หน่วยที่ 4 การอ่านภาพ


หน่วยที่ 4 การอ่านภาพ
หน่วยที่ 4 การอ่านภาพ Feb 25, '08 4:58 AM
for everyone

ความหมายของการอ่านภาพ
         การอ่านภาพ (Visual Literacy) หมายถึง ความชำนาญที่สามารถทำให้คนเรา เข้าใจ แปลความและสร้างสรรค์ภาพ
อันได้จากจักษุสัมผัส และนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารได้ จากความหมายนี้จะเห็นว่ามีคำที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 คำ คือ

1. เข้าใจและเรียนรู้ (Understanding and Learning)
2. แปลความ (Interpret)
3. สร้างสรรค์ (Create)
        ในปี ค.ศ. 1970 ที่สหรัฐอเมริกาได้มีการประชุมเพื่อดำเนินการส่งเสริมด้านการ อ่านภาพ (Visual Literacy) และที่ประชุมได้ให้ความหมายไว้ว่า " เป็นสิ่งที่เกี่ยวโยงกับความสามารถในการมองเห็นของมนุษย์ที่สามารถพัฒนาได้โดยบูรณาการ เข้ากับประสบการณ์และประสาทส่วนอื่น ๆ การพัฒนาการของความสามารถนั้นเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ตามปกติของมนุษย์ เมื่อมีการพัฒนาแล้วจะทำให้บุคคลนั้นมีการรู้ด้านสมองเพื่อจำแนกและแปลความหมายสิ่งที่สมองเห็นนั้นและหน้าที่ของภาพหรือทัศนวัสดุก็คือการช่วยให้สารนั้นมีลักษณะเป็นรูปธรรมมากขึ้น ง่ายต่อการเข้าใจมากกว่าตัวหนังสือและตัวอักษรต่าง ๆ"
          หากเงื่อนไขของท่านบอกท่านว่าไปพบสัตว์ประหลาดตัวหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะดังนี้ คือ มี 2 ศีรษะ 4 มือ 4 ขา 2 ตา 4 หู 2 จมูก 2 ปาก 2 เขา และ 1 หาง ท่านอาจนึก ไม่ออกว่ามีลักษณะอย่างไร เหมือนกับสัตว์ชนิดใด แต่ถ้าหากเพื่อนของท่านมีภาพ ซึ่งอาจเป็น ภาพถ่าย ภาพวาด หรือภาพร่างคร่าว ๆ ให้ดู นอกจากจะ ย่นระยะเวลาตีความแล้ว ยังสามารถ ทำให้เข้าใจได้ดีและง่ายขึ้น

        จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้เพื่อให้ได้รับการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจแล้ว แม้จะอ่าน หนังสือไม่ออก แต่ก็สามารถเข้าใจได้โดยดูจากภาพ ซึ่งในปัจจุบันนี้การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ของภาครัฐ และเอกชน ร้านค้าต่าง ๆ นิยมใช้ภาพผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์ สไลด์ โทรทัศน์ นิทรรศการ ตลอดจนสื่อทัศนะอื่น ๆ อย่างมากมาย ซึ่งได้แก่ การกระทำ สัญลักษณ์ สิ่งที่เป็น ธรรมชาติหรือสิ่งประดิษฐ์ บุคคลจะใช้ความสามารถนี้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อติดต่อสื่อสารกับ บุคคลอื่น และด้วยความซาบซึ้งในสุนทรีของความสามารถนี้เอง ทำให้บุคคลเข้าใจและได้ รับความเพลิดเพลินจากผลงานชิ้นเอก ซึ่งเป็นทัศนสารอื่น ๆ ด้วย

การมองเห็นกับความหมาย
             กิจกรรมประจำวันของมนุษย์อย่างหนึ่งคือ การติดต่อสื่อสารที่มีการส่งผ่านสัญญาณ เพื่อให้เกิดความหมายขึ้นในตัวผู้รับและการสื่อสารจำนวนมากใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน (Verbal Communication) ที่มักล้มเหลวอยู่เป็นประจำเพราะการสื่อสารลักษณะนี้จะมี ประสิทธิภาพได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เป็นต้นว่า ประสบการณ์ ภาษา เพศ อายุ สภาพ สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและตัวแปรอื่น ๆ อีกมากมาย สิ่งที่น่าสนใจที่จะช่วยให้การสื่อสาร สมบูรณ์มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งคือ ภาพ

ความเหมือนจริงของภาพ
              สื่อภาพที่ใช้ฉายและไม่ใช้ฉายด้วยเครื่องฉาย มีความแตกต่างกันหลายประการ เป็น ต้นว่า ขนาด ส่วนประกอบ ความคมชัด สีสันและแสง ซึ่งสิ่งที่เป็นพื้นฐานของความแตกต่าง เหล่านี้เรียกว่า ระดับความเหมือนจริง (degree of realism) สิ่งที่เรามองเห็นนั้นแท้ที่จริงมิใช่เป็นของจริงทั้งหมด ทั้งนี้เพราะของจริงหรือเหตุการณ์จริงย่อมนำมาเป็นสื่อสามมิติหรือภาพ ยนตร์สีไม่ได้ สื่อที่เป็นภาพอาจจำแนกเป็นภาพลายเส้น ภาพการ์ตูน ภาพเหมือน ภาพถ่ายขาวดำ และภาพสีจะเห็นได้ว่าเราสามารถจำแนกภาพได้ตั้งแต่ภาพที่เป็นนามธรรมน้อยที่สุดไปจนถึงภาพที่เป็นนามธรรมมากที่สุด เราอาจคิดว่าภาพที่เหมือนจริงที่สุดนั้นจะช่วยให้แสดงการเรียนรู้สูงสุดเสมอ เรื่องนี้ไม่จริงเสมอไป จากการทดลองและวิจัยพบว่า ขีดความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นแตกต่างกันไปตามระดับอายุ สติปัญญา การศึกษาและอื่น ๆ และการวิจัยยังพบว่าภาพที่ เหมือนจริงมักมีสิ่งอื่นแฝงอยู่เกินความจำเป็น ซึ่งอาจไม่ใช่สิ่งชี้แนะทางการเรียนรู้ก็ได้ ในทาง ตรงกันข้ามอาจทำให้เกิดความยุ่งยาก สลับซับซ้อนเป็นอุปสรรคในการทำความเข้าใจ ผลการ วิจัยสรุปว่า ทั้งภาพที่เหมือนจริงมากและภาพที่เหมือนจริงน้อย เช่น ภาพลายเส้น เป็นต้น ต่างก็มีผลต่อการเรียนรู้ทั้งสิ้น ภาพที่ดูเรียบง่ายแม้ว่าจะเหมือนจริงอยู่ในระดับปานกลางระหว่างความเหมือนกับสัญลักษณ์แต่จะมีผลต่อการเรียนรู้สูงกว่า

ลักษณะของภาพที่ผู้เรียนชอบ
        ผู้เรียนจะสนใจและชอบภาพใด ๆ นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการของภาพนั้น ๆ อย่างไรก็ตามการชอบภาพนั้นมิได้หมายความว่าผู้เรียนจะเรียนรู้จากภาพนั้นได้ดีที่สุด จากการ ศึกษาความชอบภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในสหรัฐอเมริกา พบว่าผู้เรียนจะชอบภาพที่มี ลักษณะดังต่อไปนี้
           1. ชอบภาพสีมากกว่าขาวดำ
          2. ชอบภาพถ่ายมากกว่าภาพวาด
          3. ชอบภาพเหมือนจริงหรือมีสีสัน
          4. เด็กเล็กชอบภาพที่ดูเรียบง่ายมากกว่าภาพที่ดูสลับซับซ้อน
          5. เด็กโตชอบภาพที่ดูสลับซับซ้อนมากกว่าภาพที่ดูเรียบง่าย

        ดังนั้นผู้ที่นำภาพไปใช้ควรคำนึงถึงความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ทั้งในแง่ความชอบ ของผู้ดูและประสิทธิผลต่อการเรียนรู้ด้วย แล้วจึงบูรณาการ (Integration) ตามแนวคิดที่ได้จากภาพอันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคลเสร็จแล้ว
มีการอธิบายหาข้อสรุปที่ได้จากภาพ เพื่อนำไปสู่แนวคิดใหม่ที่ได้จากการเรียนรู้ มุ่งสู่การสร้างสรรค์ความคิดใหม่ที่ได้จากภาพนั้น
จะเห็นว่า การถอดรหัสของผู้เรียนย่อมแตกต่างกันตาม อายุ และภูมิหลังทางวัฒนธรรม
        1. อายุ อายุเป็นตัวแปรสำคัญมากอย่างหนึ่งในการแปลความหมายของภาพหรือ สิ่งที่เห็น จากผลการวิจัยพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี จะดูภาพและแปลความหมายของภาพนั้น แยกออกเป็นส่วน ๆ โดยจะบอกส่วนประกอบของภาพแต่ละส่วนเป็นอย่างไร ส่วนผู้ที่มีอายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป เมื่อดูภาพแล้วสามารถย่อเรื่องและสรุปความหมายของภาพได้ ดังนั้นภาพที่ เห็นเป็นนามธรรมหรือที่มีรายละเอียดมากเกินไปจะทำให้เด็กเล็กดูไม่เข้าใจและอาจทำให้เข้า ใจผิดหรือไขว้เขวได้
        พัฒนาการทางอายุของผู้ดูอาจมีอิทธิพลต่อการแปลความหมายของภาพวาด ลายเส้นได้ เช่น ภาพประเภทเส้นความเร็ว หรือภาพที่มีขนาดวัตถุแตกต่างกันเพราะความใกล้ ไกลของตำแหน่งที่ตั้ง การวิจัยพบว่าเด็กอายุ 7 ปีขึ้นไปมีความเข้าใจภาพของสิ่งของที่แสดงถึง ความเคลื่อนไหวได้ดีกว่าเด็กเล็ก อย่างไรก็ตามหากเป็นภาพคนที่กำลังวิ่งหรือวัตถุกำลังเคลื่อน ที่จะทำให้เด็กเข้าใจได้ดีกว่าภาพลายเส้นที่แสดงการเคลื่อนที่

 2. ภูมิหลังทางวัฒนธรรม เป็นตัวแปรสำคัญอีกอย่างหนึ่งเพราะผู้ที่มีภูมิหลังทาง วัฒนธรรมที่ต่างกัน ตัวแปรนี้ส่วนหนึ่ง มาจากประสบการณ์การเรียนรู้ เช่น เด็กในเมืองหลวง จะแปลความหมายของภาพชีวิตประจำวันในท้องถนน ของคนในเมืองแตกต่างจากเด็กในชนบท เช่นเดียวกันทั้งสองกลุ่มจะแปลความหมายภาพชีวิตในท้องทุ่งนาแตกต่างกันด้วย การดูภาพ สัญลักษณ์จะแปลความหมายแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิหลังทางวัฒนธรรมของเขาด้วย นอกจากนั้นยังมีตัวแปรอื่น ๆ เป็นต้นว่า ประสบการณ์ ศาสนา สังคม เศรษฐกิจ และระดับการศึกษา
        ระดับการเรียนรู้จากภาพแยกเป็น 2 ลักษณะใหญ่และในแต่ละลักษณะยังแยกย่อยออกไปอีกรวมแล้วมี 5 ระดับดังนี้

1. ขั้นจำแนก (Differentiation)
     1.1 สังเกตส่วนประกอบต่าง ๆ ในภาพ
     1.2 วิเคราะห์รายละเอียด ความสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่าง ๆ เหล่านั้น
2. ขั้นบูรณาการ (Integration)
     2.1 เชื่อมโยงประสบการณ์ของผู้อ่าน
     2.2 สรุปและเชื่อมโยงแนวความคิด
     2.3 สร้างสรรค์และเขียนคำอธิบายเป็นเรื่องราว

การฝึกทักษะและประกอบกิจกรรมในการอ่านภาพ
        หลักการสอนอ่านภาพใช้หลักการติดต่อสื่อสารและใช้วิธีสอนเช่นเดียวกับการสอนอ่านและ สอนเขียนทั่วไป คือให้ผู้เรียนสามารถถอดรหัส (Decode) คือความสามารถในการแปรความ หมายของภาพ และการเข้ารหัส (Encode) คือความสามารถในการแปรสภาพ สิ่งของที่เห็นนั้นให้เหมาะสมในลักษณะของภาพ ในการอ่านภาพนั้นการถอดรหัสหมายรวมถึงการอ่านภาพอย่างถูกต้องมีคนเข้าใจและ สามารถอ่านส่วนประกอบต่าง ๆ ในภาพได้และสามารถอธิบายภาพที่มองเห็นนั้นเป็นคำพูดหรือ เขียนได้ตลอดจนรู้สึกซาบซึ้ง (Appreciate) ในภาพที่มองเห็นนั้น ส่วนการเข้ารหัส หมายรวมถึงความสามารถในการใช้สื่อที่เน้นภาพในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมี ประสิทธิภาพและสามารถอธิบายลักษณะของบุคคลออกมาเป็นภาพได้ การฝึกทักษะแบ่งออก เป็น 2 วิธีการคือ

1. การถอดรหัสกับการเรียนรู้จากภาพ
        ดังได้กล่าวมาแล้วว่าการถอดรหัสเป็นการแปรความหมายของภาพข้อมูลหรือ สิ่งที่มองเห็นนั้นคือ การอ่าน (Reading) ภาพได้อย่างถูกต้องมีความเข้าใจและสามารถเชื่อม เนื้อหาของภาพตลอดจนแปรภาพให้เป็นคำพูดมีความชื่นชมในสุนทรียะของภาพนั้น การถอดรหัส และการเรียนรู้ภาพนั้นจำเป็นต้องได้รับการฝึกการดูภาพ การมองเห็นภาพมิได้หมายความว่าจะ ต้องเข้าใจหรือเกิดการเรียนรู้เสมอไปจะต้องได้รับการชี้แนะในการแปรความหมายของภาพให้ ถูกต้องวิธีการนั้นเริ่มต้นจากการรับรู้และรู้จักจำแนกให้เห็นความแตกต่างภายในภาพ สามารถ วิเคราะห์ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ปรากฏในภาพ

2. การเข้ารหัสกับการเรียนรู้ภาพ
        ทักษะการอ่านภาพหมายรวมถึง ทักษะการเขียนภาพการสร้างภาพการแปล ความหมายจากการคิดและการพูดออกมาเป็นภาพตลอดจนการสร้างเรื่องราวหรือแสดงภาพเพื่อ สื่อความหมายให้คนอื่นเข้าใจ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับการอ่านและการเขียนโดยทั่วไป การฝึก ทักษะการอ่านภาพนั้นควรเป็นกิจกรรมเริ่มต้นในระดับปฐมวัย โดยเฉพาะการให้เด็กฝึกการ เรียงลำดับภาพ (Sequencing) เพื่อฝึกความสามารถในการเรียงความคิดให้เป็นลำดับ เหตุผล ที่ภาพโทรทัศน์ได้นำเสนออยู่เป็นประจำและมีอิทธิพลต่อผู้ชมมาก ภาพโทรทัศน์มีการ เสนอเนื้อหาความคิดที่เป็นส่วนย่อยเรียงลำดับมาดีเพียงได้รับการฝึกเล็กน้อยก็สามารถดูภาพ และเข้าใจได้ ส่วนภาพนิ่งอื่น ๆ ควรจะได้รับการแนะนำวิธีการดูภาพให้เข้าใจเพื่อฝึกทักษะใน การจัดเรียงลำดับความคิด

        ในการเรียนการสอนให้เกิดทักษะการอ่านภาพนั้นมีรูปแบบต่าง ๆ พอที่จะสรุป ได้ดังนี้
        2.1 การใช้รูปภาพต่าง ๆ หลาย ๆ ภาพที่เกี่ยวข้องกันเป็นชุด (Photo Story Discovery kit) หรือทางการสื่อสารเรียกว่าภาพชุด (Photo Montage) ให้ผู้เรียนเรียงลำดับเพื่อเล่าเรื่องราว ภาพเหล่านี้อาจสลับลำดับแตกต่างกันใช้เล่าเรื่องราว แตกต่างกันได้ด้วย
        2.2 การทำสมุดภาพเกี่ยวกับบุคคลในครอบครัว สัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่ แผนแสดงภาพระบบเครือญาติ (Family Tree) สามารถนำมาเสนอเรื่องราวได้
         2.3 การตัดหรือวาดภาพสถานที่หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่นมีการประกวด วาดภาพตามผนังรั้วของสถานทูต ของโรงเรียน หรือสถานที่ราชการ
        2.4 การถ่ายทอดความคิดเห็นของตนในเรื่องต่าง ๆ โดยการเขียนหรือ การวาดภาพ สัญลักษณ์ หรือการประดิษฐ์สิ่งของ เช่น การวาดลงบนหาดทราย การแกะไม้อัด เป็นต้น
        2.5 การเปรียบเทียบภาพคนหรือสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งอาจเปรียบเทียบด้วย ภาพถ่าย ภาพวาด หรือภาพเหมือนก็ได้
        2.6 การเล่นเกมส์โดยการค้นหาสิ่งของที่อยู่ในรูปภาพ อาจมีหมายเลข บอกไว้และมีคำเฉลยอยู่อีกที่ ซึ่งถือว่าเป็นเกมส์ที่สนุกสนานเช่นกัน
        2.7 การให้ผู้เรียนผลิต แผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติและการออกแบบภาพ ชนิดต่าง ๆ เพื่อแสดงข้อมูลเหตุการณ์ เปรียบเทียบหรือนำเสนอข้อมูลตามที่ตั้งจุดประสงค์ไว้
        2.8 การให้ผู้เรียนสร้างเรื่องราวและถ่ายทอดโดยการใช้ภาพนิ่ง ภาพยนตร์ สไลด์เทป วิดีโอเทป เป็นต้น

ลักษณะการดูภาพของมนุษย์

        ก่อนอื่นเราต้องทราบเสียก่อนว่า เมื่อคนเราดูภาพเรามองเห็นและเรียนรู้อะไรบ้าง
จากภาพนั้น และคนเรามีลักษณะการดูภาพอย่างไร จากการวิจัยของนักมนุษย์ศาสตร์และ
นักจิตวิทยาพบว่า การดูภาพไม่ใช่เพียงเพื่อให้เกิดการรับรู้เนื้อหาเรื่องราวได้ดีเท่านั้นแต่ถ้ามี การแนะนำในการดูภาพด้วยก็จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าเพราะหากมีการแนะนำผู้เรียนจะ อ่านภาพได้เร็วและดีขึ้น
        สำหรับการดูภาพของคนเรานั้น ผลการวิจัยพบว่า คนเราจะกวาดสายตามองโดยทั่ว ๆ ไปของภาพก่อน ต่อจากนั้นจึงจะมองมุมซ้ายบนเป็นลำดับแรก แล้วจึงมองมุมซ้ายล่าง มุมขวาบน และมุมขวาล่างเป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งการมองแต่ละส่วนคิดเป็นร้อยละแตกต่างกัน

อย่างไรก็ตามผลการวิจัยครั้งนี้วิจัยตามลักษณะการอ่านหนังสือจากซ้ายไปขวา จากบน ลงล่าง แต่ถ้าลักษณะการอ่านที่แตกต่างกันไปอาจจะมองภาพที่แตกต่างกันไปก็ได้ เช่น ชาวอาหรับ หรือชาวฮิบรู หรือชาวจีน ซึ่งเขียนหนังสือจากขวาไปซ้ายทั้งนี้ผลการวิจัยที่แน่นอนยืนยันลักษณะ ดังกล่าวนี้ไม่เป็นที่ปรากฏ

การออกแบบภาพประกอบการสอน
        สื่อที่สำคัญในการสอนทักษะการแปลความหมายและการสร้างเรื่องราวคือ ภาพ ทั้งนี้ อาจเป็นภาพถ่าย ภาพวาด ภาพเขียน ตลอดจนภาพกราฟิกอื่น ๆ ภาพที่ได้จากวัสดุสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ บางครั้งอาจไม่ตรงกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ดังนั้น ผู้สอนควรผลิตขึ้นมาใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ และยังไม่สามารถนำไปใช้ในการจัดป้ายนิเทศ นิทรรศการ และวัสดุตั้งแสดงอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ควรมีการทำแบบร่าง (Lay out) ก่อนเสมอ ๆ ภาพที่ควรมีลักษณะที่ควรนำมาใช้ควรมี ลักษณะดังนี้
        1. การจัดองค์ประกอบที่ดี (Good Composition) มีการนำเอาทฤษฎีการจัด องค์ประกอบไปใช้อย่างเหมาะสมไม่ว่าจะเป็นกฏสามส่วน การวางจุดสนใจ การใช้สีแสงเงา เป็นต้น
        2. สื่อความหมายได้ชัดเจน (Clear Communication)มีการเน้นเฉพาะจุดที่ สื่อสาร มีมโนทัศน์เดียว เมื่อดูภาพแล้วเข้าใจไม่คลุมเครือ
        3. มีสีให้เห็นชัดเจน (Effective Color) เป็นสีที่ตรงกับความเป็นจริงและ เป็นสีธรรมชาติ ยึดหลักการและทฤษฎีของสี
        4. มีความคมชัดและมีความตัดกันเป็นอย่างดี (Sharpness and Good Contrast) ภาพที่มีการใช้สี แสง เงาที่ดี มีการเน้นเฉพาะที่ต้องการ และมีความคมชัดตัดกัน เป็นอย่างดีจะเป็นภาพที่น่าสนใจยิ่ง ดังนั้นไม่ว่าครูจะเลือกภาพจากวัตถุสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ผลิตขึ้น เอง น่าจะต้องคำนึงถึงประเด็นหลัก 2 อย่างคือ
          4.1 การเลือกภาพ (Select) ใช้หลัก ABC คือ
                       การจัดภาพ (Arrangement)
                       ความสมดุล (Balance)
                       สี (Color)
          4.2 การเพิ่มความสนใจ (to Maximize) ให้กับภาพใช้หลัก DEFG คือ
                       การเคลื่อนไหว (Dynamics)
                       การเน้น (Emphasis)
                       ตรงกับความจริง (Fidelity)
                       กลมกลืนของลายเส้น (Graphic Harmony
             การจัดภาพ (Arrangement) ภาพและคำอธิบายควรจัดให้สามารถดึงดูดความสนใจ ของผู้ชม ดังนั้นควรยึดองค์ประกอบเบื้องต้นในการจัดภาพอันได้แก่ เส้นนำสายตา ช่องว่าง และวัสดุ อื่น ๆ ตลอดจนรูปทรงทางเรขาคณิตและตัวอักษรที่นำมาใช้ต้องสัมพันธ์กันด้วย
             ความสมดุล (Balance) การเลือกรูปร่างและการวางแบบของภาพต้องให้สมดุล หากเลือกใช้การสมดุลแบบเท่ากันทั้งสองด้าน (Formal) จะทำให้ภาพมีระเบียบแบบแผนและมี ลักษณะนิ่ง (Static) แต่ถ้าใช้การสมดุลแบบไม่เท่ากันทั้งสองด้าน (Informal) จะทำให้ ภาพมีชีวิตชีวาขึ้น (Dynamics)
             สี (Color) สีจะช่วยออกแบบและการจัดภาพได้หลายประการคือ
                1. ช่วยให้ภาพดูเป็นจริง
                2. ย้ำในเรื่องคล้ายคลึงความแตกต่างและย้ำความสำคัญ
                3. สร้างอารมณ์และความรู้สึก
             หน้าที่ของสีในด้านความเหมือนจริง ความคล้ายคลึง ความแตกต่าง และการเน้นย้ำ โดยใช้สีนั้นสามารถมองเห็นได้ชัดเจน แต่การตอบสนองทางอารมณ์ความรู้สึกนั้นต้องอาศัยหลัก ทางจิตวิทยา
             ผลของการวิจัยพบว่าสีทำให้ความรู้สึกต่าง ๆ กัน ดังนี้ สีที่ทำให้รู้สึกเย็น (Cool) มีสีน้ำเงิน สีเขียว สีม่วง สีเหล่านี้ให้ความรู้สึกคล้าย
กับว่าอยู่ห่างไกล สีที่ทำให้รู้สึกอุ่น ร้อน (Hot) มีสีส้ม และสีแดง สีเหล่านี้เป็นสีที่ดึงดูดความสนใจ ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับวรรณะสี (tones) ซึ่งแบ่งเป็น 2 วรรณะ
        1. วรรณะร้อน (Warm tone) ได้แก่ สีเหลือง ส้มเหลือง ส้ม ส้มแดง แดง และม่วงแดง ให้ความรู้สึกกระฉับกระเฉง ความรื่นเริง ความขัดแย้ง ความตื่นเต้น ความตื่น ตาตื่นใจ ความน่าสนใจและความรุนแรง
         2. วรรณะเย็น (Cool tone) ได้แก่ สีเขียวอ่อน เขียว เขียวน้ำเงิน น้ำ เงิน น้ำเงินม่วงและม่วง ให้ความรู้สึกสงบเงียบ เยือกเย็น สุขสบาย เศร้าสลดหม่นหมอง

ข้อสังเกตเกี่ยวกับวรรณะสีก็คือหากใช้สีเย็นที่มีปริมาณน้อยร่วมกับสีร้อนที่มี ปริมาณมากอาจทำให้เกิดความรู้สึกร้อนแรงได้ ในทางตรงกันข้ามหากใช้สีร้อนที่มีปริมาณน้อย ร่วมกับสีเย็นที่มีปริมาณมากกว่าอาจทำให้เกิดความรู้สึกเยือกเย็นได้เช่นกัน
         สียังสามารถกระตุ้นทางด้าน"รส"(Taste)และ"กลิ่น"(Smell) ได้คือ
           สีน้ำเงิน มองดูแล้วมีรสหวาน
           สีส้ม มองดูแล้วเหมือนสิ่งที่รับประทานได้
           สีชมพู สีน้ำเงินลาเวนเดอร์ สีเหลืองและสีเขียว มองดูแล้วเหมือนมีกลิ่น
นอกจากนั้น สียังสามารถบอกสถานะต่าง ๆ ได้ เช่น
           สีแดงเข้ม สีน้ำตาล จะกระตุ้นความแข็งแรงของภาพที่เกี่ยวกับโลกไม้และหนังสัตว์
           สีทอง สีเงิน และสีดำ จะเกี่ยวข้องทางด้านชื่อเสียงและฐานะความมั่นคง

         จะเห็นได้ว่าสีมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อจิตใจ อารมณ์ความรู้สึกของคนเรา สียังมีอิทธิพลต่อ การไหลเวียนของโลหิตคือ โลหิตจะไหลเวียนสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อฉายแสงสีน้ำเงิน เขียว เหลือง ส้มและแดงตามลำดับซึ่งสีแดงทำให้การไหลเวียนของโลหิตสูงที่สุด อิทธิพลของสีต่าง ๆ
พอสรุปได้ดังนี้
          สีแดง กระตุ้นให้เกิดและระงับความกลัวก่อให้เกิดความตื่นเต้นเร้าใจ สง่าผ่า เผย ปิติอิ่มเอิบ มั่งคั่งสมบูรณ์ เป็นสีแห่งความกล้าหาญโลหิตและอำนาจ
         สีเหลือง แสดงถึงความไพบูลย์ ก่อให้เกิดอารมณ์ตื่นเต้น มีพลังวังชา ร่าเริงเบิก บาน มีเหตุผล อิจฉาริษยา ทรยศหักหลัง อ่อนเพลียระเหี่ยใจ เป็นสีแสดงถึงความเป็นหนุ่มสาว
          สีน้ำเงิน เป็นสีแห่งความรับผิดชอบ มั่นคง เชื่อถือ สุภาพ สมาธิ ความจริง รู้สึก ผ่อนคลาย สงบเงียบวังเวงเงียบขรึม เอาการเอางาน
          สีเขียว เป็นสีแห่งพลังวังชา มีชีวิตชีวาชั่วนิรันดร์ รู้สึกสบาย สงบเงียบ
          สีเขียวปนเหลือง เป็นสีแห่งความเป็นหนุ่มสาว การเจริญวัย
         สีส้ม กระตุ้นให้เกิดพลังวังชา สนุกสนาน ร่าเริง
         สีม่วง เป็นสีแห่งชัยชนะ อำนาจ เกียรติยศ และเป็นสีที่ทำให้เกิดความเศร้าสร้อย สลดหดหู่ ลึกลับ เป็นทุกข์แต่ก็ไม่มากนัก
          สีขาว เป็นสีแห่งความบริสุทธิ์ สดใส ใหม่ แสงสว่าง เชื่อมั่น รื่นเริง
         สีดำ เป็นสีแห่งความลึกลับ ว่างเปล่าของชีวิต เศร้าโศรกสิ้นหวัง
         สีเทา เป็นสีแห่งการสำนึกผิด ถ่อมตน อ่อนโยน โศรกเศร้า แต่น้อยกว่าสีดำ
ประเภทของสีตามทฤษฎีสี มี 4 ทฤษฎี คือ

         1. ทฤษฎีสีของนักจิตวิทยา
         นักจิตวิทยาสี ได้พิจารณาสีในแง่อิทธิพลที่มีต่อความรู้สึกมีผลต่ออารมณ์ของมนุษย์ เนื่องจาก คุณสมบัติของสีที่ทำให้สว่างหรือมืดลงได้ สีที่นักจิตวิทยาสีกำหนดไว้มี 4 สีคือ แดง เหลือง น้ำเงินหรือครามและเขียว

         2. ทฤษฎีสีของนักฟิสิกส์
         นักฟิสิกส์ได้พิจารณาในแง่ความเข้มข้นและความยาวคลื่นแสง เรียกว่า แม่สีแสงสว่าง (Spectrum color) ซึ่งมี 3 สี ได้แก่ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน หากนำทั้ง 3 สี ผสมกัน ในปริมาณของความเข้มข้นต่าง ๆ กัน โดยการฉายแสงสีให้ปรากฏบนจอจะได้สีขาว ซึ่งสีขาว ประกอบด้วยคลื่นแสงสีทั้ง 3 สีนั้น วิธีการพิสูจน์โดยนำแท่งแก้วปริซึ่มตั้งมุมรับแสงแดดให้ถูกมุม ให้สามารถแยกแสงสีขาวนั้นได้ ก็จะเห็นเป็นสีรุ้งประกอบด้วยสีหลักทั้ง 3 สีนั้น และหากนำสีแต่
ละสีมาผสมกันจะเกิดเป็นสีใหม่ขึ้น คือ
              สีเหลือง คือ สีแดงผสมสีเขียว
              สีม่วงแดง คือ สีแดงผสมสีน้ำเงิน
              สีฟ้า คือ สีเขียวผสมสีน้ำเงิน
         อีกประการหนึ่งสีตามทฤษฎีของนักฟิสิกส์ ยังพิจารณาในแง่ความยาวคลื่นด้วย คือสีแดงเป็นสีที่มีความยาวคลื่นมากที่สุด ส่วนสีม่วงแดงเป็นสีที่มีคลื่นที่สั้นที่สุดและยังพิจารณาในแง่ ความเข้มข้นด้วยโดยการกำหนดเป็นอุณหภูมิสีของแสง มีหน่วยวัดเป็นองศาเคลวิน เช่น ถ้ามี
อุณหภูมิสูงมากประมาณ 7 พันกว่าองศาเคลวิลจะมีแสงสีน้ำเงิน แต่ถ้ามีอุณหภูมิต่ำกว่าประมาณ 2800 องศาเคลวิลจะมีแสงสีเหลืองอมส้ม เป็นต้น

          3. ทฤษฎีสีของนักเคมี
นักเคมีศึกษาสีในแง่คุณสมบัติทางเคมีว่าสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและสีสังเคราะห์นั้น ประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง เพื่อนำไปใช้เขียนภาพและย้อมสีวัตถุต่าง ๆ สีที่นักเคมีกำหนดไว้ มี3 สีคือ สีแดง สีน้ำเงินและสีเหลือง

         
4. ทฤษฎีสีของศิลปินหรือช่างเขียน
ศิลปินหรือช่างเขียนศึกษาสีในแง่การนำไปใช้เขียนและวาดภาพตลอดจนการใช้ใน ชีวิตประจำวันให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ เป็นต้นว่า นำสีไปตกแต่งทาสีบ้านเรือน เลือกใช้สีในการแต่งกาย ตามทฤษฎีสีของศิลปินหรือช่างเขียนมี 5 สี คือ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีเหลือง
และสีม่วง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับสีได้เจริญก้าวหน้ามาก โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องสี ก็สามารถเรียกใช้สีตามความต้องการได้
          หลักการเกี่ยวกับการใช้สี (อารี สุทธิพันธ์ 2521 : 108)
              1. คุณสมบัติของสีทุกสีคือสามารถดูดแสงและสะท้อนแสงจากวัตถุ
              2. สีทุกสีมีความอ่อนแก่จากความดำถึงความขาว
              3. สีทุกสีสามารถเปลี่ยนความเข้มได้ตามปริมาณของเนื้อสีที่มาผสมกับระนาบรองรับที่ใช้ระบาย
              4. ความสว่างและความชัดเจนของสีสามารถปรับเปลี่ยนได้โดยการผสมกับสีอื่น
              5. สีอ่อนรับรู้ได้เร็วกว่าสีแก่ และสีอุ่นรับรู้ได้เร็วกว่าสีเย็น
              6. สีทุกสีมีกำลังส่องสว่าง ทำให้เกิดการรับรู้และสามารถเปลี่ยนความเข้มได้

สีกับตัวอักขระ
              การออกแบบภาพและวัสดุกราฟิคทั้งประเภทฉายและประเภทไม่ฉายย่อมเกี่ยวข้องกับสี ตัวอักษรและคำบรรยาย ดังนั้นผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับตัวอักษรและ สีตลอดจนวิธีประดิษฐ์ตัวอักษร ซึ่งที่ควรคำนึงมีอยู่ 4 ประการคือ
              1. แบบตัวอักษร ควรเป็นแบบที่อ่านง่าย ยกเว้นกรณีที่ต้องการใช้ตัวอักษรในการ สร้างอารมณ์ความรู้สึกของผู้ดู
              2. ขนาดตัวอักษร ต้องมีขนาดโตพอเหมาะโดยพิจารณาจากระยะทางระหว่างผู้ดู กับสื่อ ขนาดตัวอักษรมาตรฐานควรสูง 1/4 นิ้ว ทุก ๆ ระยะห่าง 8 ฟุต ถ้าผู้ดูอยู่ห่างสื่อ 32 ฟุต ตัวอัษรควรสูงไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว เป็นต้น
              3. ช่องไฟ การประดิษฐ์ตัวอักษรให้อ่านง่ายดูสวยงามต้องมีการจัดระยะห่างของ ตัวอักษรที่เรียกว่าช่องไฟให้เ

หมายเลขบันทึก: 216817เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2008 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท