติด

และคลั่งไคล้ในทัศนะของตนหรือเชื่อว่าแนวทางของตนเท่านั้นที่ถูกต้อง และเชื่อว่าตนเอง

กำลังเป็นผู้ฟื้นฟูศาสนานั้น ทำให้มีความมักง่าย ด้วยการกล่าว ชิริก กล่าวบิดอะฮ์

ต่อบรรดามุสลิมมีนที่อยู่แนวทางอื่นจากตน โดยไม่ทำความเข้าใจและศึกษาแนวทางอื่น

อย่างใจเป็นธรรมและถี่ถ้วน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่จะแก้ด้วยการให้บรรดามุสลิมมีน อีกทัศนะต้องเชื่อทัศนะของตนเพียงฝ่ายเดียว

ซึ่งในสภาพความเป็นจริงย่อมทำไม่ได้ ในเชิงปฏิบัติอยู่แล้ว เนื่องจากการขัดแย้งในข้อปลีกย่อยนั้น ได้มีมาตั้งแต่สมัยของซอฮาบะฮ์

จวบจนถึงปัจจุบัน แต่สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดในขณะนี้ก็คือ การทำความเข้าใจในหลักการซึ่งกัน และกัน สิ่งใดที่มีทัศนะเห็นพร้องกัน

เราก็สมควรร่วมมือกัน และสิ่งใดที่ต่างทัศนะกันเราก็ผ่อนปรนให้กันและกัน

อนึ่ง ประเด็นที่กระผมจะนำเสนอนั้น คือเรื่อง "บิดอะฮ์" ซึ่งมีบรรดาพี่น้องมุสลิมบางส่วนอาจจะยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนั้น กระผมจึงปราถนาจะนำเสนอ เป็นขั้นตอนไป โดยการกล่าวถึง คำนิยามของบิดอะฮ์ บิดอะฮ์ตามนัยของอัลกุรอาน บิดอะฮ์ตามนัยของซุนนะฮ์ บิดอะฮ์ตามความเข้าใจของซอฮาบะฮ์ บิดอะอ์ตามทัศนะของบรรดาอุลามาอ์สะลัฟและคอลัฟ และเงื่อนไขของบิดอะฮ์หะสะนะฮ์

นิยาม คำว่า บิดอะฮ์ ตามหลักภาษาอาหรับ

บิดอะฮ์ ตามหลักภาษาอาหรับ คือ คำนาม ที่มาจากคำว่า อิบติดาอ์ ( إبتداع ) หมายถึงการ ประดิษฐ์ขึ้นมาไหม่ ริเริ่มขึ้นมา หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นมาเป็นอันดับแรก

อัลกุรอานได้กล่าวว่า

قل ما كنت بدعا من الرسل

ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9)

หมายถึง ฉันไม่ใช่เป็นบุคคลแรกจากผู้ที่ถูกส่งมา แต่บรรดาร่อซูลมากมายที่ถูกส่งมาก่อนฉัน

อักษร บาอฺ (ب) ดาลฺ (د) อัยนฺ (ع) อ่านว่า بَدَعَ มีความหมายว่า

1. ริเริ่มทำสิ่งหนึ่ง และประดิษฐ์สิ่งหนึ่ง ที่ไม่มีตัวอย่างมาก่อน

2. หยุดฉงัก หมดเรี่ยวแรง ( ดู มั๊วะญัม มะกอยีส ของอิบนุ ฟาริส เล่ม 1 หน้า 209)

ท่านอบู อัลบะกออ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัล-กุลลียาต ว่า " บิดอะฮ์ คือการกระทำหนึ่งที่ไม่มีแบบอย่างมาก่อน " และความเข้าใจของนิยามนี้ คือ ทุก ๆ การกระทำหนึ่งที่ไม่มีแบบอย่างมาก่อน ไม่ว่าจะมีรากฐานที่มาแต่เดิม หรือไม่มี ก็ย่อมเป็นบิดอะฮ์ หลักฐานดังกล่าวคือ อัล-กุรอ่าน ได้กล่าวว่า

بديع السموات والأرض

ความว่า "พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์บรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน" (อัล-บะก่อเราะฮ์ 117)

หมายความว่า "พระองค์ทรงประดิษฐ์ ทรงสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน โดยไม่มีตัวอย่าง (المثال) มาก่อน คือไม่มีรากฐานเดิม (الأصل) มาก่อน คำว่า ตัวอย่าง ใน ณ ที่นี้ ย่อมครอบคลุมถึง รากฐานเดิม และรูปแบบ เพราะอัลเลาะฮ์ทรงสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน โดยที่ไม่เคยมีมาก่อนเลยจากรากฐานเดิมที่มาพาดพิงถึง และไม่มีรูปแบบจากการประดิษฐ์ที่เหมือนกับมัน

มีอีกหลักฐานหนึ่งกล่าวว่า

قل ما كنت بدعا من الرسل

ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9)

สรุปจากสิ่งที่ได้กล่าวมา คือ ความหมายคำกล่าวของท่าน อบู อัล-บะกออฺ ที่ว่า "โดยไม่มีตัวอย่างมาก่อน" หมายถึง "ไม่มีรากฐานหรือรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน" และด้วยความหมายนี้ ทำให้คำนิยาม มีความหมายที่ครอบคลุม (عموم) ดังนั้น ในประเด็นนี้จึงไม่สามารถยืนยันด้วยหลักฐานที่เจาะจงและเด็ดขาดได้ ฉะนั้น เราจึงต้องกลับไปหาอัล-กุรอานและซุนนะฮ์

สำหรับอัลกุรอานก็คือ

بديع السموات والأرض

ความว่า "พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์บรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน" (อัล-บะก่อเราะฮ์ 117)

หมายถึง "พระองค์ทรงสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน โดยไม่มีรากฐานและรูปแบบเดิมมาก่อน ซึ่งไม่มีการพาดพิงถึงการเหมือน (المثالية) เพราะคำว่า เหมือน (المثالية) ในเชิงภาษานั้น ให้ผลถึงการเปรียบเทียบ หรือเทียบเคียง (القياس) ได้"

และอัลกุรอานได้ย้ำอีกอายะฮ์หนึ่งว่า

قل ما كنت بدعا من الرسل

ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9)

หมายถึง "ฉันไม่มีอะไร นอกจากได้มีตัวอย่าง (المثال) มาก่อนแล้ว และตัวอย่างนี้ ก็คือ บรรดานบีและบรรดาร่อซูล" ดังกล่าวจึงชี้ชัดแก่เราว่า แท้จริง บิดอะฮ์มี สอง ประเภท

1. บิดอะฮ์ที่มีรากฐานมาแต่เดิม

2. บิดอะฮ์ที่ไม่มีรากฐานมาแต่เดิม

ซึ่งได้บ่งชี้ตามนัยยะดังกล่าว จากคำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่ว่า

من يشفع شفاعة حسنة يكن له نصيب منها ومن يشفع شفاعة سيئة يكن له كفل منها

"ผู้ใดที่ให้ความช่วยเหลือที่ดี ก็จะเป็นของเขาซึ่งส่วนหนึ่งจากความดีนั้น และผู้ใดให้ความช่วยเหลือที่ชั่ว ก็จะเป็นของเขาซึ่งส่วนหนึ่งจากความชั่วนั้น "

คำว่า (شفاعة) นี้ หมายถึง ซุนนะฮ์หรือแนวทางที่อัลเลาะฮ์ทรงวางแนวทางเอาไว้ และเป็นแนวทางที่ทุก ๆ ศาสนาต้องดำเนินตาม และตามแนวทางนี้นั้น อัลกุรอานและซุนนะฮ์ได้ดำรงอยู่ และด้วยสาเหตุจากแนวทางนี้ บรรดาชารีอะฮ์ต่าง ๆ ได้มีมา เพื่อแยกแยะระหว่างความดีและความชั่ว ดังนั้น ผู้ที่กล่าวว่า มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี)นั้น เขาย่อมวินิจฉัยจากหลักการนี้ ที่มาจากวิญญานและบรรดาเป้าหมายหรือเจตนารมณ์ของชาริอะฮ์

นิยามบิดอะฮ์ตามทัศนะของบรรดาอุลามาอ์

บรรดาอุลามาอ์ ได้จำกัดคำนิยามคำว่า "บิดอะฮ์" ไว้มากมาย

1. อิมามอัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฏ.)

สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น มี 2 ประเภท

(1) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งนี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง

(2) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใด(ที่กล่าวมาแล้ว)นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ

ท่านอุมัรได้กล่าว เกี่ยวกับ(การรวม)ละหมาดตะรอวิหฺ ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

หมายความว่า"การ(รวมตัว)ละหมาดตะรอวิหฺ(20 ร่อกะอัต)ในคืนร่อมาฏอนนี้ คือสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเมื่อมีการกระทำขึ้นมาแล้ว ก็ไม่เป็นการขัดต่อสิ่งที่กล่าวมา " และสายรายงานนี้ ซอเฮี๊ยะห์ ดู หนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ เล่ม1 หน้า 468 - 469

ท่านอบู นุอัยม์ ได้นำเสนอรายงานอีกสายรายงานหนึ่ง ไว้ในหนังสือ หิลยะตุลเอาลิยาอ์ เล่ม 9 หน้า 113 ว่า "ท่านอิมามอัช-อัชชาฟิอีย์ กล่าวว่า บิดอะฮ์นั้น มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่ถูกสรรเสริญ และบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ ดังนั้น สิ่งที่สอดคล้องกับซุนนะฮ์ ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกสรรเสริญ และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ และอิมามชาฟิอีย์ ได้อ้างหลักฐานด้วยคำกล่าวของท่านอุมัร(ร.ฏ.) เกี่ยวกับ ละหมาดตะรอวิหฺในเดือนรอมฏอนที่ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

2. ท่านอิบนุ หัซมิน (ร.ห.) เสียชีวิตปี 456 ฮ.ศ.

ท่านอิบนุ หัซมินกล่าวว่า "บิดอะฮ์ในศาสนานั้น คือทุกสิ่งที่ไม่เคยมีระบุไว้ในอัลกุรอานและในคำสอนจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) นอกจากว่าส่วนหนึ่งมีบิดอะฮ์ที่เจ้าของผู้กระทำจะถูกตอบแทนและได้รับการผ่อนปรนให้ทำตามได้ตามเจตนาอันดีงามของเขา ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์ คือ สิ่งที่ผู้กระทำจะได้รับผลตอบแทน และมันจะเป็นสิ่งที่ดีโดยที่มีรากฐานเดิมที่อนุมัติให้กระทำได้ ตามที่ได้มีรายงานจากท่านอุมัร (ร.ฏ.) ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

คือสิ่งที่เป็นการปฏิบัติความดีงามและมีตัวบทกล่าวไว้ อย่างคลุม ๆ ถึงการส่งเสริม(สุนัต)ให้กระทำ ถึงแม้ว่า การปฏิบัตินั้น จะไม่ได้ถูกกำหนดไว้ในตัวบทก็ตาม และอีกส่วนหนึ่งเป็นบิดอะฮ์ คือสิ่งที่ถูกตำหนิและผู้ปฏิบัติตาม จะไม่ได้รับการผ่อนปรน นั่นก็คือสิ่งที่มีหลักฐานมายืนยันว่ามันใช้ไม่ได้และผู้ที่ปฏิบัติก็ยังคงยืนกรานกระทำมัน

3. อิมาม อัลอิซฺซุดดีน บิน อับดุสลาม เสียชีวิตปี 660 ฮ.ศ.

ท่านกล่าวว่า "บิดอะฮ์คือสิ่งที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนในยุคสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) และมันก็ถูกแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์หะรอม บิดอะฮ์สุนัต บิดอะฮ์มักโระฮ์ และบิดอะฮ์มุบาห์"

และวิถีทางที่จะทราบถึงสิ่งดังกล่าวก็คือ การนำเอาบิดอะฮ์ไปวางไว้บนหลักเกนฑ์ต่าง ๆ ของชาริอะฮ์ (เกาะวาอิดอัชชะรีอะฮ์) เพราะถ้าหากบิดอะฮ์ได้เข้าไปอยู่ในหลักการต่าง ๆ ที่เป็นวายิบ มันก็เป็นบิดอะฮ์วายิบ และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการที่หะรอม ก็เป็นบิดอะฮ์หะรอม และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการต่าง ๆ ที่สุนัต ก็เป็นบิดอะฮ์ที่สุนัต และถ้าหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการที่มักโระฮ์ ก็เป็นบิดอะฮ์มักโระฮ์ และถ้าหากมันเข้าไปอยู่ในหลัการที่มุบาห์ ก็เป็นบิดอะฮ์มะบาห์

ตัวอย่างบิดอะฮ์วายิบ เช่น

(1) การศึกษาวิชานะฮู (ไวยกรณ์ภาษาอาหรับ) เพื่อให้เข้าใจคำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) และคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ (ซ.ล.) และดังกล่าวนี้ถือว่าเป็น สิ่งที่จำเป็น(วายิบ) เนื่องจากการรักษาไว้ซึ่งหลักชาริอะฮ์นั้นเป็นสิ่งที่วายิบ และการปกปักษ์รักษาหลักชะรีอะฮ์นั้น จะเกิดขึ้นมาไม่ได้ นอกจากด้วยการรู้จักหรือศึกษาสิ่งดังกล่าว และสิ่งที่วายิบจะไม่สมบูรณ์นอกจากด้วยกับมันนั้น แน่นอน สิ่งนั้นย่อมเป็นสิ่งที่วายิบด้วย

(2) การจดจำถ้อยคำที่เข้าใจยากทางภาษาอาหรับที่มีมาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์

(3) การประพันธ์วิชาอุซูลุลฟิกห์ (วิชาที่ว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์รากฐานของหลักวิชาฟิกห์)

(4) การพิจารณาและวิจารณ์นักรายงาน เพื่อแยกแยะระหว่างสิ่งที่ซอเฮี๊ยะหฺออกจากสิ่งที่ฏออีฟ

ดังนั้น กฏเกนฑ์ต่าง ๆ ของหลักชะรีอะฮ์นี้ ชี้ให้เห็นว่า การปกปักษ์รักษาไว้ซึ่งลักชะรีอะฮ์นั้น เป็นฟัรดูกิฟายะฮ์ในส่วนเสริมจากปริมาณที่จำเป็น ฉะนั้น การปกปักษ์รักษาหลักการของชะรีอะฮ์นั้น จะเกิดขึ้นไม่ได้ นอกจากสิ่งที่เราได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

ตัวอย่างของบิดอะฮ์ที่หะรอม

(1) มัซฮับอัลก๊อดรียะฮ์

(2) มัซฮับอัลญับรียะฮ์

(3) มัซฮับอัลมุรญิอะฮ์

(4) มัซฮับอัล-มุยัสซิมะฮ์ !!! (พวกที่เชื่อว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีคุณลักษณะคล้ายหรือเหมือนกับมนุษย์และสิ่งที่ถูกสร้าง เช่นพวกเขากล่าวว่า อัลเลาะฮ์ทรงนั่งสัมผัสอยู่บนบัลลังก์ อัลเลาะฮ์มีการเคลื่อนย้ายจากฟากฟ้าชั้นบนมาสู่ชั้นล่าง เชื่อว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีมือที่อยู่ในความหมายที่มนุษย์เข้าใจกันทั่วไป เป็นต้น)

และการป้องกันและโต้ตอบพวกเขาเหล่านั้น เป็นบิดอะฮ์ที่วายิบ

ตัวอย่างของบิดอะฮ์ที่สุนัต

(1) สร้างสถานที่สาธารณูประโยชน์

(2) สร้างสถาบันการศึกษา

(3) สร้างเขื่อน

(4) ทุกความดีที่ไม่มีการกระทำขึ้นในสมัยท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)

(5) การละหมาดตะรอวิหฺ(ตามรูปแบบที่ท่านอุมัรได้สั่งให้กระทำขึ้น)

(6) การกล่าวในเรื่องความละเอียดละออของวิชาตะเซาวุฟ

(7) การพูดถกในการชุมนุม เพื่อการอ้างหลักฐานในประเด็นต่างๆ หากมีเจตนาเพื่ออัลเลาะฮ์ (ซ.บ.)

ตัวอย่างบิดอะฮ์มักโระฮ์

(1) การตบแต่งประดับประดามัสยิดให้สวยงาม

(2) การประดับประดาลวดลายอัล-กุรอาน

(3) การอ่านท่วงทำนองอัล-กุรอานโดยที่ทำให้เปลี่ยนแปลงถ้อยคำต่างๆจากหลักภาษาอาหรับ แต่คำกล่าวที่ถูกต้องที่สุดนั้น เป็นบิดอะฮ์ที่หะรอม

ตัวอย่างบิดอะฮ์มะบาห์

(1) การจับมือหลังจากละหมาดซุบห์ และอัสริ

(2) การทำอาหารและเครื่องดื่มที่มีหลากหลายรสชาติ หลากหลายเครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย การสวมเสื้อคลุม ทำให้แขนเสื้อกว้าง โดยที่บางส่วนจากสิ่งที่ได้กล่าวมานั้น มีความเห็นที่ขัดแย้งกัน บางอุลามาอ์กล่าวว่า บางส่วนนั้นเป็นบิดอะฮ์ที่มักโระฮ์ และบางอุลามาอ์กล่าวว่า มันเป็นซุนนะฮ์ที่ได้ปฏิบัติกันในสมัยท่าน ร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) และยุคสมัยหลังจากนั้น....(ดู หนังสือ ก่อวาอิด อัลอะห์กาม ยุซฺ 2 หน้า 172 - 174)

คำนิยามของ อิมาม ซุลฏอน อัลอุละมาอ์ อิซซุดดีน บิน อับดุสลามนี้ เป็นคำนิยามในเชิงการวินิจฉัยที่พาดพิงไปยังบรรดาหุกุ่ม (ทั้ง 5 ) ตามหลักการศาสนา คือเป็นคำนิยามที่มีความรัดกุมยิ่งในประเด็นดังกล่าว

4. หุจญฺตุลอิสลาม อิมาม อัลฆ่อซาลีย์ (505 ฮ.ศ.)

ท่านอิมาม อัลฆอซาลีย์กล่าวว่า "บิดอะฮ์มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ หมายถึง บิดอะฮ์ที่ขัดแย้งกับซุนนะฮ์เดิม และเกือบจะนำไปสู่การเปลื่ยนแปลงซุนนะฮ์ และ(2)บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่โดยมีตัวอย่างมาแล้ว"

ท่านอิมาม อัลฆอซาลีย์ ได้กล่าวอีกเช่นกันว่า " สิ่งที่ถูกกล่าวว่า มันคือสิ่งที่ถูกทำขึ้นหลังจากร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)นั้น คือไม่ใช่ทุกๆ สิ่ง(ที่เกิดขึ้นมาใหม่) จะเป็นสิ่งต้องห้าม แต่สิ่งที่ต้องห้ามนั้น คือ บิดอะฮ์ที่ขัดแย้งหรือค้านกับซุนนะฮ์ที่ได้รับการยืนยันไว้แล้ว" (ดู หนังสือ เอี๊ยะหฺยาอ์ อุลูมิดดีน เล่ม 1 หน้า 276)

5. อิมาม อัล-มุหัดดิษ อิบนุ อัล-เญาซีย์ อัลหัมบาลีย์ (598 ฮ.ศ.)

ท่านอิบนุ อัล-เญาซีย์ กล่าวว่า "บิดอะฮ์ หมายถึง การกระทำที่ไม่เคยมีมาก่อน แล้วก็ได้อุตริกรรมกันมา และส่วนมากแล้ว บิดอะฮ์ที่ผิดหลักการนั้น มันจะค้านกับหลักชาริอะฮ์ และทำให้เกิดการเพิ่มเติมและตัดทอนขึ้นในชาริอะฮ์ เพราะฉะนั้น สิ่งใดก็ตามที่ได้อุตริกรรมขึ้นมาใหม่ โดยไม่ขัดแย้งกับหลักชาริอะฮ์และไม่ทำให้เกิดการเพิ่มเติมและตัดทอน(หลักชาริอะฮ์)แล้ว สะลัฟส่วนมากแค่รังเกียจมัน และพวกเขาพยายามหลีกเลี่ยงจากทุก ๆ คนที่ทำบิดอะฮ์ ซึ่งแม้ว่าสิ่งนั้น จะเป็นสิ่งที่ให้กระทำได้ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อที่จะรักษาไว้ซึ่งหลักการเดิม นั่นก็คือ การเจริญรอยตาม ซึ่งจะเห็นได้จากคำพูดของท่านซัยด์ บิน ษาบิต ที่ว่า

ท่านเซดฺ บิน ษาบิตได้กล่าวกับท่านอบูบักรและท่านอุมัร (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา) ในขณะที่ทั้งสองกล่าวแก่เขา ว่า "ท่านจงรวบรวมอัลกุรอาน" (ท่านเซดฺ บิน ษาบิต จึงกล่าวว่า) ท่านทั้งสองจะกระทำการสิ่งหนึ่งที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ไม่เคยกระทำกระนั้นหรือ ? "

หลังจากนั้น ท่านอิบนุ อัลเญาซีย์ได้กล่าวต่อไปว่า "แท้จริงกลุ่มซอฮาบะฮ์นั้น จะระวังทุก ๆ บิดอะฮ์ ถึงแม้ว่ามันจะไม่เป็นไรก็ตาม เพื่อพวกเขาจะได้ไม่ทำสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยที่บรรดาสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ที่ไม่ขัดแย้งกับหลักชะรีอะฮ์ และไม่ค้านกับชะรีอะฮ์นั้น พวกเขามีความเห็นว่า ให้กระทำมันได้ และถือว่าไม่เป็นไร เช่น การที่ท่านอุมัรได้รวบรวมผู้คนทำการละหมาดตะรอวิหฺ 20 ร่อกะอัตในเดือนร่อมาฏอน และกล่าวว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

(ดู หนังสือ ตัลบีส อิบลีส หน้า 7)

6. อิมาม อบู ชามะฮ์ อับดุรเราะห์มาน บิน อิสมาอีล อัลมุก๊อดดิซีย์ อัชขาฟิอีย์ (665 ฮ.ศ.)

ท่านอบู ชามะฮ์ กล่าวว่า " สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่นั้น ถูกแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ (แล้วท่าน อบู ชามะฮ์ ก็อ้างอิงคำพูดของอิมามชาฟิอีย์ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น) จากนั้น ท่านอบู ชามะฮ์กล่าวว่า " ฉันขอกล่าวว่า แท้จริง มันก็เป็นอย่างเช่นดังกล่าว เพราะท่านนบี(ซ.ล.) ส่งเสริมให้มีการละหมาดสุนัตในเดือนร่อมะฏอน โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กระทำที่มัสยิด โดยที่ซอฮาบะฮ์บางส่วนได้ทำการละหมาดตามท่านนบีเพียงไม่กี่คืน หลังจากนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งการละหมาดดังกล่าวในรูปแบบญะมาอะฮ์ โดยท่านนบี(ซ.ล.)ให้เหตุผลในเรื่องดังกล่าวว่า เกรงจะถูกฟัรดูแก่พวกเขา ดังนั้น เมื่อท่านนบี(ซ.ล.)ได้เสียชีวิต แล้วการปฏิบัติดังกล่าวก็ยุติลง ช่วงหลังจากนั้น บรรดาซอฮาบะฮ์จึงลงมติให้ทำการละหมาด(ตะรอวิหฺ)ในเดือนรอมาฏอนที่มัสยิดแบบญะมาอะฮ์ เพื่อเป็นการฟื้นฟูเอกลักษณ์ที่อัลเลาะฮ์ทรงใช้ และได้ส่งเสริมให้กระทำมัน วัลลอฮุอะลัม

จากที่ได้กล่าวมานี้จึงสามารถสรุปได้ว่า บรรดาบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น บรรดาปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามได้ลงมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้กระทำได้ และยังมีหวังได้ผลบุญ สำหรับผู้ที่มีเจตนาที่ดี โดยที่บิดอะฮ์นั้น จะต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่และสอดคล้องกับกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ของหลักศาสนา (ชะรีอะฮ์) และจะต้องไม่มีข้อห้ามตามหลักศาสนาหากได้กระทำมัน (ดู อัลบาอิษ อะลา อินการิลบิดะอ์ วัลหะวาดิษ ของท่าน อบี ชามะฮ์ หน้า 93)

ท่านอบู ชามะฮ์ ได้ให้คำนิยามของบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ จากคำพูดของท่านที่ว่า "บรรดาปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามได้ลงมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้กระทำได้" ซึ่งเขาหมายถึงบุคคลที่คำพูดของเขานั้น เป็นที่ยอมรับในเรื่องการอิจญฺมาอ์ ดังนั้น ผู้ที่ไม่เป็นที่ยอมรับกับคำพูดของเขา ก็ถูกคัดออกไป เช่นคำกล่าวของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ และผู้ที่มีแนวทางเดียวกับเขา เพราะฉะนั้น จึงไม่อนุญาตให้กับผู้ที่คัดค้านทัศนะคำกล่าวนี้ เนื่องจากเป็นการแหวกมติของประชาชาติอิสลาม และการแหวกมติของประชาชาติอิสลามนั้น เป็นสิ่งที่หะรอม

7. ท่าน อิบนุ อัล-อะษีร

ท่านอิบนุ อัล-อะษีร กล่าวว่า "บิดอะฮ์ มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่อยู่ในทางนำ และบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง เพราะฉะนั้น สิ่งใดก็ตามที่ขัดแย้งกับสิ่งที่อัลเลาะฮ์และร่อซูล(ซ.ล.) ทรงใช้นั้น ย่อมอยู่ในกรอบของการถูกตำหนิและปฏิเสธ และสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การครอบคลุมสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงใช้และส่งเสริม หรือสิ่งที่ร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) เรียกร้องและส่งเสริม ก็ย่อมอยู่ในกรอบแห่งการสรรเสริญ" จากนั้น ท่านอิบนุ อัล-อะษีร ทำการยกตัวอย่างบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ด้วยคำกล่าวของท่านอุมัร เกี่ยวกับละหมาดตะรอวิหฺ ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

จากนั้น ท่านอิบนุ อัล-อะษีร กล่าวว่า " บิดอะฮ์(จากคำกล่าวของท่านอุมัรนี้) แก่นแท้แล้ว คือซุนนะฮ์ เพราะท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

فعليكم بسنتى وسنة الخلفاء الراشدين

"พวกท่านจงยึดซุนนะฮ์ของฉัน และแนวทางของบรรดาคอลิฟะฮฺผู้ทรงธรรม"

และท่านร่อซุล กล่าวอีกว่า

إقتدوا بالذين من بعدى أبى بكر وعمر

" และพวกท่านจงดำเนินตาม บุคคลทั้งสองหลังจากที่ฉัน(ได้เสียชีวิตไปแล้ว) เขาทั้งสองคือ อบูบักรและอุมัร"

และหากเราได้ดำเนินตามความหมายตามนี้ ก็สามารถตีความ อีกหะดิษหนึ่งที่ว่า

(كل محدثة بدعة)

"ทุกสิ่งที่ทำขึ้นใหม่นั้นเป็นบิดอะฮ์"

คือ แท้จริง ท่านร่อซูล(ซ.ล.)หมายถึง ทุก ๆ สิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐาน(อุซูล)ต่าง ๆ ของชะริอะฮ์และไม่สอดคล้องกับซุนนะฮ์ " (ดู หนังสือ อันนิฮายะฮ์ ฟี ฆ่อรีบ อัลหะดีษ เล่ม 1 หน้า 106 - 107)

8. อัลหาฟิซฺ อิมาม มั๊วะหฺยุดดีน อันนะวาวีย์ (ร.ฏ.) (676 ฮ.ศ.)

ท่านอิมาม อันนะวาวีย์กล่าวว่า " คำว่า بَدَعَ คือ บิดอะฮ์ ตามหลักศาสนานั้น หมายถึง ทำให้เกิดขึ้นใหม่กับสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนในยุคสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) และ บิดอะฮ์ ก็แบ่งออกเป็น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ ท่านชัยค์ อิมาม ปราชญ์ ผู้ซึ่งถูกลงมติถึงความเป็น ผู้นำและความมีเกียรติ และมีความแน่นแฟ้นอีกทั้งปราดเปรื่องในหลากหลายวิชาการ คือ อบู มุหัมมัด อับดุลอะซีซฺ บิน อับดุสสลาม (ร่อฮิมะหุลเลาะฮ์ วะ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ) ได้กล่าวไว้ ในตอนท้ายหนังสือ ก่อวาอิด อัลอะหฺกาม ว่า " และบิดอะฮ์ก็ถูกแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์หะรอม บิดอะฮ์สุนัต บิดอะฮ์มักโระฮ์ และบิดอะฮ์มุบาห์

และแนวทางในการทราบถึงสิ่งดังกล่าวก็คือ การนำเอาบิดอะฮ์ไปวางไว้บนหลักเกนฑ์ต่างๆของชาริอะฮ์ (قواعد الشريعة) ถ้าหาก บิดอะฮ์ที่เข้าไปอยู่หลักการต่าง ๆ ที่วายิบ ก็เป็นบิดอะฮ์วายิบ และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการที่หะรอม ก็เป็นบิดอะฮ์หะรอม และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการต่างๆ ที่สุนัต ก็เป็นบิดอะฮ์ที่สุนัต และถ้าหากมันไปอยู่ในหลักการที่มักโระฮ์ ก็เป็นบิดอะฮ์มักโระฮ์ และถ้าหากมันเข้าไปอยู่ในหลัการที่มุบาห์ ก็เป็นบิดอะฮ์มะบาห์......(จากนั้นอิมาม อันนะวาวีย์กล่าวต่อว่า " ท่านอัลบัยอะกีย์ ได้รายงาน โดยสายรายงานของเขา ไว้ใน หนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ จากอิมามชาฟิอีย์(ร.ฏ.) ว่า

สิ่งที่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น มี 2 ประเภท

(1) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งที่นี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง

(2) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใด(ที่กล่าวมาแล้ว)นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ

ท่านอุมัรได้กล่าว เกี่ยวกับ(การรวม)ละหมาดตะรอวิหฺ ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

หมายความว่า "การละหมาดตะรอวิหฺในคืนร่อมาฏอนนี้ คือสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเมื่อมีการกระทำมาแล้ว ก็ไม่เป็นการค้านให้กับสิ่งที่กล่าวมา " ( ดู หนังสือ ตะฮ์ซีบ อัลอัสมาอ์ วัลลู้เฆาะฮ์ ของท่านอิมาม อันนะวาวีย์ เล่ม 3 หน้า 22 - 23)

นั่นคือทัศนะของนักปราชญ์ส่วนมาก ที่กล่าวว่า บิดอะฮ์นั้น มีทั้งบิดอะฮ์ ที่ถูกตำหนิ และบิดอะฮ์ที่ถูกสรรเสริญ หรือแบ่งบิดอะฮ์ออกเป็น 5 ประเภทโดยเอาไปวางอยู่บนหลักการของหุกุ่มทั้ง 5 และข้อควรทราบเกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮ์ก็คือ หากเราไปอ่านพบอุลามาอ์สะลัฟและคอลัฟที่กล่าวถึงคำว่า "บิดอะฮ์" เฉยๆ คือกล่าวแบบมุฏลัก ( مطلق ) โดยไม่มีข้อแม้หรือคำที่มาจำกัดคุณลักษณะของมาต่อท้าย นั่นก็ย่อมหมายถึง บิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงหรือบิดอะฮ์หะรอมและถูกตำหนิที่ส่วนมากเขาใช้กัน แต่หากว่าเป็นบิดอะฮ์ที่กล่าวแบบมุก๊อยยัด ( مقيد ) คือมีคำที่มาจำกัดต่อท้าย ก็ย่อมไม่ใช่หมายถึงบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง เช่นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ บิดอะฮ์มุบาห์ บิดอะฮ์มักโระฮ์ เป็นต้น

ตัวอย่างจากคำกล่าวของสะลัฟ เช่นคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูด ที่ว่า

اتبعوا ولا تبتدعوا فقد كفيتم

" พวกท่านจงเจริญตาม และพวกท่านอย่าอุตริบิดอะฮ์ขึ้นมา เพราะพวกท่านเพียงพอแล้ว" ดู หนังสือ มัจญฺมะอ์ อัลซะวาอิด เล่ม 1 หน้า 88

ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า

ما أتى على الناس عام إلا أحدثوا فيه بدعة، وأماتوا فيه سنة حتى تحي البدع وتموت السنن

" ปีหนึ่งจะไม่ผ่านผู้คนไป นอกจากพวกเขาจะอุตริบิดอะฮ์หนึ่งขึ้นมา และพวกเขาก็ทำให้ตายกับซุนนะฮ์หนึ่ง จนกระทั้งบรรดาบิดอะฮ์นั้นฟื้นขึ้นมาและบรรดาซุนนะฮ์ก็ได้ตายลงไป" ดู หนังสือ มัจญฺมะอ์ อัลซะวาอิด เล่ม 1 หน้า 88

อิหม่ามมาลิก บุตร อะนัสกล่าวว่า

من ابتدع في الإسلام بدعة يراها حسنة فقد زعم أن محمدا صلى الله عليه وسلم خان الرسالة، لأن الله يقول: (اليَومَ أكْمَلْتُ لَكُم دِينَكُمْ) فما لم يكن يومئذ دينا فلا يكون اليوم دينا

"ผู้ใดอุตริบิดอะฮหนึ่งขึ้นมาในอิสลาม โดยเห็นว่ามันดี แน่นอนเขาย่อมอ้างว่า แท้จริงมุหัมหมัด ศอลฯ นั้น ไม่ซื่อสัตย์ต่อสาส์นแห่งพระเจ้า เพราะว่าอัลลอฮทรงกล่าวว่า (วันนี้เราได้ให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์สำหรับพวกเจ้าแล้ว) เพราะฉะนั้นสิ่งใดก็ตามที่ไม่เป็นศาสนาในวันนั้น ในวันนี้มันก็ไม่เป็นศาสนาด้วย" โปรดดูอัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 149

จากที่ได้กล่าวมาแล้วสักครู่นี้ จะได้เห็นได้ว่า คำกล่าวของซอฮาบะฮ์ที่เกี่ยวกับบิดอะฮ์นั้น ก็คือบิดอะฮ์ที่อยู่ในความหมายแบบมุฏลัก (مطلق ) ที่อยู่ในความหมายประเภทบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงเท่านั้น และโปรดทำความเข้าใจให้ดี ไม่เช่นนั้น หลักการศาสนาจะขัดแย้งกันเอง แต่ความเป็นจริงแล้วศาสนาอิสลามมีความสมบูรณ์ ไม่มีการขัดแย้งกันเอง แต่ความเข้าใจของผู้ที่อวดรู้บางคนต่างหากที่ไม่เข้าใจหลักการ จึงทำให้โลกมุสลิมวุ่นวายอยู่ทุกวันนี้

และคำกล่าวของอิมามมาลิกก็เช่นเดียวกัน เพราะบิดอะฮ์ที่อิมามมาลิกกล่าวถึงนั้น คือบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง บิดอะฮ์ที่ไม่มีรากฐานมาจากศาสนา หากผู้ใดเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี เขาย่อมเป็นผู้อ้างว่าท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ไม่ซื่อสัตย์ต่อสาส์นของอัลเลาะฮ์ และบรรดาอุลามาอ์มัซฮับมาลิกีย์ ก็ไม่ได้เข้าใจว่า บิดอะฮ์ ที่อิมามมาลิกกล่าวไว้นั้น หมายถึงบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ที่มาจากบิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์สุนัต หรือบิดอะฮ์มุบาห์แต่อย่างใด ดังนั้นท่านผู้อ่านพึงพิจารณาให้ดีไว้ใน ณ ที่นี้ด้วย

ท่านอิบนุหะญัร ได้กล่าว วิจารณ์คำกล่าวท่านอุมัร(ร.ฏ.) ที่ว่า نعمت البدعة هذه ดังนี้

البدعة: أصلها ما أحدث على غير مثال سابق، وتطلق في الشرع في مقابل السنّة فتكون مذمومة والتحقيق أنها إن كانت مما يندرج تحت مستحسن فى الشرع فهى حسنة وإن كانت مما يندرج تحت مستقبح فهى مستقبحة وإلا فهى من قسم المباح

ความว่า " บิดอะฮ ที่มาของมันคือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน และคำว่าบิดอะฮ์อย่างเดียว ( مطلق ) (คือพูดโดยใช้คำว่า"บิดอะฮ์"เพียงลำพังตัวเดียว)ในทางบทบัญญัติ ได้ถูกนำมาใช้เรียกกับสิ่งที่ตรงข้ามกับซุนนะฮ์ จึงถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ จากการตรวจสอบพบว่า บิดอะฮ์นั้น หากมันเข้าไปอยู่ภายใต้สิ่งที่นับว่าดีตามหลักการของศาสนา มันก็คือ (บิดอะฮ์)หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และหากว่ามันเข้าไปอยู่ภายใต้สิ่งที่ถือว่าน่ารังเกียจ มันก็คือบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ และถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น(หมายถึงไม่เป็นทั้งบิดอะฮ์ทั้งสองประเภท) ก็ถือว่า มันเป็น ประเภทที่มุบาห์" ( ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 4 หน้า 253)

ท่านชัยค์ ด๊อกเตอร์ อลี ญุมอะฮ์ มุฟตีแห่งประเทศอียิปต์ ได้กล่าวหลังจากอธิบายคำนิยามบิดอะฮ์ตามหลักภาษา แล้วก็กล่าวคำนิยามตามหลักศาสนาว่า

(คำนิยาม)บิดอะฮ์ตามหลักศาสนา

บรรดาปวงปราชญ์ได้ให้คำนิยามคำว่า บิดอะฮ์ ตามหลักศาสนาไว้สองแนวทางด้วยกันคือ

หนทางที่ 1. คือแนวทางของท่าน อิซซุดดีน บิน อับดุสลาม โดยที่ท่านได้พิจารณาว่า แท้จริงสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยกระทำนั้น เป็นบิดอะฮ์ และท่านได้แบ่งบิดอะฮ์ออกเป็นหุกุ่มต่างๆ โดยท่านกล่าวว่า "(บิดอะฮ์คือ)การกระทำที่ไม่เป็นที่รู้จักกันในสมัยของท่านร่อซุลเลาะฮ์(ซ.ล.) คือมันแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์หะรอม บิดอะฮ์สุนัต บิดอะฮ์มักโระฮ์ และบิดอะฮ์มุบาห์.....(โปรดอ่านเพิ่มตามจากคำนิยามของ อิบนุ อับดุสลามที่ได้นำเสนอมาแล้วข้างต้น)" (ดู ก่อวาอิด อัลอะหฺกาม ฟี มะซอลิหฺ อัลอะนาม เล่ม 2 หน้า 204)

ท่านอิมาม อันนะวะวีย์ ได้สนับสนุนกับความหมายดังกล่าวว่า "ทุก ๆ การกระทำที่ไม่เคยมีในสมัยของท่านนบี(ซ.ล.) เรียกว่าบิดอะฮ์ แต่ส่วนหนึ่งเป็นบิดอะฮ์ที่ดี (หะสะนะฮ์) และส่วนหนึ่งเป็นบิดอะฮ์ที่ขัดแย้งกับดังกล่าว" (ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 2 หน้า 394)

หนทางที่ 2. คือทำความเข้าใจความหมายของบิดอะฮ์ตามหลักศาสนา(ตามแนวทางแรก)นั้น ให้เจาะจงเฉพาะ(บิดอะฮ์ตาม)หลักภาษา และ(ให้จำกัด)บิดอะฮ์ตามหลักศาสนาไว้กับบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิเท่านั้น คือ(อุลามาอ์ที่อยู่ในหนทางนี้)จะไม่เรียก บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์สุนัติ บิดอะฮ์มุบาหฺ และบิดอะฮ์มักโระฮ์ (ตามแนวทางของท่านอิบนุอับดุสลาม) ว่า "เป็นบิดอะฮ์" ส่วนผู้ที่มีแนวความคิดที่ว่า คือ ท่าน อิบนุร่อญับ (ร.ห.) ซึ่งได้อธิบายความหมายดังกล่าวว่า " จุดมุ่งหมายของบิดอะฮ์นั้น คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ ที่เกิดมาจากสิ่งที่ไม่มีรากฐานแห่งหลักศาสนาที่บ่งชี้ถึง แต่สำหรับสิ่งที่มีรากฐานแห่ง่หลักการของหลักศาสนาที่บ่งถึงนั้น ก็ย่อมไม่ใช่บิดอะฮ์ แต่หากว่า มันเป็นบิดอะฮ์ก็ตามหลักภาษาเท่านั้น(ไม่ใช่เป็นบิดอะฮ์ตามหลักศาสนา" (ดู ญาเมี๊ยะอฺ อัลอุลูม วะ อัลหิกัม หน้า 223 )

ในความเป็นจริงแล้ว สองแนวทางนี้ ต่างมีความเห็นสอดคล้องกันตามแก่นแท้เนื้อหาที่ของความเข้าใจจากคำว่า"บิดอะฮ์" (กล่าวคือสอดคล้องในด้าน การกระทำใด ๆ ก็ตาม ที่ไม่มีรากฐานดังเดิมตามหลักศาสนา ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิตามทัศนะของอิบนุรอญับ และเป็นบิดอะฮ์หะรอมตามทัศนะของท่านอิซซุดดีนบินอับดุสลาม) แต่ต่างกันตรงที่ แนวทางการวินิจฉัยที่นำไปสู่ความเข้าใจที่ตรงกัน คือ บิดอะฮ์อันถูกตำหนิ ที่เป็นการกระทำจะได้รับบาปนั้น คือบิดอะฮ์ที่ไม่มีรากฐานในศาสนาที่บ่งบอกถึง ซึ่งมันก็คือ จุดมุ่งหมายของคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ที่ว่า "ทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง" (ทั้งหมดนี้ ถ่ายทอดจาก หนังสือ อัลบะยาน หน้าที่ 204 - 205 ฟัตวาที่ 50)

เพราะฉะนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือ ซุนนะฮ์ นั่นเอง ซึ่งท่าน อิบนุ อะษีร ได้กล่าวยืนยันไว้ว่า

والبدعة الحسنة فى الحقيقة سنة، وعلى هذا التأويل يحمل حديث " كل محدث بدعة" على ما خالف أصول الشريعة، وما لم يخالف السنة

"และในความเป็นจริงแล้วบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือซุนนะฮ์นั่นเอง และให้อธิบายตามนัยนี้ หะดิษที่ว่า "ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์" โดยหมายถึง สิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐานของศาสนา และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ " ดู หนังสือ อันนิฮายะฮ์ เล่ม 1 หน้า 80 (ถ่ายทอดจากหนังสือ อัลบะยาน ลิมา ยัชฆ่อลุ อัลอัซฮาน หน้า 206 ฟัตวาที่ 50)

ดังนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ตาม

คนรักความถูกต้อง

ในปัจจุบัน การกล่าวหาหุกุ่มบิดอะฮ์กับบรรดาพี่น้องมุสลิมต่างทัศนะที่เกี่ยวกับปัญหาคิลาฟิยะฮ์

ข้อปลีกย่อยนั้น ได้สร้างความแตกแยกและสั่นคลอนเกิดขึ้นในสังคมมุสลิม แต่ด้วยการยึดติด

และคลั่งไคล้ในทัศนะของตนหรือเชื่อว่าแนวทางของตนเท่านั้นที่ถูกต้อง และเชื่อว่าตนเอง

กำลังเป็นผู้ฟื้นฟูศาสนานั้น ทำให้มีความมักง่าย ด้วยการกล่าว ชิริก กล่าวบิดอะฮ์

ต่อบรรดามุสลิมมีนที่อยู่แนวทางอื่นจากตน โดยไม่ทำความเข้าใจและศึกษาแนวทางอื่น

อย่างใจเป็นธรรมและถี่ถ้วน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่จะแก้ด้วยการให้บรรดามุสลิมมีน อีกทัศนะต้องเชื่อทัศนะของตนเพียงฝ่ายเดียว

ซึ่งในสภาพความเป็นจริงย่อมทำไม่ได้ ในเชิงปฏิบัติอยู่แล้ว เนื่องจากการขัดแย้งในข้อปลีกย่อยนั้น ได้มีมาตั้งแต่สมัยของซอฮาบะฮ์

จวบจนถึงปัจจุบัน แต่สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดในขณะนี้ก็คือ การทำความเข้าใจในหลักการซึ่งกัน และกัน สิ่งใดที่มีทัศนะเห็นพร้องกัน

เราก็สมควรร่วมมือกัน และสิ่งใดที่ต่างทัศนะกันเราก็ผ่อนปรนให้กันและกัน

อนึ่ง ประเด็นที่กระผมจะนำเสนอนั้น คือเรื่อง "บิดอะฮ์" ซึ่งมีบรรดาพี่น้องมุสลิมบางส่วนอาจจะยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนั้น กระผมจึงปราถนาจะนำเสนอ เป็นขั้นตอนไป โดยการกล่าวถึง คำนิยามของบิดอะฮ์ บิดอะฮ์ตามนัยของอัลกุรอาน บิดอะฮ์ตามนัยของซุนนะฮ์ บิดอะฮ์ตามความเข้าใจของซอฮาบะฮ์ บิดอะอ์ตามทัศนะของบรรดาอุลามาอ์สะลัฟและคอลัฟ และเงื่อนไขของบิดอะฮ์หะสะนะฮ์

นิยาม คำว่า บิดอะฮ์ ตามหลักภาษาอาหรับ

บิดอะฮ์ ตามหลักภาษาอาหรับ คือ คำนาม ที่มาจากคำว่า อิบติดาอ์ ( إبتداع ) หมายถึงการ ประดิษฐ์ขึ้นมาไหม่ ริเริ่มขึ้นมา หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นมาเป็นอันดับแรก

อัลกุรอานได้กล่าวว่า

قل ما كنت بدعا من الرسل

ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9)

หมายถึง ฉันไม่ใช่เป็นบุคคลแรกจากผู้ที่ถูกส่งมา แต่บรรดาร่อซูลมากมายที่ถูกส่งมาก่อนฉัน

อักษร บาอฺ (ب) ดาลฺ (د) อัยนฺ (ع) อ่านว่า بَدَعَ มีความหมายว่า

1. ริเริ่มทำสิ่งหนึ่ง และประดิษฐ์สิ่งหนึ่ง ที่ไม่มีตัวอย่างมาก่อน

2. หยุดฉงัก หมดเรี่ยวแรง ( ดู มั๊วะญัม มะกอยีส ของอิบนุ ฟาริส เล่ม 1 หน้า 209)

ท่านอบู อัลบะกออ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัล-กุลลียาต ว่า " บิดอะฮ์ คือการกระทำหนึ่งที่ไม่มีแบบอย่างมาก่อน " และความเข้าใจของนิยามนี้ คือ ทุก ๆ การกระทำหนึ่งที่ไม่มีแบบอย่างมาก่อน ไม่ว่าจะมีรากฐานที่มาแต่เดิม หรือไม่มี ก็ย่อมเป็นบิดอะฮ์ หลักฐานดังกล่าวคือ อัล-กุรอ่าน ได้กล่าวว่า

بديع السموات والأرض

ความว่า "พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์บรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน" (อัล-บะก่อเราะฮ์ 117)

หมายความว่า "พระองค์ทรงประดิษฐ์ ทรงสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน โดยไม่มีตัวอย่าง (المثال) มาก่อน คือไม่มีรากฐานเดิม (الأصل) มาก่อน คำว่า ตัวอย่าง ใน ณ ที่นี้ ย่อมครอบคลุมถึง รากฐานเดิม และรูปแบบ เพราะอัลเลาะฮ์ทรงสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน โดยที่ไม่เคยมีมาก่อนเลยจากรากฐานเดิมที่มาพาดพิงถึง และไม่มีรูปแบบจากการประดิษฐ์ที่เหมือนกับมัน

มีอีกหลักฐานหนึ่งกล่าวว่า

قل ما كنت بدعا من الرسل

ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9)

สรุปจากสิ่งที่ได้กล่าวมา คือ ความหมายคำกล่าวของท่าน อบู อัล-บะกออฺ ที่ว่า "โดยไม่มีตัวอย่างมาก่อน" หมายถึง "ไม่มีรากฐานหรือรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน" และด้วยความหมายนี้ ทำให้คำนิยาม มีความหมายที่ครอบคลุม (عموم) ดังนั้น ในประเด็นนี้จึงไม่สามารถยืนยันด้วยหลักฐานที่เจาะจงและเด็ดขาดได้ ฉะนั้น เราจึงต้องกลับไปหาอัล-กุรอานและซุนนะฮ์

สำหรับอัลกุรอานก็คือ

بديع السموات والأرض

ความว่า "พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์บรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน" (อัล-บะก่อเราะฮ์ 117)

หมายถึง "พระองค์ทรงสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน โดยไม่มีรากฐานและรูปแบบเดิมมาก่อน ซึ่งไม่มีการพาดพิงถึงการเหมือน (المثالية) เพราะคำว่า เหมือน (المثالية) ในเชิงภาษานั้น ให้ผลถึงการเปรียบเทียบ หรือเทียบเคียง (القياس) ได้"

และอัลกุรอานได้ย้ำอีกอายะฮ์หนึ่งว่า

قل ما كنت بدعا من الرسل

ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9)

หมายถึง "ฉันไม่มีอะไร นอกจากได้มีตัวอย่าง (المثال) มาก่อนแล้ว และตัวอย่างนี้ ก็คือ บรรดานบีและบรรดาร่อซูล" ดังกล่าวจึงชี้ชัดแก่เราว่า แท้จริง บิดอะฮ์มี สอง ประเภท

1. บิดอะฮ์ที่มีรากฐานมาแต่เดิม

2. บิดอะฮ์ที่ไม่มีรากฐานมาแต่เดิม

ซึ่งได้บ่งชี้ตามนัยยะดังกล่าว จากคำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่ว่า

من يشفع شفاعة حسنة يكن له نصيب منها ومن يشفع شفاعة سيئة يكن له كفل منها

"ผู้ใดที่ให้ความช่วยเหลือที่ดี ก็จะเป็นของเขาซึ่งส่วนหนึ่งจากความดีนั้น และผู้ใดให้ความช่วยเหลือที่ชั่ว ก็จะเป็นของเขาซึ่งส่วนหนึ่งจากความชั่วนั้น "

คำว่า (شفاعة) นี้ หมายถึง ซุนนะฮ์หรือแนวทางที่อัลเลาะฮ์ทรงวางแนวทางเอาไว้ และเป็นแนวทางที่ทุก ๆ ศาสนาต้องดำเนินตาม และตามแนวทางนี้นั้น อัลกุรอานและซุนนะฮ์ได้ดำรงอยู่ และด้วยสาเหตุจากแนวทางนี้ บรรดาชารีอะฮ์ต่าง ๆ ได้มีมา เพื่อแยกแยะระหว่างความดีและความชั่ว ดังนั้น ผู้ที่กล่าวว่า มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี)นั้น เขาย่อมวินิจฉัยจากหลักการนี้ ที่มาจากวิญญานและบรรดาเป้าหมายหรือเจตนารมณ์ของชาริอะฮ์

นิยามบิดอะฮ์ตามทัศนะของบรรดาอุลามาอ์

บรรดาอุลามาอ์ ได้จำกัดคำนิยามคำว่า "บิดอะฮ์" ไว้มากมาย

1. อิมามอัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฏ.)

สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น มี 2 ประเภท

(1) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งนี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง

(2) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใด(ที่กล่าวมาแล้ว)นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ

ท่านอุมัรได้กล่าว เกี่ยวกับ(การรวม)ละหมาดตะรอวิหฺ ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

หมายความว่า"การ(รวมตัว)ละหมาดตะรอวิหฺ(20 ร่อกะอัต)ในคืนร่อมาฏอนนี้ คือสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเมื่อมีการกระทำขึ้นมาแล้ว ก็ไม่เป็นการขัดต่อสิ่งที่กล่าวมา " และสายรายงานนี้ ซอเฮี๊ยะห์ ดู หนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ เล่ม1 หน้า 468 - 469

ท่านอบู นุอัยม์ ได้นำเสนอรายงานอีกสายรายงานหนึ่ง ไว้ในหนังสือ หิลยะตุลเอาลิยาอ์ เล่ม 9 หน้า 113 ว่า "ท่านอิมามอัช-อัชชาฟิอีย์ กล่าวว่า บิดอะฮ์นั้น มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่ถูกสรรเสริญ และบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ ดังนั้น สิ่งที่สอดคล้องกับซุนนะฮ์ ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกสรรเสริญ และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ และอิมามชาฟิอีย์ ได้อ้างหลักฐานด้วยคำกล่าวของท่านอุมัร(ร.ฏ.) เกี่ยวกับ ละหมาดตะรอวิหฺในเดือนรอมฏอนที่ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

2. ท่านอิบนุ หัซมิน (ร.ห.) เสียชีวิตปี 456 ฮ.ศ.

ท่านอิบนุ หัซมินกล่าวว่า "บิดอะฮ์ในศาสนานั้น คือทุกสิ่งที่ไม่เคยมีระบุไว้ในอัลกุรอานและในคำสอนจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) นอกจากว่าส่วนหนึ่งมีบิดอะฮ์ที่เจ้าของผู้กระทำจะถูกตอบแทนและได้รับการผ่อนปรนให้ทำตามได้ตามเจตนาอันดีงามของเขา ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์ คือ สิ่งที่ผู้กระทำจะได้รับผลตอบแทน และมันจะเป็นสิ่งที่ดีโดยที่มีรากฐานเดิมที่อนุมัติให้กระทำได้ ตามที่ได้มีรายงานจากท่านอุมัร (ร.ฏ.) ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

คือสิ่งที่เป็นการปฏิบัติความดีงามและมีตัวบทกล่าวไว้ อย่างคลุม ๆ ถึงการส่งเสริม(สุนัต)ให้กระทำ ถึงแม้ว่า การปฏิบัตินั้น จะไม่ได้ถูกกำหนดไว้ในตัวบทก็ตาม และอีกส่วนหนึ่งเป็นบิดอะฮ์ คือสิ่งที่ถูกตำหนิและผู้ปฏิบัติตาม จะไม่ได้รับการผ่อนปรน นั่นก็คือสิ่งที่มีหลักฐานมายืนยันว่ามันใช้ไม่ได้และผู้ที่ปฏิบัติก็ยังคงยืนกรานกระทำมัน

3. อิมาม อัลอิซฺซุดดีน บิน อับดุสลาม เสียชีวิตปี 660 ฮ.ศ.

ท่านกล่าวว่า "บิดอะฮ์คือสิ่งที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนในยุคสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) และมันก็ถูกแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์หะรอม บิดอะฮ์สุนัต บิดอะฮ์มักโระฮ์ และบิดอะฮ์มุบาห์"

และวิถีทางที่จะทราบถึงสิ่งดังกล่าวก็คือ การนำเอาบิดอะฮ์ไปวางไว้บนหลักเกนฑ์ต่าง ๆ ของชาริอะฮ์ (เกาะวาอิดอัชชะรีอะฮ์) เพราะถ้าหากบิดอะฮ์ได้เข้าไปอยู่ในหลักการต่าง ๆ ที่เป็นวายิบ มันก็เป็นบิดอะฮ์วายิบ และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการที่หะรอม ก็เป็นบิดอะฮ์หะรอม และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการต่าง ๆ ที่สุนัต ก็เป็นบิดอะฮ์ที่สุนัต และถ้าหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการที่มักโระฮ์ ก็เป็นบิดอะฮ์มักโระฮ์ และถ้าหากมันเข้าไปอยู่ในหลัการที่มุบาห์ ก็เป็นบิดอะฮ์มะบาห์

ตัวอย่างบิดอะฮ์วายิบ เช่น

(1) การศึกษาวิชานะฮู (ไวยกรณ์ภาษาอาหรับ) เพื่อให้เข้าใจคำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) และคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ (ซ.ล.) และดังกล่าวนี้ถือว่าเป็น สิ่งที่จำเป็น(วายิบ) เนื่องจากการรักษาไว้ซึ่งหลักชาริอะฮ์นั้นเป็นสิ่งที่วายิบ และการปกปักษ์รักษาหลักชะรีอะฮ์นั้น จะเกิดขึ้นมาไม่ได้ นอกจากด้วยการรู้จักหรือศึกษาสิ่งดังกล่าว และสิ่งที่วายิบจะไม่สมบูรณ์นอกจากด้วยกับมันนั้น แน่นอน สิ่งนั้นย่อมเป็นสิ่งที่วายิบด้วย

(2) การจดจำถ้อยคำที่เข้าใจยากทางภาษาอาหรับที่มีมาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์

(3) การประพันธ์วิชาอุซูลุลฟิกห์ (วิชาที่ว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์รากฐานของหลักวิชาฟิกห์)

(4) การพิจารณาและวิจารณ์นักรายงาน เพื่อแยกแยะระหว่างสิ่งที่ซอเฮี๊ยะหฺออกจากสิ่งที่ฏออีฟ

ดังนั้น กฏเกนฑ์ต่าง ๆ ของหลักชะรีอะฮ์นี้ ชี้ให้เห็นว่า การปกปักษ์รักษาไว้ซึ่งลักชะรีอะฮ์นั้น เป็นฟัรดูกิฟายะฮ์ในส่วนเสริมจากปริมาณที่จำเป็น ฉะนั้น การปกปักษ์รักษาหลักการของชะรีอะฮ์นั้น จะเกิดขึ้นไม่ได้ นอกจากสิ่งที่เราได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

ตัวอย่างของบิดอะฮ์ที่หะรอม

(1) มัซฮับอัลก๊อดรียะฮ์

(2) มัซฮับอัลญับรียะฮ์

(3) มัซฮับอัลมุรญิอะฮ์

(4) มัซฮับอัล-มุยัสซิมะฮ์ !!! (พวกที่เชื่อว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีคุณลักษณะคล้ายหรือเหมือนกับมนุษย์และสิ่งที่ถูกสร้าง เช่นพวกเขากล่าวว่า อัลเลาะฮ์ทรงนั่งสัมผัสอยู่บนบัลลังก์ อัลเลาะฮ์มีการเคลื่อนย้ายจากฟากฟ้าชั้นบนมาสู่ชั้นล่าง เชื่อว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีมือที่อยู่ในความหมายที่มนุษย์เข้าใจกันทั่วไป เป็นต้น)

และการป้องกันและโต้ตอบพวกเขาเหล่านั้น เป็นบิดอะฮ์ที่วายิบ

ตัวอย่างของบิดอะฮ์ที่สุนัต

(1) สร้างสถานที่สาธารณูประโยชน์

(2) สร้างสถาบันการศึกษา

(3) สร้างเขื่อน

(4) ทุกความดีที่ไม่มีการกระทำขึ้นในสมัยท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)

(5) การละหมาดตะรอวิหฺ(ตามรูปแบบที่ท่านอุมัรได้สั่งให้กระทำขึ้น)

(6) การกล่าวในเรื่องความละเอียดละออของวิชาตะเซาวุฟ

(7) การพูดถกในการชุมนุม เพื่อการอ้างหลักฐานในประเด็นต่างๆ หากมีเจตนาเพื่ออัลเลาะฮ์ (ซ.บ.)

ตัวอย่างบิดอะฮ์มักโระฮ์

(1) การตบแต่งประดับประดามัสยิดให้สวยงาม

(2) การประดับประดาลวดลายอัล-กุรอาน

(3) การอ่านท่วงทำนองอัล-กุรอานโดยที่ทำให้เปลี่ยนแปลงถ้อยคำต่างๆจากหลักภาษาอาหรับ แต่คำกล่าวที่ถูกต้องที่สุดนั้น เป็นบิดอะฮ์ที่หะรอม

ตัวอย่างบิดอะฮ์มะบาห์

(1) การจับมือหลังจากละหมาดซุบห์ และอัสริ

(2) การทำอาหารและเครื่องดื่มที่มีหลากหลายรสชาติ หลากหลายเครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย การสวมเสื้อคลุม ทำให้แขนเสื้อกว้าง โดยที่บางส่วนจากสิ่งที่ได้กล่าวมานั้น มีความเห็นที่ขัดแย้งกัน บางอุลามาอ์กล่าวว่า บางส่วนนั้นเป็นบิดอะฮ์ที่มักโระฮ์ และบางอุลามาอ์กล่าวว่า มันเป็นซุนนะฮ์ที่ได้ปฏิบัติกันในสมัยท่าน ร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) และยุคสมัยหลังจากนั้น....(ดู หนังสือ ก่อวาอิด อัลอะห์กาม ยุซฺ 2 หน้า 172 - 174)

คำนิยามของ อิมาม ซุลฏอน อัลอุละมาอ์ อิซซุดดีน บิน อับดุสลามนี้ เป็นคำนิยามในเชิงการวินิจฉัยที่พาดพิงไปยังบรรดาหุกุ่ม (ทั้ง 5 ) ตามหลักการศาสนา คือเป็นคำนิยามที่มีความรัดกุมยิ่งในประเด็นดังกล่าว

4. หุจญฺตุลอิสลาม อิมาม อัลฆ่อซาลีย์ (505 ฮ.ศ.)

ท่านอิมาม อัลฆอซาลีย์กล่าวว่า "บิดอะฮ์มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ หมายถึง บิดอะฮ์ที่ขัดแย้งกับซุนนะฮ์เดิม และเกือบจะนำไปสู่การเปลื่ยนแปลงซุนนะฮ์ และ(2)บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่โดยมีตัวอย่างมาแล้ว"

ท่านอิมาม อัลฆอซาลีย์ ได้กล่าวอีกเช่นกันว่า " สิ่งที่ถูกกล่าวว่า มันคือสิ่งที่ถูกทำขึ้นหลังจากร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)นั้น คือไม่ใช่ทุกๆ สิ่ง(ที่เกิดขึ้นมาใหม่) จะเป็นสิ่งต้องห้าม แต่สิ่งที่ต้องห้ามนั้น คือ บิดอะฮ์ที่ขัดแย้งหรือค้านกับซุนนะฮ์ที่ได้รับการยืนยันไว้แล้ว" (ดู หนังสือ เอี๊ยะหฺยาอ์ อุลูมิดดีน เล่ม 1 หน้า 276)

5. อิมาม อัล-มุหัดดิษ อิบนุ อัล-เญาซีย์ อัลหัมบาลีย์ (598 ฮ.ศ.)

ท่านอิบนุ อัล-เญาซีย์ กล่าวว่า "บิดอะฮ์ หมายถึง การกระทำที่ไม่เคยมีมาก่อน แล้วก็ได้อุตริกรรมกันมา และส่วนมากแล้ว บิดอะฮ์ที่ผิดหลักการนั้น มันจะค้านกับหลักชาริอะฮ์ และทำให้เกิดการเพิ่มเติมและตัดทอนขึ้นในชาริอะฮ์ เพราะฉะนั้น สิ่งใดก็ตามที่ได้อุตริกรรมขึ้นมาใหม่ โดยไม่ขัดแย้งกับหลักชาริอะฮ์และไม่ทำให้เกิดการเพิ่มเติมและตัดทอน(หลักชาริอะฮ์)แล้ว สะลัฟส่วนมากแค่รังเกียจมัน และพวกเขาพยายามหลีกเลี่ยงจากทุก ๆ คนที่ทำบิดอะฮ์ ซึ่งแม้ว่าสิ่งนั้น จะเป็นสิ่งที่ให้กระทำได้ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อที่จะรักษาไว้ซึ่งหลักการเดิม นั่นก็คือ การเจริญรอยตาม ซึ่งจะเห็นได้จากคำพูดของท่านซัยด์ บิน ษาบิต ที่ว่า

ท่านเซดฺ บิน ษาบิตได้กล่าวกับท่านอบูบักรและท่านอุมัร (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา) ในขณะที่ทั้งสองกล่าวแก่เขา ว่า "ท่านจงรวบรวมอัลกุรอาน" (ท่านเซดฺ บิน ษาบิต จึงกล่าวว่า) ท่านทั้งสองจะกระทำการสิ่งหนึ่งที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ไม่เคยกระทำกระนั้นหรือ ? "

หลังจากนั้น ท่านอิบนุ อัลเญาซีย์ได้กล่าวต่อไปว่า "แท้จริงกลุ่มซอฮาบะฮ์นั้น จะระวังทุก ๆ บิดอะฮ์ ถึงแม้ว่ามันจะไม่เป็นไรก็ตาม เพื่อพวกเขาจะได้ไม่ทำสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยที่บรรดาสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ที่ไม่ขัดแย้งกับหลักชะรีอะฮ์ และไม่ค้านกับชะรีอะฮ์นั้น พวกเขามีความเห็นว่า ให้กระทำมันได้ และถือว่าไม่เป็นไร เช่น การที่ท่านอุมัรได้รวบรวมผู้คนทำการละหมาดตะรอวิหฺ 20 ร่อกะอัตในเดือนร่อมาฏอน และกล่าวว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

(ดู หนังสือ ตัลบีส อิบลีส หน้า 7)

6. อิมาม อบู ชามะฮ์ อับดุรเราะห์มาน บิน อิสมาอีล อัลมุก๊อดดิซีย์ อัชขาฟิอีย์ (665 ฮ.ศ.)

ท่านอบู ชามะฮ์ กล่าวว่า " สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่นั้น ถูกแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ (แล้วท่าน อบู ชามะฮ์ ก็อ้างอิงคำพูดของอิมามชาฟิอีย์ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น) จากนั้น ท่านอบู ชามะฮ์กล่าวว่า " ฉันขอกล่าวว่า แท้จริง มันก็เป็นอย่างเช่นดังกล่าว เพราะท่านนบี(ซ.ล.) ส่งเสริมให้มีการละหมาดสุนัตในเดือนร่อมะฏอน โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กระทำที่มัสยิด โดยที่ซอฮาบะฮ์บางส่วนได้ทำการละหมาดตามท่านนบีเพียงไม่กี่คืน หลังจากนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งการละหมาดดังกล่าวในรูปแบบญะมาอะฮ์ โดยท่านนบี(ซ.ล.)ให้เหตุผลในเรื่องดังกล่าวว่า เกรงจะถูกฟัรดูแก่พวกเขา ดังนั้น เมื่อท่านนบี(ซ.ล.)ได้เสียชีวิต แล้วการปฏิบัติดังกล่าวก็ยุติลง ช่วงหลังจากนั้น บรรดาซอฮาบะฮ์จึงลงมติให้ทำการละหมาด(ตะรอวิหฺ)ในเดือนรอมาฏอนที่มัสยิดแบบญะมาอะฮ์ เพื่อเป็นการฟื้นฟูเอกลักษณ์ที่อัลเลาะฮ์ทรงใช้ และได้ส่งเสริมให้กระทำมัน วัลลอฮุอะลัม

จากที่ได้กล่าวมานี้จึงสามารถสรุปได้ว่า บรรดาบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น บรรดาปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามได้ลงมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้กระทำได้ และยังมีหวังได้ผลบุญ สำหรับผู้ที่มีเจตนาที่ดี โดยที่บิดอะฮ์นั้น จะต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่และสอดคล้องกับกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ของหลักศาสนา (ชะรีอะฮ์) และจะต้องไม่มีข้อห้ามตามหลักศาสนาหากได้กระทำมัน (ดู อัลบาอิษ อะลา อินการิลบิดะอ์ วัลหะวาดิษ ของท่าน อบี ชามะฮ์ หน้า 93)

ท่านอบู ชามะฮ์ ได้ให้คำนิยามของบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ จากคำพูดของท่านที่ว่า "บรรดาปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามได้ลงมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้กระทำได้" ซึ่งเขาหมายถึงบุคคลที่คำพูดของเขานั้น เป็นที่ยอมรับในเรื่องการอิจญฺมาอ์ ดังนั้น ผู้ที่ไม่เป็นที่ยอมรับกับคำพูดของเขา ก็ถูกคัดออกไป เช่นคำกล่าวของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ และผู้ที่มีแนวทางเดียวกับเขา เพราะฉะนั้น จึงไม่อนุญาตให้กับผู้ที่คัดค้านทัศนะคำกล่าวนี้ เนื่องจากเป็นการแหวกมติของประชาชาติอิสลาม และการแหวกมติของประชาชาติอิสลามนั้น เป็นสิ่งที่หะรอม

7. ท่าน อิบนุ อัล-อะษีร

ท่านอิบนุ อัล-อะษีร กล่าวว่า "บิดอะฮ์ มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่อยู่ในทางนำ และบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง เพราะฉะนั้น สิ่งใดก็ตามที่ขัดแย้งกับสิ่งที่อัลเลาะฮ์และร่อซูล(ซ.ล.) ทรงใช้นั้น ย่อมอยู่ในกรอบของการถูกตำหนิและปฏิเสธ และสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การครอบคลุมสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงใช้และส่งเสริม หรือสิ่งที่ร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) เรียกร้องและส่งเสริม ก็ย่อมอยู่ในกรอบแห่งการสรรเสริญ" จากนั้น ท่านอิบนุ อัล-อะษีร ทำการยกตัวอย่างบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ด้วยคำกล่าวของท่านอุมัร เกี่ยวกับละหมาดตะรอวิหฺ ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

จากนั้น ท่านอิบนุ อัล-อะษีร กล่าวว่า " บิดอะฮ์(จากคำกล่าวของท่านอุมัรนี้) แก่นแท้แล้ว คือซุนนะฮ์ เพราะท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

فعليكم بسنتى وسنة الخلفاء الراشدين

"พวกท่านจงยึดซุนนะฮ์ของฉัน และแนวทางของบรรดาคอลิฟะฮฺผู้ทรงธรรม"

และท่านร่อซุล กล่าวอีกว่า

إقتدوا بالذين من بعدى أبى بكر وعمر

" และพวกท่านจงดำเนินตาม บุคคลทั้งสองหลังจากที่ฉัน(ได้เสียชีวิตไปแล้ว) เขาทั้งสองคือ อบูบักรและอุมัร"

และหากเราได้ดำเนินตามความหมายตามนี้ ก็สามารถตีความ อีกหะดิษหนึ่งที่ว่า

(كل محدثة بدعة)

"ทุกสิ่งที่ทำขึ้นใหม่นั้นเป็นบิดอะฮ์"

คือ แท้จริง ท่านร่อซูล(ซ.ล.)หมายถึง ทุก ๆ สิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐาน(อุซูล)ต่าง ๆ ของชะริอะฮ์และไม่สอดคล้องกับซุนนะฮ์ " (ดู หนังสือ อันนิฮายะฮ์ ฟี ฆ่อรีบ อัลหะดีษ เล่ม 1 หน้า 106 - 107)

8. อัลหาฟิซฺ อิมาม มั๊วะหฺยุดดีน อันนะวาวีย์ (ร.ฏ.) (676 ฮ.ศ.)

ท่านอิมาม อันนะวาวีย์กล่าวว่า " คำว่า بَدَعَ คือ บิดอะฮ์ ตามหลักศาสนานั้น หมายถึง ทำให้เกิดขึ้นใหม่กับสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนในยุคสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) และ บิดอะฮ์ ก็แบ่งออกเป็น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ ท่านชัยค์ อิมาม ปราชญ์ ผู้ซึ่งถูกลงมติถึงความเป็น ผู้นำและความมีเกียรติ และมีความแน่นแฟ้นอีกทั้งปราดเปรื่องในหลากหลายวิชาการ คือ อบู มุหัมมัด อับดุลอะซีซฺ บิน อับดุสสลาม (ร่อฮิมะหุลเลาะฮ์ วะ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ) ได้กล่าวไว้ ในตอนท้ายหนังสือ ก่อวาอิด อัลอะหฺกาม ว่า " และบิดอะฮ์ก็ถูกแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์หะรอม บิดอะฮ์สุนัต บิดอะฮ์มักโระฮ์ และบิดอะฮ์มุบาห์

และแนวทางในการทราบถึงสิ่งดังกล่าวก็คือ การนำเอาบิดอะฮ์ไปวางไว้บนหลักเกนฑ์ต่างๆของชาริอะฮ์ (قواعد الشريعة) ถ้าหาก บิดอะฮ์ที่เข้าไปอยู่หลักการต่าง ๆ ที่วายิบ ก็เป็นบิดอะฮ์วายิบ และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการที่หะรอม ก็เป็นบิดอะฮ์หะรอม และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการต่างๆ ที่สุนัต ก็เป็นบิดอะฮ์ที่สุนัต และถ้าหากมันไปอยู่ในหลักการที่มักโระฮ์ ก็เป็นบิดอะฮ์มักโระฮ์ และถ้าหากมันเข้าไปอยู่ในหลัการที่มุบาห์ ก็เป็นบิดอะฮ์มะบาห์......(จากนั้นอิมาม อันนะวาวีย์กล่าวต่อว่า " ท่านอัลบัยอะกีย์ ได้รายงาน โดยสายรายงานของเขา ไว้ใน หนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ จากอิมามชาฟิอีย์(ร.ฏ.) ว่า

สิ่งที่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น มี 2 ประเภท

(1) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งที่นี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง

(2) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใด(ที่กล่าวมาแล้ว)นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ

ท่านอุมัรได้กล่าว เกี่ยวกับ(การรวม)ละหมาดตะรอวิหฺ ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

หมายความว่า "การละหมาดตะรอวิหฺในคืนร่อมาฏอนนี้ คือสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเมื่อมีการกระทำมาแล้ว ก็ไม่เป็นการค้านให้กับสิ่งที่กล่าวมา " ( ดู หนังสือ ตะฮ์ซีบ อัลอัสมาอ์ วัลลู้เฆาะฮ์ ของท่านอิมาม อันนะวาวีย์ เล่ม 3 หน้า 22 - 23)

นั่นคือทัศนะของนักปราชญ์ส่วนมาก ที่กล่าวว่า บิดอะฮ์นั้น มีทั้งบิดอะฮ์ ที่ถูกตำหนิ และบิดอะฮ์ที่ถูกสรรเสริญ หรือแบ่งบิดอะฮ์ออกเป็น 5 ประเภทโดยเอาไปวางอยู่บนหลักการของหุกุ่มทั้ง 5 และข้อควรทราบเกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮ์ก็คือ หากเราไปอ่านพบอุลามาอ์สะลัฟและคอลัฟที่กล่าวถึงคำว่า "บิดอะฮ์" เฉยๆ คือกล่าวแบบมุฏลัก ( مطلق ) โดยไม่มีข้อแม้หรือคำที่มาจำกัดคุณลักษณะของมาต่อท้าย นั่นก็ย่อมหมายถึง บิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงหรือบิดอะฮ์หะรอมและถูกตำหนิที่ส่วนมากเขาใช้กัน แต่หากว่าเป็นบิดอะฮ์ที่กล่าวแบบมุก๊อยยัด ( مقيد ) คือมีคำที่มาจำกัดต่อท้าย ก็ย่อมไม่ใช่หมายถึงบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง เช่นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ บิดอะฮ์มุบาห์ บิดอะฮ์มักโระฮ์ เป็นต้น

ตัวอย่างจากคำกล่าวของสะลัฟ เช่นคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูด ที่ว่า

اتبعوا ولا تبتدعوا فقد كفيتم

" พวกท่านจงเจริญตาม และพวกท่านอย่าอุตริบิดอะฮ์ขึ้นมา เพราะพวกท่านเพียงพอแล้ว" ดู หนังสือ มัจญฺมะอ์ อัลซะวาอิด เล่ม 1 หน้า 88

ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า

ما أتى على الناس عام إلا أحدثوا فيه بدعة، وأماتوا فيه سنة حتى تحي البدع وتموت السنن

" ปีหนึ่งจะไม่ผ่านผู้คนไป นอกจากพวกเขาจะอุตริบิดอะฮ์หนึ่งขึ้นมา และพวกเขาก็ทำให้ตายกับซุนนะฮ์หนึ่ง จนกระทั้งบรรดาบิดอะฮ์นั้นฟื้นขึ้นมาและบรรดาซุนนะฮ์ก็ได้ตายลงไป" ดู หนังสือ มัจญฺมะอ์ อัลซะวาอิด เล่ม 1 หน้า 88

อิหม่ามมาลิก บุตร อะนัสกล่าวว่า

من ابتدع في الإسلام بدعة يراها حسنة فقد زعم أن محمدا صلى الله عليه وسلم خان الرسالة، لأن الله يقول: (اليَومَ أكْمَلْتُ لَكُم دِينَكُمْ) فما لم يكن يومئذ دينا فلا يكون اليوم دينا

"ผู้ใดอุตริบิดอะฮหนึ่งขึ้นมาในอิสลาม โดยเห็นว่ามันดี แน่นอนเขาย่อมอ้างว่า แท้จริงมุหัมหมัด ศอลฯ นั้น ไม่ซื่อสัตย์ต่อสาส์นแห่งพระเจ้า เพราะว่าอัลลอฮทรงกล่าวว่า (วันนี้เราได้ให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์สำหรับพวกเจ้าแล้ว) เพราะฉะนั้นสิ่งใดก็ตามที่ไม่เป็นศาสนาในวันนั้น ในวันนี้มันก็ไม่เป็นศาสนาด้วย" โปรดดูอัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 149

จากที่ได้กล่าวมาแล้วสักครู่นี้ จะได้เห็นได้ว่า คำกล่าวของซอฮาบะฮ์ที่เกี่ยวกับบิดอะฮ์นั้น ก็คือบิดอะฮ์ที่อยู่ในความหมายแบบมุฏลัก (مطلق ) ที่อยู่ในความหมายประเภทบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงเท่านั้น และโปรดทำความเข้าใจให้ดี ไม่เช่นนั้น หลักการศาสนาจะขัดแย้งกันเอง แต่ความเป็นจริงแล้วศาสนาอิสลามมีความสมบูรณ์ ไม่มีการขัดแย้งกันเอง แต่ความเข้าใจของผู้ที่อวดรู้บางคนต่างหากที่ไม่เข้าใจหลักการ จึงทำให้โลกมุสลิมวุ่นวายอยู่ทุกวันนี้

และคำกล่าวของอิมามมาลิกก็เช่นเดียวกัน เพราะบิดอะฮ์ที่อิมามมาลิกกล่าวถึงนั้น คือบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง บิดอะฮ์ที่ไม่มีรากฐานมาจากศาสนา หากผู้ใดเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี เขาย่อมเป็นผู้อ้างว่าท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ไม่ซื่อสัตย์ต่อสาส์นของอัลเลาะฮ์ และบรรดาอุลามาอ์มัซฮับมาลิกีย์ ก็ไม่ได้เข้าใจว่า บิดอะฮ์ ที่อิมามมาลิกกล่าวไว้นั้น หมายถึงบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ที่มาจากบิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์สุนัต หรือบิดอะฮ์มุบาห์แต่อย่างใด ดังนั้นท่านผู้อ่านพึงพิจารณาให้ดีไว้ใน ณ ที่นี้ด้วย

ท่านอิบนุหะญัร ได้กล่าว วิจารณ์คำกล่าวท่านอุมัร(ร.ฏ.) ที่ว่า نعمت البدعة هذه ดังนี้

البدعة: أصلها ما أحدث على غير مثال سابق، وتطلق في الشرع في مقابل السنّة فتكون مذمومة والتحقيق أنها إن كانت مما يندرج تحت مستحسن فى الشرع فهى حسنة وإن كانت مما يندرج تحت مستقبح فهى مستقبحة وإلا فهى من قسم المباح

ความว่า " บิดอะฮ ที่มาของมันคือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน และคำว่าบิดอะฮ์อย่างเดียว ( مطلق ) (คือพูดโดยใช้คำว่า"บิดอะฮ์"เพียงลำพังตัวเดียว)ในทางบทบัญญัติ ได้ถูกนำมาใช้เรียกกับสิ่งที่ตรงข้ามกับซุนนะฮ์ จึงถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ จากการตรวจสอบพบว่า บิดอะฮ์นั้น หากมันเข้าไปอยู่ภายใต้สิ่งที่นับว่าดีตามหลักการของศาสนา มันก็คือ (บิดอะฮ์)หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และหากว่ามันเข้าไปอยู่ภายใต้สิ่งที่ถือว่าน่ารังเกียจ มันก็คือบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ และถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น(หมายถึงไม่เป็นทั้งบิดอะฮ์ทั้งสองประเภท) ก็ถือว่า มันเป็น ประเภทที่มุบาห์" ( ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 4 หน้า 253)

ท่านชัยค์ ด๊อกเตอร์ อลี ญุมอะฮ์ มุฟตีแห่งประเทศอียิปต์ ได้กล่าวหลังจากอธิบายคำนิยามบิดอะฮ์ตามหลักภาษา แล้วก็กล่าวคำนิยามตามหลักศาสนาว่า

(คำนิยาม)บิดอะฮ์ตามหลักศาสนา

บรรดาปวงปราชญ์ได้ให้คำนิยามคำว่า บิดอะฮ์ ตามหลักศาสนาไว้สองแนวทางด้วยกันคือ

หนทางที่ 1. คือแนวทางของท่าน อิซซุดดีน บิน อับดุสลาม โดยที่ท่านได้พิจารณาว่า แท้จริงสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยกระทำนั้น เป็นบิดอะฮ์ และท่านได้แบ่งบิดอะฮ์ออกเป็นหุกุ่มต่างๆ โดยท่านกล่าวว่า "(บิดอะฮ์คือ)การกระทำที่ไม่เป็นที่รู้จักกันในสมัยของท่านร่อซุลเลาะฮ์(ซ.ล.) คือมันแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์หะรอม บิดอะฮ์สุนัต บิดอะฮ์มักโระฮ์ และบิดอะฮ์มุบาห์.....(โปรดอ่านเพิ่มตามจากคำนิยามของ อิบนุ อับดุสลามที่ได้นำเสนอมาแล้วข้างต้น)" (ดู ก่อวาอิด อัลอะหฺกาม ฟี มะซอลิหฺ อัลอะนาม เล่ม 2 หน้า 204)

ท่านอิมาม อันนะวะวีย์ ได้สนับสนุนกับความหมายดังกล่าวว่า "ทุก ๆ การกระทำที่ไม่เคยมีในสมัยของท่านนบี(ซ.ล.) เรียกว่าบิดอะฮ์ แต่ส่วนหนึ่งเป็นบิดอะฮ์ที่ดี (หะสะนะฮ์) และส่วนหนึ่งเป็นบิดอะฮ์ที่ขัดแย้งกับดังกล่าว" (ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 2 หน้า 394)

หนทางที่ 2. คือทำความเข้าใจความหมายของบิดอะฮ์ตามหลักศาสนา(ตามแนวทางแรก)นั้น ให้เจาะจงเฉพาะ(บิดอะฮ์ตาม)หลักภาษา และ(ให้จำกัด)บิดอะฮ์ตามหลักศาสนาไว้กับบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิเท่านั้น คือ(อุลามาอ์ที่อยู่ในหนทางนี้)จะไม่เรียก บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์สุนัติ บิดอะฮ์มุบาหฺ และบิดอะฮ์มักโระฮ์ (ตามแนวทางของท่านอิบนุอับดุสลาม) ว่า "เป็นบิดอะฮ์" ส่วนผู้ที่มีแนวความคิดที่ว่า คือ ท่าน อิบนุร่อญับ (ร.ห.) ซึ่งได้อธิบายความหมายดังกล่าวว่า " จุดมุ่งหมายของบิดอะฮ์นั้น คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ ที่เกิดมาจากสิ่งที่ไม่มีรากฐานแห่งหลักศาสนาที่บ่งชี้ถึง แต่สำหรับสิ่งที่มีรากฐานแห่ง่หลักการของหลักศาสนาที่บ่งถึงนั้น ก็ย่อมไม่ใช่บิดอะฮ์ แต่หากว่า มันเป็นบิดอะฮ์ก็ตามหลักภาษาเท่านั้น(ไม่ใช่เป็นบิดอะฮ์ตามหลักศาสนา" (ดู ญาเมี๊ยะอฺ อัลอุลูม วะ อัลหิกัม หน้า 223 )

ในความเป็นจริงแล้ว สองแนวทางนี้ ต่างมีความเห็นสอดคล้องกันตามแก่นแท้เนื้อหาที่ของความเข้าใจจากคำว่า"บิดอะฮ์" (กล่าวคือสอดคล้องในด้าน การกระทำใด ๆ ก็ตาม ที่ไม่มีรากฐานดังเดิมตามหลักศาสนา ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิตามทัศนะของอิบนุรอญับ และเป็นบิดอะฮ์หะรอมตามทัศนะของท่านอิซซุดดีนบินอับดุสลาม) แต่ต่างกันตรงที่ แนวทางการวินิจฉัยที่นำไปสู่ความเข้าใจที่ตรงกัน คือ บิดอะฮ์อันถูกตำหนิ ที่เป็นการกระทำจะได้รับบาปนั้น คือบิดอะฮ์ที่ไม่มีรากฐานในศาสนาที่บ่งบอกถึง ซึ่งมันก็คือ จุดมุ่งหมายของคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ที่ว่า "ทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง" (ทั้งหมดนี้ ถ่ายทอดจาก หนังสือ อัลบะยาน หน้าที่ 204 - 205 ฟัตวาที่ 50)

เพราะฉะนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือ ซุนนะฮ์ นั่นเอง ซึ่งท่าน อิบนุ อะษีร ได้กล่าวยืนยันไว้ว่า

والبدعة الحسنة فى الحقيقة سنة، وعلى هذا التأويل يحمل حديث " كل محدث بدعة" على ما خالف أصول الشريعة، وما لم يخالف السنة

"และในความเป็นจริงแล้วบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือซุนนะฮ์นั่นเอง และให้อธิบายตามนัยนี้ หะดิษที่ว่า "ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์" โดยหมายถึง สิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐานของศาสนา และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ " ดู หนังสือ อันนิฮายะฮ์ เล่ม 1 หน้า 80 (ถ่ายทอดจากหนังสือ อัลบะยาน ลิมา ยัชฆ่อลุ อัลอัซฮาน หน้า 206 ฟัตวาที่ 50)

ดังนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ตาม

ท่านsamree คับ พอดีผมด่อยทางด้านศาสนาน่ะ สิ่งที่เปนบิดอะห์ มันทำผมนั้นงงไปหมด แล้วผมจะถามว่าคุณซัมรีนี้ เอาส่วนไหนของร่างกายคิดน่ะ ทำไมโลกนี้เวลานี้ชั่งมี อรัยที่บิดอะห์มากเกินน่ะ ทำไมรุ่นก่อนไม่มีครัยคัดค้านไดๆ หรือว่าเปนเพราะท่านซัมรีด่อยการศึกษาน่ะ ถ้าเปนเช่นนั้น อีบาดัดคนรุ่นก่อนคงไม่สมบูรณ์ น่ะ เพราะท่านกล่าวมานั้นบรรดานักปราชน์สี่มัสฮับได้ทำกันน่ะ ท่านซัมรี เก่งกว่าพวกเขาซิน่ะ หากท่านซัมรีว่าทุกการกระทำที่กล่าวหานั้นบิดอะห์ ฝากบอก หัวหน้าของคุณซัมรีด้วยน่ะ ไห้ลาออกจากอธิบดี มหาวิทยาลัย เพราะเปนบิดอะห์ที่ร้ายแรงมากน่ะ ท่านนบีไม่มียศเปนอธิบดีน่ะ


บิดอะห์ มันมีหลายประเภท คุณมาบอกแบบนี้ คนที่ไม่เคยศาสนามาก่อน หรือเรียน แต่ไม่ลึกซึ้งจะทำให้เค้าเข้าใจผิดได้น่ะค่ะ อยากให้เป็นกลางมากกว่านี้ อย่าเอาทัศนะของใคร คนใดคนนึ่งมาโพสแบบนี้เลย ถามจริง คนโพสนี่เรียนหะดิษมากี่เล่มแล้วค่ะ ?? แล้วเรียนของอีหม่ามไหนบ้าง ?? เรื่องศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่รู้จริง อย่าโพสเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท