รายงานสรุปวิธีปฏิบัติที่ดีของการจัดการความรู้ ( 5 )


 รายงานสรุปวิธีปฏิบัติที่ดีของการจัดการความรู้ (1) , (2) , (3) , (4)

การบูรณาการ การจัดการความรู้กับภารกิจอื่น ๆ และความต้องการของคณะ

            นอกเหนือจากการบูรณาการ การจัดการความรู้กับภารกิจในแผนปฏิบัติการประจำปีแล้ว  บุคลากรของคณะ บางท่านยังได้บูรณาการกับงานประจำ  เช่น อาจารย์ประยุกต์ใช้ story telling,  deep listening,  AAR ในการสอนแก่นิสิตในชั้นเรียน  เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการนำผลการออกให้บริการ Mobile Unit ของคณะที่ร่วมกับมหาวิทยาลัย มาเล่าให้ฟังบน Blog เป็นประจำ ทำให้บุคลากรภายนอกได้รับทราบและแลกเปลี่ยนความรู้กับบุคลากรของคณะได้มากขึ้น  มีการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์  ชื่นชม  บอกกล่าวเรื่องราวต่างๆ อย่างไม่เป็นทางการผ่าน Blog ของผู้บริหาร คณบดี ของหัวหน้าสำนักงานเลขานุการคณะ  และของรองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ   ทำให้บุคลากรของคณะทราบข่าวคราวความเคลื่อนไหวต่างๆ  ตลอดจนแนวคิดและแนวทางการดำเนินงานของผู้บริหารคณะอย่างสม่ำเสมอ  ทั้งยังได้แลกเปลี่ยนกับบุคคลภายนอกด้วย

มิติการประเมิน และระบบ/วิธีการประเมินการดำเนินงานที่ตอบสนองแผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการแนวทาง/โครงการกับวิสัยทัศน์ความต้องการ/เป้าหมายของสถาบันและการจัดการความรู้

          การประเมินประสิทธิภาพการจัดการความรู้ของคณะสหเวชศาสตร์  นอกเหนือจากกระทำตามดัชนีและเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาของ สกอ. สมศ. และ กพร. แล้ว ยังอาจประเมินผลลัพธ์ที่เป็นนามธรรมได้จาก

·       พฤติกรรมเรียนรู้ของกลุ่มบุคลากรสายสนับสนุนที่เพิ่มขึ้น  สังเกตจากจำนวนผู้ขอทุนทำงานวิจัยสถาบัน  และผู้ขอรับรางวัลจากการนำเสนอผลงานมีมากขึ้น

·       พฤติกรรมเรียนรู้ของกลุ่มบุคลากรสายอาจารย์ที่เพิ่มขึ้น  สังเกตจากจำนวนผู้ขอทุนทำงานวิจัยที่ไม่ซ้ำคน มีจำนวนมากขึ้น และมีผู้ของบประมาณสนับสนุนไปเสนอผลงานทางวิชาการ / นวัตกรรม มากขึ้น 

·       พฤติกรรมเรียนรู้ของกลุ่มนิสิตที่เพิ่มขึ้น สังเกตจากจำนวนนิสิตที่สนใจส่งโครงงานเข้าประกวดในเวทีวิชาการระดับชาติ  มีจำนวนมากขึ้น และครอบคลุมทุกสาขา

·       พฤติกรรมการบันทึกบน Blog ของบุคลากรคณะสหเวชศาสตร์  ที่มีความสม่ำเสมอ และมีความหลากหลาย มีวัฒนธรรมในการสื่อสารที่ดี  มีการแสดงความชื่นชมยินดีต่อกัน  มีการแบ่งปันความรู้  มีพัฒนาการของการเขียนที่น่าอ่านชวนติดตาม  มีพัฒนาการของการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย  มีพัฒนาการของความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  ตลอดจนมีความสัมพันธ์ของบุคลากรทุกระดับในแนวราบมากขึ้น

·       วินัยของบุคลากรที่เกี่ยวกับการจัดระบบเก็บเอกสารและการสรุปวิเคราะห์ผลการดำเนินงานดีขึ้น  ทำให้การจัดทำ E-SAR ง่ายกว่าระบบเอกสารมาก

                                                                                                                 บอย สหเวช
                                                                                                                 15 ต.ค. 51 

หมายเลขบันทึก: 216663เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2008 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท